คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการร่างยุทธศาสตร์ไก่ไข่ พ.ศ. 2551-2555 เพื่อเป็นกรอบในการพัฒนาไก่ไข่ทั้งระบบ ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ และให้กรมปศุสัตว์เจียดจ่ายเงินงบประมาณปกติ ปี 2551 จำนวน 5 ล้านบาท ในการดำเนินการประชาสัมพันธ์เพื่อเพิ่มการบริโภคไข่ไก่ โดยขอความร่วมมือจากสมาคมที่เกี่ยวข้องในการสนับสนุนการดำเนินงานและประสานกับกระทรวงศึกษาธิการ และกระทรวงสาธารณสุข เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านคุณประโยชน์ทางโภชนาการ ทั้งนี้ ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกรมปศุสัตว์ประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการตั้งงบประมาณรองรับแผนยุทธศาสตร์ไก่ไข่ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2552 เป็นต้นไป
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์รายงานว่า
1. ปัจจุบันการเลี้ยงไก่ไข่ในประเทศไทยได้มีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว ทำให้ประสิทธิภาพการผลิตไข่ไก่ได้ขยายตัวเพิ่มขึ้น โดยผลผลิตไข่ไก่ขยายตัวเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 3 ต่อปี ซึ่งในปัจจุบัน (ปี 2550) สามารถผลิตไข่ไก่ได้ถึง 10,335 ล้านฟอง คิดเป็นมูลค่าทางเศรษฐกิจประมาณ 22,000 ล้านบาท นับเป็นอันดับสองในด้านสินค้าสัตว์ปีกของประเทศรองจากสินค้าไก่เนื้อ แต่อย่างไรก็ตาม ตลาดไข่ไก่ส่วนใหญ่เป็นการบริโภคภายในประเทศคิดเป็นร้อยละ 99 ของผลผลิตทั้งหมด การส่งออกไข่ไก่ส่วนใหญ่เป็นไปเพื่อระบายผลผลิตส่วนเกินประมาณ 160-200 ล้านฟอง/ปี ในราคาค่อนข้างต่ำและขาดทุน เพราะไม่สามารถแข่งขันราคากับประเทศผู้ผลิตรายใหญ่ของโลกที่มีการสนับสนุนการผลิตและการส่งออก
2. ที่ผ่านมาได้มีการแก้ไขปัญหาเรื่องวัฏจักรผลผลิตล้นตลาดจากการขยายตัวด้านผลผลิตโดยอาศัยกลไกของคณะกรรมการนโยบายพัฒนาไก่ไข่และผลิตภัณฑ์ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัฒนาไก่ไข่และผลิตภัณฑ์ พ.ศ. 2549 ในการควบคุมปริมาณการผลิตด้วยมาตรการต่าง ๆ เป็นระยะ ๆ อย่างต่อเนื่อง ทำให้สถานการณ์การผลิตและการตลาดดีขึ้น
3. แนวโน้มในอนาคตโอกาสเกิดปัญหาผลผลิตไข่ไก่ล้นตลาดและความผันผวนด้านราคาก็ยังมีความเป็นไปได้ เนื่องจากการขยายตัวด้านการบริโภคในประเทศยังอยู่ในอัตราที่ต่ำโดยเฉลี่ยเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 1 ต่อปี และพบว่าในปัจจุบันคนไทยยังบริโภคไข่ไก่ในอัตราเฉลี่ยประมาณ 160 ฟอง/คน/ปี ซึ่งเป็นอัตราที่ต่ำเมื่อเทียบกับต่างประเทศ
4. คณะกรรมการนโยบายพัฒนาไก่ไข่และผลิตภัณฑ์ได้จัดทำร่างยุทธศาสตร์ไก่ไข่ พ.ศ. 2551-2555 ขึ้น โดยมีสาระสำคัญสรุปได้ดังนี้
4.1 วัตถุประสงค์
เพื่อเพิ่มการบริโภคและขยายตลาดไข่ไก่ทั้งในประเทศและต่างประเทศเพื่อให้เกิดความมั่นคงในอาชีพการเลี้ยงไก่ไข่และสร้างความเชื่อมั่นแก่ผู้บริโภค
4.2 เป้าหมายยุทธศาสตร์
4.2.1 เพิ่มอัตราการบริโภคไข่ไก่ของคนไทยและขยายการส่งออกไข่ไก่แปรรูปเพิ่มขึ้น
4.2.2 เพื่อสร้างความมั่นคงในอาชีพการเลี้ยงไก่ไข่ทั้งผู้เลี้ยงรายย่อยและผู้เลี้ยงรายใหญ่
