คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงพาณิชย์รายงานการส่งออก-นำเข้าสินค้าภายใต้ข้อตกลง FTA ระหว่างไทยกับจีน ตั้งแต่ 1 ต.ค.46 — 30 เม.ย.48 ไทยกับอินเดีย ตั้งแต่ 1 ก.ย.47 — 30 เม.ย.48 และไทยกับออสเตรเลีย ตั้งแต่ 1 ม.ค. — 30 เม.ย.48 สรุปได้ ดังนี้
1. การออกหนังสือรับรองแหล่งกำเนิดสินค้ากระทรวงพาณิชย์ได้ออกหนังสือรับรองแหล่งกำเนิดสินค้าสำหรับการส่งสินค้าออกไปยังประเทศที่มีข้อตกลงฯ ดังกล่าว ดังนี้
1.1 ระหว่างไทย-จีน สำหรับการส่งออกสินค้าพิกัดฯ 01 - 08 ตั้งแต่ 1 ต.ค.46 — 30 เม.ย.48 จำนวน 22,504 ฉบับ ปริมาณ 4,469,544 ตัน มูลค่า 21,938.01 ล้านบาท สินค้าที่ขอหนังสือรับรองฯ มากที่สุด ได้แก่ ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังชนิดเป็นชิ้น รองลงมาคือ ลำไยสด และทุเรียนสด
1.2 ระหว่างไทย-อินเดีย สำหรับการส่งออกสินค้าตามข้อตกลงฯ จำนวน 82 รายการ ตั้งแต่ 1 ก.ย.47 — 30 เม.ย.48 จำนวน 951 ฉบับ มูลค่า 2,836.42 ล้านบาท สินค้าที่ขอหนังสือรับรองฯ มากที่สุด ได้แก่ โพลิคาร์บอเนต รองลงมาคือ เครื่องปรับอากาศแบบติดหน้าต่างหรือติดผนัง หลอดภาพแคโทดเรย์ของเครื่องรับโทรทัศน์สี เครื่องรับโทรทัศน์สีและอะลูมิเนียมเจือ
1.3 ระหว่างไทย-ออสเตรเลีย สำหรับการส่งออกสินค้าตามข้อตกลงฯ จำนวน 5,505 รายการ ตั้งแต่ 1 ม.ค. — 30 เม.ย.48 จำนวน 4,410 ฉบับ มูลค่า 20,126.64 ล้านบาท สินค้าที่ขอหนังสือรับรองฯ มากที่สุด ได้แก่ ยานยนต์สำหรับขนส่งของ รองลงมาคือ รถยนต์และยานยนต์อื่น ๆ ที่ออกแบบสำหรับขนส่งบุคคลเป็นหลัก หม้อแปลงไฟฟ้าและปลาที่ปรุงแต่งหรือทำไว้ไม่ให้เสีย (ปลาทูน่า)
2. การส่งออก — นำเข้าตามข้อมูลสถิติของกรมศุลกากร
2.1 ระหว่างไทย-จีน
ตั้งแต่ 1 ต.ค.46 — 31 มี.ค.48 ไทยส่งออกสินค้าพิกัดฯ 01 — 08 ปริมาณ 4,222,990 ตัน มูลค่า 19,786.79 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 46 และ 31 ตามลำดับ สินค้าส่งออกที่มีมูลค่ามากที่สุด ได้แก่ ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังชนิดเป็นชิ้น รองลงมาคือ ลำไยแห้งและลำไยสด ในขณะที่ไทยนำเข้าสินค้าพิกัดฯ 01 — 08 ปริมาณ 443,844 ตัน มูลค่า 9,654.81 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 52 และ 38 ตามลำดับ สินค้านำเข้าที่มีมูลค่ามากที่สุด ได้แก่ แอปเปิ้ลสด รองลงมาคือ แพร์และควินส์สด ปลาแช่แข็งและเห็ดแห้ง โดยตั้งแต่ ต.ค.46 — มี.ค. 48 ไทยเป็นฝ่ายได้ดุลการค้ากับจีน จำนวน 10,131.98 ล้านบาท ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อนได้ดุลการค้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 25
2.2 ระหว่างไทย-อินเดีย
