คณะรัฐมนตรีเห็นชอบร่างพระราชกฤษฎีกาค่าตอบแทน ค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติหน้าที่ และสิทธิประโยชน์อื่นของประธานกรรมการและกรรมการกำกับกิจการพลังงาน พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงพลังงานเสนอ
กระทรวงพลังงานรายงานว่า
1. โดยที่พระราชบัญญัติการประกอบกิจการพลังงาน พ.ศ. 2550 กำหนดให้มีคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน ทำหน้าที่กำกับดูแลกิจการไฟฟ้าและกิจการก๊าซธรรมชาติ ซึ่งคณะกรรมการดังกล่าวประกอบด้วย ประธานกรรมการคนหนึ่ง และกรรมการอื่นอีก 6 คน ซึ่งพระมหากษัตริย์แต่งตั้ง ทั้งนี้ ในวาระเริ่มแรกให้ดำเนินการคัดเลือกคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานให้แล้วเสร็จภายใน 120 วันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
2. เพื่อรองรับการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน ตามความในมาตรา 29 ของพระราชบัญญัติการประกอบกิจการพลังงาน พ.ศ. 2550 ที่กำหนดให้ออกพระราชกฤษฎีกา เพื่อกำหนดค่าตอบแทน ค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติหน้าที่และสิทธิประโยชน์อื่นของประธานกรรมการและกรรมการกำกับกิจการพลังงาน เพื่อให้คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน ซึ่งต้องปฏิบัติงานประจำเต็มเวลาสามารถทำหน้าที่กำกับดูแลกิจการไฟฟ้าและกิจการก๊าซธรรมชาติตามที่กำหนดในพระราชบัญญัติการประกอบกิจการพลังงาน พ.ศ. 2550 ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
กระทรวงพลังงานได้พิจารณาเทียบเคียงอัตราค่าตอบแทนของคณะกรรมการอื่นที่เคยได้รับตามระเบียบกระทรวงการคลัง คือ คณะกรรมการกำกับดูแลกิจการไฟฟ้า ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยคณะกรรมการกำกับดูแลกิจการไฟฟ้า พ.ศ. 2548 มีสิทธิได้รับค่าตอบแทนตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกจ่ายค่าตอบแทนคณะกรรมการกำกับดูแลกิจการไฟฟ้า พ.ศ. 2548 โดยกรรมการที่ปฏิบัติหน้าที่เต็มเวลาได้รับค่าตอบแทนเป็นรายเดือนเป็นเงิน 150,000 บาท และให้ประธานกรรมการและกรรมการได้รับผลประโยชน์อื่นอีกร้อยละ 25 ของค่าตอบแทนประจำ และเนื่องด้วยคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน ตามพระราชบัญญัติการประกอบกิจการพลังงานฯ จะมีอำนาจหน้าที่ คุณสมบัติและคุณลักษณะ ซึ่งต้องเป็นผู้ไม่มีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ ซึ่งมากกว่าคณะกรรมการกำกับดูแลกิจการไฟฟ้า จึงสมควรได้รับค่าตอบแทน ค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติหน้าที่และสิทธิประโยชน์อื่นไม่น้อยกว่าค่าตอบแทนและผลประโยชน์อื่นที่คณะกรรมการกำกับดูแลกิจการไฟฟ้าได้รับตามระเบียบกระทรวงการคลังดังกล่าว จึงได้เสนอร่างพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวมาเพื่อดำเนินการ โดยสาระสำคัญของร่างกฎหมายมีดังนี้
1. ให้ประธานกรรมการและกรรมการได้รับค่าตอบแทนเป็นรายเดือนเป็นเงิน 250,000 บาท และ 200,000 บาท ตามลำดับ และผลประโยชน์อื่นอีกร้อยละ 25 ของค่าตอบแทนประจำ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่มีพระบรมราชโองการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง (ร่างมาตรา 4)
2. ให้ประธานกรรมการและกรรมการมีสิทธิได้รับค่ารักษาพยาบาลหรือการประกันสุขภาพที่จ่ายจริงในอัตราเบี้ยประกันคนละไม่เกิน 30,000 บาทต่อปี และให้นำพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษา พยาบาล และระเบียบกระทรวงการคลังซึ่งออกตามความในพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวมาใช้บังคับแก่ค่ารักษาพยาบาลของประธานกรรมการและกรรมการตามพระราชกฤษฎีกานี้โดยอนุโลม (ร่างมาตรา 5)
3. ให้ประธานกรรมการและกรรมการมีสิทธิได้รับค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปปฏิบัติงานโดยให้นำพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการและระเบียบกระทรวงการคลังซึ่งออกตามความในพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวมาใช้บังคับแก่ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปปฏิบัติงานของประธานกรรมการและกรรมการตามพระราชบัญญัตินี้โดยอนุโลม (ร่างมาตรา 5)
4. ให้ประธานกรรมการและกรรมการซึ่งดำรงตำแหน่งไม่น้อยกว่า 1 ปีบริบูรณ์มีสิทธิได้รับบำเหน็จตอบแทนเป็นเงินซึ่งจ่ายครั้งเดียวเมื่อพ้นตำแหน่ง ทั้งนี้ การคำนวณบำเหน็จตอบแทนนั้น ให้นำอัตราค่าตอบแทนรายเดือนคูณด้วยระยะเวลาที่ดำรงตำแหน่ง และสิทธิในบำเหน็จตอบแทนนี้เป็นสิทธิเฉพาะตัว จะโอนไม่ได้ (ร่างมาตรา 9)
