คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานสรุปภาวะของประเทศปี 2550 ตามที่คณะกรรมการจัดทำรายงานสรุปสภาวะของประเทศเสนอ ดังนี้
1. สภาวะเศรษฐกิจ
1.1 ในช่วงที่รัฐบาล นายกรัฐมนตรี พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ เข้าบริหารประเทศเมื่อเดือนตุลาคม 2549 ภาวะเศรษฐกิจอยู่
ในช่วงชะลอตัว โดยเฉพาะการบริโภคและการลงทุนของภาคเอกชนซึ่งมีแนวโน้มชะลอตัวตั้งแต่ต้นปี 2549 การบริโภคของเอกชนขยายตัวร้อยละ 3.9
3.3 และ 2.8 ในไตรมาสที่ 1 2 และ 3 ในขณะที่การลงทุนของเอกชนขยายตัวร้อยละ 7.0 3.3 และ 2.9 ในช่วงดังกล่าว ในปี 2550 ราคา
น้ำมันยังคงเพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่อง โดยเฉพาะในช่วงครึ่งหลังของปี ราคาน้ำมันดิบดูไบเฉลี่ยในไตรมาสแรกปี 2550 เท่ากับ 55.4 ดอลลาร์ สรอ.
ต่อบาเรล แต่เพิ่มขึ้นเป็นเฉลี่ย 68.83 ดอลลาร์ สรอ. ต่อบาเรลในช่วง 12 เดือน และราคาเฉลี่ยเดือนธันวาคมเท่ากับ 91.26 ดอลลาร์ สรอ.
ต่อบาเรล ในช่วงเดือนกรกฎาคมปัญหาหนี้ด้อยคุณภาพ (sub-prime loan) ในสหรัฐส่งผลระยะสั้นๆ ถึงการเคลื่อนย้ายทุนและตลาดหลักทรัพย์-
แห่งประเทศไทย
1.2 รัฐบาลได้ดำเนินมาตรการเร่งด่วนในการจัดทำและเสนอ พรบ. งบประมาณ 2550 ผ่านรัฐสภา เร่งรัดการใช้จ่าย
งบประมาณรัฐบาลให้มีอัตราการเบิกจ่ายร้อยละ 93.91 และแก้ไขปัญหาอุปสรรคพร้อมกับกระตุ้นการลงทุนของภาคเอกชน ดังมีรายละเอียดปรากฏ
ในรายงานแสดงผลการดำเนินการของคณะรัฐมนตรี รัฐบาล พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์
1.3 ณ ปลายปี 2550 เศรษฐกิจไทยขยายตัวได้ร้อยละ 4.2 ร้อยละ 4.3 และร้อยละ 4.9 ในไตรมาสที่ 1 ไตรมาสที่ 2
และไตรมาสที่ 3 ตามลำดับ การบริโภคและการลงทุนของเอกชนที่ชะลอตัวในครึ่งแรกของปีเริ่มมีแนวโน้มดีขึ้นในไตรมาสที่ 3 เสถียรภาพทาง
เศรษฐกิจมีความมั่นคง การจ้างงานเพิ่มขึ้น การกระจายรายได้ดีขึ้น และหนี้สินครัวเรือนลดลง คาดว่าเศรษฐกิจจะขยายตัวไม่ต่ำกว่าร้อยละ 4.5
ในปี 2550
ตารางเครื่องชี้วัดเศรษฐกิจสำคัญ
2548 2549 2550
ทั้งปี ทั้งปี Q1 Q2 Q3 Q4 Q1 Q2 Q3 9 เดือน
1. อัตราการเจริญเติบโต GDP (%) 4.5 5.0 6.3 5.3 4.5 4.3 4.2 4.3 4.9 4.9
2. เงินเฟ้อทั่วไป (%) 4.5 4.7 5.7 6.0 3.6 3.3 2.4 1.9 1.6 2.0
- เงินเฟ้อพื้นฐาน (%) 1.6 2.3 2.6 2.8 1.9 1.7 1.4 0.9 0.8 1.0
3. การอุปโภคบริโภคภาคเอกชน (%) 4.3 3.2 4.0 3.1 2.8 2.7 1.3 0.8 1.9 1.3
4. การลงทุนภาคเอกชน (%) 10.9 3.7 6.8 3.1 3.2 1.9 -2.3 -0.7 1.1 -0.7
5. อัตราเพิ่มมูลค่าส่งออก (%,$) 15.0 17.4 17.7 16.0 16.3 19.7 18.9 18.8 12.6 16.6
6. อัตราเพิ่มมูลค่าการนำเข้า (%,$) 25.9 7.0 5.5 3.3 12.2 7.2 5.9 7.4 8.4 7.3
7. มูลค่าการนำเข้าสินค้าทุน (ราคาปี 2000, %) 21.0 3.9 7.0 8.5 3.2 -2.8 -4.2 0.2 4.9 0.3
8. ดุลบัญชีเดินสะพัด (ล้าน US$) -7852.2 3240.5 609.2 -2201.2 1250.0 3582.5 4963.9 1369.7 2928.4 9262.0
9. อัตราแลกเปลี่ยน (เฉลี่ย) 40.2 37.9 39.3 38.1 37.6 36.5 35.5 34.6 34.0 34.7
ที่มา : สศช. ธปท. และ พณ.
เศรษฐกิจไทยใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น การใช้พลังงานทดแทนในประเทศทั้งการใช้แก๊สโซฮอล์และไบโอดีเซล
และเอ็นจีวีเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ในช่วง 11 เดือนของปี 2550 มูลค่าการนำเข้าสินค้าเชื้อเพลิง เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.0 โดยการนำเข้าน้ำมันดิบและน้ำมัน
สำเร็จรูปลดลงร้อยละ 4.1 และ 6.5 ตามลำดับ แต่มีการนำเข้าก๊าชธรรมชาติและถ่านหินเพิ่มขึ้นมาก เพื่อใช้ในการผลิตไฟฟ้า และการผลิตภาค
อุตสาหกรรม ทั้งนี้การที่สามารถผลิตไฟฟ้าจากพลังงานน้ำและก๊าซธรรมชาติ ซึ่งจัดหาได้มากกว่าแผนและทดแทนการผลิตไฟฟ้าจากน้ำมันเตาได้
มากกว่าแผน ทำให้สามารถลดค่า Ft ค่าไฟฟ้าลงได้ 3 ครั้ง รวม 12.31 สตางค์ต่อหน่วย
นอกจากนั้นหนี้สินครัวเรือนลดลงโดยในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2550 ครัวเรือนทั่วประเทศมีรายได้เฉลี่ยเดือนละ
18,823 บาท และรายจ่าย 14,424 บาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.8 และ0.8 จากช่วงเดือนเดียวกันของปี 2549 หนี้สินเฉลี่ยต่อครัวเรือนทั้งสิ้นลดลง
จาก 116,585 บาท เป็น 113,389 บาท สัดส่วนครัวเรือนที่เป็นหนี้ลดลงจากร้อยละ 64.4 เป็นร้อยละ 62.3
ในปี 2551 คาดว่าเศรษฐกิจจะขยายตัวร้อยละ 4.0-6.0 ทั้งนี้อุปสงค์ภายในประเทศโดยเฉพาะการลงทุนภาครัฐและ
ภาคเอกชนคาดว่าจะขยายตัวได้ดีขึ้นในปี 2551 ประกอบด้วยการลงทุนในระบบรถไฟขนส่งมวลชน การลงทุนในอุตสาหกรรมรถยนต์ที่ได้รับแรง
สนับสนุนจากรอบภาษีรถยนต์ประหยัดพลังงาน (ECO car) และรถยนต์ที่ใช้แก๊สโซฮอล์ (E20) การขยายการลงทุนอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์
การผลิตเอทานอล และโครงการผลิตไฟฟ้า IPP เป็นต้น
1.4 ลำดับความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยตามการจัดลำดับของ WEF โดยรวมอยู่ที่ลำดับที่ 28 เท่ากับปี 2549
จากจำนวน 131 เขตเศรษฐกิจ แต่ยังมีจุดอ่อนด้านจำนวนผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตซึ่งเป็นอัตราที่ต่ำมากต่อประชากรเทียบกับประเทศที่มีความพร้อม
มากกว่าประเทศไทยในการเข้าสู่สังคมฐานความรู้ในอนาคต ค่าใช้จ่ายด้านโลจิสติกส์ยังสูงประมาณ ร้อยละ 19 ต่อ GDP และโครงสร้างพื้นฐาน
ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยียังอยู่ในอันดับที่ต่ำกว่าประเทศคู่แข่งสำคัญ ในขณะที่ภาคการผลิตและบริการของประเทศอยู่ในช่วงที่ต้องปรับตัวไป
สู่การสร้างมูลค่าของสินค้าบริการเพื่อให้มีความสามารถในการแข่งขันเพิ่มขึ้น นอกจากนั้นยังต้องมีการเตรียมแผนพัฒนาพื้นที่เพื่อรองรับการขยายตัว
ของภาคอุตสาหกรรมในอนาคตและการพัฒนาจังหวัดและกลุ่มจังหวัดให้สอดคล้องกับศักยภาพ
1.5 ประเด็นนโยบายการบริหารเศรษฐกิจมหภาค ในช่วงต่อไปควรให้ความสำคัญดังนี้
1.5.1 การสร้างความเชื่อมั่นให้กับภาคการลงทุน โดยเฉพาะเร่งรัดการแก้ไขปัญหาที่เป็นอุปสรรคต่อการขยายตัวของ
