คณะรัฐมนตรีเห็นชอบในหลักการยุทธศาสตร์การพัฒนาวิทยาการหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติสำหรับระยะเวลา 5 ปี และมอบหมายให้สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รับผิดชอบนำยุทธศาสตร์ดังกล่าวไปใช้เป็นแนวทางในการประสานงานเพื่อการปฏิบัติร่วมกับหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อให้เกิดผลเป็นรูปธรรมต่อไป ตามที่กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเสนอ
กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีรายงานว่า
1. ในปัจจุบันประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกมีความต้องการใช้หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติที่สูงขึ้นและมีแนวโน้มที่จะเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ในทางเดียวกันหุ่นยนต์บริการก็มีแนวโน้มเป็นที่ต้องการของตลาดเพิ่มขึ้นเช่นกัน ซึ่งหุ่นยนต์ประเภทนี้ส่วนมากจะเป็นหุ่นยนต์สำรวจ หุ่นยนต์รักษาความปลอดภัย หุ่นยนต์ทางการแพทย์ และหุ่นยนต์ใช้ในบ้านต่าง ๆ เช่น หุ่นยนต์ทำความสะอาดและหุ่นยนต์ตัดหญ้า เป็นต้น ในประเทศไทยแนวโน้มความต้องการใช้หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติในภาคอุตสาหกรรมอยู่ในเกณฑ์สูงเช่นเดียวกัน โดยมีอุตสาหกรรมผู้ใช้หลักคือ อุตสาหกรรมยานยนต์ อุตสาหกรรมฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ และอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ อีกทั้งยังมีแนวโน้มถูกนำไปใช้ในอุตสาหกรรมการเกษตรและแปรรูปอาหารมากขึ้น อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันประเทศไทยยังต้องอาศัยการนำเข้าหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติจากต่างประเทศซึ่งมีมูลค่าสูงเป็นหลักและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในปี พ.ศ. 2549 ประเทศไทยมีมูลค่านำเข้าหุ่นยนต์สำหรับการใช้งานในอุตสาหกรรมต่าง ๆ ถึง 1,392.4 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้าถึงเกือบเท่าตัว
2. ข้อมูลจากกลุ่มอุตสาหกรรมเครื่องจักรกลและโลหะการสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยระบุว่า สาเหตุที่ประเทศไทยมีการผลิตหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติขึ้นใช้เองในประเทศได้น้อยเป็นผลมาจากการที่ผู้ประกอบการของไทยมีขนาดเล็ก ไม่มีแรงจูงใจในการวิจัยเพื่อพัฒนาการผลิตของตน นอกจากนี้ยังขาดนโยบายสนับสนุนจากทางภาครัฐอย่างจริงจัง จึงควรมีการผลักดันให้มีนโยบายสนับสนุนการผลิตหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติขึ้นใช้เองในประเทศไทย เพื่อรองรับความต้องการที่เพิ่มสูงขึ้นของประเทศและเพื่อลดมูลค่าการนำเข้าระบบจากต่างประเทศ
3. สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติได้เล็งเห็นความต้องการใช้งานที่เพิ่มขึ้นของอุตสาหกรรมและสังคม ประกอบกับศักยภาพที่มีอยู่ของบุคลากรและหน่วยงานวิจัยของไทยจึงได้ดำเนินการให้มีการศึกษาและกำหนดกลยุทธ์การพัฒนาวิทยาการหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติของไทยขึ้นสำหรับใช้เป็นแนวทางและแผนปฏิบัติการสำหรับส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยี รวมทั้งอุตสาหกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติในประเทศไทย โดยยุทธศาสตร์การพัฒนาวิทยาการหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ ประกอบด้วยเป้าหมาย 3 ระยะได้แก่
- ระยะสั้นคือ สร้างความตระหนักและเตรียมความพร้อมด้านบุคลากร
- ระยะกลาง คือ สร้างความเข้มแข็งในการพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยี
- ระยะยาว คือ เพิ่มผลิตภาพการผลิตและยกระดับคุณภาพชีวิตเพื่อดำเนินการตามเป้าหมายทั้ง 3 ระยะที่ตั้งไว้ข้างต้นนั้นจำเป็นต้องดำเนินกลยุทธ์หลักที่สำคัญ 5 ด้าน ได้แก่
