คณะรัฐมนตรีเห็นชอบในหลักการกรอบแผนอุดมศึกษาระยะยาว 15 ปี ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2551-2565) และข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย ตามที่กระทรวงศึกษาธิการเสนอ และให้กระทรวงศึกษาธิการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับกรอบแผนอุดมศึกษาระยะยาว 15 ปี ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2551-2565) ไปใช้เป็นกรอบในการดำเนินงานต่อไป
กระทรวงศึกษาธิการรายงานว่า
1. แผนอุดมศึกษาระยะยาว (พ.ศ. 2533-2547) ได้สิ้นสุดลงแล้ว กระทรวงศึกษาธิการ โดยสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) จึงได้ดำเนินการจัดทำกรอบแผนอุดมศึกษาระยะยาว 15 ปี ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2551-2565) ขึ้น โดยมีสาระสำคัญสรุปได้ดังนี้
1.1 กรอบแผนอุดมศึกษาระยะยาว 15 ปี ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2551-2565) ออกแบบโดยคำนึงถึงมิติบูรณาการและองค์รวมของการพัฒนาอุดมศึกษาเพื่อกำหนดทิศทางยุทธศาสตร์ (Strategic direction) โดยมีสาระหลัก 2 ส่วน ดังนี้
ส่วนที่ 1 ภาพอนาคตที่จะมีผลกระทบต่อโลก ประเทศและอุดมศึกษา มี 7 ประเด็น ประกอบด้วย 1) ความเปลี่ยนแปลงด้านประชากร 2) พลังงานและสิ่งแวดล้อม 3) การมีงานทำและตลาดแรงงานในอนาคต 4) การกระจายอำนาจการปกครอง 5) การจัดการความขัดแย้งและความรุนแรง 6) เยาวชน นักศึกษา และบัณฑิตในอนาคต และ 7) เศรษฐกิจพอเพียง
ส่วนที่ 2 ประเด็น ทิศทาง และนโยบายของกรอบแผนอุดมศึกษาระยะยาว มี 9 ประเด็น ประกอบด้วย 1) รอยต่อกับการศึกษาระดับอื่น ๆ 2) การแก้ปัญหาอุดมศึกษาในปัจจุบัน 3) ธรรมาภิบาลและการบริหารจัดการอุดมศึกษา 4) บทบาทของมหาวิทยาลัยในการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ 5) การเงินอุดมศึกษา 6) การพัฒนาบุคลากรในอุดมศึกษา 7) เครือข่ายอุดมศึกษา 8) การพัฒนาอุดมศึกษาในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ และ 9) โครงสร้างพื้นฐานการเรียนรู้
1.2 เป้าหมายของกรอบแผนอุดมศึกษาระยะยาว 15 ปี ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2551-2565) เมื่อสิ้นสุดแผนในปี พ.ศ. 2565 คือ การยกระดับคุณภาพอุดมศึกษาไทยเพื่อผลิตและพัฒนาบุคลากรที่มีคุณภาพสามารถปรับตัวสำหรับงานที่เกิดขึ้นตลอดชีวิต พัฒนาศักยภาพอุดมศึกษาในการสร้างความรู้และนวัตกรรมเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศในโลกาภิวัตน์ สนับสนุนการพัฒนาที่ยั่งยืนของท้องถิ่นไทย โดยใช้กลไกของธรรมาภิบาล การเงิน การกำกับ มาตรฐาน และเครือข่ายอุดมศึกษาบนพื้นฐานของเสรีภาพทางวิชาการ ความหลากหลาย และเอกภาพเชิงระบบ
2. ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย
2.1 รัฐบาลพึงให้การสนับสนุนการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษาของรัฐไปเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ โดยคำนึงถึงศักยภาพและความพร้อมของสถาบันอุดมศึกษาของรัฐนั้น ๆ
2.2 รัฐบาลไม่ควรสนับสนุนให้มีการจัดตั้งสถาบันอุดมศึกษาของรัฐเพิ่มขึ้นอีก แต่ควรสนับสนุนสถาบันอุดมศึกษาของรัฐให้พัฒนาคุณภาพมาตรฐานการศึกษา การดำเนินการวิจัยและพัฒนา และการให้บริการทางวิชาการแก่สังคมมากขึ้น
2.3 รัฐบาลควรส่งเสริมและสนับสนุนให้สถาบันอุดมศึกษาเอกชนจัดการศึกษาในสาขาวิชาที่เป็นความเชี่ยวชาญของภาคเอกชน โดยให้สถาบันอุดมศึกษาของรัฐจัดการศึกษาในสาขาวิชาที่ต้องมีการลงทุนสูงและเป็นความต้องการของประเทศ ทั้งนี้ เพื่อมิให้เกิดความซ้ำซ้อนกันในการจัดการศึกษาระหว่างสถาบันอุดมศึกษาของรัฐและเอกชน
2.4 รัฐบาลควรสนับสนุนให้สถาบันอุดมศึกษาเป็นส่วนสำคัญในการส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาของประเทศ
2.5 รัฐบาลพึงให้การสนับสนุนการจัดตั้งและพัฒนากองทุนเพื่อส่งเสริมการพัฒนาอุดมศึกษาของประเทศ เพื่อให้สถาบันอุดมศึกษาสามารถพัฒนาภารกิจบางด้านได้อย่างต่อเนื่องทั้งกองทุนในลักษณะการพัฒนาการศึกษาโดยทั่วไปและกองทุนที่มีวัตถุประสงค์ในการสนับสนุนเฉพาะเรื่อง
