คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการยื่นอุทธรณ์ และวิธีพิจารณาอุทธรณ์เกี่ยวกับการโฆษณาตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้
กระทรวงสาธารณสุขเสนอว่า โดยที่มาตรา 64/2 วรรคสองแห่งพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545 บัญญัติให้การกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการยื่นอุทธรณ์ และวิธีพิจารณาอุทธรณ์ ในกรณีที่ผู้ได้รับคำสั่งของผู้อนุญาตตามมาตรา 48/2 เกี่ยวกับการโฆษณาอันเป็นการฝ่าฝืนบทบัญญัติมาตรา 48 วรรคสอง หรือมาตรา 48/1 วรรคสองแห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว หรือมีการใช้ข้อความโฆษณาไม่เป็นไปตามที่ได้รับอนุญาตจากผู้อนุญาต ไม่เห็นด้วยกับคำสั่งดังกล่าวและประสงค์จะอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการควบคุมยาเสพติดให้โทษ สมควรกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการยื่นอุทธรณ์ และวิธีพิจารณาอุทธรณ์เกี่ยวกับการโฆษณาตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติด จึงได้เสนอร่างกฎกระทรวงดังกล่าวมาเพื่อดำเนินการ โดยมีสาระสำคัญของร่างกฎกระทรวงดังนี้
1. กำหนดให้มีคำนิยาม “การยื่นอุทธรณ์” และ “คณะกรรมการ” (ร่างข้อ 1)
2. กำหนดให้ผู้อุทธรณ์ยื่นอุทธรณ์เป็นหนังสือต่อกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการในคณะกรรมการ ภายในระยะเวลาที่กำหนด โดยผู้อุทธรณ์สามารถแก้ไขเพิ่มเติมคำอุทธรณ์ได้ (ร่างข้อ 2 ถึงร่างข้อ 4)
3. กำหนดให้ก่อนคำวินิจฉัยอุทธรณ์ ผู้อุทธรณ์ขอถอนอุทธรณ์ได้ โดยให้อุทธรณ์เป็นอันระงับไปและให้จำหน่ายอุทธรณ์ และห้ามอุทธรณ์ซ้ำในเรื่องหรือประเด็นนั้นอีก (ร่างข้อ 7 ถึงร่างข้อ 8)
4. กำหนดให้แจ้งผลการวินิจฉัยอุทธรณ์เป็นหนังสือต่อผู้อุทธรณ์ทราบภายในกำหนดเวลา (ร่างข้อ 9 ถึงร่างข้อ 10)
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 22 มกราคม 2551--จบ--
กระทรวงสาธารณสุขเสนอว่า โดยที่มาตรา 64/2 วรรคสองแห่งพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545 บัญญัติให้การกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการยื่นอุทธรณ์ และวิธีพิจารณาอุทธรณ์ ในกรณีที่ผู้ได้รับคำสั่งของผู้อนุญาตตามมาตรา 48/2 เกี่ยวกับการโฆษณาอันเป็นการฝ่าฝืนบทบัญญัติมาตรา 48 วรรคสอง หรือมาตรา 48/1 วรรคสองแห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว หรือมีการใช้ข้อความโฆษณาไม่เป็นไปตามที่ได้รับอนุญาตจากผู้อนุญาต ไม่เห็นด้วยกับคำสั่งดังกล่าวและประสงค์จะอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการควบคุมยาเสพติดให้โทษ สมควรกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการยื่นอุทธรณ์ และวิธีพิจารณาอุทธรณ์เกี่ยวกับการโฆษณาตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติด จึงได้เสนอร่างกฎกระทรวงดังกล่าวมาเพื่อดำเนินการ โดยมีสาระสำคัญของร่างกฎกระทรวงดังนี้
1. กำหนดให้มีคำนิยาม “การยื่นอุทธรณ์” และ “คณะกรรมการ” (ร่างข้อ 1)
2. กำหนดให้ผู้อุทธรณ์ยื่นอุทธรณ์เป็นหนังสือต่อกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการในคณะกรรมการ ภายในระยะเวลาที่กำหนด โดยผู้อุทธรณ์สามารถแก้ไขเพิ่มเติมคำอุทธรณ์ได้ (ร่างข้อ 2 ถึงร่างข้อ 4)
3. กำหนดให้ก่อนคำวินิจฉัยอุทธรณ์ ผู้อุทธรณ์ขอถอนอุทธรณ์ได้ โดยให้อุทธรณ์เป็นอันระงับไปและให้จำหน่ายอุทธรณ์ และห้ามอุทธรณ์ซ้ำในเรื่องหรือประเด็นนั้นอีก (ร่างข้อ 7 ถึงร่างข้อ 8)
4. กำหนดให้แจ้งผลการวินิจฉัยอุทธรณ์เป็นหนังสือต่อผู้อุทธรณ์ทราบภายในกำหนดเวลา (ร่างข้อ 9 ถึงร่างข้อ 10)
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 22 มกราคม 2551--จบ--