คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามมติคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 2 ซึ่งมีรองนายกรัฐมนตรี (นายไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม) เป็นประธาน ที่อนุมัติในหลักการให้กระทรวงศึกษาธิการดำเนินการตามแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาโรงเรียนเฉลิมพระเกียรติและโรงเรียนในพระราชดำริ ส่วนงบประมาณค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานตามแผนยุทธศาสตร์ฯ ให้เป็นไปตามความเห็นของสำนักงบประมาณ ที่ให้พิจารณาปรับแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2551 ที่ได้รับไปดำเนินการ สำหรับแผนปฏิบัติการที่จะดำเนินการในปีงบประมาณ พ.ศ. 2552-2554 ให้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานเสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณตามความเหมาะสมกับความจำเป็นเป็นปี ๆ ไป ทั้งนี้ ให้กระทรวงศึกษาธิการรับความเห็นของกระทรวงวัฒนธรรม สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการด้วย
กระทรวงศึกษาธิการรายงานว่า
1. กระทรวงศึกษาธิการได้จัดตั้งสถานศึกษาตามพระราชดำริและเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและพระบรมวงศานุวงศ์ในวโรกาสต่าง ๆ มีอย่างน้อย 330 โรงเรียน โดยน้อมนำแนวพระราชดำริที่ทรงพระราชทานมาเพื่อพัฒนาการศึกษาให้เป็นประโยชน์ต่อประชาชน จากการสำรวจและการตรวจเยี่ยมโรงเรียนพบว่า โรงเรียนบางแห่งมีศักยภาพพิเศษอยู่ในพระบรมราชานุเคราะห์ บางแห่งได้รับพระราชทานนามมาเป็นชื่อของโรงเรียนแต่ยังมีสภาพความไม่พร้อมของโรงเรียนอยู่มากซึ่งสมควรจะต้องพัฒนาโรงเรียนเหล่านี้ให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น ดำรงความเป็นโรงเรียนเฉลิมพระเกียรติและสนองพระราชดำริตามวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งโรงเรียน รวมทั้งน้อมนำแนวทางที่ได้รับพระราชทานในโอกาสต่าง ๆ มาสู่การปฏิบัติ เช่น เรื่องเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นหลักสำคัญในการศึกษาและมีการดำเนินการอย่างต่อเนื่องเพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเจริญพระชนมพรรษา 80 พรรษา ในปี 2550
2. กระทรวงศึกษาธิการจึงจัดให้มีการจัดทำยุทธศาสตร์การพัฒนาโรงเรียนเฉลิมพระเกียรติและโรงเรียนในพระราชดำริ โดยมีรายละเอียดดังนี้
2.1 จัดโรงเรียนเป็น 3 กลุ่ม ตามระดับความรุนแรงของปัญหาและความพร้อมในการพัฒนา ดังนี้
2.1.1 กลุ่มที่ 1 กลุ่มกำลังพัฒนาสู่มาตรฐาน เป็นโรงเรียนที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกล ทุรกันดาร นักเรียนส่วนใหญ่ยากจน ขาดโอกาสที่จะได้รับการศึกษาที่ทัดเทียมกับเด็กในชุมชนเมือง ผลการประเมินคุณภาพของโรงเรียนตามมาตรฐาน โดยรวมอยู่ในเกณฑ์ปรับปรุงและพอใช้ โรงเรียนที่อยู่ในกลุ่มนี้ ได้แก่ โรงเรียนร่มเกล้า โรงเรียนเจ้าพ่อหลวงอุปถัมภ์ โรงเรียนสังวาลย์วิทยา โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ รวม 56 โรงเรียน