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 15 มกราคม 2551--จบ--
กระทรวงพลังงานรายงานว่า
1. โดยที่พระราชบัญญัติการประกอบกิจการพลังงาน พ.ศ. 2550 กำหนดให้มีคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน ทำหน้าที่กำกับดูแลกิจการไฟฟ้าและกิจการก๊าซธรรมชาติ ซึ่งคณะกรรมการดังกล่าวประกอบด้วย ประธานกรรมการคนหนึ่ง และกรรมการอื่นอีก 6 คน ซึ่งพระมหากษัตริย์แต่งตั้ง ทั้งนี้ ในวาระเริ่มแรกให้ดำเนินการคัดเลือกคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานให้แล้วเสร็จภายใน 120 วันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
2. เพื่อรองรับการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน ตามความในมาตรา 29 ของพระราชบัญญัติการประกอบกิจการพลังงาน พ.ศ. 2550 ที่กำหนดให้ออกพระราชกฤษฎีกา เพื่อกำหนดค่าตอบแทน ค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติหน้าที่และสิทธิประโยชน์อื่นของประธานกรรมการและกรรมการกำกับกิจการพลังงาน เพื่อให้คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน ซึ่งต้องปฏิบัติงานประจำเต็มเวลาสามารถทำหน้าที่กำกับดูแลกิจการไฟฟ้าและกิจการก๊าซธรรมชาติตามที่กำหนดในพระราชบัญญัติการประกอบกิจการพลังงาน พ.ศ. 2550 ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
กระทรวงพลังงานได้พิจารณาเทียบเคียงอัตราค่าตอบแทนของคณะกรรมการอื่นที่เคยได้รับตามระเบียบกระทรวงการคลัง คือ คณะกรรมการกำกับดูแลกิจการไฟฟ้า ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยคณะกรรมการกำกับดูแลกิจการไฟฟ้า พ.ศ. 2548 มีสิทธิได้รับค่าตอบแทนตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกจ่ายค่าตอบแทนคณะกรรมการกำกับดูแลกิจการไฟฟ้า พ.ศ. 2548 โดยกรรมการที่ปฏิบัติหน้าที่เต็มเวลาได้รับค่าตอบแทนเป็นรายเดือนเป็นเงิน 150,000 บาท และให้ประธานกรรมการและกรรมการได้รับผลประโยชน์อื่นอีกร้อยละ 25 ของค่าตอบแทนประจำ และเนื่องด้วยคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน ตามพระราชบัญญัติการประกอบกิจการพลังงานฯ จะมีอำนาจหน้าที่ คุณสมบัติและคุณลักษณะ ซึ่งต้องเป็นผู้ไม่มีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ ซึ่งมากกว่าคณะกรรมการกำกับดูแลกิจการไฟฟ้า จึงสมควรได้รับค่าตอบแทน ค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติหน้าที่และสิทธิประโยชน์อื่นไม่น้อยกว่าค่าตอบแทนและผลประโยชน์อื่นที่คณะกรรมการกำกับดูแลกิจการไฟฟ้าได้รับตามระเบียบกระทรวงการคลังดังกล่าว จึงได้เสนอร่างพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวมาเพื่อดำเนินการ โดยสาระสำคัญของร่างกฎหมายมีดังนี้
1. ให้ประธานกรรมการและกรรมการได้รับค่าตอบแทนเป็นรายเดือนเป็นเงิน 250,000 บาท และ 200,000 บาท ตามลำดับ และผลประโยชน์อื่นอีกร้อยละ 25 ของค่าตอบแทนประจำ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่มีพระบรมราชโองการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง (ร่างมาตรา 4)
2. ให้ประธานกรรมการและกรรมการมีสิทธิได้รับค่ารักษาพยาบาลหรือการประกันสุขภาพที่จ่ายจริงในอัตราเบี้ยประกันคนละไม่เกิน 30,000 บาทต่อปี และให้นำพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษา พยาบาล และระเบียบกระทรวงการคลังซึ่งออกตามความในพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวมาใช้บังคับแก่ค่ารักษาพยาบาลของประธานกรรมการและกรรมการตามพระราชกฤษฎีกานี้โดยอนุโลม (ร่างมาตรา 5)
3. ให้ประธานกรรมการและกรรมการมีสิทธิได้รับค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปปฏิบัติงานโดยให้นำพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการและระเบียบกระทรวงการคลังซึ่งออกตามความในพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวมาใช้บังคับแก่ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปปฏิบัติงานของประธานกรรมการและกรรมการตามพระราชบัญญัตินี้โดยอนุโลม (ร่างมาตรา 5)
4. ให้ประธานกรรมการและกรรมการซึ่งดำรงตำแหน่งไม่น้อยกว่า 1 ปีบริบูรณ์มีสิทธิได้รับบำเหน็จตอบแทนเป็นเงินซึ่งจ่ายครั้งเดียวเมื่อพ้นตำแหน่ง ทั้งนี้ การคำนวณบำเหน็จตอบแทนนั้น ให้นำอัตราค่าตอบแทนรายเดือนคูณด้วยระยะเวลาที่ดำรงตำแหน่ง และสิทธิในบำเหน็จตอบแทนนี้เป็นสิทธิเฉพาะตัว จะโอนไม่ได้ (ร่างมาตรา 9)
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 15 มกราคม 2551--จบ--