คณะรัฐมนตรีรับทราบความคืบหน้าผลการแก้ไขปัญหาการดำเนินโครงการส่งเสริมการเลี้ยงโคเนื้อล้านครอบครัว ตามมติคณะรัฐมนตรีวันที่ 14 สิงหาคม 2550 และวันที่ 20 พฤศจิกายน 2550 เรื่อง การดำเนินโครงการส่งเสริมการเลี้ยงโคเนื้อล้านครอบครัว ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ สรุปได้ดังนี้
1. บริษัท ส่งเสริมธุรกิจเกษตรกรไทย จำกัด ได้แต่งตั้งคณะทำงานเพื่อพิจารณาความเหมาะสมการจ่ายเงินชดเชยเกษตรกรและค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ซึ่งคณะทำงานได้ประชุมเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2550 มีมติดังนี้
1.1 การจ่ายเงินชดเชยค่าเสียโอกาสในการเลี้ยงโคให้เกษตรกรในโครงการตัวละไม่เกิน 1,000 บาท มีความถูกต้องเหมาะสม และสอดคล้องกับข้อเท็จจริง เนื่องจาก
(1) จากงานวิจัยทางวิชาการของกรมปศุสัตว์ เกษตรกร 1 ราย สามารถเลี้ยงโคเนื้อแบบไล่ต้อนทุ่งได้จำนวน 50 ตัว โดยจะเสียค่าใช้จ่ายเป็นค่าจ้างเลี้ยงอัตราวันละ 150 บาท หรือเฉลี่ยค่าจ้าง 3 บาท/ตัว/วัน ดังนั้น ถ้าเกษตรกรเลี้ยงโคตามสัญญาของโครงการประมาณ 1 ปี ก็จะเสียค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงประมาณ 1,095 บาท/ตัว
(2) บริษัท สธท. ซึ่งรับซื้อโคคืนจากเกษตรกรผู้เลี้ยงตั้งแต่ 1 มกราคม 2550 — 30 พฤศจิกายน 2550 จำนวน 1,603 ตัว จัดว่าเป็นโคคุณภาพดีเมื่อนำไปจำหน่ายแล้วสามารถจัดสรรรายได้ให้เกษตรกรเฉลี่ยได้เพียงตัวละ 1,220 บาท สำหรับโคที่เหลืออยู่ในโครงการขณะนี้จัดว่าเป็นโคที่มีคุณภาพปานกลางถึงค่อนข้างต่ำ ขณะเดียวกันราคาโคชีวิตราคาตกต่ำมาก ถ้าจำหน่ายตามราคาท้องตลาด ณ ปัจจุบันจะทำให้ขาดทุน เกษตรกรไม่ได้รับจัดสรรได้ ดังนั้น ถ้าจ่ายเงินชดเชยค่าเสียโอกาสในการเลี้ยงโคให้เกษตรกรในโครงการตัวละไม่เกิน 1,000 บาท จะใช้เงินประมาณ 18 ล้านบาท ซึ่งเงินชดเชยจำนวนดังกล่าวใช้จ่ายเงินทุนของบริษัท ส่งเสริมธุรกิจเกษตรกรไทย จำกัด โดยรัฐไม่ต้องรับภาระจัดหางบประมาณเพิ่มเติม
1.2 การจ่ายเงินชดเชยค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในโครงการฯ ให้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร เห็นควรให้จ่ายเงินชดเชยค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในโครงการให้แก่ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ตามที่ได้จ่ายจริงเป็นจำนวน 46,438,810 บาท ดังนี้ (1) ค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการ เป็นเงิน 40,258,620 บาท (2) ระบบงานคอมพิวเตอร์ เป็นเงิน 6,081,730 บาท (3) ระบบบัญชีและรายงาน เป็นเงิน 48,760 บาท (4) ค่าใช้จ่ายอำนวยการ เป็นเงิน 50,000 บาท
ทั้งนี้ การจ่ายเงินชดเชยค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในโครงการฯ ให้ ธ.ก.ส. จะใช้จ่ายจากเงินทุนของบริษัท สธท. โดยรัฐไม่ต้องรับภาระจัดหางบประมาณเพิ่มเติม
2. การดำเนินงานโครงการส่งเสริมการเลี้ยงโคเนื้อล้านครอบครัวมีโครงสร้างการบริหารจัดการโครงการรูปแบบของคณะกรรมการอย่างชัดเจน ดังนี้
