คณะรัฐมนตรีรับทราบการแก้ไขปัญหาการได้รับความเดือดร้อนและผลกระทบจากโรงไฟฟ้าแม่เมาะ อ.แม่เมาะ จ.ลำปาง ตามที่กระทรวงพลังงานเสนอ สรุปได้ดังนี้
กระทรวงพลังงานเห็นว่า จังหวัดลำปางเป็นหน่วยงานรัฐที่ดูแลพื้นที่ จึงเข้าใจในปัญหาและสามารถประสานผู้เกี่ยวข้องและราษฎรที่ได้รับผลกระทบได้เป็นอย่างดี ดังนั้น จึงได้ขอให้จังหวัดลำปางเป็นผู้ไปเจรจากับกลุ่มราษฎรที่ได้รับผลกระทบเพื่อหาทางออก และกำหนดแนวทางในการแก้ไขผลกระทบที่เหมาะสม ทั้งนี้ ต้องเป็นแนวทางที่ทุกฝ่ายยอมรับและมีข้อยุติที่จะไม่มีข้อร้องเรียนอีกในภายหลัง
1. จังหวัดลำปางได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงก่อนการดำเนินการ ซึ่งสรุปได้ดังนี้
1.1 มีกระแสความขัดแย้งในกลุ่มผู้ได้รับผลกระทบ ซึ่งแยกความต้องการของราษฎรเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มแรกยืนยันต้องการปลูกสร้างที่อยู่อาศัยเอง และยอมรับการจ่ายเงินเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายการปลูกสร้างบ้านใหม่จากการประเมินทรัพย์สินเดิม ในขณะที่กลุ่มเครือข่ายผู้ป่วยแม่เมาะยังคงยืนยันให้ กฟผ. เป็นผู้ปลูกสร้างบ้านให้ โดยให้ใช้แบบบ้านมั่นคง ของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
1.2 ได้มีชาวบ้านบางกลุ่มไปจับจองแปลงที่อยู่อาศัย โดยไม่ได้ดำเนินการจับสลากตามแนวทางที่กำหนด นอกจากนี้ จากกระแสความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในกลุ่มชาวบ้าน ได้สร้างปัญหาในการจัดสรรแปลงที่อยู่อาศัยโดยการจับสลาก เพราะผู้ที่มีความขัดแย้งกันไม่ต้องการจะอยู่ในบริเวณเดียวกัน
1.3 นอกจากนี้ กระทรวงพลังงานได้ลงพื้นที่ตรวจสอบแบบบ้านตัวอย่าง Knock Down ที่จะสร้างให้แก่ราษฎรแล้วเห็นว่า แบบบ้านดังกล่าวไม่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่และภูมิอากาศของท้องถิ่น สมควรที่จะปรับปรุงแบบให้ดีขึ้นจากเดิม
2. ในการแก้ไขปัญหาราษฎรที่ได้รับผลกระทบจากโรงไฟฟ้าแม่เมาะ จังหวัดลำปางได้ดำเนินการให้มีการก่อสร้างระบบสาธารณูปโภคในพื้นที่รองรับการอพยพ ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 10 มกราคม 2549 ซึ่งบัดนี้แล้วเสร็จตามแผนแล้ว ได้เจรจากับผู้ได้รับผลกระทบเพื่อหาข้อยุติ ได้ตรวจสอบและประเมินทรัพย์สินเดิมของผู้ได้รับผลกระทบ และเริ่มมีการทยอยจ่ายเงินค่าปลูกสร้างบ้านใหม่ สรุปผลการดำเนินการและข้อเสนอของทางจังหวัดลำปางเพื่อให้กระทรวงพลังงานทราบและพิจารณาเพื่อดำเนินการ ดังนี้
2.1 ในการจัดแปลงที่อยู่อาศัยยังคงเป็นไปตามหลักการเดิม คือ ใช้วิธีการจับสลากแยกพื้นที่เป็นรายหมู่บ้านก่อน จากนั้น ให้แต่ละหมู่บ้านจับสลากเป็นรายครัวเรือนของแต่ละหมู่บ้าน แต่เพื่อขจัดข้อขัดแย้งและให้ผู้อพยพสามารถอยู่ร่วมกันด้วยความสงบสุข ดังนั้น จังหวัดลำปางจึงได้ดูแลจัดแปลงที่อยู่อาศัยตามความเหมาะสมด้วยส่วนหนึ่ง โดยยึดหลักการของความเป็นธรรมแก่ผู้อพยพยทุกกลุ่ม