ตั้งแต่ 1 ก.ย.47 — 31 มี.ค.48 ไทยส่งออกสินค้าตามข้อตกลงฯ จำนวน 82 รายการ มูลค่า 5,096.34 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 136 สินค้าส่งออกที่มีมูลค่ามากที่สุด ได้แก่ เครื่องรับโทรทัศน์สี รองลงมาคือ โพลิคาร์บอเนต และส่วนประกอบของเครื่องยนต์ ในขณะที่ไทยนำเข้าสินค้าตามข้อตกลงฯ จำนวน 82 รายการ มูลค่า 1,296.87 ล้านบาท ลดลงจากระยะเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 27 สินค้านำเข้าที่มีมูลค่ามากที่สุด ได้แก่ กระปุกเกียร์ รองลงมาคือ อะลูมิเนียมออกไซด์นอกจากคอรันดัมประดิษฐ์หลอดภาพแคโทดเรย์ของเครื่องรับโทรทัศน์สีและส่วนประกอบเครื่องเพชรพลอยทำด้วยโลหะมีค่า
โดยตั้งแต่ ก.ย.47 — มี.ค.48 ไทยเป็นฝ่ายได้ดุลการค้ากับอินเดีย จำวน 3,799.47 ล้านบาท ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อนได้ดุลการค้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 874
2.3 ระหว่างไทย-ออสเตรเลีย
ตั้งแต่ ม.ค.- มี.ค.48 ไทยส่งออกสินค้าตามข้อตกลงฯ จำนวน 5,505 รายการ มูลค่า 25,443.15 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 20 สินค้าส่งออกที่มีมูลค่ามากที่สุด ได้แก่ ยานยนต์สำหรับขนส่งของ รองลงมาคือ รถยนต์และยานยนต์สำหรับขนส่งบุคคลเป็นหลัก ปลาที่ปรุงแต่งหรือทำไว้ไม่ให้เสีย และเครื่องปรับอากาศแบบติดหน้าต่างหรือติดผนัง ในขณะที่ไทยนำเข้าสินค้าตามข้อตกลงฯ จำนวน 5,505 รายการ มูลค่า 36,789.59 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 107 สินค้านำเข้าที่มีมูลค่ามากที่สุด ได้แก่ ทองคำยังไม่ได้ขึ้นรูป รองลงมาคือ น้ำมันปิโตรเลียมดิบและน้ำมันที่ได้จากแร่บิทูมินัส แคโทดและส่วนของแคโทดและอะลูมิเนียมไม่เจือ
โดยตั้งแต่ ม.ค. - มี.ค.48 ไทยขาดดุลการค้ากับออสเตรเลีย จำนวน 11,346.44 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อนซึ่งได้ดุลการค้า 3,450.35 ล้านบาท ขาดดุลการค้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 429 เพราะได้มีการนำเข้าทองคำที่ยังไม่ได้ขึ้นรูปจากออสเตรเลียซึ่งเป็นแหล่งนำเข้าหลักของไทยเป็นมูลค่า 17,273.90 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 47 ของมูลค่าการนำเข้าทั้งหมด เนื่องจากราคาทองคำลดลงอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปลายเดือน ธ.ค.47 จึงมีการซื้อทองคำเข้าเก็บเพื่อเก็งกำไรเป็นส่วนใหญ่รวมทั้งซื้อเพื่อใช้ผลิตทองคำสำเร็จรูปและใช้เป็นส่วนประกอบของอัญมณีและเครื่องประดับ นอกจากนี้ได้มีการนำเข้าน้ำมันดิบเป็นมูลค่า 3,071.91 ล้านบาท โดยนำเข้าในเดือน มี.ค.48 มูลค่า 2,398.24 ล้านบาท ในขณะที่เดือน ก.พ.48 ไม่มีการนำเข้าและเดือน ม.ค.48 มีการนำเข้ามูลค่า 673.67 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 356 อย่างไรก็ตามเนื่องจากทองคำที่ยังไม่ได้ขึ้นรูปและน้ำมันดิบฯ ไม่มีภาษีนำเข้า (ภาษีเป็นศูนย์อยู่แล้ว)
ดังนั้นหากรวมเฉพาะมูลค่าของการนำเข้าสินค้าอื่นในรายการตามข้อตกลง (ยกเว้นทองคำและน้ำมัน) ไทยจะเป็นฝ่ายได้ดุลการค้าตั้งแต่เดือน ม.ค. — มี.ค.48 จำนวน 8,512.89 ล้านบาท โดยได้ดุลการค้าในเดือน มี.ค.48 เพิ่มขึ้นจากเดือน ก.พ.48 จำนวน 1,074.65 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 45
