คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ ทั้ง 2 ข้อ ดังนี้
1. อนุมัติให้องค์การคลังสินค้า(อคส.) นำเข้าน้ำมันปาล์มดิบใส (Crude Palm Olein) ปริมาณ 30,000 ตัน โดยนำเข้าภายใต้กรอบความตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA) และจัดสรรให้กับสมาชิกสมาคมโรงกลั่นน้ำมันปาล์มตามสัดส่วนการรับซื้อผลผลิตน้ำมันปาล์มดิบในประเทศ ปี 2550 โดยจะต้องนำเข้าให้เสร็จสิ้นภายในวันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2551 เพื่อมิให้ส่งผลกระทบต่อผลผลิตปาล์มที่จะออกสู่ตลาดมากตั้งแต่เดือนมีนาคม 2551
2. อนุมัติให้องค์การคลังสินค้าเปิด L/C กับธนาคารกรุงไทยเพื่อนำเข้าน้ำมันปาล์ม 30,000 ตัน ในวงเงิน 1,200 ล้านบาท
กระทรวงพาณิชย์ รายงานสถานการณ์ปาล์มน้ำมันซึ่งขณะนี้ราคาน้ำมันปาล์มดิบในประเทศมีราคาสูง อาจส่งผลกระทบต่อราคาน้ำมันปาล์มบริสุทธิ์ที่ใช้ในการบริโภคและการผลิตสินค้าอุปโภค-บริโภค ในอุตสาหกรรมต่อเนื่อง ซึ่งมีแนวทางการดำเนินการแก้ไขปัญหา ดังนี้
1. สถานการณ์ปี 2550 ไทยผลิตน้ำมันปาล์มดิบได้ 1,050,000 ตัน ใช้ผลิตน้ำมันบริสุทธิ์ในประเทศเพื่อการบริโภค อุตสาหกรรมและส่งออก รวม 905,000 ตัน นำไปใช้ผลิตไบโอดีเซล (B100) ประมาณ 2,000 ตัน และส่งออกน้ำมันปาล์มดิบ ประมาณ 224,000 ตัน ณ สิ้นปี จึงเหลือสต็อคทั้งระบบ ประมาณ 83,000 ตัน
2. สถานการณ์ปี 2551 ปริมาณ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ คาดว่าจะมีผลปาล์ม 7.873 ล้านตัน สกัดเป็นน้ำมันปาล์มดิบได้ประมาณ 1.344 ล้านตันและคาดว่าความต้องการใช้ในการบริโภคและอุตสาหกรรม เพื่อการส่งออกน้ำมันบริสุทธิ์รวม 990,000 ตัน/ปี หรือ 82,500 ตัน/เดือน คงเหลือน้ำมันปาล์มดิย 354,000 คน
สำหรับปริมาณคงเหลือดังกล่าวส่วนหนึ่งนำไปผลิตไบโอดีเซล ซึ่งตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2551 คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงานแห่งชาติมีมติให้น้ำมันดีเซลหมุนเร็วต้องผสมไบโอดีเซล (B100) ร้อยละ 2 ส่งผลให้มีความต้องการใช้น้ำมันปาล์มดิบเพิ่มขึ้นและจากสภาวะการผลิตปาล์มน้ำมันในช่วงปลายปี-ต้นปีปริมาณผลปาล์มออกสู่ตลาดน้อย คาดว่าช่วงเดือนมกราคม — กุมภาพันธ์ 2551 จะมีปริมาณน้ำมันปาล์มดิบประมาณ 98,000 ตัน/เดือนและตั้งแต่เดือนมีนาคมเป็นต้นไปจะมีผลผลิตมากขึ้นเป็นประมาณ 110,000 — 118,000 ตัน/เดือน ทั้งนี้ ปริมาณน้ำมันปาล์มดิบคงเหลือที่เหมาะสมแต่ละเดือนควรอยู่ในอัตรา 1.5 เท่าของปริมาณความต้องการใช้หรือปริมาณ 123,750 ตัน/เดือน
2) ราคา ในปี 2550 ราคาน้ำมันปาล์มดิบสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องจากเฉลี่ย กก.ละ 18.63 บาท ในเดือนมกราคม 2550 เป็น กก.ละ 31.47 บาท ในเดือนธันวาคม 2550 และตั้งแต่กลางเดือนธันวาคม 2550 เป็นต้นมาระดับราคาสูงกว่ามาเลเซีย ณ ปัจจุบัน (15 ม.ค. 51) ราคาสูงกว่าประมาณ กก.ละ 2.85 บาท ดังนี้
บาท/กก. ม.ค. 50 มิ.ย. 50 ธ.ค. 50 15 ม.ค. 51
ผลปาล์มทะลาย 3.27 4.71 5.54 6.00-6.60
น้ำมันปาล์มดิบ-ไทย 18.63 26.45 31.7 36.75-37.00
น้ำมันปาล์มดิบ-มาเลเซีย 19.73 26.19 29.80 34.15
ความแตกต่าง -1.10 -0.85 +1.67 2.85