2.1 จัดตั้งบริษัท ส่งเสริมธุรกิจเกษตรกรไทย จำกัด เพื่อทำหน้าที่เป็นกลไกในการขับเคลื่อนโครงการสำคัญด้านการเกษตร จัดหาเงินทุนในรูปปัจจัยการผลิตช่วยเหลือบริหารจัดการให้เกษตรกรมีเทคนิคในการผลิต แปรรูป และการตลาดที่เหมาะสมโดยระยะแรกให้ดำเนินธุรกิจเฉพาะโครงการส่งเสริมการเลี้ยงโคเนื้อ ซึ่งการดำเนินงานของบริษัทฯ ให้อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
2.2 โครงสร้างการบริหารจัดการการซื้อและส่งมอบโคให้เกษตรกร โดยให้บริษัทฯ รับซื้อโค จำนวน 3 สายพันธุ์ บริษัทฯ จึงดำเนินการออกประกาศรับซื้อโค โดยในการรับซื้อได้ถือปฏิบัติตามเงื่อนไขข้อกำหนดของ คณะกรรมการบริหารโครงการฯ ทั้งนี้ ได้มีการดำเนินการจัดซื้อและส่งมอบโคให้เกษตรกร โดยคณะกรรมการระดับจังหวัดตามโครงสร้างการบริหารจัดการการซื้อ และส่งมอบโคให้เกษตรกร
2.3 โครงสร้างการบริหารจัดการในการรับคืนโคและการจัดการด้านการตลาด ในการรับคืนโคจากเกษตรกรเพื่อนำมาจัดการด้านการตลาดนั้น ได้ดำเนินการโดยอาศัยกลไกของคณะกรรมการระดับจังหวัด เพื่อดำเนินการรับคืนโคตามเงื่อนไขสัญญา โดยมีมาตรการดำเนินการตามโครงสร้างการจัดการในการรับคืนโคและการจัดการด้านการตลาด
3. การประเมินผลโครงการส่งเสริมการเลี้ยงโคเนื้อล้านครอบครัวปรากฏผลดังนี้
3.1 ความสำเร็จของนโยบายการดำเนินโครงการ บริษัท ส่งเสริมธุรกิจเกษตรกรไทย จำกัด สามารถจัดหาโคให้เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการได้เพียงจำนวน 10,883 ราย จำนวนโค 21,684 ตัว ไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด เนื่องจากระยะแรกของโครงการฯ ลูกโคที่เกิดจากการผสมเทียมตามแผนงานของกรมปศุสัตว์ยังมีจำนวนไม่มาก ประกอบกับเกษตรกรผู้เลี้ยงโคคาดหวังว่าราคาลูกโคในตลาดจะปรับตัวสูงขึ้น จากความต้องการซื้อลูกโคของบริษัทตามโครงการฯ จึงยังไม่ยอมขายโคให้บริษัท ส่งเสริมธุรกิจเกษตรกรไทย จำกัด
3.2 ผลตอบแทนในการเลี้ยงโคของเกษตรกรตามโครงการฯ พบว่าผลตอบแทนในการเลี้ยงโคที่เกษตรกรได้รับตามโครงการอยู่ในระดับต่ำหรือขาดทุนเพราะสถานการณ์ราคาโคมีชีวิต ในปี 2550 ตกต่ำ (ปัจจุบันราคาโคมีถัวเฉลี่ยอยู่ที่ 38.30 บาทต่อกิโลกรัม) และมีแนวโน้มจะลดลงอีก
3.3 ความพึงพอใจของเกษตรกรที่มีต่อโครงการฯ พบว่ามีความพึงพอใจต่อโครงการอยู่ในระดับต่ำ โดยมีเกษตรกรที่แสดงความพึงพอใจน้อยและไม่พึงพอใจต่อโครงการถึงร้อยละ 63.10 เนื่องจากเกษตรกรส่วนใหญ่เลี้ยงโคครบตามระยะเวลาที่กำหนดแล้ว แต่ราคาโคมีชีวิตตกต่ำ บริษัท ส่งเสริมธุรกิจเกษตรกรไทย จำกัด ยังไม่สามารถรับคืนโคไปจำหน่ายและจัดสรรผลตอบแทนให้แก่เกษตรกรได้
3.4 ความพร้อมในการดำเนินธุรกิจของบริษัท ส่งเสริมธุรกิจเกษตรกรไทย จำกัด ไม่มีบุคลากรและสำนักงานเป็นของบริษัทเอง ต้องอาศัยสถานที่อุปกรณ์สำนักงาน และบุคลากรของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรช่วยในการบริหารจัดการทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค จึงไม่มีความพร้อมในการดำเนินธุรกิจ นอกจากนี้การดำเนินธุรกิจส่วนใหญ่ของบริษัท ส่งเสริมธุรกิจเกษตรกรไทย จำกัด กระจายอยู่ในพื้นที่ชนบท ทำให้บริษัท ส่งเสริมธุรกิจเกษตรกรไทย จำกัด มีต้นทุนดำเนินงานสูง