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 31 พฤษภาคม 2548--จบ--
1. การออกหนังสือรับรองแหล่งกำเนิดสินค้ากระทรวงพาณิชย์ได้ออกหนังสือรับรองแหล่งกำเนิดสินค้าสำหรับการส่งสินค้าออกไปยังประเทศที่มีข้อตกลงฯ ดังกล่าว ดังนี้
1.1 ระหว่างไทย-จีน สำหรับการส่งออกสินค้าพิกัดฯ 01 - 08 ตั้งแต่ 1 ต.ค.46 — 30 เม.ย.48 จำนวน 22,504 ฉบับ ปริมาณ 4,469,544 ตัน มูลค่า 21,938.01 ล้านบาท สินค้าที่ขอหนังสือรับรองฯ มากที่สุด ได้แก่ ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังชนิดเป็นชิ้น รองลงมาคือ ลำไยสด และทุเรียนสด
1.2 ระหว่างไทย-อินเดีย สำหรับการส่งออกสินค้าตามข้อตกลงฯ จำนวน 82 รายการ ตั้งแต่ 1 ก.ย.47 — 30 เม.ย.48 จำนวน 951 ฉบับ มูลค่า 2,836.42 ล้านบาท สินค้าที่ขอหนังสือรับรองฯ มากที่สุด ได้แก่ โพลิคาร์บอเนต รองลงมาคือ เครื่องปรับอากาศแบบติดหน้าต่างหรือติดผนัง หลอดภาพแคโทดเรย์ของเครื่องรับโทรทัศน์สี เครื่องรับโทรทัศน์สีและอะลูมิเนียมเจือ
1.3 ระหว่างไทย-ออสเตรเลีย สำหรับการส่งออกสินค้าตามข้อตกลงฯ จำนวน 5,505 รายการ ตั้งแต่ 1 ม.ค. — 30 เม.ย.48 จำนวน 4,410 ฉบับ มูลค่า 20,126.64 ล้านบาท สินค้าที่ขอหนังสือรับรองฯ มากที่สุด ได้แก่ ยานยนต์สำหรับขนส่งของ รองลงมาคือ รถยนต์และยานยนต์อื่น ๆ ที่ออกแบบสำหรับขนส่งบุคคลเป็นหลัก หม้อแปลงไฟฟ้าและปลาที่ปรุงแต่งหรือทำไว้ไม่ให้เสีย (ปลาทูน่า)
2. การส่งออก — นำเข้าตามข้อมูลสถิติของกรมศุลกากร
2.1 ระหว่างไทย-จีน
ตั้งแต่ 1 ต.ค.46 — 31 มี.ค.48 ไทยส่งออกสินค้าพิกัดฯ 01 — 08 ปริมาณ 4,222,990 ตัน มูลค่า 19,786.79 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 46 และ 31 ตามลำดับ สินค้าส่งออกที่มีมูลค่ามากที่สุด ได้แก่ ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังชนิดเป็นชิ้น รองลงมาคือ ลำไยแห้งและลำไยสด ในขณะที่ไทยนำเข้าสินค้าพิกัดฯ 01 — 08 ปริมาณ 443,844 ตัน มูลค่า 9,654.81 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 52 และ 38 ตามลำดับ สินค้านำเข้าที่มีมูลค่ามากที่สุด ได้แก่ แอปเปิ้ลสด รองลงมาคือ แพร์และควินส์สด ปลาแช่แข็งและเห็ดแห้ง โดยตั้งแต่ ต.ค.46 — มี.ค. 48 ไทยเป็นฝ่ายได้ดุลการค้ากับจีน จำนวน 10,131.98 ล้านบาท ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อนได้ดุลการค้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 25
2.2 ระหว่างไทย-อินเดีย
ตั้งแต่ 1 ก.ย.47 — 31 มี.ค.48 ไทยส่งออกสินค้าตามข้อตกลงฯ จำนวน 82 รายการ มูลค่า 5,096.34 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 136 สินค้าส่งออกที่มีมูลค่ามากที่สุด ได้แก่ เครื่องรับโทรทัศน์สี รองลงมาคือ โพลิคาร์บอเนต และส่วนประกอบของเครื่องยนต์ ในขณะที่ไทยนำเข้าสินค้าตามข้อตกลงฯ จำนวน 82 รายการ มูลค่า 1,296.87 ล้านบาท ลดลงจากระยะเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 27 สินค้านำเข้าที่มีมูลค่ามากที่สุด ได้แก่ กระปุกเกียร์ รองลงมาคือ อะลูมิเนียมออกไซด์นอกจากคอรันดัมประดิษฐ์หลอดภาพแคโทดเรย์ของเครื่องรับโทรทัศน์สีและส่วนประกอบเครื่องเพชรพลอยทำด้วยโลหะมีค่า