2.2 ในการจัดหาและปลูกสร้างที่อยู่อาศัยให้แก่ผู้อพยพ หลังจากการเจรจาโดยได้สอบถามความสมัครใจของราษฎรแล้ว จำเป็นต้องดำเนินการโดยแยกเป็นสองกลุ่ม รวมวงเงินงบประมาณในการจัดหาและปลูกสร้างที่อยู่อาศัยให้แก่ผู้อพยพทั้ง 2 กลุ่ม ประมาณ 235.960 ล้านบาท ดังต่อไปนี้
(1) กลุ่มที่ 1 ยอมรับการทำการปลูกสร้างบ้านบนที่ดินที่ได้รับการจัดสรรด้วยตนเอง โดยรับเงินสำหรับการปลูกสร้างตามราคาประเมินของคณะอนุกรรมการประเมินราคาที่จังหวัดแต่งตั้ง จำนวน 355 ครอบครัว รวมวงเงินประมาณ 181.960 ล้านบาท
(2) กลุ่มที่ 2 กลุ่มเครือข่ายสิทธิผู้ป่วยแม่เมาะ จำนวน 108 ครอบครัว ต้องการบ้านสำเร็จโดยขอให้ กฟผ. ทำการปลูกสร้างบ้านให้บนที่ดินที่ได้รับการจัดสรรตามแบบบ้านมั่นคงของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ในวงเงินหลังละ 500,000 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 54 ล้านบาท (ทั้งนี้ คณะอนุกรรมการฯ ได้ดำเนินการตรวจสอบและประเมินทรัพย์สินในเบื้องต้นของสมาชิกกลุ่มเครือข่ายฯ ไปแล้ว 98 ราย เป็นเงินงบประมาณ 47.599 ล้านบาท)
อนึ่ง ทางจังหวัดลำปางได้รับรองว่า หากกระทรวงพลังงานโดย กฟผ. ดำเนินการจ่ายเงินชดเชยและดำเนินการตามข้อเสนอของผู้อพยพทั้งหมดแล้ว ทางจังหวัดฯ จะกำกับดูแลมิให้เกิดการร้องเรียนภายหลังโดยเด็ดขาด
3. เมื่อเปรียบเทียบวงเงินงบประมาณในการจัดหาและปลูกสร้างที่อยู่อาศัยให้แก่ผู้อพยพแล้วตามแนวทางของรองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม) ขณะนั้นจะใช้งบประมาณ 661.8 ล้านบาท และต่อมารัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (นายยงยุทธ ติยะไพรัช) ขณะนั้นได้เปลี่ยนแนวทางของการโยกย้ายและจัดสร้างบ้านพัก เนื่องจากเห็นว่าแนวทางเดิมมีราคาแพง ซึ่งแนวทางใหม่จะใช้งบประมาณ 247.215 ล้านบาท ในขณะที่ตามแนวทางข้อเสนอของจังหวัดลำปางในข้อ 2. จะใช้งบประมาณ 235.960 ล้านบาท ซึ่งต่ำกว่าแนวทางของรองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม) ขณะนั้น และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (นายยงยุทธ ติยะไพรัช) ขณะนั้น 425.840 ล้านบาท และ 11.255 ล้านบาท ตามลำดับ
4. จากข้อเสนอของทางจังหวัดลำปาง กระทรวงพลังงานได้นำมาประชุมหารือผู้เกี่ยวข้องในกระทรวงฯ ได้ข้อสรุปว่า กฟผ. ไม่ขัดข้องที่จะดำเนินการในการจัดหาและปลูกสร้างบ้านพักใหม่สำหรับผู้ได้รับผลกระทบใน 2 แนวทางตามข้อ 2.2 โดยขอให้ทางจังหวัดให้การรับรองว่าจะไม่มีข้อร้องเรียนขึ้นอีกในภายหลัง เนื่องจากการจัดการเป็นสองแนวทางดังกล่าว กฟผ. เกรงว่าอาจมีราษฎรที่ได้รับความช่วยเหลือในแนวทางที่ต่างกันเกิดความไม่พอใจ และจะเรียกร้องอีกภายหลัง และเมื่อทางจังหวัดให้คำรับรองดังกล่าวแล้ว กฟผ. จะดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