การลงทุนของภาคเอกชน และการสานต่อนโยบายด้านการลงทุนภาครัฐให้มีความต่อเนื่องเพื่อสร้างพื้นฐานการขยายตัวและการเพิ่มประสิทธิภาพของ
ระบบเศรษฐกิจในระยะยาว
1.5.2 การเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณประจำปี 2551 ของภาครัฐให้สามารถเบิกจ่ายได้ตามเป้าหมายอัตราการ
เบิกจ่ายร้อยละ 94 สำหรับงบประมาณรัฐบาล และร้อยละ 90 สำหรับงบลงทุนรัฐวิสาหกิจ
1.5.3 การส่งเสริมการส่งออกในตลาดใหม่โดยเฉพาะในตะวันออกกลาง แอฟริกา และยุโรปตะวันออก รวมทั้งการ
ดูแลมาตรฐานสินค้าโดยเฉพาะสินค้าอาหารอย่างเข้มงวด
1.5.4 การส่งเสริมการท่องเที่ยวให้ฟื้นตัวจากภาวการณ์ชะลอตัวในปี 2550
1.5.5 การผลักดันมาตรการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานและรณรงค์การใช้พลังงานทางเลือกเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
1.5.6 การกำหนดกลไกในการดูแลและสนับสนุนการปรับตัวของภาคธุรกิจรายสาขาและวิสาหกิจขนาดกลางขนาดย่อม
ที่ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการผลิตในตลาดโลก
2. สภาวะสังคม
2.1 สังคมไทยมีโครงสร้างประชากรที่กำลังเปลี่ยนแปลงเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการจัดบริการทางสังคมใน
ทุกรูปแบบ สัดส่วนประชากรวัยสูงอายุ (60 ปีขึ้นไป) จะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยมีสัดส่วนจากร้อยละ 10.71 ในปี 2550 เป็นร้อยละ 12.02
ในปี 2554 การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรสู่สังคมผู้สูงอายุ ส่งผลให้ต้องเตรียมความพร้อมของคนและระบบต่างๆ อาทิ บริการทางการแพทย์
เนื่องจากแบบแผนการเกิดโรคเรื้อรังและโรคเกี่ยวกับผู้สูงอายุจะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น และการสร้างหลักประกันทางเศรษฐกิจและสังคมสำหรับอนาคต
เพื่อการชราภาพ เป็นต้น
ด้านกำลังแรงงาน การจ้างงานรวมยังคงเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง แต่แรงงานไทยยังคงมีปัญหาการทำงานต่ำระดับ และมี
สมรรถนะค่อนข้างต่ำ แรงงานเกือบร้อยละ 60 ยังมีการศึกษาเพียงระดับประถมศึกษาที่มีทักษะฝีมือต่ำ และมีความขาดแคลนกำลังคนระดับกลางที่มี
คุณภาพ
ด้านการศึกษาโดยภาพรวมคนไทยมีศักยภาพและโอกาสด้านการศึกษาเพิ่มขึ้น แต่คุณภาพการศึกษาที่วัดจากคะแนนเฉลี่ยของ
การทดสอบ 3 วิชาหลัก ได้แก่ ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และคณิตศาสตร์ ลดต่ำกว่าร้อยละ 50 มาโดยตลอด การสร้างโอกาสทางการศึกษาแก่คนที่อยู่
นอกระบบหรือการจัดการเรียนรู้ต่อเนื่องตลอดชีวิตดำเนินการได้เพิ่มขึ้น แต่ยังขาดการจัดระบบและหมวดหมู่แหล่งเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพ ขณะที่
การพัฒนาคุณภาพการศึกษาระดับสูงเพื่อสร้างและจัดการองค์ความรู้สนับสนุนและเชื่อมโยงกับภาคการผลิตและบริการยังไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอต่อการ
เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
2.2 ด้านคุณภาพชีวิต คนไทยมีสถานะทางสุขภาพดีขึ้นแต่ต้องเร่งป้องกันโรคที่เกิดจากพฤติกรรมเสี่ยงทางสุขภาพ เช่น การมี
เพศสัมพันธ์ที่ไม่ปลอดภัย แอลกอฮอล์ บุหรี่ ความดันโลหิตสูง การไม่สวมหมวกนิรภัยและคาดเข็มขัดนิรภัย ภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วน เป็นต้น
คนไทยมีหลักประกันทางสุขภาพที่ครอบคลุมทั่วถึง แต่ต้องเร่งให้การคุ้มครองแรงงานนอกระบบจำนวน 23 ล้านคนให้เกิดผลอย่างจริงจัง รวมทั้ง
การจัดสวัสดิการและบริการทางสังคมแก่ผู้ด้อยโอกาสและคนยากจนให้ทั่วถึง
ปัญหายาเสพติดยังคงเป็นปัญหาหลักของสังคมและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ขณะที่สถาบันหลักทางสังคมยังไม่แสดงบทบาทในการ
บ่มเพาะคุณธรรม จริยธรรมแก่คนไทยโดยเฉพาะเด็กและเยาวชนเท่าที่ควร สถาบันครอบครัวมีความเปราะบางจากอัตราการหย่าร้างเพิ่มขึ้น
สถาบันการศึกษามีบทบาทในการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมค่อนข้างน้อย ขณะที่สื่อมีอิทธิพลอย่างมากต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของประชาชน แต่
สื่อส่วนใหญ่ยังนำเสนอภาพและสาระที่สร้างสรรค์ จรรโลงสังคมน้อยมาก นอกจากนั้นคนไทยและสังคมไทยให้ความสำคัญกับระบบคุณค่า ความเป็นไทย
และค่านิยมการรักษาวัฒนธรรมไทยที่ดีงามลดลง
2.3 ประเด็นนโยบายด้านสังคม ที่สำคัญในช่วงต่อไปได้แก่
2.3.1 การพัฒนาคุณภาพการศึกษาสู่สังคมแห่งการเรียนรู้คู่คุณธรรม เพื่อเร่งเพิ่มผลิตภาพแรงงานทุกช่วงวัยตามโครงสร้าง
ประชากรที่เปลี่ยนไป และสนับสนุนการกระจายอำนาจการจัดการศึกษาอย่างเป็นรูปธรรม
2.3.2 การเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการการลงทุนเพื่อผลิตกำลังคนออกสู่ตลาดแรงงานที่สอดคล้องกับความต้องการ
ของประเทศและศักยภาพของสถาบันการศึกษาที่มีการจัดกลุ่มชัดเจน อาทิเช่น กลุ่มสร้างองค์ความรู้และสร้างสรรค์นวัตกรรมที่หลากหลายเชื่อมโยง
กับภาคการผลิตและบริการ กลุ่มสนับสนุนการเรียนการสอนเพื่อคุณภาพชีวิต เป็นต้น
2.3.3 การเร่งมาตรการลดปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อสุขภาพและการเจ็บป่วยเรื้อรังอย่างเป็นองค์รวมควบคู่กับการประกาศใช้
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง สนับสนุนการพัฒนาและทดลองรูปแบบการกระจายอำนาจการจัดบริการให้ขยายความครอบคลุมเพิ่มขึ้น
2.3.4 การยึดแนวทางการพัฒนาแบบมีส่วนร่วมของชุมชนในการแก้ปัญหาของชุมชน และการพัฒนาประชาชนฐานรากที่นำ
ไปสู่การพึ่งตนเองอย่างเข้มแข็งในชุมชนให้เป็นหลักการสำคัญในแผนพัฒนาจังหวัด
2.3.5 การพัฒนาระบบการแก้ไขปัญหาขาดแคลนแรงงานในภาคอุตสาหกรรมร่วมกับสถานประกอบการ พร้อมทั้ง จัดทำ
ระบบการเฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์ที่มีผลกระทบต่อการจ้างงาน/เลิกจ้าง และเร่งผลักดันให้นำพระราชบัญญัติการทำงานของคนต่างด้าว
พ.ศ. .... ไปสู่การปฏิบัติ
2.3.6 การสนับสนุนการพัฒนาผู้สูงอายุให้มีความมั่นคงทั้งทางเศรษฐกิจและสังคม และขยายความคุ้มครองประกันสังคม
สู่แรงงานนอกระบบ
2.3.7 การส่งเสริมกระบวนการยุติธรรมทางเลือก โดยพัฒนาและขยายผล ระบบงานยุติธรรมชุมชน และปรับปรุงแก้ไข