โดยตั้งแต่ ก.ย.47 — มี.ค.48 ไทยเป็นฝ่ายได้ดุลการค้ากับอินเดีย จำวน 3,799.47 ล้านบาท ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อนได้ดุลการค้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 874
2.3 ระหว่างไทย-ออสเตรเลีย
ตั้งแต่ ม.ค.- มี.ค.48 ไทยส่งออกสินค้าตามข้อตกลงฯ จำนวน 5,505 รายการ มูลค่า 25,443.15 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 20 สินค้าส่งออกที่มีมูลค่ามากที่สุด ได้แก่ ยานยนต์สำหรับขนส่งของ รองลงมาคือ รถยนต์และยานยนต์สำหรับขนส่งบุคคลเป็นหลัก ปลาที่ปรุงแต่งหรือทำไว้ไม่ให้เสีย และเครื่องปรับอากาศแบบติดหน้าต่างหรือติดผนัง ในขณะที่ไทยนำเข้าสินค้าตามข้อตกลงฯ จำนวน 5,505 รายการ มูลค่า 36,789.59 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 107 สินค้านำเข้าที่มีมูลค่ามากที่สุด ได้แก่ ทองคำยังไม่ได้ขึ้นรูป รองลงมาคือ น้ำมันปิโตรเลียมดิบและน้ำมันที่ได้จากแร่บิทูมินัส แคโทดและส่วนของแคโทดและอะลูมิเนียมไม่เจือ
โดยตั้งแต่ ม.ค. - มี.ค.48 ไทยขาดดุลการค้ากับออสเตรเลีย จำนวน 11,346.44 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อนซึ่งได้ดุลการค้า 3,450.35 ล้านบาท ขาดดุลการค้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 429 เพราะได้มีการนำเข้าทองคำที่ยังไม่ได้ขึ้นรูปจากออสเตรเลียซึ่งเป็นแหล่งนำเข้าหลักของไทยเป็นมูลค่า 17,273.90 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 47 ของมูลค่าการนำเข้าทั้งหมด เนื่องจากราคาทองคำลดลงอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปลายเดือน ธ.ค.47 จึงมีการซื้อทองคำเข้าเก็บเพื่อเก็งกำไรเป็นส่วนใหญ่รวมทั้งซื้อเพื่อใช้ผลิตทองคำสำเร็จรูปและใช้เป็นส่วนประกอบของอัญมณีและเครื่องประดับ นอกจากนี้ได้มีการนำเข้าน้ำมันดิบเป็นมูลค่า 3,071.91 ล้านบาท โดยนำเข้าในเดือน มี.ค.48 มูลค่า 2,398.24 ล้านบาท ในขณะที่เดือน ก.พ.48 ไม่มีการนำเข้าและเดือน ม.ค.48 มีการนำเข้ามูลค่า 673.67 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 356 อย่างไรก็ตามเนื่องจากทองคำที่ยังไม่ได้ขึ้นรูปและน้ำมันดิบฯ ไม่มีภาษีนำเข้า (ภาษีเป็นศูนย์อยู่แล้ว)
ดังนั้นหากรวมเฉพาะมูลค่าของการนำเข้าสินค้าอื่นในรายการตามข้อตกลง (ยกเว้นทองคำและน้ำมัน) ไทยจะเป็นฝ่ายได้ดุลการค้าตั้งแต่เดือน ม.ค. — มี.ค.48 จำนวน 8,512.89 ล้านบาท โดยได้ดุลการค้าในเดือน มี.ค.48 เพิ่มขึ้นจากเดือน ก.พ.48 จำนวน 1,074.65 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 45
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 31 พฤษภาคม 2548--จบ--