3.5 บริษัท ส่งเสริมธุรกิจเกษตรกรไทย จำกัด ได้รับงบประมาณเพื่อจดทะเบียนจัดตั้งบริษัท จำนวน 420 ล้านบาท ปัจจุบัน (30 มิถุนายน 2550) บริษัทมีทรัพย์สินรวม 421.165 ล้านบาท ประกอบด้วยเงินสด และเงินฝากสถาบันการเงิน 187.897 ล้านบาท โคเนื้อในโครงการ (ถือว่าเป็นสินทรัพย์หมุนเวียนของบริษัท ส่งเสริมธุรกิจเกษตรกรไทย จำกัด) มูลค่า 221.738 ล้านบาท และสินทรัพย์อื่น ๆ 11.530 ล้านบาท และมีหนี้สินอยู่เพียง 0.260 ล้านบาท ซึ่งสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน ได้สอบทานงบการเงินพร้อมกับตรวจสอบการดำเนินงานของบริษัท ส่งเสริมธุรกิจเกษตรกรไทย จำกัด ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาครวม 4 ครั้ง แล้วไม่พบเหตุผิดปกติหรือข้อบกพร่องในสาระสำคัญตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เห็นว่าการดำเนินงานของโครงการส่งเสริมการเลี้ยงโคเนื้อล้านครอบครัวซึ่งเป็นนโยบายของรัฐบาลที่ผ่านมา มีโครงสร้างการบริหารจัดการโครงการในรูปแบบคณะกรรมการ โดยมีผู้ทรงคุณวุฒิจากหลายงานทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาคแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบชัดเจน โดยกระทรวงการคลังได้จัดตั้งบริษัทในรูปรัฐวิสาหกิจ เพื่อสนับสนุนการดำเนินโครงการในส่วนการดำเนินงานของบริษัท ได้ดำเนินงานโดยกำหนดขั้นตอนวิธีปฏิบัติไว้อย่างชัดเจน จัดทำบัญชีตามระบบสากล สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินเป็นผู้ตรวจการดำเนินงานและรับรองงบการเงินของบริษัท ซึ่งที่ผ่านมาเป็นไปด้วยความถูกต้อง ครบถ้วน มีความโปร่งใสสามารถตรวจสอบได้
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 15 มกราคม 2551--จบ--
1. บริษัท ส่งเสริมธุรกิจเกษตรกรไทย จำกัด ได้แต่งตั้งคณะทำงานเพื่อพิจารณาความเหมาะสมการจ่ายเงินชดเชยเกษตรกรและค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ซึ่งคณะทำงานได้ประชุมเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2550 มีมติดังนี้
1.1 การจ่ายเงินชดเชยค่าเสียโอกาสในการเลี้ยงโคให้เกษตรกรในโครงการตัวละไม่เกิน 1,000 บาท มีความถูกต้องเหมาะสม และสอดคล้องกับข้อเท็จจริง เนื่องจาก
(1) จากงานวิจัยทางวิชาการของกรมปศุสัตว์ เกษตรกร 1 ราย สามารถเลี้ยงโคเนื้อแบบไล่ต้อนทุ่งได้จำนวน 50 ตัว โดยจะเสียค่าใช้จ่ายเป็นค่าจ้างเลี้ยงอัตราวันละ 150 บาท หรือเฉลี่ยค่าจ้าง 3 บาท/ตัว/วัน ดังนั้น ถ้าเกษตรกรเลี้ยงโคตามสัญญาของโครงการประมาณ 1 ปี ก็จะเสียค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงประมาณ 1,095 บาท/ตัว
(2) บริษัท สธท. ซึ่งรับซื้อโคคืนจากเกษตรกรผู้เลี้ยงตั้งแต่ 1 มกราคม 2550 — 30 พฤศจิกายน 2550 จำนวน 1,603 ตัว จัดว่าเป็นโคคุณภาพดีเมื่อนำไปจำหน่ายแล้วสามารถจัดสรรรายได้ให้เกษตรกรเฉลี่ยได้เพียงตัวละ 1,220 บาท สำหรับโคที่เหลืออยู่ในโครงการขณะนี้จัดว่าเป็นโคที่มีคุณภาพปานกลางถึงค่อนข้างต่ำ ขณะเดียวกันราคาโคชีวิตราคาตกต่ำมาก ถ้าจำหน่ายตามราคาท้องตลาด ณ ปัจจุบันจะทำให้ขาดทุน เกษตรกรไม่ได้รับจัดสรรได้ ดังนั้น ถ้าจ่ายเงินชดเชยค่าเสียโอกาสในการเลี้ยงโคให้เกษตรกรในโครงการตัวละไม่เกิน 1,000 บาท จะใช้เงินประมาณ 18 ล้านบาท ซึ่งเงินชดเชยจำนวนดังกล่าวใช้จ่ายเงินทุนของบริษัท ส่งเสริมธุรกิจเกษตรกรไทย จำกัด โดยรัฐไม่ต้องรับภาระจัดหางบประมาณเพิ่มเติม
