คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่สำนักงบประมาณรายงานผลการดำเนินการตามมาตรการส่งเสริมการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้จ่ายงบประมาณ ปีงบประมาณพ.ศ.2550 ของส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ (ไม่รวมองค์การมหาชน หน่วยงานอิสระตามรัฐธรรมนูญ กองทุนและเงินทุนหมุนเวียน) และการขยายระยะเวลาการดำเนินงานตามมาตรการส่งเสริมการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้จ่ายงบประมาณ ฯ ตามมติคณะรัฐมนตรีวันที่ 14 สิงหาคม 2550 และเห็นชอบมาตรการส่งเสริมการเพิ่มประสิทธิภาพ การใช้จ่ายงบประมาณ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2551 ดังนี้
1. ผลการดำเนินการตามมาตรการส่งเสริมการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้จ่ายงบประมาณปีงบประมาณ พ.ศ. 2550 จากมาตรการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้จ่ายงบประมาณตามมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าวมีผลให้การเบิกจ่ายรายจ่ายลงทุนของส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจในปีงบประมาณ พ.ศ.2550 ตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงเดือนกันยายนสูงกว่าอัตราการเบิกจ่ายในระยะเดียวกันของปีงบประมาณ พ.ศ.2549 และมีผลการเบิกจ่ายรายจ่ายลงทุนในปีงบประมาณ พ.ศ.2550 คิดเป็นร้อยละ 80.45 ของวงเงินงบประมาณรายจ่ายลงทุนสูงกว่า อัตราการเบิกจ่ายรายจ่ายลงทุนตามเป้าหมายที่คณะรัฐมนตรีกำหนดไว้ร้อยละ 73 และสูงกว่าอัตราการเบิกจ่ายรายจ่ายลงทุนในปีงบประมาณ พ.ศ.2549 ซึ่งมีอัตราการเบิกจ่ายร้อยละ 75.24 นอกจากนี้ ผลจากการเบิกจ่ายงบประมาณในภาพรวมของปีงบประมาณพ.ศ.2550 สามารถเบิกจ่ายได้ร้อยละ 93.91 ซึ่งสูงกว่าเป้าหมายตามที่คณะรัฐมนตรีกำหนดไว้ร้อยละ 93 ดังนั้นมาตรการส่งเสริมการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้จ่ายงบประมาณปีงบประมาณ พ.ศ. 2550 นับว่าเป็นปัจจัยสำคัญประการหนึ่งที่ช่วยเร่งรัดการเบิกจ่ายเงินงบประมาณเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ
2. สรุปภาพรวมการขอขยายระยะเวลาการทำสัญญา/ก่อหนี้ผูกพัน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2550
จากการรวบรวมข้อมูลการขอขยายระยะเวลาการทำสัญญา/ก่อหนี้ผูกพันที่ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจส่งให้สำนักงบประมาณ ถึงวันที่ 11 มกราคม 2551 จำนวน 72 หน่วยงานจากจำนวนทั้งสิ้น 275 หน่วยงาน (ไม่รวมองค์การมหาชน หน่วยงานอิสระตามรัฐธรรมนูญ กองทุนและเงินทุนหมุนเวียน) ปรากฏว่า ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจขอขยายระยะเวลาการทำสัญญา/ก่อหนี้ผูกพัน ปีงบประมาณ พ.ศ.2550 ภายหลังวันที่ 31 กรกฎาคม 2550 จำนวนทั้งสิ้น 18,143.541 ล้านบาท จำแนกรายละเอียดได้ ดังนี้
(1) การขอขยายระยะเวลาทำสัญญา/ก่อหนี้ผูกพัน ภายในวันที่ 31 สิงหาคม 2550 จำนวน 146.19 ล้านบาท
(2) การขอขยายระยะเวลาทำสัญญา/ก่อหนี้ผูกพัน ภายในวันที่ 30 กันยายน 2550 จำนวน 13,744.331 ล้านบาท จำแนกเป็นอนุมัติโดยรัฐมนตรีเจ้าสังกัด จำนวน 11,747.819 ล้านบาท และอนุมัติโดยคณะรัฐมนตรี จำนวน 1,996.512 ล้านบาท
(3) การขอขยายระยะเวลาทำสัญญา/ก่อหนี้ผูกพัน ภายหลังวันที่ 30 กันยายน 2550 จำนวน 4,253.019 ล้านบาท จำแนกเป็นอนุมัติโดย คณะรัฐมนตรี จำนวน 2,037.172 ล้านบาท และอยู่ระหว่างดำเนินการ จำนวน 2,215.847 ล้านบาท
