คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานความคืบหน้าการจัดทำแผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ฉบับที่ 2 ตามที่กระทรวงยุติธรรมเสนอ
กระทรวงยุติธรรมรายงานว่า สืบเนื่องจากมติคณะรัฐมนตรี (18 เมษายน 2550) กระทรวงยุติธรรมได้จัดทำรายงานความคืบหน้าการจัดทำแผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ฉบับที่ 2 โดยกระบวนการมีส่วนร่วมทุกภาคส่วน ซึ่งมีสาระสำคัญโดยสรุปดังนี้
1. การกำหนดชื่อแผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ฉบับที่ 2
กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม ร่วมกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พิจารณากำหนดชื่อที่มีความเหมาะสม โดยใช้ชื่อว่า “แผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ฉบับที่ 2” โดยแผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติดังกล่าว จะประกอบด้วย 3 ระดับ คือ ระดับยุทธศาสตร์ กลยุทธ์ และแผนปฏิบัติการ
2. การจัดทำแผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ฉบับที่ 2
2.1 ระยะเตรียมการ ดำเนินการแล้วเสร็จ ดังนี้
พ.ศ. 2549
1) การติดตามผลการปฏิบัติตามนโยบายและแผนปฏิบัติการแม่บทแห่งชาติด้านสิทธิมนุษยชน (แผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ฉบับที่ 1)
2) ศึกษาสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานตามกรอบรัฐธรรมนูญในบริบทของสังคมไทยและมาตรฐานสากลระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชน
3) การวางกรอบนโยบายและแผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ฉบับที่ 2
พ.ศ. 2549-2550 การเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อขอความเห็นชอบให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินตามนโยบายและแผนปฏิบัติการแม่บทแห่งชาติด้านสิทธิมนุษยชน (แผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ฉบับที่ 1) ไปพลางก่อน จนกว่าแผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ฉบับที่ 2 จะแล้วเสร็จและประกาศใช้ ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบเมื่อวันที่ 18 เมษายน 2550
2.2 ระยะดำเนินการ
2.2.1 การดำเนินการแล้วเสร็จ
พ.ศ. 2550 ประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนใน 4 ภูมิภาคและกรุงเทพมหานครเพื่อจัดทำเค้าโครงแผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ฉบับที่ 2
2.2.2 อยู่ระหว่างดำเนินการ
พ.ศ. 2550-2551
1) พัฒนาวิทยากรกลาง และวิทยากรภาคสนาม รวม 95 คน เพื่อจัดกระบวนการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการจัดทำแผนสิทธิมนุษยชนในระดับพื้นที่ทั้ง 4 ภูมิภาคและกรุงเทพมหานคร
2) การจัดทำแผนสิทธิมนุษยชนในระดับพื้นที่ 4 ภูมิภาคและกรุงเทพมหานคร
พ.ศ. 2551 การจัดทำร่างแผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ฉบับที่ 2 (โดยพัฒนามาจากแผนสิทธิมนุษยชนในระดับพื้นที่ 4 ภูมิภาค และกรุงเทพมหานคร)
3. การแต่งตั้งคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยนโยบายและแผนสิทธิมนุษยชน
3.1 การดำเนินการแล้วเสร็จ
1-30 มี.ค. 2550 ประกาศเผยแพร่เชิญชวนให้ภาคส่วนต่าง ๆ ส่งรายชื่อเพื่อประกอบการพิจารณาแต่งตั้งคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยนโยบายและแผนสิทธิมนุษยชน
30 ส.ค. 2550 แต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาคัดเลือกคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยนโยบายและแผนสิทธิมนุษยชน
11 ต.ค. 2550 แต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาหลักเกณฑ์ วิธีการคัดเลือกและองค์ประกอบอำนาจหน้าที่คณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยนโยบายและแผนสิทธิมนุษยชน
24 ต.ค. 2550 ประชุมคณะกรรมการพิจารณาหลักเกณฑ์ วิธีการคัดเลือกและองค์ประกอบอำนาจหน้าที่คณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยนโยบายและแผนสิทธิมนุษยชน
3.2 อยู่ระหว่างดำเนินการ
พ.ศ. 2550-2551 จัดทำประกาศหลักเกณฑ์ วิธีการคัดเลือกคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยนโยบายและแผนสิทธิมนุษยชน
พ.ศ. 2551
1) จัดประชุมคณะกรรมการพิจารณาคัดเลือกคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยนโยบายและแผนสิทธิมนุษยชน
2) ยกร่างคำสั่งคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยนโยบายและแผนสิทธิมนุษยชนเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณา
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 15 มกราคม 2551--จบ--
กระทรวงยุติธรรมรายงานว่า สืบเนื่องจากมติคณะรัฐมนตรี (18 เมษายน 2550) กระทรวงยุติธรรมได้จัดทำรายงานความคืบหน้าการจัดทำแผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ฉบับที่ 2 โดยกระบวนการมีส่วนร่วมทุกภาคส่วน ซึ่งมีสาระสำคัญโดยสรุปดังนี้
1. การกำหนดชื่อแผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ฉบับที่ 2
กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม ร่วมกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พิจารณากำหนดชื่อที่มีความเหมาะสม โดยใช้ชื่อว่า “แผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ฉบับที่ 2” โดยแผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติดังกล่าว จะประกอบด้วย 3 ระดับ คือ ระดับยุทธศาสตร์ กลยุทธ์ และแผนปฏิบัติการ
2. การจัดทำแผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ฉบับที่ 2
2.1 ระยะเตรียมการ ดำเนินการแล้วเสร็จ ดังนี้
พ.ศ. 2549
1) การติดตามผลการปฏิบัติตามนโยบายและแผนปฏิบัติการแม่บทแห่งชาติด้านสิทธิมนุษยชน (แผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ฉบับที่ 1)
2) ศึกษาสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานตามกรอบรัฐธรรมนูญในบริบทของสังคมไทยและมาตรฐานสากลระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชน
3) การวางกรอบนโยบายและแผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ฉบับที่ 2
พ.ศ. 2549-2550 การเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อขอความเห็นชอบให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินตามนโยบายและแผนปฏิบัติการแม่บทแห่งชาติด้านสิทธิมนุษยชน (แผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ฉบับที่ 1) ไปพลางก่อน จนกว่าแผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ฉบับที่ 2 จะแล้วเสร็จและประกาศใช้ ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบเมื่อวันที่ 18 เมษายน 2550
2.2 ระยะดำเนินการ
2.2.1 การดำเนินการแล้วเสร็จ
พ.ศ. 2550 ประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนใน 4 ภูมิภาคและกรุงเทพมหานครเพื่อจัดทำเค้าโครงแผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ฉบับที่ 2
2.2.2 อยู่ระหว่างดำเนินการ
พ.ศ. 2550-2551
1) พัฒนาวิทยากรกลาง และวิทยากรภาคสนาม รวม 95 คน เพื่อจัดกระบวนการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการจัดทำแผนสิทธิมนุษยชนในระดับพื้นที่ทั้ง 4 ภูมิภาคและกรุงเทพมหานคร
2) การจัดทำแผนสิทธิมนุษยชนในระดับพื้นที่ 4 ภูมิภาคและกรุงเทพมหานคร
พ.ศ. 2551 การจัดทำร่างแผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ฉบับที่ 2 (โดยพัฒนามาจากแผนสิทธิมนุษยชนในระดับพื้นที่ 4 ภูมิภาค และกรุงเทพมหานคร)
3. การแต่งตั้งคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยนโยบายและแผนสิทธิมนุษยชน
3.1 การดำเนินการแล้วเสร็จ
1-30 มี.ค. 2550 ประกาศเผยแพร่เชิญชวนให้ภาคส่วนต่าง ๆ ส่งรายชื่อเพื่อประกอบการพิจารณาแต่งตั้งคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยนโยบายและแผนสิทธิมนุษยชน
30 ส.ค. 2550 แต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาคัดเลือกคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยนโยบายและแผนสิทธิมนุษยชน
11 ต.ค. 2550 แต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาหลักเกณฑ์ วิธีการคัดเลือกและองค์ประกอบอำนาจหน้าที่คณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยนโยบายและแผนสิทธิมนุษยชน
24 ต.ค. 2550 ประชุมคณะกรรมการพิจารณาหลักเกณฑ์ วิธีการคัดเลือกและองค์ประกอบอำนาจหน้าที่คณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยนโยบายและแผนสิทธิมนุษยชน
3.2 อยู่ระหว่างดำเนินการ
พ.ศ. 2550-2551 จัดทำประกาศหลักเกณฑ์ วิธีการคัดเลือกคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยนโยบายและแผนสิทธิมนุษยชน
พ.ศ. 2551
1) จัดประชุมคณะกรรมการพิจารณาคัดเลือกคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยนโยบายและแผนสิทธิมนุษยชน
2) ยกร่างคำสั่งคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยนโยบายและแผนสิทธิมนุษยชนเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณา
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 15 มกราคม 2551--จบ--