1.2 การจ่ายเงินชดเชยค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในโครงการฯ ให้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร เห็นควรให้จ่ายเงินชดเชยค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในโครงการให้แก่ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ตามที่ได้จ่ายจริงเป็นจำนวน 46,438,810 บาท ดังนี้ (1) ค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการ เป็นเงิน 40,258,620 บาท (2) ระบบงานคอมพิวเตอร์ เป็นเงิน 6,081,730 บาท (3) ระบบบัญชีและรายงาน เป็นเงิน 48,760 บาท (4) ค่าใช้จ่ายอำนวยการ เป็นเงิน 50,000 บาท
ทั้งนี้ การจ่ายเงินชดเชยค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในโครงการฯ ให้ ธ.ก.ส. จะใช้จ่ายจากเงินทุนของบริษัท สธท. โดยรัฐไม่ต้องรับภาระจัดหางบประมาณเพิ่มเติม
2. การดำเนินงานโครงการส่งเสริมการเลี้ยงโคเนื้อล้านครอบครัวมีโครงสร้างการบริหารจัดการโครงการรูปแบบของคณะกรรมการอย่างชัดเจน ดังนี้
2.1 จัดตั้งบริษัท ส่งเสริมธุรกิจเกษตรกรไทย จำกัด เพื่อทำหน้าที่เป็นกลไกในการขับเคลื่อนโครงการสำคัญด้านการเกษตร จัดหาเงินทุนในรูปปัจจัยการผลิตช่วยเหลือบริหารจัดการให้เกษตรกรมีเทคนิคในการผลิต แปรรูป และการตลาดที่เหมาะสมโดยระยะแรกให้ดำเนินธุรกิจเฉพาะโครงการส่งเสริมการเลี้ยงโคเนื้อ ซึ่งการดำเนินงานของบริษัทฯ ให้อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
2.2 โครงสร้างการบริหารจัดการการซื้อและส่งมอบโคให้เกษตรกร โดยให้บริษัทฯ รับซื้อโค จำนวน 3 สายพันธุ์ บริษัทฯ จึงดำเนินการออกประกาศรับซื้อโค โดยในการรับซื้อได้ถือปฏิบัติตามเงื่อนไขข้อกำหนดของ คณะกรรมการบริหารโครงการฯ ทั้งนี้ ได้มีการดำเนินการจัดซื้อและส่งมอบโคให้เกษตรกร โดยคณะกรรมการระดับจังหวัดตามโครงสร้างการบริหารจัดการการซื้อ และส่งมอบโคให้เกษตรกร
2.3 โครงสร้างการบริหารจัดการในการรับคืนโคและการจัดการด้านการตลาด ในการรับคืนโคจากเกษตรกรเพื่อนำมาจัดการด้านการตลาดนั้น ได้ดำเนินการโดยอาศัยกลไกของคณะกรรมการระดับจังหวัด เพื่อดำเนินการรับคืนโคตามเงื่อนไขสัญญา โดยมีมาตรการดำเนินการตามโครงสร้างการจัดการในการรับคืนโคและการจัดการด้านการตลาด
3. การประเมินผลโครงการส่งเสริมการเลี้ยงโคเนื้อล้านครอบครัวปรากฏผลดังนี้
3.1 ความสำเร็จของนโยบายการดำเนินโครงการ บริษัท ส่งเสริมธุรกิจเกษตรกรไทย จำกัด สามารถจัดหาโคให้เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการได้เพียงจำนวน 10,883 ราย จำนวนโค 21,684 ตัว ไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด เนื่องจากระยะแรกของโครงการฯ ลูกโคที่เกิดจากการผสมเทียมตามแผนงานของกรมปศุสัตว์ยังมีจำนวนไม่มาก ประกอบกับเกษตรกรผู้เลี้ยงโคคาดหวังว่าราคาลูกโคในตลาดจะปรับตัวสูงขึ้น จากความต้องการซื้อลูกโคของบริษัทตามโครงการฯ จึงยังไม่ยอมขายโคให้บริษัท ส่งเสริมธุรกิจเกษตรกรไทย จำกัด