5. ในขณะนี้ได้มีการจัดตั้งกองทุนพัฒนาพื้นที่รอบโรงไฟฟ้าแล้ว ซึ่งกองทุนฯ มีวัตถุประสงค์ในการแก้ไขปัญหาผลกระทบที่เกิดจากการก่อสร้างและประกอบกิจการโรงไฟฟ้า ดังนั้น หากมีข้อร้องเรียนในเรื่องผลกระทบที่เกิดจากโรงไฟฟ้าในอนาคต จังหวัดสามารถใช้เงินจากกองทุนฯ เพื่อจัดการปัญหาได้
6. ผลการดำเนินการล่าสุด ในขณะนี้คณะอนุกรรมการกลั่นกรองก่อนจ่ายเงินชดเชยบ้านพักอาศัย/สิ่งปลูกสร้างของราษฎรที่จะอพยพอำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง ได้ตรวจสอบความถูกต้อง และราษฎรได้ยอมรับผลการประเมินแล้ว จำนวน 79 ราย รวมเป็นเงิน 77,080,880.03 บาท โดย กฟผ. ได้โอนเงินให้แก่จังหวัดลำปางซึ่งได้ดำเนินการเบิกจ่ายให้แก่ราษฎรกลุ่มที่ 1 ไปแล้ว 28 ราย รวมเป็นเงิน 3,732,507.97 บาท และอยู่ระหว่างทำเรื่องเบิกจ่ายอีก 69 ราย (33,348,372.06 บาท) สำหรับรายที่เหลือที่เลือกรับเงินชดเชยเพื่อปลูกสร้างบ้านพักอาศัยเอง ทางจังหวัดลำปางจะเร่งดำเนินการตรวจสอบเพื่อทำการเบิกจ่ายเงินต่อไป ทั้งนี้ กระทรวงพลังงานได้กำชับให้ กฟผ. ให้ความร่วมมือทางจังหวัดลำปางเพื่อดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการทำการปลูกสร้างบ้านมั่นคงให้แก่กลุ่มเครือข่ายสิทธิผู้ป่วยแม่เมาะต่อไปแล้ว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 15 มกราคม 2551--จบ--
กระทรวงพลังงานเห็นว่า จังหวัดลำปางเป็นหน่วยงานรัฐที่ดูแลพื้นที่ จึงเข้าใจในปัญหาและสามารถประสานผู้เกี่ยวข้องและราษฎรที่ได้รับผลกระทบได้เป็นอย่างดี ดังนั้น จึงได้ขอให้จังหวัดลำปางเป็นผู้ไปเจรจากับกลุ่มราษฎรที่ได้รับผลกระทบเพื่อหาทางออก และกำหนดแนวทางในการแก้ไขผลกระทบที่เหมาะสม ทั้งนี้ ต้องเป็นแนวทางที่ทุกฝ่ายยอมรับและมีข้อยุติที่จะไม่มีข้อร้องเรียนอีกในภายหลัง
1. จังหวัดลำปางได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงก่อนการดำเนินการ ซึ่งสรุปได้ดังนี้
1.1 มีกระแสความขัดแย้งในกลุ่มผู้ได้รับผลกระทบ ซึ่งแยกความต้องการของราษฎรเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มแรกยืนยันต้องการปลูกสร้างที่อยู่อาศัยเอง และยอมรับการจ่ายเงินเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายการปลูกสร้างบ้านใหม่จากการประเมินทรัพย์สินเดิม ในขณะที่กลุ่มเครือข่ายผู้ป่วยแม่เมาะยังคงยืนยันให้ กฟผ. เป็นผู้ปลูกสร้างบ้านให้ โดยให้ใช้แบบบ้านมั่นคง ของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
1.2 ได้มีชาวบ้านบางกลุ่มไปจับจองแปลงที่อยู่อาศัย โดยไม่ได้ดำเนินการจับสลากตามแนวทางที่กำหนด นอกจากนี้ จากกระแสความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในกลุ่มชาวบ้าน ได้สร้างปัญหาในการจัดสรรแปลงที่อยู่อาศัยโดยการจับสลาก เพราะผู้ที่มีความขัดแย้งกันไม่ต้องการจะอยู่ในบริเวณเดียวกัน
