คณะรัฐมนตรีอนุมัติในหลักการร่างประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง ยกเลิกมาตรการควบคุมและมาตรการจัดระเบียบในการนำกระสอบป่าน ปอแก้ว และปอกระเจา เข้ามาในราชอาณาจักร พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการตรวจสอบร่างกฎหมายและร่างอนุบัญญัติที่เสนอคณะรัฐมนตรีตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้
กระทรวงพาณิชย์เสนอว่า
1. จากสถานการณ์การผลิตภายในประเทศ การผลิตปอและกระสอบที่ทำจากปอและป่านภายในประเทศมีปริมาณลดลงอย่างต่อเนื่องทุกปี มีสาเหตุมาจากการขาดปัจจัยการผลิตปอที่สำคัญ ส่งผลให้โรงงานทอกระสอบขาดแคลนวัตถุดิบปอ อีกทั้งในปัจจุบันความต้องการใช้กระสอบพลาสติกเพิ่มมากขึ้นโดยลำดับ โรงงานทอกระสอบได้ปรับตัวหันไปผลิตกระสอบพลาสติกแทน
2. ตามพันธกรณีระหว่างประเทศ
2.1 ความตกลงว่าด้วยสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม (Agreement on Textiles and Clothing : ATC) ภายใต้ความตกลงมาร์ราเกซจัดตั้งองค์การการค้าโลก (WTO) กำหนดให้สมาชิก WTO ต้องเปิดเสรีการค้าสิ่งทอ ยกเลิกการควบคุมด้วยระบบโควตาโดยสิ้นเชิง ภายในปี 2548 โดยยังคงสามารถคงอัตราภาษีไว้ได้
2.2 ภายใต้ความตกลง FTA ประเทศไทยต้องเปิดตลาดนำเข้าปอและกระสอบตามข้อผูกพัน กล่าวคือ อาเซียน — จีน ได้ตกลงลดภาษีกระสอบปอและป่านจากอัตราปกติ ร้อยละ 30 เป็นร้อยละ 0 ในปี 2553 โดยไม่มีโควตา
3. เนื่องจากตามพันธกรณีความตกลงว่าด้วยสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม (ATC) ภายใต้ความตกลงมาร์ราเกซจัดตั้งองค์การการค้าโลก (WTO) ประเทศไทยต้องเปิดตลาดนำเข้าปอและกระสอบทำจากปอและป่าน ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2548 เป็นต้นไป และพันธกรณีภายใต้ FTA อาเซียน — จีน ต้องเปิดตลาดตั้งแต่ปี 2550 จึงเห็นควรยกเลิกมาตรการควบคุมการนำเข้าสินค้าดังกล่าว จึงได้เสนอร่างประกาศดังกล่าวมาเพื่อดำเนินการ โดยมีสาระสำคัญของร่างประกาศ ดังนี้
1. ยกเลิก
1.1 ประกาศกระทรวงเศรษฐการ เรื่อง การนำสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักร (ฉบับที่ 68) พ.ศ. 2515
1.2 ประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง การนำเข้าสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักร ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2522)
1.3 ประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง กำหนดมาตรการจัดระเบียบในการนำสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักร ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2522) (ร่างข้อ 3)
2. ยกเลิกการกำหนดให้กระสอบป่านเป็นสินค้าที่ต้องได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ในการนำเข้ามาในราชอาณาจักร ตามความในพระราชกฤษฎีกาควบคุมการนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งสินค้าบางอย่าง (ฉบับที่ 9) พ.ศ. 2496 (ร่างข้อ 4)
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 15 มกราคม 2551--จบ--
กระทรวงพาณิชย์เสนอว่า
1. จากสถานการณ์การผลิตภายในประเทศ การผลิตปอและกระสอบที่ทำจากปอและป่านภายในประเทศมีปริมาณลดลงอย่างต่อเนื่องทุกปี มีสาเหตุมาจากการขาดปัจจัยการผลิตปอที่สำคัญ ส่งผลให้โรงงานทอกระสอบขาดแคลนวัตถุดิบปอ อีกทั้งในปัจจุบันความต้องการใช้กระสอบพลาสติกเพิ่มมากขึ้นโดยลำดับ โรงงานทอกระสอบได้ปรับตัวหันไปผลิตกระสอบพลาสติกแทน
2. ตามพันธกรณีระหว่างประเทศ
2.1 ความตกลงว่าด้วยสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม (Agreement on Textiles and Clothing : ATC) ภายใต้ความตกลงมาร์ราเกซจัดตั้งองค์การการค้าโลก (WTO) กำหนดให้สมาชิก WTO ต้องเปิดเสรีการค้าสิ่งทอ ยกเลิกการควบคุมด้วยระบบโควตาโดยสิ้นเชิง ภายในปี 2548 โดยยังคงสามารถคงอัตราภาษีไว้ได้
2.2 ภายใต้ความตกลง FTA ประเทศไทยต้องเปิดตลาดนำเข้าปอและกระสอบตามข้อผูกพัน กล่าวคือ อาเซียน — จีน ได้ตกลงลดภาษีกระสอบปอและป่านจากอัตราปกติ ร้อยละ 30 เป็นร้อยละ 0 ในปี 2553 โดยไม่มีโควตา
3. เนื่องจากตามพันธกรณีความตกลงว่าด้วยสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม (ATC) ภายใต้ความตกลงมาร์ราเกซจัดตั้งองค์การการค้าโลก (WTO) ประเทศไทยต้องเปิดตลาดนำเข้าปอและกระสอบทำจากปอและป่าน ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2548 เป็นต้นไป และพันธกรณีภายใต้ FTA อาเซียน — จีน ต้องเปิดตลาดตั้งแต่ปี 2550 จึงเห็นควรยกเลิกมาตรการควบคุมการนำเข้าสินค้าดังกล่าว จึงได้เสนอร่างประกาศดังกล่าวมาเพื่อดำเนินการ โดยมีสาระสำคัญของร่างประกาศ ดังนี้
1. ยกเลิก
1.1 ประกาศกระทรวงเศรษฐการ เรื่อง การนำสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักร (ฉบับที่ 68) พ.ศ. 2515
1.2 ประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง การนำเข้าสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักร ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2522)
1.3 ประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง กำหนดมาตรการจัดระเบียบในการนำสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักร ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2522) (ร่างข้อ 3)
2. ยกเลิกการกำหนดให้กระสอบป่านเป็นสินค้าที่ต้องได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ในการนำเข้ามาในราชอาณาจักร ตามความในพระราชกฤษฎีกาควบคุมการนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งสินค้าบางอย่าง (ฉบับที่ 9) พ.ศ. 2496 (ร่างข้อ 4)
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 15 มกราคม 2551--จบ--