กฎหมายเพื่อรองรับการใช้กระบวนการยุติธรรมทางเลือกได้มากขึ้น
2.3.8 การพัฒนาระบบการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดด้วยองค์ความรู้และนวัตกรรมใหม่ ๆ ที่ทันกับการเปลี่ยนแปลง
มีระบบเฝ้าระวังและเยียวยาที่เชื่อมโยงทั้งส่วนกลาง ส่วนท้องถิ่น จังหวัด ชุมชนและครอบครัว
3. สภาวะทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
3.1 ทรัพยากรธรรมชาติของประเทศไทย มีความเสื่อมโทรมอย่างต่อเนื่อง และเกิดปัญหาความขัดแย้งของการใช้ประโยชน์
ทรัพยากรธรรมชาติมากขึ้น อัตราการสูญเสียพื้นที่ป่า โดยเฉลี่ยยังอยู่ประมาณปีละ 1 ล้านไร่นอกจากนั้น ความเสื่อมโทรมของป่าไม้ ส่งผลต่อความชื้น
ปริมาณน้ำฝนและประสิทธิภาพในการเก็บอุ้มซับน้ำ เป็นสาเหตุของการเกิดอุทกภัย ภัยแล้ง เกิดการชะล้างพังทลายของหน้าดิน สูญเสียความหลากหลาย
ทางชีวภาพ ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งมีแนวโน้มเสื่อมโทรมลงอย่างต่อเนื่อง ความขาดแคลนทรัพยากรน้ำมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น
3.2 การควบคุมและกำจัดมลพิษยังไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ ทำให้มลพิษทางน้ำ อากาศ และเสียงรวมทั้งของทิ้งเสีย มีแนวโน้ม
เพิ่มสูงขึ้น ปริมาณมูลฝอยเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วขณะที่การจัดการมูลฝอยด้วยวิธีการที่ถูกสุขลักษณะทำเฉพาะในเขตเทศบาลใหญ่ ๆ จากการคาดการณ์
ในอนาคตพบว่า ปริมาณมูลฝอยจะเพิ่มขึ้นจากวันละ 39,400 ล้านตัน ในปี 2545 เป็นวันละ 47,000 ล้านตัน ในปี 2554 กากของเสียอันตรายเพิ่ม
มากขึ้นและไม่สามารถกำจัดอย่างถูกต้องตามหลักสุขาภิบาลได้หมด ปัจจุบันมีของเสียอันตรายเหลืออยู่อีกกว่าร้อยละ 50 ที่ยังไม่ได้กำจัด ทำให้เกิด
ปัญหาลักลอบทิ้งของเสียอันตรายหรือกากอุตสาหกรรมในพื้นที่ต่าง ๆ การนำเข้าสารเคมีอันตรายจากต่างประเทศและการผลิตในประเทศเพื่อใช้ใน
กระบวนการผลิตในอุตสาหกรรมและเกษตรกรรมมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น ขณะที่ยังขาดการจัดการที่ดีในการขนส่ง เก็บรักษาและใช้ประโยชน์ สำหรับ
การใช้สารเคมีทางภาคเกษตร ซึ่งพบว่า มีการใช้อย่าง ไม่ถูกต้องตามหลักวิชาการ ทำให้เกิดสารตกค้างในผลผลิตและสิ่งแวดล้อม ส่งผลกระทบ
ต่อสุขภาพอนามัยของผู้บริโภค ระบบนิเวศเสียสมดุล และกระทบต่อการส่งออกสินค้าผลิตภัณฑ์อาหารของไทย ทำให้สูญเสียรายได้คิดเป็นมูลค่าสูง
ถึงปีละ 20,000 ล้านบาท
3.3 คุณภาพน้ำในแหล่งน้ำสำคัญอยู่ในระดับต่ำไม่เหมาะสมต่อการนำมาใช้ประโยชน์ โดยแหล่งน้ำที่เสื่อมโทรมมาก ได้แก่
แม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่าง แม่น้ำท่าจีนตอนล่าง ลำตะคองตอนล่าง แม่น้ำนครนายก แม่น้ำระยอง แม่น้ำบางปะกง แม่น้ำปราจีนบุรี แม่น้ำประแสร์
แม่น้ำกวง กว๊านพะเยา บึงบอระเพ็ด และทะเลสาบสงขลา แหล่งกำเนิดมลพิษที่สำคัญ คือ ชุมชนที่อยู่อาศัย อุตสาหกรรม และเกษตรกรรม
โดยเฉพาะฟาร์มปศุสัตว์ น้ำเสียที่เกิดขึ้นทั่วประเทศมีวันละ 13 ล้านลูกบาศก์เมตร ขณะที่ระบบบำบัดทั้งหมดที่มีอยู่สามารถรับน้ำเสียได้เพียง
3.0 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อวันหรือร้อยละ 25 ของปริมาณน้ำเสียที่เกิดขึ้นเท่านั้น มลพิษทางอากาศโดยเฉพาะฝุ่นละอองและมลพิษทางเสียงยังเป็น
ปัญหาสำหรับเมืองใหญ่
3.4 ประเด็นนโยบายด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ที่สำคัญในช่วงต่อไปได้แก่
3.4.1 การรักษาสมดุลระหว่างการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ทุนทรัพยากรธรรมชาติ และสร้างสภาพแวดล้อมที่ดี โดย
ปรับเปลี่ยนบทบาทการบริหารจัดการให้เกิดลักษณะกระจายอำนาจ ส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วม และสร้างเครือข่ายทางสังคมที่เป็นความร่วมมือกัน
ระหว่างภาครัฐ องค์กรพัฒนาเอกชน ภาคเอกชน ชุมชน ท้องถิ่น และนักวิชาการ เพื่อให้เกิดพลังขับเคลื่อนทางสังคมอย่างแท้จริง
3.4.2 การสร้างความเป็นธรรมให้ชุมชนมีสิทธิในการเข้าถึงและจัดการทรัพยากรธรรมชาติ เพื่อให้สอดคล้องกับ
รัฐธรรมนูญ 2550 ซึ่งให้ความสำคัญกับสิทธิชุมชนในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
3.4.3 การส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่นและสร้างจิตสำนึกของประชาชนและชุมชนให้มีจริยธรรมในการอนุรักษ์และใช้
ทรัพยากรอย่างรู้คุณค่า
3.4.4 การพัฒนาคุณค่าความหลากหลายทางชีวภาพที่อยู่บนฐานความรู้ ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมท้องถิ่น และความสามารถ
ในการจัดการของชุมชน เพื่อสร้างความมั่นคงด้านอาหารและสุขภาพ ที่นำไปสู่การพึ่งตนเองอย่างยั่งยืน
3.4.5 การส่งเสริมให้เกิดการผลิตและการบริโภคอย่างยั่งยืน โดยปรับเปลี่ยนแบบแผนการผลิตให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
และใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคของคนในสังคมสู่ความพอเพียงมากขึ้น
3.4.6 การพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการเพื่อลดมลพิษและควบคุมกิจกรรมที่จะส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิต
3.4.7 การกำหนดจุดยืนเชิงยุทธศาสตร์ต่อพันธกรณีและข้อตกลงระหว่างประเทศด้านสิ่งแวดล้อม รวมทั้งข้อตกลงทาง
การค้าที่มีประเด็นเกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมที่สำคัญ เช่น อนุสัญญาว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก พิธีสารเกียวโต อนุสัญญาที่เกี่ยวข้อง
กับการจัดการสารเคมีและของเสียอันตราย เช่น อนุสัญญาบาเซลว่าด้วยการเคลื่อนย้ายข้ามแดนของของเสียอันตรายและการกำจัด
อนุสัญญาสต็อกโฮล์มว่าด้วยสารมลพิษที่ตกค้างยาวนาน อนุสัญญารอตเตอร์ดัมว่าด้วยกระบวนการแจ้งข้อมูลสารเคมีล่วงหน้า เป็นต้น
4. สภาวะความมั่นคง
4.1 ด้านสถานการณ์ความมั่นคงภายในประเทศ ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นปัญหาความมั่นคงภายในประเทศที่มี
ผลกระทบรุนแรงที่สุด โดยมีสาเหตุของปัญหามาจากเงื่อนไขภายในประเทศเป็นหลัก ได้แก่ ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม ช่องว่างทางเศรษฐกิจ สังคม
