คณะรัฐมนตรีรับทราบผลการประชุมใหญ่สมัชชารัฐสภาอาเซียน ครั้งที่ 28 ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย ระหว่างวันที่ 18-24 สิงหาคม 2550 และข้อมติที่เกี่ยวข้องตามที่สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรเสนอ โดยมอบให้กระทรวงและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาดำเนินการตามที่สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรเสนอ ตามความเหมาะสม โดยให้แจ้งผลการดำเนินการให้สำนักเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรทราบโดยตรงต่อไป
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร รายงานว่า สมัชชารัฐสภาอาเซียน (ASEAN Inter — Parliamentary Assembly : AIPA) ได้มีการประชุมใหญ่ ครั้งที่ 28 ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย ระหว่างวันที่ 18-24 สิงหาคม 2550 สรุปสาระสำคัญ ดังนี้
1. ด้านการเมือง ที่ประชุมฯ ให้ความสำคัญเรื่องการมีส่วนร่วมกับอาเซียน โดยตกลงจัดตั้ง AIPA Caucus เพื่อเพิ่มการมีส่วนร่วมของสมาชิกรัฐสภาในกรอบของอาเซียน และมีมติเรื่องการเพิ่มบทบาทและการสนับสนุนของ AIPA ต่อกฎบัตรอาเซียน โดยเรียกร้องให้คณะทำงานเฉพาะกิจระดับสูงเรื่องการยกร่างกฎบัตรอาเซียน (High Level Task Force on the Drafting of the ASEAN Charter : HLTF) กำหนดบทบาทให้ AIPA มีบทบาทสำคัญในฐานะสถาบันนิติบัญญัติของอาเซียนในการให้คำปรึกษาและร่วมสร้างประชาคมอาเซียน ส่วนเรื่องความร่วมมือด้านกฎหมายเพื่อต่อต้านภัยยาเสพติดนั้น ที่ประชุมเห็นชอบให้คณะกรรมาธิการหาข้อเท็จจริงของ AIPA ในการปราบปรามภัยคุกคามจากยาเสพติด (The AIPA Fact Finding Committee to Combat the Drug Menace : AIFOCOM) ซึ่งเป็นกลไกของ AIPA กำหนดกรอบกฎหมายที่มีอยู่ในประเทศสมาชิกอาเซียนในการต่อต้านภัยจากยาเสพติด และที่ประชุมฯ ให้ความสำคัญแก่เรื่องการค้ามนุษย์ ความมั่นคงทางทะเล และสนธิสัญญาการส่งผู้ร้ายข้ามแดน
2. ด้านเศรษฐกิจ ที่ประชุมฯ ให้ความสำคัญในประเด็นของความมั่นคงทางพลังงานและพลังงานทดแทนตามที่คณะผู้แทนรัฐสภาไทยเสนอ โดยให้ประเทศสมาชิกเร่งการเชื่อมโยงเครือข่ายด้านพลังงาน และพัฒนาการผลิตและใช้พลังงานทดแทนจากทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่ในท้องถิ่น หารือเรื่องความมั่นคงทางอาหาร โดยส่งเสริมการสำรองปริมาณอาหารให้เพียงพอต่อความต้องการภายในภูมิภาค และนำระบบข้อมูลเกี่ยวกับความมั่นคงด้านอาหารของอาเซียน (ASEAN Food Security Information System : AFSIS) มาใช้ส่งเสริมสินค้าเกษตร และที่ประชุมได้มีมติเรื่องการส่งเสริมการบูรณาการทางเศรษฐกิจการลดช่องว่างระหว่างประเทศสมาชิก ทรัพย์สินทางปัญญา และตกลงทำการศึกษาเรื่องการก่อตั้งกองทุนการเงินเอเชีย (Asian Monetary Fund-AMF)
3. ด้านสังคม คณะผู้แทนรัฐสภาไทยได้เสนอเรื่องความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิกในเรื่องการอพยพย้ายถิ่น ภาวะโลกร้อน และโรคระบาดร้ายแรง ซึ่งได้รับการตอบสนองจากที่ประชุมเป็นอย่างดี โดยที่ประชุมฯ มีมติจัดตั้งคณะกรรมาธิการเพื่อศึกษากฎหมายและกฎเกณฑ์ของประเทศสมาชิกในเรื่องการอพยพ เรียกร้องให้ประเทศสมาชิกผลักดันเรื่องภาวะโลกร้อยเป็นวาระสำคัญของ AIPA และสานต่อการริเริ่มการจัดทำกฎหมายร่วมกันในด้านโรคติดต่อร้ายแรง และที่ประชุมฯ มีมติให้ประเทศสมาชิกจัดทำฐานข้อมูลและปรับปรุงมาตรฐานความปลอดภัยของอาหารให้สอดคล้องกับมาตรฐานระดับนานาชาติ
4. การประชุมสมาชิกรัฐสภาสตรีของสมัชชารัฐสภาอาเซียน
ที่ประชุม ฯ สนับสนุนการส่งเสริมสิทธิและบทบาทของสตรีผ่านทางนโยบายที่เปิดโอกาสและการกระจายความรู้รวมถึงข้อมูลอย่างทั่วถึง ซึ่งจะช่วยให้สตรีเข้าไปมีบทบาทการตัดสินใจในสังคมทุกระดับ