กลยุทธ์ที่ 1 การพัฒนาบุคลากร เพื่อก่อให้เกิด (1) การพัฒนาศักยภาพและความรู้ความสามารถทางด้านวิทยาการหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติแก่บุคลากร (2) การพัฒนาความรู้ความเข้าใจและความตระหนักทางด้านวิทยาการหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติแก่บุคลากร และ (3) การสร้างแนวทางความก้าวหน้าทางการประกอบอาชีพให้แก่บัณฑิตในสาขาวิทยาการหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ
กลยุทธ์ที่ 2 การพัฒนาเทคโนโลยี เพื่อก่อให้เกิด (1) พัฒนาเทคโนโลยีให้เข้มแข็งโดยสร้างความพร้อมของโครงสร้างพื้นฐานในด้านวิทยาการหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ และ (2) เพิ่มศักยภาพทางด้านการวิจัย พัฒนาและการประยุกต์การใช้วิทยาการหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติได้อย่างเหมาะสมกับความต้องการของประเทศ
กลยุทธ์ที่ 3 การถ่ายทอดเทคโนโลยี เพื่อก่อให้เกิด (1) ส่งเสริมการนำเทคโนโลยีไปสู่การใช้งานจริง และ (2) ส่งเสริมการถ่ายทอดความรู้ความเข้าใจและเทคโนโลยีสู่บุคลากรผู้ใช้และสาธารณชน
กลยุทธ์ที่ 4 การพัฒนาอุตสาหกรรม เพื่อก่อให้เกิด (1) การส่งเสริมการสร้างอุตสาหกรรมต้นน้ำสำหรับอุตสาหกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ (2) การส่งเสริมการผลิตและการใช้ผลิตภัณฑ์หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติเองภายในประเทศ และ (3) การส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติให้ได้มาตรฐานและสามารถส่งออกต่างประเทศ
กลยุทธ์ที่ 5 การพัฒนานโยบาย เพื่อก่อให้เกิด (1) การสร้างความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาคการศึกษา ภาครัฐ ภาคเอกชน และผู้ใช้ผลิตภัณฑ์หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ (2) การส่งเสริมให้สังคมสนับสนุนการใช้ผลงานและผลิตภัณฑ์หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติที่ผลิตภายในประเทศ และ (3) ส่งเสริมการลดต้นทุนในการทำวิจัยทางด้านวิทยาการหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 15 มกราคม 2551--จบ--
กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีรายงานว่า
1. ในปัจจุบันประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกมีความต้องการใช้หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติที่สูงขึ้นและมีแนวโน้มที่จะเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ในทางเดียวกันหุ่นยนต์บริการก็มีแนวโน้มเป็นที่ต้องการของตลาดเพิ่มขึ้นเช่นกัน ซึ่งหุ่นยนต์ประเภทนี้ส่วนมากจะเป็นหุ่นยนต์สำรวจ หุ่นยนต์รักษาความปลอดภัย หุ่นยนต์ทางการแพทย์ และหุ่นยนต์ใช้ในบ้านต่าง ๆ เช่น หุ่นยนต์ทำความสะอาดและหุ่นยนต์ตัดหญ้า เป็นต้น ในประเทศไทยแนวโน้มความต้องการใช้หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติในภาคอุตสาหกรรมอยู่ในเกณฑ์สูงเช่นเดียวกัน โดยมีอุตสาหกรรมผู้ใช้หลักคือ อุตสาหกรรมยานยนต์ อุตสาหกรรมฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ และอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ อีกทั้งยังมีแนวโน้มถูกนำไปใช้ในอุตสาหกรรมการเกษตรและแปรรูปอาหารมากขึ้น อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันประเทศไทยยังต้องอาศัยการนำเข้าหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติจากต่างประเทศซึ่งมีมูลค่าสูงเป็นหลักและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในปี พ.ศ. 2549 ประเทศไทยมีมูลค่านำเข้าหุ่นยนต์สำหรับการใช้งานในอุตสาหกรรมต่าง ๆ ถึง 1,392.4 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้าถึงเกือบเท่าตัว