การปกครอง และความไม่เป็นธรรม รวมทั้งความขัดแย้งในด้านอิทธิพลและผลประโยชน์ในพื้นที่ ส่วนด้านการปกครองมีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ คือ
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ได้ส่งผลให้มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างอำนาจ องค์กรที่ใช้อำนาจและกระบวนการทาง
การเมืองการปกครองของประเทศที่สำคัญหลายประการ ซึ่งส่งผลต่อประสิทธิภาพการบริหารงานของรัฐบาลเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะการแก้ไขปัญหา
และการพัฒนาประเทศในด้านต่าง ๆ การเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างของอำนาจนิติบัญญัติซึ่งส่งผลให้สภาผู้แทนราษฎรประกอบด้วย สส. จากหลาย
พรรคการเมือง ขณะเดียวกันก็สามารถยุบพรรคการเมืองได้ง่ายขึ้น และการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างอำนาจการบริหารส่งผลให้ได้รัฐบาลผสมมาจาก
หลายพรรคการเมือง ซึ่งจะทำให้มีความเป็นเอกภาพและความเข้มแข็งน้อยลง รวมทั้งการเพิ่มบทบาทภาคประชาชนในทางการเมืองมากขึ้น อาทิ
การเข้าชื่อหรือการฟ้องร้องโดยตรงและถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองได้ หรือการให้ประชาชน จำนวน 50,000 คน สามารถเข้าชื่อเสนอ
แก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญได้ ซึ่งความเปลี่ยนแปลงเหล่านี้จะส่งผลต่อเสถียรภาพของรัฐบาลในอนาคตได้
4.2 สถานการณ์ความมั่นคงระดับภูมิภาคและประเทศเพื่อนบ้าน ในภูมิภาคตะวันออกกลาง ซึ่งเป็นศูนย์กลางอำนาจจาก
พลังงานน้ำมันยังคงมีปัญหาความขัดแย้งที่จำกัดขอบเขตได้ ทั้งปัญหาระหว่างอิสราเอลกับปาเลสไตน์และชาติอาหรับ ปัญหาอิรัก และปัญหาอิหร่าน
สำหรับปัญหาเกาหลีเหนือ ผลจากการเจรจามีความก้าวหน้าไปเป็นลำดับ และโอกาสที่ความขัดแย้งจะขยายไปสู่การเผชิญหน้าและใช้กำลังทหาร
แก้ไขปัญหาเกิดขึ้นได้ยาก ประเทศเพื่อนบ้านของไทย ในภาพรวมยังได้รับอิทธิพลจากสหรัฐฯ จีน และอินเดียมากขึ้น ทำให้ทุกประเทศต้องปรับตัว
ทางด้านนโยบายต่างประเทศอย่างสมดุลและผนึกกำลังในกรอบของอาเซียนมากขึ้น ในขณะที่ประเทศมุสลิมต่าง ๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ได้เสริมสร้างความสัมพันธ์กับโลกมุสลิมมากขึ้นเพื่อคานอำนาจกับตะวันตก จีนและอินเดีย เหตุการณ์ในพม่า สาเหตุความเคลื่อนไหวต่อต้านรัฐบาล
ครั้งล่าสุดมาจากเรื่องเศรษฐกิจซึ่งถูกปิดล้อมและคว่ำบาตรจากชาติตะวันตกมาอย่างต่อเนื่อง และได้ขยายไปสู่เรื่องการเมืองและเรื่องอื่น ๆ ตามมา
ผลกระทบที่มีต่อไทย คือ การอพยพเข้ามาหางานทำในประเทศไทยและพบว่ามีการอพยพเข้ามาเป็นครอบครัวเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งกลายเป็นปัญหาความมั่นคง
ของไทยอีกหลายประการ ขณะเดียวกันไทยจะถูกกดดันจากประเทศอื่น ๆ ให้ร่วมมือปิดล้อมหรือเข้าร่วมมาตรการกดดันพม่าทั้งโดยตรงและโดยอ้อมด้วย
4.3 สถานการณ์ความมั่นคงระดับโลก แนวโน้มทางยุทธศาสตร์ ของความมั่นคงระหว่างประเทศในระยะ 3 ปีข้างหน้า ยังคง
เป็นความสัมพันธ์ในลักษณะหลายขั้วอำนาจ ซึ่งมีสหรัฐอเมริกา รัสเซีย จีน ญี่ปุ่น และสหภาพยุโรป เป็นมหาอำนาจที่สำคัญ ขณะเดียวกันประเทศอินเดีย
ก็กำลังเร่งสร้างพลังอำนาจเพื่อเป็นอีกขั้วอำนาจหนึ่งที่จะมีบทบาทในเวทีการเมืองระหว่างประเทศโดยเฉพาะในภูมิภาคเอเชีย ประเด็นที่มีความ
สำคัญในระดับโลกในระยะ 3 ปีข้างหน้า ได้แก่ การแข่งขันในทางเศรษฐกิจ การใช้กำลังอำนาจทางทหารของมหาอำนาจเป็นเครื่องมือในการ
ขยายกำลังอำนาจด้านเศรษฐกิจ และภัยอื่น ๆ ที่ส่งผลต่อความมั่นคงของมนุษย์ อาทิ ภัยจากโรคติดต่อและภัยพิบัติจากธรรมชาติซึ่งทวีความรุนแรง
ยิ่งขึ้น โดยเฉพาะปรากฏการณ์โลกร้อน (global warming) รวมทั้งการขยายตัวของเครือข่ายการก่อการร้าย และอาชญากรรมข้ามชาติทั้งใน
ระดับโลกและระดับภูมิภาค
4.4 ประเด็นนโยบายด้านความมั่นคง ที่สำคัญในช่วงต่อไปได้แก่
4.4.1 การเสริมสร้างความสมานฉันท์และความสามัคคีของคนในชาติ ซึ่งเป็นเป้าหมายสำคัญของนโยบายความมั่นคง-
แห่งชาติ พ.ศ. 2550 — 2554
4.4.2 การยึดแนวทางสันติวิธีและเสริมสร้างความร่วมมือจากทุกภาคส่วน เพื่อลดการใช้ความรุนแรงในการแก้ไขปัญหา
จังหวัดชายแดนภาคใต้
4.4.3 การเร่งรัดให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดทำแผนรองรับนโยบายการเตรียมพร้อมแห่งชาติ ซึ่งเป็นภูมิคุ้มกันที่สำคัญ
ของประชาชนและสังคม หากต้องเผชิญกับภัยคุกคามทั้งที่เป็นภัยธรรมชาติ หรือสาธารณภัยขนาดใหญ่และภัยที่เกิดจากการกระทำของมนุษย์ โดย
เฉพาะภัยจากการก่อการร้ายและอาชญากรรมข้ามชาติ
4.4.4 การเสริมสร้างสภาวะแวดล้อมที่สร้างความเชื่อมั่นและไว้วางใจจากประเทศเพื่อนบ้าน ทั้งนี้เพื่อให้ประเทศไทย
ได้รับความร่วมมือและเป็นหุ้นส่วนการพัฒนาร่วมกับประเทศเพื่อนบ้านอย่างใกล้ชิด การเตรียมการติดตามประเมินผลและยกร่างนโยบายความมั่นคง-
แห่งชาติทางทะเล ซึ่งนโยบายเดิมมีกำหนดระยะเวลาสิ้นสุด ในปี 2552
4.4.5 การเตรียมการติดตามประเมินผลและยกร่างนโยบายความมั่นคงแห่งชาติทางทะเล ซึ่งนโยบายเดิมมีกำหนด
ระยะเวลาสิ้นสุด ในปี 2552
4.4.6 การติดตามและประเมินผลนโยบายและแผนปฏิบัติการจิตวิทยาแห่งชาติ พ.ศ. 2548-2551 เพื่อการจัดทำร่าง
นโยบายฉบับใหม่ที่สอดคล้องกับสภาพปัญหาและสถานการณ์ปัจจุบัน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 15 มกราคม 2551--จบ--
1. สภาวะเศรษฐกิจ
1.1 ในช่วงที่รัฐบาล นายกรัฐมนตรี พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ เข้าบริหารประเทศเมื่อเดือนตุลาคม 2549 ภาวะเศรษฐกิจอยู่
ในช่วงชะลอตัว โดยเฉพาะการบริโภคและการลงทุนของภาคเอกชนซึ่งมีแนวโน้มชะลอตัวตั้งแต่ต้นปี 2549 การบริโภคของเอกชนขยายตัวร้อยละ 3.9
3.3 และ 2.8 ในไตรมาสที่ 1 2 และ 3 ในขณะที่การลงทุนของเอกชนขยายตัวร้อยละ 7.0 3.3 และ 2.9 ในช่วงดังกล่าว ในปี 2550 ราคา
น้ำมันยังคงเพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่อง โดยเฉพาะในช่วงครึ่งหลังของปี ราคาน้ำมันดิบดูไบเฉลี่ยในไตรมาสแรกปี 2550 เท่ากับ 55.4 ดอลลาร์ สรอ.