1.3 นอกจากนี้ กระทรวงพลังงานได้ลงพื้นที่ตรวจสอบแบบบ้านตัวอย่าง Knock Down ที่จะสร้างให้แก่ราษฎรแล้วเห็นว่า แบบบ้านดังกล่าวไม่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่และภูมิอากาศของท้องถิ่น สมควรที่จะปรับปรุงแบบให้ดีขึ้นจากเดิม
2. ในการแก้ไขปัญหาราษฎรที่ได้รับผลกระทบจากโรงไฟฟ้าแม่เมาะ จังหวัดลำปางได้ดำเนินการให้มีการก่อสร้างระบบสาธารณูปโภคในพื้นที่รองรับการอพยพ ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 10 มกราคม 2549 ซึ่งบัดนี้แล้วเสร็จตามแผนแล้ว ได้เจรจากับผู้ได้รับผลกระทบเพื่อหาข้อยุติ ได้ตรวจสอบและประเมินทรัพย์สินเดิมของผู้ได้รับผลกระทบ และเริ่มมีการทยอยจ่ายเงินค่าปลูกสร้างบ้านใหม่ สรุปผลการดำเนินการและข้อเสนอของทางจังหวัดลำปางเพื่อให้กระทรวงพลังงานทราบและพิจารณาเพื่อดำเนินการ ดังนี้
2.1 ในการจัดแปลงที่อยู่อาศัยยังคงเป็นไปตามหลักการเดิม คือ ใช้วิธีการจับสลากแยกพื้นที่เป็นรายหมู่บ้านก่อน จากนั้น ให้แต่ละหมู่บ้านจับสลากเป็นรายครัวเรือนของแต่ละหมู่บ้าน แต่เพื่อขจัดข้อขัดแย้งและให้ผู้อพยพสามารถอยู่ร่วมกันด้วยความสงบสุข ดังนั้น จังหวัดลำปางจึงได้ดูแลจัดแปลงที่อยู่อาศัยตามความเหมาะสมด้วยส่วนหนึ่ง โดยยึดหลักการของความเป็นธรรมแก่ผู้อพยพยทุกกลุ่ม
2.2 ในการจัดหาและปลูกสร้างที่อยู่อาศัยให้แก่ผู้อพยพ หลังจากการเจรจาโดยได้สอบถามความสมัครใจของราษฎรแล้ว จำเป็นต้องดำเนินการโดยแยกเป็นสองกลุ่ม รวมวงเงินงบประมาณในการจัดหาและปลูกสร้างที่อยู่อาศัยให้แก่ผู้อพยพทั้ง 2 กลุ่ม ประมาณ 235.960 ล้านบาท ดังต่อไปนี้
(1) กลุ่มที่ 1 ยอมรับการทำการปลูกสร้างบ้านบนที่ดินที่ได้รับการจัดสรรด้วยตนเอง โดยรับเงินสำหรับการปลูกสร้างตามราคาประเมินของคณะอนุกรรมการประเมินราคาที่จังหวัดแต่งตั้ง จำนวน 355 ครอบครัว รวมวงเงินประมาณ 181.960 ล้านบาท
(2) กลุ่มที่ 2 กลุ่มเครือข่ายสิทธิผู้ป่วยแม่เมาะ จำนวน 108 ครอบครัว ต้องการบ้านสำเร็จโดยขอให้ กฟผ. ทำการปลูกสร้างบ้านให้บนที่ดินที่ได้รับการจัดสรรตามแบบบ้านมั่นคงของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ในวงเงินหลังละ 500,000 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 54 ล้านบาท (ทั้งนี้ คณะอนุกรรมการฯ ได้ดำเนินการตรวจสอบและประเมินทรัพย์สินในเบื้องต้นของสมาชิกกลุ่มเครือข่ายฯ ไปแล้ว 98 ราย เป็นเงินงบประมาณ 47.599 ล้านบาท)
อนึ่ง ทางจังหวัดลำปางได้รับรองว่า หากกระทรวงพลังงานโดย กฟผ. ดำเนินการจ่ายเงินชดเชยและดำเนินการตามข้อเสนอของผู้อพยพทั้งหมดแล้ว ทางจังหวัดฯ จะกำกับดูแลมิให้เกิดการร้องเรียนภายหลังโดยเด็ดขาด
