คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยความปลอดภัยทางชีวภาพของเทคโนโลยีชีวภาพสมัยใหม่ พ.ศ. ... ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับข้อสังเกตของส่วนราชการที่เกี่ยวข้องไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วนำเสนอคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ต่อไป
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอว่า
1. เนื่องจากปัจจุบันเทคโนโลยีชีวภาพสมัยใหม่เจริญก้าวหน้าในการผลิตสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรมเพื่อใช้ประโยชน์ทั้งในด้านการเกษตร อุตสาหกรรม การสาธารณสุข และสิ่งแวดล้อม และมีการขยายตัวและการเคลื่อนย้ายข้ามแดนของการใช้ประโยชน์สิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรมอย่างรวดเร็ว ประเทศไทยซึ่งเข้าเป็นภาคีพิธีสารคาร์ตาเฮนาว่าด้วยความปลอดภัยทางชีวภาพ ตั้งแต่วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2549 จึงจำเป็นต้องมีการดำเนินการตามพันธกรณีของพิธีสารฯ ในการจัดให้มีการป้องกันในระดับที่พอเพียงในเรื่องความปลอดภัยของเทคโนโลยีชีวภาพสมัยใหม่ เพื่อการคุ้มครองและอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ และสุขภาพอนามัยของประชาชน และเพื่อเป็นการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี วันที่ 3 เมษายน 2545 ซึ่งห้ามการทดลองปลูกพืชดัดแปลงพันธุกรรมในภาคสนามและระดับไร่นาจนกว่าจะมีกฎหมายความปลอดภัยทางชีวภาพ
2. ได้จัดประชุมรับฟังความคิดเห็นสาธารณะต่อร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว จำนวน 3 ครั้ง ระหว่างเดือนกรกฎาคม — สิงหาคม 2550 ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายต่าง ๆ จำนวน 180 คน จึงได้เสนอร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวมาเพื่อดำเนินการ
สาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยความปลอดภัยทางชีวภาพของเทคโนโลยีชีวภาพสมัยใหม่ พ.ศ. ... มีดังนี้
1. กำหนดให้มีคณะกรรมการความปลอดภัยทางชีวภาพแห่งชาติประกอบด้วยปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นประธานกรรมการ รองประธานอีก 3 คน กรรมการโดยตำแหน่ง และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ โดยมีเลขาธิการสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นกรรมการและเลขานุการ และกำหนดอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการฯ (หมวด 1)
2. กำหนดให้สำนักงานความหลากหลายทางชีวภาพ ซึ่งเป็นหน่วยงานภายในสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ทำหน้าที่เป็นสำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการความปลอดภัยทางชีวภาพแห่งชาติ (หมวด 2)
3. กำหนดหลักเกณฑ์การควบคุมกิจกรรมเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรม (หมวด 3)
4. กำหนดให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นและเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร (หมวด 4)
5. กำหนดให้มีกองทุนความปลอดภัยทางชีวภาพ (หมวด 5)
6. กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการปฏิบัติงานของพนักงานเจ้าหน้าที่ (หมวด 6)
7. กำหนดความรับผิดชอบและการชดใช้ความเสียหายของผู้ที่ก่อให้เกิดความเสียหาย (หมวด 8)
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 22 มกราคม 2551--จบ--
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอว่า
1. เนื่องจากปัจจุบันเทคโนโลยีชีวภาพสมัยใหม่เจริญก้าวหน้าในการผลิตสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรมเพื่อใช้ประโยชน์ทั้งในด้านการเกษตร อุตสาหกรรม การสาธารณสุข และสิ่งแวดล้อม และมีการขยายตัวและการเคลื่อนย้ายข้ามแดนของการใช้ประโยชน์สิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรมอย่างรวดเร็ว ประเทศไทยซึ่งเข้าเป็นภาคีพิธีสารคาร์ตาเฮนาว่าด้วยความปลอดภัยทางชีวภาพ ตั้งแต่วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2549 จึงจำเป็นต้องมีการดำเนินการตามพันธกรณีของพิธีสารฯ ในการจัดให้มีการป้องกันในระดับที่พอเพียงในเรื่องความปลอดภัยของเทคโนโลยีชีวภาพสมัยใหม่ เพื่อการคุ้มครองและอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ และสุขภาพอนามัยของประชาชน และเพื่อเป็นการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี วันที่ 3 เมษายน 2545 ซึ่งห้ามการทดลองปลูกพืชดัดแปลงพันธุกรรมในภาคสนามและระดับไร่นาจนกว่าจะมีกฎหมายความปลอดภัยทางชีวภาพ
2. ได้จัดประชุมรับฟังความคิดเห็นสาธารณะต่อร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว จำนวน 3 ครั้ง ระหว่างเดือนกรกฎาคม — สิงหาคม 2550 ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายต่าง ๆ จำนวน 180 คน จึงได้เสนอร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวมาเพื่อดำเนินการ
สาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยความปลอดภัยทางชีวภาพของเทคโนโลยีชีวภาพสมัยใหม่ พ.ศ. ... มีดังนี้
1. กำหนดให้มีคณะกรรมการความปลอดภัยทางชีวภาพแห่งชาติประกอบด้วยปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นประธานกรรมการ รองประธานอีก 3 คน กรรมการโดยตำแหน่ง และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ โดยมีเลขาธิการสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นกรรมการและเลขานุการ และกำหนดอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการฯ (หมวด 1)
2. กำหนดให้สำนักงานความหลากหลายทางชีวภาพ ซึ่งเป็นหน่วยงานภายในสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ทำหน้าที่เป็นสำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการความปลอดภัยทางชีวภาพแห่งชาติ (หมวด 2)
3. กำหนดหลักเกณฑ์การควบคุมกิจกรรมเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรม (หมวด 3)
4. กำหนดให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นและเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร (หมวด 4)
5. กำหนดให้มีกองทุนความปลอดภัยทางชีวภาพ (หมวด 5)
6. กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการปฏิบัติงานของพนักงานเจ้าหน้าที่ (หมวด 6)
7. กำหนดความรับผิดชอบและการชดใช้ความเสียหายของผู้ที่ก่อให้เกิดความเสียหาย (หมวด 8)
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 22 มกราคม 2551--จบ--