ต่อบาเรล แต่เพิ่มขึ้นเป็นเฉลี่ย 68.83 ดอลลาร์ สรอ. ต่อบาเรลในช่วง 12 เดือน และราคาเฉลี่ยเดือนธันวาคมเท่ากับ 91.26 ดอลลาร์ สรอ.
ต่อบาเรล ในช่วงเดือนกรกฎาคมปัญหาหนี้ด้อยคุณภาพ (sub-prime loan) ในสหรัฐส่งผลระยะสั้นๆ ถึงการเคลื่อนย้ายทุนและตลาดหลักทรัพย์-
แห่งประเทศไทย
1.2 รัฐบาลได้ดำเนินมาตรการเร่งด่วนในการจัดทำและเสนอ พรบ. งบประมาณ 2550 ผ่านรัฐสภา เร่งรัดการใช้จ่าย
งบประมาณรัฐบาลให้มีอัตราการเบิกจ่ายร้อยละ 93.91 และแก้ไขปัญหาอุปสรรคพร้อมกับกระตุ้นการลงทุนของภาคเอกชน ดังมีรายละเอียดปรากฏ
ในรายงานแสดงผลการดำเนินการของคณะรัฐมนตรี รัฐบาล พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์
1.3 ณ ปลายปี 2550 เศรษฐกิจไทยขยายตัวได้ร้อยละ 4.2 ร้อยละ 4.3 และร้อยละ 4.9 ในไตรมาสที่ 1 ไตรมาสที่ 2
และไตรมาสที่ 3 ตามลำดับ การบริโภคและการลงทุนของเอกชนที่ชะลอตัวในครึ่งแรกของปีเริ่มมีแนวโน้มดีขึ้นในไตรมาสที่ 3 เสถียรภาพทาง
เศรษฐกิจมีความมั่นคง การจ้างงานเพิ่มขึ้น การกระจายรายได้ดีขึ้น และหนี้สินครัวเรือนลดลง คาดว่าเศรษฐกิจจะขยายตัวไม่ต่ำกว่าร้อยละ 4.5
ในปี 2550
ตารางเครื่องชี้วัดเศรษฐกิจสำคัญ
2548 2549 2550
ทั้งปี ทั้งปี Q1 Q2 Q3 Q4 Q1 Q2 Q3 9 เดือน
1. อัตราการเจริญเติบโต GDP (%) 4.5 5.0 6.3 5.3 4.5 4.3 4.2 4.3 4.9 4.9
2. เงินเฟ้อทั่วไป (%) 4.5 4.7 5.7 6.0 3.6 3.3 2.4 1.9 1.6 2.0
- เงินเฟ้อพื้นฐาน (%) 1.6 2.3 2.6 2.8 1.9 1.7 1.4 0.9 0.8 1.0
3. การอุปโภคบริโภคภาคเอกชน (%) 4.3 3.2 4.0 3.1 2.8 2.7 1.3 0.8 1.9 1.3
4. การลงทุนภาคเอกชน (%) 10.9 3.7 6.8 3.1 3.2 1.9 -2.3 -0.7 1.1 -0.7
5. อัตราเพิ่มมูลค่าส่งออก (%,$) 15.0 17.4 17.7 16.0 16.3 19.7 18.9 18.8 12.6 16.6
6. อัตราเพิ่มมูลค่าการนำเข้า (%,$) 25.9 7.0 5.5 3.3 12.2 7.2 5.9 7.4 8.4 7.3
7. มูลค่าการนำเข้าสินค้าทุน (ราคาปี 2000, %) 21.0 3.9 7.0 8.5 3.2 -2.8 -4.2 0.2 4.9 0.3
8. ดุลบัญชีเดินสะพัด (ล้าน US$) -7852.2 3240.5 609.2 -2201.2 1250.0 3582.5 4963.9 1369.7 2928.4 9262.0
9. อัตราแลกเปลี่ยน (เฉลี่ย) 40.2 37.9 39.3 38.1 37.6 36.5 35.5 34.6 34.0 34.7
ที่มา : สศช. ธปท. และ พณ.
เศรษฐกิจไทยใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น การใช้พลังงานทดแทนในประเทศทั้งการใช้แก๊สโซฮอล์และไบโอดีเซล
และเอ็นจีวีเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ในช่วง 11 เดือนของปี 2550 มูลค่าการนำเข้าสินค้าเชื้อเพลิง เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.0 โดยการนำเข้าน้ำมันดิบและน้ำมัน
สำเร็จรูปลดลงร้อยละ 4.1 และ 6.5 ตามลำดับ แต่มีการนำเข้าก๊าชธรรมชาติและถ่านหินเพิ่มขึ้นมาก เพื่อใช้ในการผลิตไฟฟ้า และการผลิตภาค
อุตสาหกรรม ทั้งนี้การที่สามารถผลิตไฟฟ้าจากพลังงานน้ำและก๊าซธรรมชาติ ซึ่งจัดหาได้มากกว่าแผนและทดแทนการผลิตไฟฟ้าจากน้ำมันเตาได้
มากกว่าแผน ทำให้สามารถลดค่า Ft ค่าไฟฟ้าลงได้ 3 ครั้ง รวม 12.31 สตางค์ต่อหน่วย
นอกจากนั้นหนี้สินครัวเรือนลดลงโดยในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2550 ครัวเรือนทั่วประเทศมีรายได้เฉลี่ยเดือนละ
18,823 บาท และรายจ่าย 14,424 บาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.8 และ0.8 จากช่วงเดือนเดียวกันของปี 2549 หนี้สินเฉลี่ยต่อครัวเรือนทั้งสิ้นลดลง
จาก 116,585 บาท เป็น 113,389 บาท สัดส่วนครัวเรือนที่เป็นหนี้ลดลงจากร้อยละ 64.4 เป็นร้อยละ 62.3
ในปี 2551 คาดว่าเศรษฐกิจจะขยายตัวร้อยละ 4.0-6.0 ทั้งนี้อุปสงค์ภายในประเทศโดยเฉพาะการลงทุนภาครัฐและ
ภาคเอกชนคาดว่าจะขยายตัวได้ดีขึ้นในปี 2551 ประกอบด้วยการลงทุนในระบบรถไฟขนส่งมวลชน การลงทุนในอุตสาหกรรมรถยนต์ที่ได้รับแรง
สนับสนุนจากรอบภาษีรถยนต์ประหยัดพลังงาน (ECO car) และรถยนต์ที่ใช้แก๊สโซฮอล์ (E20) การขยายการลงทุนอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์
การผลิตเอทานอล และโครงการผลิตไฟฟ้า IPP เป็นต้น
1.4 ลำดับความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยตามการจัดลำดับของ WEF โดยรวมอยู่ที่ลำดับที่ 28 เท่ากับปี 2549
จากจำนวน 131 เขตเศรษฐกิจ แต่ยังมีจุดอ่อนด้านจำนวนผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตซึ่งเป็นอัตราที่ต่ำมากต่อประชากรเทียบกับประเทศที่มีความพร้อม
มากกว่าประเทศไทยในการเข้าสู่สังคมฐานความรู้ในอนาคต ค่าใช้จ่ายด้านโลจิสติกส์ยังสูงประมาณ ร้อยละ 19 ต่อ GDP และโครงสร้างพื้นฐาน
ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยียังอยู่ในอันดับที่ต่ำกว่าประเทศคู่แข่งสำคัญ ในขณะที่ภาคการผลิตและบริการของประเทศอยู่ในช่วงที่ต้องปรับตัวไป
สู่การสร้างมูลค่าของสินค้าบริการเพื่อให้มีความสามารถในการแข่งขันเพิ่มขึ้น นอกจากนั้นยังต้องมีการเตรียมแผนพัฒนาพื้นที่เพื่อรองรับการขยายตัว
ของภาคอุตสาหกรรมในอนาคตและการพัฒนาจังหวัดและกลุ่มจังหวัดให้สอดคล้องกับศักยภาพ
1.5 ประเด็นนโยบายการบริหารเศรษฐกิจมหภาค ในช่วงต่อไปควรให้ความสำคัญดังนี้
1.5.1 การสร้างความเชื่อมั่นให้กับภาคการลงทุน โดยเฉพาะเร่งรัดการแก้ไขปัญหาที่เป็นอุปสรรคต่อการขยายตัวของ
การลงทุนของภาคเอกชน และการสานต่อนโยบายด้านการลงทุนภาครัฐให้มีความต่อเนื่องเพื่อสร้างพื้นฐานการขยายตัวและการเพิ่มประสิทธิภาพของ
ระบบเศรษฐกิจในระยะยาว
1.5.2 การเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณประจำปี 2551 ของภาครัฐให้สามารถเบิกจ่ายได้ตามเป้าหมายอัตราการ
เบิกจ่ายร้อยละ 94 สำหรับงบประมาณรัฐบาล และร้อยละ 90 สำหรับงบลงทุนรัฐวิสาหกิจ
1.5.3 การส่งเสริมการส่งออกในตลาดใหม่โดยเฉพาะในตะวันออกกลาง แอฟริกา และยุโรปตะวันออก รวมทั้งการ
