คณะรัฐมนตรีเห็นชอบในหลักการร่างระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ตามแผนพัฒนากฎหมาย ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ และให้ส่งคณะกรรมการตรวจสอบร่างกฎหมายและร่างอนุบัญญัติที่เสนอคณะรัฐมนตรีตรวจพิจารณา โดยให้รับข้อสังเกตของสำนักงบประมาณที่ว่า กรณีที่กำหนดให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังมีอำนาจให้ส่วนราชการเบิกจ่ายเงินทดรองราชการ โดยไม่มีการกำหนดวงเงินที่แน่นอน สมควรจะมีมาตรการอื่น ๆ สนับสนุนด้วย เช่น การประกาศเป็นเขตภัยพิบัติฉุกเฉินโดยความเห็นชอบของนายกรัฐมนตรี หรือสมควรเสนอขอรับความเห็นชอบจากนายกรัฐมนตรีในฐานะหัวหน้ารัฐบาลด้วย เป็นต้น ไปพิจารณาด้วยแล้วดำเนินการต่อไปได้
ร่างระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... มีหลักการสอดคล้องตามแผนพัฒนากฎหมายแห่งชาติ โดยมีสาระสำคัญเป็นการปรับปรุงแก้ไขระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ. 2546 ดังนี้
1. ให้ส่วนราชการขอทำความตกลงกับกระทรวงการคลัง ในกรณีไม่สามารถปฏิบัติตามข้อกำหนดในระเบียบฯ ได้
2. ให้อำนาจรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังใช้ดุลพินิจพิจารณาอนุญาตให้ส่วนราชการมีวงเงินทดรองราชการ และขยายวงเงินได้ตามความจำเป็นและเหมาะสมในกรณีที่เกิดภัยพิบัติฉุกเฉินรุนแรง
3. ให้อำนาจผู้ว่าราชการจังหวัดเบิกเงินทดรองราชการ เพื่อเตรียมเงินสดไว้สำรองจ่ายในกรณีที่คาดว่าจะเกิดภัยพิบัติขึ้นและมีความจำเป็นต้องใช้จ่ายเงินในวันหยุดราชการ เพื่อสามารถให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยได้อย่างรวดเร็วและทันต่อเหตุการณ์
4. ให้ส่วนราชการส่วนกลางสามารถโอนเงินทดรองราชการให้แก่ที่ทำการปกครองจังหวัดได้โดยไม่จำเป็นต้องรอการขอรับการสนับสนุนจากจังหวัดก่อน ตามวิธีที่กระทรวงการคลังกำหนด
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 25 ตุลาคม 2548--จบ--
ร่างระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... มีหลักการสอดคล้องตามแผนพัฒนากฎหมายแห่งชาติ โดยมีสาระสำคัญเป็นการปรับปรุงแก้ไขระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ. 2546 ดังนี้
1. ให้ส่วนราชการขอทำความตกลงกับกระทรวงการคลัง ในกรณีไม่สามารถปฏิบัติตามข้อกำหนดในระเบียบฯ ได้
2. ให้อำนาจรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังใช้ดุลพินิจพิจารณาอนุญาตให้ส่วนราชการมีวงเงินทดรองราชการ และขยายวงเงินได้ตามความจำเป็นและเหมาะสมในกรณีที่เกิดภัยพิบัติฉุกเฉินรุนแรง
3. ให้อำนาจผู้ว่าราชการจังหวัดเบิกเงินทดรองราชการ เพื่อเตรียมเงินสดไว้สำรองจ่ายในกรณีที่คาดว่าจะเกิดภัยพิบัติขึ้นและมีความจำเป็นต้องใช้จ่ายเงินในวันหยุดราชการ เพื่อสามารถให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยได้อย่างรวดเร็วและทันต่อเหตุการณ์
4. ให้ส่วนราชการส่วนกลางสามารถโอนเงินทดรองราชการให้แก่ที่ทำการปกครองจังหวัดได้โดยไม่จำเป็นต้องรอการขอรับการสนับสนุนจากจังหวัดก่อน ตามวิธีที่กระทรวงการคลังกำหนด
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 25 ตุลาคม 2548--จบ--