5. สมัชชารัฐสภาอาเซียนมีการติดตามการปฏิบัติตามข้อมติของสมัชชาฯ โดยจะให้ประเทศสมาชิกและประเทศผู้สังเกตการณ์พิเศษรายงานต่อที่ประชุมใหญ่สมัชชารัฐสภาอาเซียน ครั้งที่ 29 ต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 15 มกราคม 2551--จบ--
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร รายงานว่า สมัชชารัฐสภาอาเซียน (ASEAN Inter — Parliamentary Assembly : AIPA) ได้มีการประชุมใหญ่ ครั้งที่ 28 ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย ระหว่างวันที่ 18-24 สิงหาคม 2550 สรุปสาระสำคัญ ดังนี้
1. ด้านการเมือง ที่ประชุมฯ ให้ความสำคัญเรื่องการมีส่วนร่วมกับอาเซียน โดยตกลงจัดตั้ง AIPA Caucus เพื่อเพิ่มการมีส่วนร่วมของสมาชิกรัฐสภาในกรอบของอาเซียน และมีมติเรื่องการเพิ่มบทบาทและการสนับสนุนของ AIPA ต่อกฎบัตรอาเซียน โดยเรียกร้องให้คณะทำงานเฉพาะกิจระดับสูงเรื่องการยกร่างกฎบัตรอาเซียน (High Level Task Force on the Drafting of the ASEAN Charter : HLTF) กำหนดบทบาทให้ AIPA มีบทบาทสำคัญในฐานะสถาบันนิติบัญญัติของอาเซียนในการให้คำปรึกษาและร่วมสร้างประชาคมอาเซียน ส่วนเรื่องความร่วมมือด้านกฎหมายเพื่อต่อต้านภัยยาเสพติดนั้น ที่ประชุมเห็นชอบให้คณะกรรมาธิการหาข้อเท็จจริงของ AIPA ในการปราบปรามภัยคุกคามจากยาเสพติด (The AIPA Fact Finding Committee to Combat the Drug Menace : AIFOCOM) ซึ่งเป็นกลไกของ AIPA กำหนดกรอบกฎหมายที่มีอยู่ในประเทศสมาชิกอาเซียนในการต่อต้านภัยจากยาเสพติด และที่ประชุมฯ ให้ความสำคัญแก่เรื่องการค้ามนุษย์ ความมั่นคงทางทะเล และสนธิสัญญาการส่งผู้ร้ายข้ามแดน
2. ด้านเศรษฐกิจ ที่ประชุมฯ ให้ความสำคัญในประเด็นของความมั่นคงทางพลังงานและพลังงานทดแทนตามที่คณะผู้แทนรัฐสภาไทยเสนอ โดยให้ประเทศสมาชิกเร่งการเชื่อมโยงเครือข่ายด้านพลังงาน และพัฒนาการผลิตและใช้พลังงานทดแทนจากทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่ในท้องถิ่น หารือเรื่องความมั่นคงทางอาหาร โดยส่งเสริมการสำรองปริมาณอาหารให้เพียงพอต่อความต้องการภายในภูมิภาค และนำระบบข้อมูลเกี่ยวกับความมั่นคงด้านอาหารของอาเซียน (ASEAN Food Security Information System : AFSIS) มาใช้ส่งเสริมสินค้าเกษตร และที่ประชุมได้มีมติเรื่องการส่งเสริมการบูรณาการทางเศรษฐกิจการลดช่องว่างระหว่างประเทศสมาชิก ทรัพย์สินทางปัญญา และตกลงทำการศึกษาเรื่องการก่อตั้งกองทุนการเงินเอเชีย (Asian Monetary Fund-AMF)
3. ด้านสังคม คณะผู้แทนรัฐสภาไทยได้เสนอเรื่องความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิกในเรื่องการอพยพย้ายถิ่น ภาวะโลกร้อน และโรคระบาดร้ายแรง ซึ่งได้รับการตอบสนองจากที่ประชุมเป็นอย่างดี โดยที่ประชุมฯ มีมติจัดตั้งคณะกรรมาธิการเพื่อศึกษากฎหมายและกฎเกณฑ์ของประเทศสมาชิกในเรื่องการอพยพ เรียกร้องให้ประเทศสมาชิกผลักดันเรื่องภาวะโลกร้อยเป็นวาระสำคัญของ AIPA และสานต่อการริเริ่มการจัดทำกฎหมายร่วมกันในด้านโรคติดต่อร้ายแรง และที่ประชุมฯ มีมติให้ประเทศสมาชิกจัดทำฐานข้อมูลและปรับปรุงมาตรฐานความปลอดภัยของอาหารให้สอดคล้องกับมาตรฐานระดับนานาชาติ
4. การประชุมสมาชิกรัฐสภาสตรีของสมัชชารัฐสภาอาเซียน
ที่ประชุม ฯ สนับสนุนการส่งเสริมสิทธิและบทบาทของสตรีผ่านทางนโยบายที่เปิดโอกาสและการกระจายความรู้รวมถึงข้อมูลอย่างทั่วถึง ซึ่งจะช่วยให้สตรีเข้าไปมีบทบาทการตัดสินใจในสังคมทุกระดับ
5. สมัชชารัฐสภาอาเซียนมีการติดตามการปฏิบัติตามข้อมติของสมัชชาฯ โดยจะให้ประเทศสมาชิกและประเทศผู้สังเกตการณ์พิเศษรายงานต่อที่ประชุมใหญ่สมัชชารัฐสภาอาเซียน ครั้งที่ 29 ต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 15 มกราคม 2551--จบ--