ดูแลมาตรฐานสินค้าโดยเฉพาะสินค้าอาหารอย่างเข้มงวด
1.5.4 การส่งเสริมการท่องเที่ยวให้ฟื้นตัวจากภาวการณ์ชะลอตัวในปี 2550
1.5.5 การผลักดันมาตรการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานและรณรงค์การใช้พลังงานทางเลือกเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
1.5.6 การกำหนดกลไกในการดูแลและสนับสนุนการปรับตัวของภาคธุรกิจรายสาขาและวิสาหกิจขนาดกลางขนาดย่อม
ที่ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการผลิตในตลาดโลก
2. สภาวะสังคม
2.1 สังคมไทยมีโครงสร้างประชากรที่กำลังเปลี่ยนแปลงเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการจัดบริการทางสังคมใน
ทุกรูปแบบ สัดส่วนประชากรวัยสูงอายุ (60 ปีขึ้นไป) จะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยมีสัดส่วนจากร้อยละ 10.71 ในปี 2550 เป็นร้อยละ 12.02
ในปี 2554 การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรสู่สังคมผู้สูงอายุ ส่งผลให้ต้องเตรียมความพร้อมของคนและระบบต่างๆ อาทิ บริการทางการแพทย์
เนื่องจากแบบแผนการเกิดโรคเรื้อรังและโรคเกี่ยวกับผู้สูงอายุจะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น และการสร้างหลักประกันทางเศรษฐกิจและสังคมสำหรับอนาคต
เพื่อการชราภาพ เป็นต้น
ด้านกำลังแรงงาน การจ้างงานรวมยังคงเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง แต่แรงงานไทยยังคงมีปัญหาการทำงานต่ำระดับ และมี
สมรรถนะค่อนข้างต่ำ แรงงานเกือบร้อยละ 60 ยังมีการศึกษาเพียงระดับประถมศึกษาที่มีทักษะฝีมือต่ำ และมีความขาดแคลนกำลังคนระดับกลางที่มี
คุณภาพ
ด้านการศึกษาโดยภาพรวมคนไทยมีศักยภาพและโอกาสด้านการศึกษาเพิ่มขึ้น แต่คุณภาพการศึกษาที่วัดจากคะแนนเฉลี่ยของ
การทดสอบ 3 วิชาหลัก ได้แก่ ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และคณิตศาสตร์ ลดต่ำกว่าร้อยละ 50 มาโดยตลอด การสร้างโอกาสทางการศึกษาแก่คนที่อยู่
นอกระบบหรือการจัดการเรียนรู้ต่อเนื่องตลอดชีวิตดำเนินการได้เพิ่มขึ้น แต่ยังขาดการจัดระบบและหมวดหมู่แหล่งเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพ ขณะที่
การพัฒนาคุณภาพการศึกษาระดับสูงเพื่อสร้างและจัดการองค์ความรู้สนับสนุนและเชื่อมโยงกับภาคการผลิตและบริการยังไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอต่อการ
เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
2.2 ด้านคุณภาพชีวิต คนไทยมีสถานะทางสุขภาพดีขึ้นแต่ต้องเร่งป้องกันโรคที่เกิดจากพฤติกรรมเสี่ยงทางสุขภาพ เช่น การมี
เพศสัมพันธ์ที่ไม่ปลอดภัย แอลกอฮอล์ บุหรี่ ความดันโลหิตสูง การไม่สวมหมวกนิรภัยและคาดเข็มขัดนิรภัย ภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วน เป็นต้น
คนไทยมีหลักประกันทางสุขภาพที่ครอบคลุมทั่วถึง แต่ต้องเร่งให้การคุ้มครองแรงงานนอกระบบจำนวน 23 ล้านคนให้เกิดผลอย่างจริงจัง รวมทั้ง
การจัดสวัสดิการและบริการทางสังคมแก่ผู้ด้อยโอกาสและคนยากจนให้ทั่วถึง
ปัญหายาเสพติดยังคงเป็นปัญหาหลักของสังคมและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ขณะที่สถาบันหลักทางสังคมยังไม่แสดงบทบาทในการ
บ่มเพาะคุณธรรม จริยธรรมแก่คนไทยโดยเฉพาะเด็กและเยาวชนเท่าที่ควร สถาบันครอบครัวมีความเปราะบางจากอัตราการหย่าร้างเพิ่มขึ้น
สถาบันการศึกษามีบทบาทในการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมค่อนข้างน้อย ขณะที่สื่อมีอิทธิพลอย่างมากต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของประชาชน แต่
สื่อส่วนใหญ่ยังนำเสนอภาพและสาระที่สร้างสรรค์ จรรโลงสังคมน้อยมาก นอกจากนั้นคนไทยและสังคมไทยให้ความสำคัญกับระบบคุณค่า ความเป็นไทย
และค่านิยมการรักษาวัฒนธรรมไทยที่ดีงามลดลง
2.3 ประเด็นนโยบายด้านสังคม ที่สำคัญในช่วงต่อไปได้แก่
2.3.1 การพัฒนาคุณภาพการศึกษาสู่สังคมแห่งการเรียนรู้คู่คุณธรรม เพื่อเร่งเพิ่มผลิตภาพแรงงานทุกช่วงวัยตามโครงสร้าง
ประชากรที่เปลี่ยนไป และสนับสนุนการกระจายอำนาจการจัดการศึกษาอย่างเป็นรูปธรรม
2.3.2 การเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการการลงทุนเพื่อผลิตกำลังคนออกสู่ตลาดแรงงานที่สอดคล้องกับความต้องการ
ของประเทศและศักยภาพของสถาบันการศึกษาที่มีการจัดกลุ่มชัดเจน อาทิเช่น กลุ่มสร้างองค์ความรู้และสร้างสรรค์นวัตกรรมที่หลากหลายเชื่อมโยง
กับภาคการผลิตและบริการ กลุ่มสนับสนุนการเรียนการสอนเพื่อคุณภาพชีวิต เป็นต้น
2.3.3 การเร่งมาตรการลดปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อสุขภาพและการเจ็บป่วยเรื้อรังอย่างเป็นองค์รวมควบคู่กับการประกาศใช้
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง สนับสนุนการพัฒนาและทดลองรูปแบบการกระจายอำนาจการจัดบริการให้ขยายความครอบคลุมเพิ่มขึ้น
2.3.4 การยึดแนวทางการพัฒนาแบบมีส่วนร่วมของชุมชนในการแก้ปัญหาของชุมชน และการพัฒนาประชาชนฐานรากที่นำ
ไปสู่การพึ่งตนเองอย่างเข้มแข็งในชุมชนให้เป็นหลักการสำคัญในแผนพัฒนาจังหวัด
2.3.5 การพัฒนาระบบการแก้ไขปัญหาขาดแคลนแรงงานในภาคอุตสาหกรรมร่วมกับสถานประกอบการ พร้อมทั้ง จัดทำ
ระบบการเฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์ที่มีผลกระทบต่อการจ้างงาน/เลิกจ้าง และเร่งผลักดันให้นำพระราชบัญญัติการทำงานของคนต่างด้าว
พ.ศ. .... ไปสู่การปฏิบัติ
2.3.6 การสนับสนุนการพัฒนาผู้สูงอายุให้มีความมั่นคงทั้งทางเศรษฐกิจและสังคม และขยายความคุ้มครองประกันสังคม
สู่แรงงานนอกระบบ
2.3.7 การส่งเสริมกระบวนการยุติธรรมทางเลือก โดยพัฒนาและขยายผล ระบบงานยุติธรรมชุมชน และปรับปรุงแก้ไข
กฎหมายเพื่อรองรับการใช้กระบวนการยุติธรรมทางเลือกได้มากขึ้น