2.1.2 กลุ่มที่ 2 กลุ่มพัฒนาสู่ความเป็นเลิศ เป็นโรงเรียนซึ่งมีความพร้อมพื้นฐานค่อนข้างมากแต่ไม่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณในการพัฒนาคุณภาพเป็นพิเศษ ผลการประเมินคุณภาพส่วนใหญ่อยู่ในระดับดี โรงเรียนที่อยู่ในกลุ่มนี้ ได้แก่ โรงเรียนรัชดาภิเษก โรงเรียนรัชมังคลาภิเษก โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จ พระศรีนครินทร์ ฯลฯ รวมจำนวน 71 โรงเรียน
2.1.3 กลุ่มที่ 3 กลุ่มที่มีมาตรฐานสูง เป็นโรงเรียนที่มีผลการประเมินคุณภาพโดยรวมอยู่ในระดับดีและดีมาก โรงเรียนที่อยู่ในกลุ่มนี้ ได้แก่ โรงเรียนราชวินิต โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย โรงเรียนจุฬาภรณ์ราชวิทยาลัย โรงเรียนนวมินทราชูทิศ โรงเรียนมัธยมสังคีตวิทยา รวมจำนวน 51 โรงเรียน
2.2 กำหนดเป้าหมายในการพัฒนาตามสภาพความพร้อมของโรงเรียน ดังนี้
2.2.1 ยกระดับคุณภาพโรงเรียนในกลุ่มกำลังพัฒนาให้เข้าสู่มาตรฐาน
2.2.2 เสริมความเข้มแข็งของโรงเรียนที่มีคุณภาพดีให้พัฒนาสู่ความเป็นเลิศ และเป็นศูนย์ความเป็นเลิศทางวิชาการและศูนย์ขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา
2.2.3 สร้างความเป็นเลิศให้โรงเรียนในกลุ่มที่มีมาตรฐานสูงและขยายผลสู่โรงเรียนอื่น
2.3 กำหนดยุทธศาสตร์ 4 ยุทธศาสตร์ คือ
2.3.1 ยุทธศาสตร์ที่ 1 พัฒนาคุณภาพนักเรียนให้มีคุณลักษณะตามแนวทางพระราชดำริ
2.3.2 ยุทธศาสตร์ที่ 2 พัฒนาผู้บริหาร ครู และบุคลากรทางการศึกษา
2.3.3 ยุทธศาสตร์ที่ 3 ปรับสภาพแวดล้อมของโรงเรียนให้มีความพร้อมในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน
2.3.4 ยุทธศาสตร์ที่ 4 พัฒนากลไกในการประสานส่งเสริมและขยายผลโรงเรียนเฉลิม พระเกียรติและโรงเรียนในพระราชดำริ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 15 มกราคม 2551--จบ--
กระทรวงศึกษาธิการรายงานว่า
1. กระทรวงศึกษาธิการได้จัดตั้งสถานศึกษาตามพระราชดำริและเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและพระบรมวงศานุวงศ์ในวโรกาสต่าง ๆ มีอย่างน้อย 330 โรงเรียน โดยน้อมนำแนวพระราชดำริที่ทรงพระราชทานมาเพื่อพัฒนาการศึกษาให้เป็นประโยชน์ต่อประชาชน จากการสำรวจและการตรวจเยี่ยมโรงเรียนพบว่า โรงเรียนบางแห่งมีศักยภาพพิเศษอยู่ในพระบรมราชานุเคราะห์ บางแห่งได้รับพระราชทานนามมาเป็นชื่อของโรงเรียนแต่ยังมีสภาพความไม่พร้อมของโรงเรียนอยู่มากซึ่งสมควรจะต้องพัฒนาโรงเรียนเหล่านี้ให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น ดำรงความเป็นโรงเรียนเฉลิมพระเกียรติและสนองพระราชดำริตามวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งโรงเรียน รวมทั้งน้อมนำแนวทางที่ได้รับพระราชทานในโอกาสต่าง ๆ มาสู่การปฏิบัติ เช่น เรื่องเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นหลักสำคัญในการศึกษาและมีการดำเนินการอย่างต่อเนื่องเพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเจริญพระชนมพรรษา 80 พรรษา ในปี 2550