3. การเร่งรัดติดตามการใช้จ่ายเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2551 ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 18 กันยายน 2550 คณะรัฐมนตรีเห็นชอบมาตรการและแนวทางการเร่งรัดติดตามการใช้จ่ายเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2551 ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ โดยกำหนดเป้าหมายการเบิกจ่ายงบประมาณในภาพรวม ร้อยละ 94 ของวงเงินงบประมาณรายจ่าย และเป้าหมายการเบิกจ่ายรายจ่ายลงทุนไม่น้อยกว่าร้อยละ 74 ของวงเงินงบประมาณรายจ่ายลงทุน และให้ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจเร่งดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างและก่อหนี้ผูกพันให้ได้ร้อยละ 70 ของวงเงินงบประมาณที่ได้รับ เพื่อดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างภายในสิ้นเดือนมกราคม 2551 ส่วนที่เหลืออีกร้อยละ 30 ให้ขยายเวลาการก่อหนี้ผูกพันให้ถึงสิ้นเดือนกันยายน 2551 ยกเว้นกรณีโครงการ/รายการที่ดำเนินการปีเดียวให้ขยายเวลาก่อหนี้ผูกพันได้ถึงสิ้นเดือนมีนาคม 2551 สำนักงบประมาณได้รวบรวมข้อมูลการเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2551 ณ วันที่ 11 มกราคม 2551 มีภาพรวมการเบิกจ่ายงบประมาณ รวมทั้งสิ้น 155,610.209 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 9.37 ของวงเงินงบประมาณ และการเบิกจ่ายรายจ่ายลงทุน จำนวน 30,641.429 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 8.40 ของวงเงินงบประมาณรายจ่ายลงทุน สำหรับการก่อหนี้ผูกพันกระทรวงการคลังได้รายงานผลให้คณะรัฐมนตรีทราบ เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2550 ว่า จากการคาดการณ์การก่อหนี้ผูกพันซึ่งได้รับรายงานจากส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ จำนวน 171 หน่วยงาน จากจำนวน 283 หน่วยงาน จะสามารถก่อหนี้ผูกพันภายในเดือนมกราคม 2551 ได้ประมาณร้อยละ 62.83 ซึ่งต่ำกว่าเป้าหมายที่คณะรัฐมนตรีมีมติไว้ร้อยละ 70 คิดเป็นร้อยละ 7.17 ดังนั้น เพื่อให้การใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณพ.ศ.2551 เป็นไปตามเป้าหมายที่คณะรัฐมนตรีกำหนดไว้ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 18 กันยายน 2550 จึงเห็นควรให้ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจพิจารณาดำเนินการ ดังนี้
3.1 ให้ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจใช้แผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณที่ได้รับความเห็นชอบจากสำนักงบประมาณแล้วเป็นเป้าหมายหลักในการเร่งรัดการดำเนินงานเพื่อให้การเบิกจ่ายบรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้ตามมติคณะรํฐมนตรีเมื่อวันที่ 18 กันยายน 2550
3.2 โครงการ/รายการที่ได้ทำสัญญา/ก่อหนี้ผูกพันไว้แล้ว ให้ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจเร่งรัดการดำเนินงาน
(1) ควบคุม/กำกับ การดำเนินงานตามสัญญาของคู่สัญญาให้มีการส่งมอบงานก่อสร้าง หรือพัสดุภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ในสัญญา
(2) กำกับดูแลการดำเนินงานของคณะกรรมการตรวจการจ้าง และคณะกรรมการตรวจรับพัสดุ โดยให้ถือหลักปฏิบัติในเรื่องระยะเวลาตรวจรับพัสดุ หรือตรวจการจ้างงานก่อสร้าง ตามนัยหนังสือสำนักนายกรัฐมนตรีที่ นร 0305/ว 5855 ลงวันที่ 11 กรกฎาคม 2544 อย่างเคร่งครัด และหากไม่สามารถดำเนินการให้เป็นไปตามระยะเวลาที่กำหนด ให้รายงานเหตุผลความจำเป็นต่อหัวหน้าส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ เพื่อพิจารณาดำเนินการแก้ไขเร่งรัดต่อไป ทั้งนี้ ให้ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจกำหนดแนวทางหรือวิธีปฏิบัติในการขออนุมัติเบิกจ่ายเงินให้เป็นไปด้วยความถูกต้อง กระชับ รวดเร็ว ลดขั้นตอนการตรวจสอบที่ซ้ำซ้อน และไม่จำเป็น เพื่อให้การเบิกจ่ายเงินเป็นไปโดยเร็ว