2.3.8 การพัฒนาระบบการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดด้วยองค์ความรู้และนวัตกรรมใหม่ ๆ ที่ทันกับการเปลี่ยนแปลง
มีระบบเฝ้าระวังและเยียวยาที่เชื่อมโยงทั้งส่วนกลาง ส่วนท้องถิ่น จังหวัด ชุมชนและครอบครัว
3. สภาวะทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
3.1 ทรัพยากรธรรมชาติของประเทศไทย มีความเสื่อมโทรมอย่างต่อเนื่อง และเกิดปัญหาความขัดแย้งของการใช้ประโยชน์
ทรัพยากรธรรมชาติมากขึ้น อัตราการสูญเสียพื้นที่ป่า โดยเฉลี่ยยังอยู่ประมาณปีละ 1 ล้านไร่นอกจากนั้น ความเสื่อมโทรมของป่าไม้ ส่งผลต่อความชื้น
ปริมาณน้ำฝนและประสิทธิภาพในการเก็บอุ้มซับน้ำ เป็นสาเหตุของการเกิดอุทกภัย ภัยแล้ง เกิดการชะล้างพังทลายของหน้าดิน สูญเสียความหลากหลาย
ทางชีวภาพ ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งมีแนวโน้มเสื่อมโทรมลงอย่างต่อเนื่อง ความขาดแคลนทรัพยากรน้ำมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น
3.2 การควบคุมและกำจัดมลพิษยังไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ ทำให้มลพิษทางน้ำ อากาศ และเสียงรวมทั้งของทิ้งเสีย มีแนวโน้ม
เพิ่มสูงขึ้น ปริมาณมูลฝอยเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วขณะที่การจัดการมูลฝอยด้วยวิธีการที่ถูกสุขลักษณะทำเฉพาะในเขตเทศบาลใหญ่ ๆ จากการคาดการณ์
ในอนาคตพบว่า ปริมาณมูลฝอยจะเพิ่มขึ้นจากวันละ 39,400 ล้านตัน ในปี 2545 เป็นวันละ 47,000 ล้านตัน ในปี 2554 กากของเสียอันตรายเพิ่ม
มากขึ้นและไม่สามารถกำจัดอย่างถูกต้องตามหลักสุขาภิบาลได้หมด ปัจจุบันมีของเสียอันตรายเหลืออยู่อีกกว่าร้อยละ 50 ที่ยังไม่ได้กำจัด ทำให้เกิด
ปัญหาลักลอบทิ้งของเสียอันตรายหรือกากอุตสาหกรรมในพื้นที่ต่าง ๆ การนำเข้าสารเคมีอันตรายจากต่างประเทศและการผลิตในประเทศเพื่อใช้ใน
กระบวนการผลิตในอุตสาหกรรมและเกษตรกรรมมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น ขณะที่ยังขาดการจัดการที่ดีในการขนส่ง เก็บรักษาและใช้ประโยชน์ สำหรับ
การใช้สารเคมีทางภาคเกษตร ซึ่งพบว่า มีการใช้อย่าง ไม่ถูกต้องตามหลักวิชาการ ทำให้เกิดสารตกค้างในผลผลิตและสิ่งแวดล้อม ส่งผลกระทบ
ต่อสุขภาพอนามัยของผู้บริโภค ระบบนิเวศเสียสมดุล และกระทบต่อการส่งออกสินค้าผลิตภัณฑ์อาหารของไทย ทำให้สูญเสียรายได้คิดเป็นมูลค่าสูง
ถึงปีละ 20,000 ล้านบาท
3.3 คุณภาพน้ำในแหล่งน้ำสำคัญอยู่ในระดับต่ำไม่เหมาะสมต่อการนำมาใช้ประโยชน์ โดยแหล่งน้ำที่เสื่อมโทรมมาก ได้แก่
แม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่าง แม่น้ำท่าจีนตอนล่าง ลำตะคองตอนล่าง แม่น้ำนครนายก แม่น้ำระยอง แม่น้ำบางปะกง แม่น้ำปราจีนบุรี แม่น้ำประแสร์
แม่น้ำกวง กว๊านพะเยา บึงบอระเพ็ด และทะเลสาบสงขลา แหล่งกำเนิดมลพิษที่สำคัญ คือ ชุมชนที่อยู่อาศัย อุตสาหกรรม และเกษตรกรรม
โดยเฉพาะฟาร์มปศุสัตว์ น้ำเสียที่เกิดขึ้นทั่วประเทศมีวันละ 13 ล้านลูกบาศก์เมตร ขณะที่ระบบบำบัดทั้งหมดที่มีอยู่สามารถรับน้ำเสียได้เพียง
3.0 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อวันหรือร้อยละ 25 ของปริมาณน้ำเสียที่เกิดขึ้นเท่านั้น มลพิษทางอากาศโดยเฉพาะฝุ่นละอองและมลพิษทางเสียงยังเป็น
ปัญหาสำหรับเมืองใหญ่
3.4 ประเด็นนโยบายด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ที่สำคัญในช่วงต่อไปได้แก่
3.4.1 การรักษาสมดุลระหว่างการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ทุนทรัพยากรธรรมชาติ และสร้างสภาพแวดล้อมที่ดี โดย
ปรับเปลี่ยนบทบาทการบริหารจัดการให้เกิดลักษณะกระจายอำนาจ ส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วม และสร้างเครือข่ายทางสังคมที่เป็นความร่วมมือกัน
ระหว่างภาครัฐ องค์กรพัฒนาเอกชน ภาคเอกชน ชุมชน ท้องถิ่น และนักวิชาการ เพื่อให้เกิดพลังขับเคลื่อนทางสังคมอย่างแท้จริง
3.4.2 การสร้างความเป็นธรรมให้ชุมชนมีสิทธิในการเข้าถึงและจัดการทรัพยากรธรรมชาติ เพื่อให้สอดคล้องกับ
รัฐธรรมนูญ 2550 ซึ่งให้ความสำคัญกับสิทธิชุมชนในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
3.4.3 การส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่นและสร้างจิตสำนึกของประชาชนและชุมชนให้มีจริยธรรมในการอนุรักษ์และใช้
ทรัพยากรอย่างรู้คุณค่า
3.4.4 การพัฒนาคุณค่าความหลากหลายทางชีวภาพที่อยู่บนฐานความรู้ ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมท้องถิ่น และความสามารถ
ในการจัดการของชุมชน เพื่อสร้างความมั่นคงด้านอาหารและสุขภาพ ที่นำไปสู่การพึ่งตนเองอย่างยั่งยืน
3.4.5 การส่งเสริมให้เกิดการผลิตและการบริโภคอย่างยั่งยืน โดยปรับเปลี่ยนแบบแผนการผลิตให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
และใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคของคนในสังคมสู่ความพอเพียงมากขึ้น
3.4.6 การพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการเพื่อลดมลพิษและควบคุมกิจกรรมที่จะส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิต
3.4.7 การกำหนดจุดยืนเชิงยุทธศาสตร์ต่อพันธกรณีและข้อตกลงระหว่างประเทศด้านสิ่งแวดล้อม รวมทั้งข้อตกลงทาง
การค้าที่มีประเด็นเกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมที่สำคัญ เช่น อนุสัญญาว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก พิธีสารเกียวโต อนุสัญญาที่เกี่ยวข้อง
กับการจัดการสารเคมีและของเสียอันตราย เช่น อนุสัญญาบาเซลว่าด้วยการเคลื่อนย้ายข้ามแดนของของเสียอันตรายและการกำจัด
อนุสัญญาสต็อกโฮล์มว่าด้วยสารมลพิษที่ตกค้างยาวนาน อนุสัญญารอตเตอร์ดัมว่าด้วยกระบวนการแจ้งข้อมูลสารเคมีล่วงหน้า เป็นต้น
4. สภาวะความมั่นคง