3. เมื่อเปรียบเทียบวงเงินงบประมาณในการจัดหาและปลูกสร้างที่อยู่อาศัยให้แก่ผู้อพยพแล้วตามแนวทางของรองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม) ขณะนั้นจะใช้งบประมาณ 661.8 ล้านบาท และต่อมารัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (นายยงยุทธ ติยะไพรัช) ขณะนั้นได้เปลี่ยนแนวทางของการโยกย้ายและจัดสร้างบ้านพัก เนื่องจากเห็นว่าแนวทางเดิมมีราคาแพง ซึ่งแนวทางใหม่จะใช้งบประมาณ 247.215 ล้านบาท ในขณะที่ตามแนวทางข้อเสนอของจังหวัดลำปางในข้อ 2. จะใช้งบประมาณ 235.960 ล้านบาท ซึ่งต่ำกว่าแนวทางของรองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม) ขณะนั้น และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (นายยงยุทธ ติยะไพรัช) ขณะนั้น 425.840 ล้านบาท และ 11.255 ล้านบาท ตามลำดับ
4. จากข้อเสนอของทางจังหวัดลำปาง กระทรวงพลังงานได้นำมาประชุมหารือผู้เกี่ยวข้องในกระทรวงฯ ได้ข้อสรุปว่า กฟผ. ไม่ขัดข้องที่จะดำเนินการในการจัดหาและปลูกสร้างบ้านพักใหม่สำหรับผู้ได้รับผลกระทบใน 2 แนวทางตามข้อ 2.2 โดยขอให้ทางจังหวัดให้การรับรองว่าจะไม่มีข้อร้องเรียนขึ้นอีกในภายหลัง เนื่องจากการจัดการเป็นสองแนวทางดังกล่าว กฟผ. เกรงว่าอาจมีราษฎรที่ได้รับความช่วยเหลือในแนวทางที่ต่างกันเกิดความไม่พอใจ และจะเรียกร้องอีกภายหลัง และเมื่อทางจังหวัดให้คำรับรองดังกล่าวแล้ว กฟผ. จะดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
5. ในขณะนี้ได้มีการจัดตั้งกองทุนพัฒนาพื้นที่รอบโรงไฟฟ้าแล้ว ซึ่งกองทุนฯ มีวัตถุประสงค์ในการแก้ไขปัญหาผลกระทบที่เกิดจากการก่อสร้างและประกอบกิจการโรงไฟฟ้า ดังนั้น หากมีข้อร้องเรียนในเรื่องผลกระทบที่เกิดจากโรงไฟฟ้าในอนาคต จังหวัดสามารถใช้เงินจากกองทุนฯ เพื่อจัดการปัญหาได้
6. ผลการดำเนินการล่าสุด ในขณะนี้คณะอนุกรรมการกลั่นกรองก่อนจ่ายเงินชดเชยบ้านพักอาศัย/สิ่งปลูกสร้างของราษฎรที่จะอพยพอำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง ได้ตรวจสอบความถูกต้อง และราษฎรได้ยอมรับผลการประเมินแล้ว จำนวน 79 ราย รวมเป็นเงิน 77,080,880.03 บาท โดย กฟผ. ได้โอนเงินให้แก่จังหวัดลำปางซึ่งได้ดำเนินการเบิกจ่ายให้แก่ราษฎรกลุ่มที่ 1 ไปแล้ว 28 ราย รวมเป็นเงิน 3,732,507.97 บาท และอยู่ระหว่างทำเรื่องเบิกจ่ายอีก 69 ราย (33,348,372.06 บาท) สำหรับรายที่เหลือที่เลือกรับเงินชดเชยเพื่อปลูกสร้างบ้านพักอาศัยเอง ทางจังหวัดลำปางจะเร่งดำเนินการตรวจสอบเพื่อทำการเบิกจ่ายเงินต่อไป ทั้งนี้ กระทรวงพลังงานได้กำชับให้ กฟผ. ให้ความร่วมมือทางจังหวัดลำปางเพื่อดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการทำการปลูกสร้างบ้านมั่นคงให้แก่กลุ่มเครือข่ายสิทธิผู้ป่วยแม่เมาะต่อไปแล้ว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 15 มกราคม 2551--จบ--