(3) กรณีที่การดำเนินงานล่าช้ากว่าแผนที่กำหนดไว้ ให้ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจติดตาม เร่งรัดและแก้ไขปัญหาอุปสรรค เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดไว้
3.3 ให้ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจทบทวนแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2551 ในกรณีที่ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจพิจารณาเห็นว่าไม่สามารถทำสัญญา/ก่อหนี้ผูกพันโครงการ/รายการใดได้ทันภายในวันที่ 31 มีนาคม 2551 ให้พิจารณาปรับแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ โดยนำเงินงบประมาณที่ได้จากการปรับแผนฯ ไปดำเนินการ ดังนี้
(1) ดำเนินการตามสัญญา กฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง เช่น ชำระหนี้ค่าสาธารณูปโภค ชดเชยค่างานสิ่งก่อสร้างตามสัญญาแบบปรับราคาได้ (ค่า K) ค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน การจ่ายค่างานตามปริมาณที่ทำจริงซึ่งสูงกว่าสัญญา เป็นต้น
(2) ดำเนินโครงการ/รายการที่ดำเนินการได้เร็วกว่าแผนที่กำหนด และวงเงินงบประมาณที่ได้รับจัดสรรไม่เพียงพอ เพื่อเร่งรัดดำเนินการให้เป็นไปตามสัญญา
(3) ดำเนินโครงการ/รายการที่มีความจำเป็นเร่งด่วนและต้องใช้จ่ายงบประมาณเกินกว่าที่ได้รับการจัดสรร เช่น ราคากลาง หรือผลการประกวดราคาสูงกว่างบประมาณที่ได้รับ เป็นต้น
3.4 กรณีงานดำเนินการเอง ให้ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจจัดซื้อวัสดุ และอุปกรณ์ประกอบการก่อสร้างให้เป็นไปตามแผนการปฏิบัติงานที่กำหนดไว้
3.5 สำหรับงบประมาณที่ได้รับอนุมัติให้กันเงินไว้เบิกเหลื่อมปี ให้ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจทำสัญญา/ก่อหนี้ผูกพันภายในวันที่ 31 มีนาคม 2551
3.6 ให้สำนักงบประมาณนำผลการใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2551 และเงินกันไว้เบิกเหลื่อมปีของส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจไปประกอบการพิจารณาจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2552 ให้กับส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจด้วย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 15 มกราคม 2551--จบ--
1. ผลการดำเนินการตามมาตรการส่งเสริมการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้จ่ายงบประมาณปีงบประมาณ พ.ศ. 2550 จากมาตรการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้จ่ายงบประมาณตามมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าวมีผลให้การเบิกจ่ายรายจ่ายลงทุนของส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจในปีงบประมาณ พ.ศ.2550 ตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงเดือนกันยายนสูงกว่าอัตราการเบิกจ่ายในระยะเดียวกันของปีงบประมาณ พ.ศ.2549 และมีผลการเบิกจ่ายรายจ่ายลงทุนในปีงบประมาณ พ.ศ.2550 คิดเป็นร้อยละ 80.45 ของวงเงินงบประมาณรายจ่ายลงทุนสูงกว่า อัตราการเบิกจ่ายรายจ่ายลงทุนตามเป้าหมายที่คณะรัฐมนตรีกำหนดไว้ร้อยละ 73 และสูงกว่าอัตราการเบิกจ่ายรายจ่ายลงทุนในปีงบประมาณ พ.ศ.2549 ซึ่งมีอัตราการเบิกจ่ายร้อยละ 75.24 นอกจากนี้ ผลจากการเบิกจ่ายงบประมาณในภาพรวมของปีงบประมาณพ.ศ.2550 สามารถเบิกจ่ายได้ร้อยละ 93.91 ซึ่งสูงกว่าเป้าหมายตามที่คณะรัฐมนตรีกำหนดไว้ร้อยละ 93 ดังนั้นมาตรการส่งเสริมการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้จ่ายงบประมาณปีงบประมาณ พ.ศ. 2550 นับว่าเป็นปัจจัยสำคัญประการหนึ่งที่ช่วยเร่งรัดการเบิกจ่ายเงินงบประมาณเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ
2. สรุปภาพรวมการขอขยายระยะเวลาการทำสัญญา/ก่อหนี้ผูกพัน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2550