2. ข้อมูลจากกลุ่มอุตสาหกรรมเครื่องจักรกลและโลหะการสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยระบุว่า สาเหตุที่ประเทศไทยมีการผลิตหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติขึ้นใช้เองในประเทศได้น้อยเป็นผลมาจากการที่ผู้ประกอบการของไทยมีขนาดเล็ก ไม่มีแรงจูงใจในการวิจัยเพื่อพัฒนาการผลิตของตน นอกจากนี้ยังขาดนโยบายสนับสนุนจากทางภาครัฐอย่างจริงจัง จึงควรมีการผลักดันให้มีนโยบายสนับสนุนการผลิตหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติขึ้นใช้เองในประเทศไทย เพื่อรองรับความต้องการที่เพิ่มสูงขึ้นของประเทศและเพื่อลดมูลค่าการนำเข้าระบบจากต่างประเทศ
3. สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติได้เล็งเห็นความต้องการใช้งานที่เพิ่มขึ้นของอุตสาหกรรมและสังคม ประกอบกับศักยภาพที่มีอยู่ของบุคลากรและหน่วยงานวิจัยของไทยจึงได้ดำเนินการให้มีการศึกษาและกำหนดกลยุทธ์การพัฒนาวิทยาการหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติของไทยขึ้นสำหรับใช้เป็นแนวทางและแผนปฏิบัติการสำหรับส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยี รวมทั้งอุตสาหกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติในประเทศไทย โดยยุทธศาสตร์การพัฒนาวิทยาการหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ ประกอบด้วยเป้าหมาย 3 ระยะได้แก่
- ระยะสั้นคือ สร้างความตระหนักและเตรียมความพร้อมด้านบุคลากร
- ระยะกลาง คือ สร้างความเข้มแข็งในการพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยี
- ระยะยาว คือ เพิ่มผลิตภาพการผลิตและยกระดับคุณภาพชีวิตเพื่อดำเนินการตามเป้าหมายทั้ง 3 ระยะที่ตั้งไว้ข้างต้นนั้นจำเป็นต้องดำเนินกลยุทธ์หลักที่สำคัญ 5 ด้าน ได้แก่
กลยุทธ์ที่ 1 การพัฒนาบุคลากร เพื่อก่อให้เกิด (1) การพัฒนาศักยภาพและความรู้ความสามารถทางด้านวิทยาการหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติแก่บุคลากร (2) การพัฒนาความรู้ความเข้าใจและความตระหนักทางด้านวิทยาการหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติแก่บุคลากร และ (3) การสร้างแนวทางความก้าวหน้าทางการประกอบอาชีพให้แก่บัณฑิตในสาขาวิทยาการหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ
กลยุทธ์ที่ 2 การพัฒนาเทคโนโลยี เพื่อก่อให้เกิด (1) พัฒนาเทคโนโลยีให้เข้มแข็งโดยสร้างความพร้อมของโครงสร้างพื้นฐานในด้านวิทยาการหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ และ (2) เพิ่มศักยภาพทางด้านการวิจัย พัฒนาและการประยุกต์การใช้วิทยาการหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติได้อย่างเหมาะสมกับความต้องการของประเทศ
กลยุทธ์ที่ 3 การถ่ายทอดเทคโนโลยี เพื่อก่อให้เกิด (1) ส่งเสริมการนำเทคโนโลยีไปสู่การใช้งานจริง และ (2) ส่งเสริมการถ่ายทอดความรู้ความเข้าใจและเทคโนโลยีสู่บุคลากรผู้ใช้และสาธารณชน
กลยุทธ์ที่ 4 การพัฒนาอุตสาหกรรม เพื่อก่อให้เกิด (1) การส่งเสริมการสร้างอุตสาหกรรมต้นน้ำสำหรับอุตสาหกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ (2) การส่งเสริมการผลิตและการใช้ผลิตภัณฑ์หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติเองภายในประเทศ และ (3) การส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติให้ได้มาตรฐานและสามารถส่งออกต่างประเทศ
กลยุทธ์ที่ 5 การพัฒนานโยบาย เพื่อก่อให้เกิด (1) การสร้างความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาคการศึกษา ภาครัฐ ภาคเอกชน และผู้ใช้ผลิตภัณฑ์หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ (2) การส่งเสริมให้สังคมสนับสนุนการใช้ผลงานและผลิตภัณฑ์หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติที่ผลิตภายในประเทศ และ (3) ส่งเสริมการลดต้นทุนในการทำวิจัยทางด้านวิทยาการหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 15 มกราคม 2551--จบ--