4.1 ด้านสถานการณ์ความมั่นคงภายในประเทศ ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นปัญหาความมั่นคงภายในประเทศที่มี
ผลกระทบรุนแรงที่สุด โดยมีสาเหตุของปัญหามาจากเงื่อนไขภายในประเทศเป็นหลัก ได้แก่ ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม ช่องว่างทางเศรษฐกิจ สังคม
การปกครอง และความไม่เป็นธรรม รวมทั้งความขัดแย้งในด้านอิทธิพลและผลประโยชน์ในพื้นที่ ส่วนด้านการปกครองมีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ คือ
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ได้ส่งผลให้มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างอำนาจ องค์กรที่ใช้อำนาจและกระบวนการทาง
การเมืองการปกครองของประเทศที่สำคัญหลายประการ ซึ่งส่งผลต่อประสิทธิภาพการบริหารงานของรัฐบาลเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะการแก้ไขปัญหา
และการพัฒนาประเทศในด้านต่าง ๆ การเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างของอำนาจนิติบัญญัติซึ่งส่งผลให้สภาผู้แทนราษฎรประกอบด้วย สส. จากหลาย
พรรคการเมือง ขณะเดียวกันก็สามารถยุบพรรคการเมืองได้ง่ายขึ้น และการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างอำนาจการบริหารส่งผลให้ได้รัฐบาลผสมมาจาก
หลายพรรคการเมือง ซึ่งจะทำให้มีความเป็นเอกภาพและความเข้มแข็งน้อยลง รวมทั้งการเพิ่มบทบาทภาคประชาชนในทางการเมืองมากขึ้น อาทิ
การเข้าชื่อหรือการฟ้องร้องโดยตรงและถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองได้ หรือการให้ประชาชน จำนวน 50,000 คน สามารถเข้าชื่อเสนอ
แก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญได้ ซึ่งความเปลี่ยนแปลงเหล่านี้จะส่งผลต่อเสถียรภาพของรัฐบาลในอนาคตได้
4.2 สถานการณ์ความมั่นคงระดับภูมิภาคและประเทศเพื่อนบ้าน ในภูมิภาคตะวันออกกลาง ซึ่งเป็นศูนย์กลางอำนาจจาก
พลังงานน้ำมันยังคงมีปัญหาความขัดแย้งที่จำกัดขอบเขตได้ ทั้งปัญหาระหว่างอิสราเอลกับปาเลสไตน์และชาติอาหรับ ปัญหาอิรัก และปัญหาอิหร่าน
สำหรับปัญหาเกาหลีเหนือ ผลจากการเจรจามีความก้าวหน้าไปเป็นลำดับ และโอกาสที่ความขัดแย้งจะขยายไปสู่การเผชิญหน้าและใช้กำลังทหาร
แก้ไขปัญหาเกิดขึ้นได้ยาก ประเทศเพื่อนบ้านของไทย ในภาพรวมยังได้รับอิทธิพลจากสหรัฐฯ จีน และอินเดียมากขึ้น ทำให้ทุกประเทศต้องปรับตัว
ทางด้านนโยบายต่างประเทศอย่างสมดุลและผนึกกำลังในกรอบของอาเซียนมากขึ้น ในขณะที่ประเทศมุสลิมต่าง ๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ได้เสริมสร้างความสัมพันธ์กับโลกมุสลิมมากขึ้นเพื่อคานอำนาจกับตะวันตก จีนและอินเดีย เหตุการณ์ในพม่า สาเหตุความเคลื่อนไหวต่อต้านรัฐบาล
ครั้งล่าสุดมาจากเรื่องเศรษฐกิจซึ่งถูกปิดล้อมและคว่ำบาตรจากชาติตะวันตกมาอย่างต่อเนื่อง และได้ขยายไปสู่เรื่องการเมืองและเรื่องอื่น ๆ ตามมา
ผลกระทบที่มีต่อไทย คือ การอพยพเข้ามาหางานทำในประเทศไทยและพบว่ามีการอพยพเข้ามาเป็นครอบครัวเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งกลายเป็นปัญหาความมั่นคง
ของไทยอีกหลายประการ ขณะเดียวกันไทยจะถูกกดดันจากประเทศอื่น ๆ ให้ร่วมมือปิดล้อมหรือเข้าร่วมมาตรการกดดันพม่าทั้งโดยตรงและโดยอ้อมด้วย
4.3 สถานการณ์ความมั่นคงระดับโลก แนวโน้มทางยุทธศาสตร์ ของความมั่นคงระหว่างประเทศในระยะ 3 ปีข้างหน้า ยังคง
เป็นความสัมพันธ์ในลักษณะหลายขั้วอำนาจ ซึ่งมีสหรัฐอเมริกา รัสเซีย จีน ญี่ปุ่น และสหภาพยุโรป เป็นมหาอำนาจที่สำคัญ ขณะเดียวกันประเทศอินเดีย
ก็กำลังเร่งสร้างพลังอำนาจเพื่อเป็นอีกขั้วอำนาจหนึ่งที่จะมีบทบาทในเวทีการเมืองระหว่างประเทศโดยเฉพาะในภูมิภาคเอเชีย ประเด็นที่มีความ
สำคัญในระดับโลกในระยะ 3 ปีข้างหน้า ได้แก่ การแข่งขันในทางเศรษฐกิจ การใช้กำลังอำนาจทางทหารของมหาอำนาจเป็นเครื่องมือในการ
ขยายกำลังอำนาจด้านเศรษฐกิจ และภัยอื่น ๆ ที่ส่งผลต่อความมั่นคงของมนุษย์ อาทิ ภัยจากโรคติดต่อและภัยพิบัติจากธรรมชาติซึ่งทวีความรุนแรง
ยิ่งขึ้น โดยเฉพาะปรากฏการณ์โลกร้อน (global warming) รวมทั้งการขยายตัวของเครือข่ายการก่อการร้าย และอาชญากรรมข้ามชาติทั้งใน
ระดับโลกและระดับภูมิภาค
4.4 ประเด็นนโยบายด้านความมั่นคง ที่สำคัญในช่วงต่อไปได้แก่
4.4.1 การเสริมสร้างความสมานฉันท์และความสามัคคีของคนในชาติ ซึ่งเป็นเป้าหมายสำคัญของนโยบายความมั่นคง-
แห่งชาติ พ.ศ. 2550 — 2554
4.4.2 การยึดแนวทางสันติวิธีและเสริมสร้างความร่วมมือจากทุกภาคส่วน เพื่อลดการใช้ความรุนแรงในการแก้ไขปัญหา
จังหวัดชายแดนภาคใต้
4.4.3 การเร่งรัดให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดทำแผนรองรับนโยบายการเตรียมพร้อมแห่งชาติ ซึ่งเป็นภูมิคุ้มกันที่สำคัญ
ของประชาชนและสังคม หากต้องเผชิญกับภัยคุกคามทั้งที่เป็นภัยธรรมชาติ หรือสาธารณภัยขนาดใหญ่และภัยที่เกิดจากการกระทำของมนุษย์ โดย
เฉพาะภัยจากการก่อการร้ายและอาชญากรรมข้ามชาติ
4.4.4 การเสริมสร้างสภาวะแวดล้อมที่สร้างความเชื่อมั่นและไว้วางใจจากประเทศเพื่อนบ้าน ทั้งนี้เพื่อให้ประเทศไทย
ได้รับความร่วมมือและเป็นหุ้นส่วนการพัฒนาร่วมกับประเทศเพื่อนบ้านอย่างใกล้ชิด การเตรียมการติดตามประเมินผลและยกร่างนโยบายความมั่นคง-
แห่งชาติทางทะเล ซึ่งนโยบายเดิมมีกำหนดระยะเวลาสิ้นสุด ในปี 2552
4.4.5 การเตรียมการติดตามประเมินผลและยกร่างนโยบายความมั่นคงแห่งชาติทางทะเล ซึ่งนโยบายเดิมมีกำหนด
ระยะเวลาสิ้นสุด ในปี 2552
4.4.6 การติดตามและประเมินผลนโยบายและแผนปฏิบัติการจิตวิทยาแห่งชาติ พ.ศ. 2548-2551 เพื่อการจัดทำร่าง
นโยบายฉบับใหม่ที่สอดคล้องกับสภาพปัญหาและสถานการณ์ปัจจุบัน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 15 มกราคม 2551--จบ--