จากการรวบรวมข้อมูลการขอขยายระยะเวลาการทำสัญญา/ก่อหนี้ผูกพันที่ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจส่งให้สำนักงบประมาณ ถึงวันที่ 11 มกราคม 2551 จำนวน 72 หน่วยงานจากจำนวนทั้งสิ้น 275 หน่วยงาน (ไม่รวมองค์การมหาชน หน่วยงานอิสระตามรัฐธรรมนูญ กองทุนและเงินทุนหมุนเวียน) ปรากฏว่า ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจขอขยายระยะเวลาการทำสัญญา/ก่อหนี้ผูกพัน ปีงบประมาณ พ.ศ.2550 ภายหลังวันที่ 31 กรกฎาคม 2550 จำนวนทั้งสิ้น 18,143.541 ล้านบาท จำแนกรายละเอียดได้ ดังนี้
(1) การขอขยายระยะเวลาทำสัญญา/ก่อหนี้ผูกพัน ภายในวันที่ 31 สิงหาคม 2550 จำนวน 146.19 ล้านบาท
(2) การขอขยายระยะเวลาทำสัญญา/ก่อหนี้ผูกพัน ภายในวันที่ 30 กันยายน 2550 จำนวน 13,744.331 ล้านบาท จำแนกเป็นอนุมัติโดยรัฐมนตรีเจ้าสังกัด จำนวน 11,747.819 ล้านบาท และอนุมัติโดยคณะรัฐมนตรี จำนวน 1,996.512 ล้านบาท
(3) การขอขยายระยะเวลาทำสัญญา/ก่อหนี้ผูกพัน ภายหลังวันที่ 30 กันยายน 2550 จำนวน 4,253.019 ล้านบาท จำแนกเป็นอนุมัติโดย คณะรัฐมนตรี จำนวน 2,037.172 ล้านบาท และอยู่ระหว่างดำเนินการ จำนวน 2,215.847 ล้านบาท
3. การเร่งรัดติดตามการใช้จ่ายเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2551 ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 18 กันยายน 2550 คณะรัฐมนตรีเห็นชอบมาตรการและแนวทางการเร่งรัดติดตามการใช้จ่ายเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2551 ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ โดยกำหนดเป้าหมายการเบิกจ่ายงบประมาณในภาพรวม ร้อยละ 94 ของวงเงินงบประมาณรายจ่าย และเป้าหมายการเบิกจ่ายรายจ่ายลงทุนไม่น้อยกว่าร้อยละ 74 ของวงเงินงบประมาณรายจ่ายลงทุน และให้ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจเร่งดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างและก่อหนี้ผูกพันให้ได้ร้อยละ 70 ของวงเงินงบประมาณที่ได้รับ เพื่อดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างภายในสิ้นเดือนมกราคม 2551 ส่วนที่เหลืออีกร้อยละ 30 ให้ขยายเวลาการก่อหนี้ผูกพันให้ถึงสิ้นเดือนกันยายน 2551 ยกเว้นกรณีโครงการ/รายการที่ดำเนินการปีเดียวให้ขยายเวลาก่อหนี้ผูกพันได้ถึงสิ้นเดือนมีนาคม 2551 สำนักงบประมาณได้รวบรวมข้อมูลการเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2551 ณ วันที่ 11 มกราคม 2551 มีภาพรวมการเบิกจ่ายงบประมาณ รวมทั้งสิ้น 155,610.209 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 9.37 ของวงเงินงบประมาณ และการเบิกจ่ายรายจ่ายลงทุน จำนวน 30,641.429 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 8.40 ของวงเงินงบประมาณรายจ่ายลงทุน สำหรับการก่อหนี้ผูกพันกระทรวงการคลังได้รายงานผลให้คณะรัฐมนตรีทราบ เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2550 ว่า จากการคาดการณ์การก่อหนี้ผูกพันซึ่งได้รับรายงานจากส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ จำนวน 171 หน่วยงาน จากจำนวน 283 หน่วยงาน จะสามารถก่อหนี้ผูกพันภายในเดือนมกราคม 2551 ได้ประมาณร้อยละ 62.83 ซึ่งต่ำกว่าเป้าหมายที่คณะรัฐมนตรีมีมติไว้ร้อยละ 70 คิดเป็นร้อยละ 7.17 ดังนั้น เพื่อให้การใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณพ.ศ.2551 เป็นไปตามเป้าหมายที่คณะรัฐมนตรีกำหนดไว้ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 18 กันยายน 2550 จึงเห็นควรให้ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจพิจารณาดำเนินการ ดังนี้
3.1 ให้ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจใช้แผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณที่ได้รับความเห็นชอบจากสำนักงบประมาณแล้วเป็นเป้าหมายหลักในการเร่งรัดการดำเนินงานเพื่อให้การเบิกจ่ายบรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้ตามมติคณะรํฐมนตรีเมื่อวันที่ 18 กันยายน 2550
3.2 โครงการ/รายการที่ได้ทำสัญญา/ก่อหนี้ผูกพันไว้แล้ว ให้ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจเร่งรัดการดำเนินงาน
(1) ควบคุม/กำกับ การดำเนินงานตามสัญญาของคู่สัญญาให้มีการส่งมอบงานก่อสร้าง หรือพัสดุภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ในสัญญา
(2) กำกับดูแลการดำเนินงานของคณะกรรมการตรวจการจ้าง และคณะกรรมการตรวจรับพัสดุ โดยให้ถือหลักปฏิบัติในเรื่องระยะเวลาตรวจรับพัสดุ หรือตรวจการจ้างงานก่อสร้าง ตามนัยหนังสือสำนักนายกรัฐมนตรีที่ นร 0305/ว 5855 ลงวันที่ 11 กรกฎาคม 2544 อย่างเคร่งครัด และหากไม่สามารถดำเนินการให้เป็นไปตามระยะเวลาที่กำหนด ให้รายงานเหตุผลความจำเป็นต่อหัวหน้าส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ เพื่อพิจารณาดำเนินการแก้ไขเร่งรัดต่อไป ทั้งนี้ ให้ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจกำหนดแนวทางหรือวิธีปฏิบัติในการขออนุมัติเบิกจ่ายเงินให้เป็นไปด้วยความถูกต้อง กระชับ รวดเร็ว ลดขั้นตอนการตรวจสอบที่ซ้ำซ้อน และไม่จำเป็น เพื่อให้การเบิกจ่ายเงินเป็นไปโดยเร็ว
(3) กรณีที่การดำเนินงานล่าช้ากว่าแผนที่กำหนดไว้ ให้ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจติดตาม เร่งรัดและแก้ไขปัญหาอุปสรรค เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดไว้
3.3 ให้ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจทบทวนแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2551 ในกรณีที่ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจพิจารณาเห็นว่าไม่สามารถทำสัญญา/ก่อหนี้ผูกพันโครงการ/รายการใดได้ทันภายในวันที่ 31 มีนาคม 2551 ให้พิจารณาปรับแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ โดยนำเงินงบประมาณที่ได้จากการปรับแผนฯ ไปดำเนินการ ดังนี้
(1) ดำเนินการตามสัญญา กฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง เช่น ชำระหนี้ค่าสาธารณูปโภค ชดเชยค่างานสิ่งก่อสร้างตามสัญญาแบบปรับราคาได้ (ค่า K) ค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน การจ่ายค่างานตามปริมาณที่ทำจริงซึ่งสูงกว่าสัญญา เป็นต้น
(2) ดำเนินโครงการ/รายการที่ดำเนินการได้เร็วกว่าแผนที่กำหนด และวงเงินงบประมาณที่ได้รับจัดสรรไม่เพียงพอ เพื่อเร่งรัดดำเนินการให้เป็นไปตามสัญญา
(3) ดำเนินโครงการ/รายการที่มีความจำเป็นเร่งด่วนและต้องใช้จ่ายงบประมาณเกินกว่าที่ได้รับการจัดสรร เช่น ราคากลาง หรือผลการประกวดราคาสูงกว่างบประมาณที่ได้รับ เป็นต้น
3.4 กรณีงานดำเนินการเอง ให้ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจจัดซื้อวัสดุ และอุปกรณ์ประกอบการก่อสร้างให้เป็นไปตามแผนการปฏิบัติงานที่กำหนดไว้
3.5 สำหรับงบประมาณที่ได้รับอนุมัติให้กันเงินไว้เบิกเหลื่อมปี ให้ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจทำสัญญา/ก่อหนี้ผูกพันภายในวันที่ 31 มีนาคม 2551
3.6 ให้สำนักงบประมาณนำผลการใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2551 และเงินกันไว้เบิกเหลื่อมปีของส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจไปประกอบการพิจารณาจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2552 ให้กับส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจด้วย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 15 มกราคม 2551--จบ--