3.2 ผลตอบแทนในการเลี้ยงโคของเกษตรกรตามโครงการฯ พบว่าผลตอบแทนในการเลี้ยงโคที่เกษตรกรได้รับตามโครงการอยู่ในระดับต่ำหรือขาดทุนเพราะสถานการณ์ราคาโคมีชีวิต ในปี 2550 ตกต่ำ (ปัจจุบันราคาโคมีถัวเฉลี่ยอยู่ที่ 38.30 บาทต่อกิโลกรัม) และมีแนวโน้มจะลดลงอีก
3.3 ความพึงพอใจของเกษตรกรที่มีต่อโครงการฯ พบว่ามีความพึงพอใจต่อโครงการอยู่ในระดับต่ำ โดยมีเกษตรกรที่แสดงความพึงพอใจน้อยและไม่พึงพอใจต่อโครงการถึงร้อยละ 63.10 เนื่องจากเกษตรกรส่วนใหญ่เลี้ยงโคครบตามระยะเวลาที่กำหนดแล้ว แต่ราคาโคมีชีวิตตกต่ำ บริษัท ส่งเสริมธุรกิจเกษตรกรไทย จำกัด ยังไม่สามารถรับคืนโคไปจำหน่ายและจัดสรรผลตอบแทนให้แก่เกษตรกรได้
3.4 ความพร้อมในการดำเนินธุรกิจของบริษัท ส่งเสริมธุรกิจเกษตรกรไทย จำกัด ไม่มีบุคลากรและสำนักงานเป็นของบริษัทเอง ต้องอาศัยสถานที่อุปกรณ์สำนักงาน และบุคลากรของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรช่วยในการบริหารจัดการทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค จึงไม่มีความพร้อมในการดำเนินธุรกิจ นอกจากนี้การดำเนินธุรกิจส่วนใหญ่ของบริษัท ส่งเสริมธุรกิจเกษตรกรไทย จำกัด กระจายอยู่ในพื้นที่ชนบท ทำให้บริษัท ส่งเสริมธุรกิจเกษตรกรไทย จำกัด มีต้นทุนดำเนินงานสูง
3.5 บริษัท ส่งเสริมธุรกิจเกษตรกรไทย จำกัด ได้รับงบประมาณเพื่อจดทะเบียนจัดตั้งบริษัท จำนวน 420 ล้านบาท ปัจจุบัน (30 มิถุนายน 2550) บริษัทมีทรัพย์สินรวม 421.165 ล้านบาท ประกอบด้วยเงินสด และเงินฝากสถาบันการเงิน 187.897 ล้านบาท โคเนื้อในโครงการ (ถือว่าเป็นสินทรัพย์หมุนเวียนของบริษัท ส่งเสริมธุรกิจเกษตรกรไทย จำกัด) มูลค่า 221.738 ล้านบาท และสินทรัพย์อื่น ๆ 11.530 ล้านบาท และมีหนี้สินอยู่เพียง 0.260 ล้านบาท ซึ่งสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน ได้สอบทานงบการเงินพร้อมกับตรวจสอบการดำเนินงานของบริษัท ส่งเสริมธุรกิจเกษตรกรไทย จำกัด ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาครวม 4 ครั้ง แล้วไม่พบเหตุผิดปกติหรือข้อบกพร่องในสาระสำคัญตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เห็นว่าการดำเนินงานของโครงการส่งเสริมการเลี้ยงโคเนื้อล้านครอบครัวซึ่งเป็นนโยบายของรัฐบาลที่ผ่านมา มีโครงสร้างการบริหารจัดการโครงการในรูปแบบคณะกรรมการ โดยมีผู้ทรงคุณวุฒิจากหลายงานทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาคแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบชัดเจน โดยกระทรวงการคลังได้จัดตั้งบริษัทในรูปรัฐวิสาหกิจ เพื่อสนับสนุนการดำเนินโครงการในส่วนการดำเนินงานของบริษัท ได้ดำเนินงานโดยกำหนดขั้นตอนวิธีปฏิบัติไว้อย่างชัดเจน จัดทำบัญชีตามระบบสากล สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินเป็นผู้ตรวจการดำเนินงานและรับรองงบการเงินของบริษัท ซึ่งที่ผ่านมาเป็นไปด้วยความถูกต้อง ครบถ้วน มีความโปร่งใสสามารถตรวจสอบได้
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 15 มกราคม 2551--จบ--