4.2.3 เพื่อสร้างความเชื่อมั่นในด้านคุณภาพและมาตรฐานให้แก่ผู้บริโภค
4.3 กรอบยุทธศาสตร์ไก่ไข่แบ่งเป็น 3 ยุทธศาสตร์ คือ ยุทธศาสตร์ที่ 1 เพิ่มการบริโภคและขยายตลาดส่งออกไข่ไก่ ยุทธศาสตร์ที่ 2 สร้างความมั่นคงในอาชีพการเลี้ยงไก่ไข่ ยุทธศาสตร์ที่ 3 สร้างความเชื่อมั่นให้ผู้บริโภคด้วยมาตรฐานการผลิตและมาตรฐานสินค้าไข่ไก่
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 22 มกราคม 2551--จบ--
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์รายงานว่า
1. ปัจจุบันการเลี้ยงไก่ไข่ในประเทศไทยได้มีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว ทำให้ประสิทธิภาพการผลิตไข่ไก่ได้ขยายตัวเพิ่มขึ้น โดยผลผลิตไข่ไก่ขยายตัวเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 3 ต่อปี ซึ่งในปัจจุบัน (ปี 2550) สามารถผลิตไข่ไก่ได้ถึง 10,335 ล้านฟอง คิดเป็นมูลค่าทางเศรษฐกิจประมาณ 22,000 ล้านบาท นับเป็นอันดับสองในด้านสินค้าสัตว์ปีกของประเทศรองจากสินค้าไก่เนื้อ แต่อย่างไรก็ตาม ตลาดไข่ไก่ส่วนใหญ่เป็นการบริโภคภายในประเทศคิดเป็นร้อยละ 99 ของผลผลิตทั้งหมด การส่งออกไข่ไก่ส่วนใหญ่เป็นไปเพื่อระบายผลผลิตส่วนเกินประมาณ 160-200 ล้านฟอง/ปี ในราคาค่อนข้างต่ำและขาดทุน เพราะไม่สามารถแข่งขันราคากับประเทศผู้ผลิตรายใหญ่ของโลกที่มีการสนับสนุนการผลิตและการส่งออก
2. ที่ผ่านมาได้มีการแก้ไขปัญหาเรื่องวัฏจักรผลผลิตล้นตลาดจากการขยายตัวด้านผลผลิตโดยอาศัยกลไกของคณะกรรมการนโยบายพัฒนาไก่ไข่และผลิตภัณฑ์ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัฒนาไก่ไข่และผลิตภัณฑ์ พ.ศ. 2549 ในการควบคุมปริมาณการผลิตด้วยมาตรการต่าง ๆ เป็นระยะ ๆ อย่างต่อเนื่อง ทำให้สถานการณ์การผลิตและการตลาดดีขึ้น
3. แนวโน้มในอนาคตโอกาสเกิดปัญหาผลผลิตไข่ไก่ล้นตลาดและความผันผวนด้านราคาก็ยังมีความเป็นไปได้ เนื่องจากการขยายตัวด้านการบริโภคในประเทศยังอยู่ในอัตราที่ต่ำโดยเฉลี่ยเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 1 ต่อปี และพบว่าในปัจจุบันคนไทยยังบริโภคไข่ไก่ในอัตราเฉลี่ยประมาณ 160 ฟอง/คน/ปี ซึ่งเป็นอัตราที่ต่ำเมื่อเทียบกับต่างประเทศ
4. คณะกรรมการนโยบายพัฒนาไก่ไข่และผลิตภัณฑ์ได้จัดทำร่างยุทธศาสตร์ไก่ไข่ พ.ศ. 2551-2555 ขึ้น โดยมีสาระสำคัญสรุปได้ดังนี้
4.1 วัตถุประสงค์
เพื่อเพิ่มการบริโภคและขยายตลาดไข่ไก่ทั้งในประเทศและต่างประเทศเพื่อให้เกิดความมั่นคงในอาชีพการเลี้ยงไก่ไข่และสร้างความเชื่อมั่นแก่ผู้บริโภค
4.2 เป้าหมายยุทธศาสตร์
4.2.1 เพิ่มอัตราการบริโภคไข่ไก่ของคนไทยและขยายการส่งออกไข่ไก่แปรรูปเพิ่มขึ้น
4.2.2 เพื่อสร้างความมั่นคงในอาชีพการเลี้ยงไก่ไข่ทั้งผู้เลี้ยงรายย่อยและผู้เลี้ยงรายใหญ่
4.2.3 เพื่อสร้างความเชื่อมั่นในด้านคุณภาพและมาตรฐานให้แก่ผู้บริโภค
4.3 กรอบยุทธศาสตร์ไก่ไข่แบ่งเป็น 3 ยุทธศาสตร์ คือ ยุทธศาสตร์ที่ 1 เพิ่มการบริโภคและขยายตลาดส่งออกไข่ไก่ ยุทธศาสตร์ที่ 2 สร้างความมั่นคงในอาชีพการเลี้ยงไก่ไข่ ยุทธศาสตร์ที่ 3 สร้างความเชื่อมั่นให้ผู้บริโภคด้วยมาตรฐานการผลิตและมาตรฐานสินค้าไข่ไก่
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 22 มกราคม 2551--จบ--