ทั้งนี้ ปัจจัยที่ส่งผลให้ราคาปรับตัวสูงขึ้น ประกอบด้วย ด้านผลผลิตเป็นช่วงที่ปริมาณผลปาล์มออกสู่ตลาดน้อยขณะที่ความต้องการใช้ทั้งผู้บริโภคอุตสาหกรรมและพลังงานทดแทนมีเพิ่มขึ้นและภาระราคาน้ำมันปาล์มตลาดมาเลเซียมีแนวโน้มสูงขึ้นในทิศทางเดียวกัน ตลอดจนภาวะราคาน้ำมันเชื้อเพลิงซึ่งสามารถใช้น้ำมันปาล์มดิบทดแทน ได้มีราคาสูงขึ้นด้วย
3. แนวทางการแก้ไขปัญหา กระทรวงพาณิชย์ได้จัดประชุมคณะกรรมการแก้ไขปัญหาปาล์มน้ำมันอย่างเป็นระบบเมื่อวันที่ 16 มกราคม 2551 โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เป็นประธาน กรรมการประกอบด้วย ผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงมหาดไทย กรมพัฒนาพลังงานและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน ได้พิจารณาแก้ไขปัญหาผลกระทบที่จะเกิดจากสถานการณ์ดังกล่าวต่อภาคการผลิตการใช้น้ำมันบริโภค โดยคำนึงถึงหลักการกลไกตลาดปกติที่ราคาตลาดในประเทศควรสอดคล้องใกล้เคียงกับตลาดโลกและมีมติให้มีการน้ำเข้าน้ำมันปาล์มดิบใส (Crude Palm Olein) ปริมาณ 30,000 ตัน โดยให้องค์การคลังสินค้า (อคส.) เป็นผู้นำเข้าตามกรอบความตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA) และจัดสรรให้กับสมาชิกสมาคมโรงกลั่นน้ำมันปาล์มตามสัดส่วนการรับซื้อผลผลิตน้ำมันปาล์มดิบในประเทศ ปี 2550 โดยจะต้องนำเข้าให้เสร็จสิ้นภายในวันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2551 ทั้งนี้ การนำเข้าดังกล่าวคณะกรรมการมีความเห็นว่าไม่น่าจะส่งผลกระทบต่อราคาผลปาล์มที่เกษตรกรขายได้
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 22 มกราคม 2551--จบ--
1. อนุมัติให้องค์การคลังสินค้า(อคส.) นำเข้าน้ำมันปาล์มดิบใส (Crude Palm Olein) ปริมาณ 30,000 ตัน โดยนำเข้าภายใต้กรอบความตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA) และจัดสรรให้กับสมาชิกสมาคมโรงกลั่นน้ำมันปาล์มตามสัดส่วนการรับซื้อผลผลิตน้ำมันปาล์มดิบในประเทศ ปี 2550 โดยจะต้องนำเข้าให้เสร็จสิ้นภายในวันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2551 เพื่อมิให้ส่งผลกระทบต่อผลผลิตปาล์มที่จะออกสู่ตลาดมากตั้งแต่เดือนมีนาคม 2551
2. อนุมัติให้องค์การคลังสินค้าเปิด L/C กับธนาคารกรุงไทยเพื่อนำเข้าน้ำมันปาล์ม 30,000 ตัน ในวงเงิน 1,200 ล้านบาท
กระทรวงพาณิชย์ รายงานสถานการณ์ปาล์มน้ำมันซึ่งขณะนี้ราคาน้ำมันปาล์มดิบในประเทศมีราคาสูง อาจส่งผลกระทบต่อราคาน้ำมันปาล์มบริสุทธิ์ที่ใช้ในการบริโภคและการผลิตสินค้าอุปโภค-บริโภค ในอุตสาหกรรมต่อเนื่อง ซึ่งมีแนวทางการดำเนินการแก้ไขปัญหา ดังนี้
1. สถานการณ์ปี 2550 ไทยผลิตน้ำมันปาล์มดิบได้ 1,050,000 ตัน ใช้ผลิตน้ำมันบริสุทธิ์ในประเทศเพื่อการบริโภค อุตสาหกรรมและส่งออก รวม 905,000 ตัน นำไปใช้ผลิตไบโอดีเซล (B100) ประมาณ 2,000 ตัน และส่งออกน้ำมันปาล์มดิบ ประมาณ 224,000 ตัน ณ สิ้นปี จึงเหลือสต็อคทั้งระบบ ประมาณ 83,000 ตัน
2. สถานการณ์ปี 2551 ปริมาณ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ คาดว่าจะมีผลปาล์ม 7.873 ล้านตัน สกัดเป็นน้ำมันปาล์มดิบได้ประมาณ 1.344 ล้านตันและคาดว่าความต้องการใช้ในการบริโภคและอุตสาหกรรม เพื่อการส่งออกน้ำมันบริสุทธิ์รวม 990,000 ตัน/ปี หรือ 82,500 ตัน/เดือน คงเหลือน้ำมันปาล์มดิย 354,000 คน