2. กระทรวงศึกษาธิการจึงจัดให้มีการจัดทำยุทธศาสตร์การพัฒนาโรงเรียนเฉลิมพระเกียรติและโรงเรียนในพระราชดำริ โดยมีรายละเอียดดังนี้
2.1 จัดโรงเรียนเป็น 3 กลุ่ม ตามระดับความรุนแรงของปัญหาและความพร้อมในการพัฒนา ดังนี้
2.1.1 กลุ่มที่ 1 กลุ่มกำลังพัฒนาสู่มาตรฐาน เป็นโรงเรียนที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกล ทุรกันดาร นักเรียนส่วนใหญ่ยากจน ขาดโอกาสที่จะได้รับการศึกษาที่ทัดเทียมกับเด็กในชุมชนเมือง ผลการประเมินคุณภาพของโรงเรียนตามมาตรฐาน โดยรวมอยู่ในเกณฑ์ปรับปรุงและพอใช้ โรงเรียนที่อยู่ในกลุ่มนี้ ได้แก่ โรงเรียนร่มเกล้า โรงเรียนเจ้าพ่อหลวงอุปถัมภ์ โรงเรียนสังวาลย์วิทยา โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ รวม 56 โรงเรียน
2.1.2 กลุ่มที่ 2 กลุ่มพัฒนาสู่ความเป็นเลิศ เป็นโรงเรียนซึ่งมีความพร้อมพื้นฐานค่อนข้างมากแต่ไม่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณในการพัฒนาคุณภาพเป็นพิเศษ ผลการประเมินคุณภาพส่วนใหญ่อยู่ในระดับดี โรงเรียนที่อยู่ในกลุ่มนี้ ได้แก่ โรงเรียนรัชดาภิเษก โรงเรียนรัชมังคลาภิเษก โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จ พระศรีนครินทร์ ฯลฯ รวมจำนวน 71 โรงเรียน
2.1.3 กลุ่มที่ 3 กลุ่มที่มีมาตรฐานสูง เป็นโรงเรียนที่มีผลการประเมินคุณภาพโดยรวมอยู่ในระดับดีและดีมาก โรงเรียนที่อยู่ในกลุ่มนี้ ได้แก่ โรงเรียนราชวินิต โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย โรงเรียนจุฬาภรณ์ราชวิทยาลัย โรงเรียนนวมินทราชูทิศ โรงเรียนมัธยมสังคีตวิทยา รวมจำนวน 51 โรงเรียน
2.2 กำหนดเป้าหมายในการพัฒนาตามสภาพความพร้อมของโรงเรียน ดังนี้
2.2.1 ยกระดับคุณภาพโรงเรียนในกลุ่มกำลังพัฒนาให้เข้าสู่มาตรฐาน
2.2.2 เสริมความเข้มแข็งของโรงเรียนที่มีคุณภาพดีให้พัฒนาสู่ความเป็นเลิศ และเป็นศูนย์ความเป็นเลิศทางวิชาการและศูนย์ขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา
2.2.3 สร้างความเป็นเลิศให้โรงเรียนในกลุ่มที่มีมาตรฐานสูงและขยายผลสู่โรงเรียนอื่น
2.3 กำหนดยุทธศาสตร์ 4 ยุทธศาสตร์ คือ
2.3.1 ยุทธศาสตร์ที่ 1 พัฒนาคุณภาพนักเรียนให้มีคุณลักษณะตามแนวทางพระราชดำริ
2.3.2 ยุทธศาสตร์ที่ 2 พัฒนาผู้บริหาร ครู และบุคลากรทางการศึกษา
2.3.3 ยุทธศาสตร์ที่ 3 ปรับสภาพแวดล้อมของโรงเรียนให้มีความพร้อมในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน
2.3.4 ยุทธศาสตร์ที่ 4 พัฒนากลไกในการประสานส่งเสริมและขยายผลโรงเรียนเฉลิม พระเกียรติและโรงเรียนในพระราชดำริ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 15 มกราคม 2551--จบ--