2.6 รัฐบาลพึงกำกับดูแลให้มีการประสานงานความร่วมมือระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและสนับสนุนงบประมาณอย่างพอเพียงในการนำกรอบแผนอุดมศึกษาระยะยาว 15 ปี ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2551-2565) ไปปฏิบัติอย่างมีประสิทธิภาพ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 15 มกราคม 2551--จบ--
กระทรวงศึกษาธิการรายงานว่า
1. แผนอุดมศึกษาระยะยาว (พ.ศ. 2533-2547) ได้สิ้นสุดลงแล้ว กระทรวงศึกษาธิการ โดยสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) จึงได้ดำเนินการจัดทำกรอบแผนอุดมศึกษาระยะยาว 15 ปี ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2551-2565) ขึ้น โดยมีสาระสำคัญสรุปได้ดังนี้
1.1 กรอบแผนอุดมศึกษาระยะยาว 15 ปี ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2551-2565) ออกแบบโดยคำนึงถึงมิติบูรณาการและองค์รวมของการพัฒนาอุดมศึกษาเพื่อกำหนดทิศทางยุทธศาสตร์ (Strategic direction) โดยมีสาระหลัก 2 ส่วน ดังนี้
ส่วนที่ 1 ภาพอนาคตที่จะมีผลกระทบต่อโลก ประเทศและอุดมศึกษา มี 7 ประเด็น ประกอบด้วย 1) ความเปลี่ยนแปลงด้านประชากร 2) พลังงานและสิ่งแวดล้อม 3) การมีงานทำและตลาดแรงงานในอนาคต 4) การกระจายอำนาจการปกครอง 5) การจัดการความขัดแย้งและความรุนแรง 6) เยาวชน นักศึกษา และบัณฑิตในอนาคต และ 7) เศรษฐกิจพอเพียง
ส่วนที่ 2 ประเด็น ทิศทาง และนโยบายของกรอบแผนอุดมศึกษาระยะยาว มี 9 ประเด็น ประกอบด้วย 1) รอยต่อกับการศึกษาระดับอื่น ๆ 2) การแก้ปัญหาอุดมศึกษาในปัจจุบัน 3) ธรรมาภิบาลและการบริหารจัดการอุดมศึกษา 4) บทบาทของมหาวิทยาลัยในการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ 5) การเงินอุดมศึกษา 6) การพัฒนาบุคลากรในอุดมศึกษา 7) เครือข่ายอุดมศึกษา 8) การพัฒนาอุดมศึกษาในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ และ 9) โครงสร้างพื้นฐานการเรียนรู้
1.2 เป้าหมายของกรอบแผนอุดมศึกษาระยะยาว 15 ปี ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2551-2565) เมื่อสิ้นสุดแผนในปี พ.ศ. 2565 คือ การยกระดับคุณภาพอุดมศึกษาไทยเพื่อผลิตและพัฒนาบุคลากรที่มีคุณภาพสามารถปรับตัวสำหรับงานที่เกิดขึ้นตลอดชีวิต พัฒนาศักยภาพอุดมศึกษาในการสร้างความรู้และนวัตกรรมเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศในโลกาภิวัตน์ สนับสนุนการพัฒนาที่ยั่งยืนของท้องถิ่นไทย โดยใช้กลไกของธรรมาภิบาล การเงิน การกำกับ มาตรฐาน และเครือข่ายอุดมศึกษาบนพื้นฐานของเสรีภาพทางวิชาการ ความหลากหลาย และเอกภาพเชิงระบบ
2. ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย
2.1 รัฐบาลพึงให้การสนับสนุนการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษาของรัฐไปเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ โดยคำนึงถึงศักยภาพและความพร้อมของสถาบันอุดมศึกษาของรัฐนั้น ๆ
2.2 รัฐบาลไม่ควรสนับสนุนให้มีการจัดตั้งสถาบันอุดมศึกษาของรัฐเพิ่มขึ้นอีก แต่ควรสนับสนุนสถาบันอุดมศึกษาของรัฐให้พัฒนาคุณภาพมาตรฐานการศึกษา การดำเนินการวิจัยและพัฒนา และการให้บริการทางวิชาการแก่สังคมมากขึ้น
2.3 รัฐบาลควรส่งเสริมและสนับสนุนให้สถาบันอุดมศึกษาเอกชนจัดการศึกษาในสาขาวิชาที่เป็นความเชี่ยวชาญของภาคเอกชน โดยให้สถาบันอุดมศึกษาของรัฐจัดการศึกษาในสาขาวิชาที่ต้องมีการลงทุนสูงและเป็นความต้องการของประเทศ ทั้งนี้ เพื่อมิให้เกิดความซ้ำซ้อนกันในการจัดการศึกษาระหว่างสถาบันอุดมศึกษาของรัฐและเอกชน
2.4 รัฐบาลควรสนับสนุนให้สถาบันอุดมศึกษาเป็นส่วนสำคัญในการส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาของประเทศ
2.5 รัฐบาลพึงให้การสนับสนุนการจัดตั้งและพัฒนากองทุนเพื่อส่งเสริมการพัฒนาอุดมศึกษาของประเทศ เพื่อให้สถาบันอุดมศึกษาสามารถพัฒนาภารกิจบางด้านได้อย่างต่อเนื่องทั้งกองทุนในลักษณะการพัฒนาการศึกษาโดยทั่วไปและกองทุนที่มีวัตถุประสงค์ในการสนับสนุนเฉพาะเรื่อง
2.6 รัฐบาลพึงกำกับดูแลให้มีการประสานงานความร่วมมือระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและสนับสนุนงบประมาณอย่างพอเพียงในการนำกรอบแผนอุดมศึกษาระยะยาว 15 ปี ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2551-2565) ไปปฏิบัติอย่างมีประสิทธิภาพ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 15 มกราคม 2551--จบ--