สำหรับปริมาณคงเหลือดังกล่าวส่วนหนึ่งนำไปผลิตไบโอดีเซล ซึ่งตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2551 คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงานแห่งชาติมีมติให้น้ำมันดีเซลหมุนเร็วต้องผสมไบโอดีเซล (B100) ร้อยละ 2 ส่งผลให้มีความต้องการใช้น้ำมันปาล์มดิบเพิ่มขึ้นและจากสภาวะการผลิตปาล์มน้ำมันในช่วงปลายปี-ต้นปีปริมาณผลปาล์มออกสู่ตลาดน้อย คาดว่าช่วงเดือนมกราคม — กุมภาพันธ์ 2551 จะมีปริมาณน้ำมันปาล์มดิบประมาณ 98,000 ตัน/เดือนและตั้งแต่เดือนมีนาคมเป็นต้นไปจะมีผลผลิตมากขึ้นเป็นประมาณ 110,000 — 118,000 ตัน/เดือน ทั้งนี้ ปริมาณน้ำมันปาล์มดิบคงเหลือที่เหมาะสมแต่ละเดือนควรอยู่ในอัตรา 1.5 เท่าของปริมาณความต้องการใช้หรือปริมาณ 123,750 ตัน/เดือน
2) ราคา ในปี 2550 ราคาน้ำมันปาล์มดิบสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องจากเฉลี่ย กก.ละ 18.63 บาท ในเดือนมกราคม 2550 เป็น กก.ละ 31.47 บาท ในเดือนธันวาคม 2550 และตั้งแต่กลางเดือนธันวาคม 2550 เป็นต้นมาระดับราคาสูงกว่ามาเลเซีย ณ ปัจจุบัน (15 ม.ค. 51) ราคาสูงกว่าประมาณ กก.ละ 2.85 บาท ดังนี้
บาท/กก. ม.ค. 50 มิ.ย. 50 ธ.ค. 50 15 ม.ค. 51
ผลปาล์มทะลาย 3.27 4.71 5.54 6.00-6.60
น้ำมันปาล์มดิบ-ไทย 18.63 26.45 31.7 36.75-37.00
น้ำมันปาล์มดิบ-มาเลเซีย 19.73 26.19 29.80 34.15
ความแตกต่าง -1.10 -0.85 +1.67 2.85
ทั้งนี้ ปัจจัยที่ส่งผลให้ราคาปรับตัวสูงขึ้น ประกอบด้วย ด้านผลผลิตเป็นช่วงที่ปริมาณผลปาล์มออกสู่ตลาดน้อยขณะที่ความต้องการใช้ทั้งผู้บริโภคอุตสาหกรรมและพลังงานทดแทนมีเพิ่มขึ้นและภาระราคาน้ำมันปาล์มตลาดมาเลเซียมีแนวโน้มสูงขึ้นในทิศทางเดียวกัน ตลอดจนภาวะราคาน้ำมันเชื้อเพลิงซึ่งสามารถใช้น้ำมันปาล์มดิบทดแทน ได้มีราคาสูงขึ้นด้วย
3. แนวทางการแก้ไขปัญหา กระทรวงพาณิชย์ได้จัดประชุมคณะกรรมการแก้ไขปัญหาปาล์มน้ำมันอย่างเป็นระบบเมื่อวันที่ 16 มกราคม 2551 โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เป็นประธาน กรรมการประกอบด้วย ผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงมหาดไทย กรมพัฒนาพลังงานและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน ได้พิจารณาแก้ไขปัญหาผลกระทบที่จะเกิดจากสถานการณ์ดังกล่าวต่อภาคการผลิตการใช้น้ำมันบริโภค โดยคำนึงถึงหลักการกลไกตลาดปกติที่ราคาตลาดในประเทศควรสอดคล้องใกล้เคียงกับตลาดโลกและมีมติให้มีการน้ำเข้าน้ำมันปาล์มดิบใส (Crude Palm Olein) ปริมาณ 30,000 ตัน โดยให้องค์การคลังสินค้า (อคส.) เป็นผู้นำเข้าตามกรอบความตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA) และจัดสรรให้กับสมาชิกสมาคมโรงกลั่นน้ำมันปาล์มตามสัดส่วนการรับซื้อผลผลิตน้ำมันปาล์มดิบในประเทศ ปี 2550 โดยจะต้องนำเข้าให้เสร็จสิ้นภายในวันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2551 ทั้งนี้ การนำเข้าดังกล่าวคณะกรรมการมีความเห็นว่าไม่น่าจะส่งผลกระทบต่อราคาผลปาล์มที่เกษตรกรขายได้
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 22 มกราคม 2551--จบ--