แท็ก
คณะรัฐมนตรี
คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานผลการศึกษาการพัฒนาภาคมหานครแบบบูรณาการและเห็นชอบให้กรุงเทพมหานครเป็นหน่วยงานหลักในการดำเนินการพัฒนาภาคมหานครแบบบูรณาการฯ ต่อไป ตามที่คณะกรรมการศึกษาการพัฒนาภาคมหานครแบบบูรณาการ (กรุงเทพมหานคร นนทบุรี นครปฐม ปทุมธานี สมุทรปราการ และสมุทรสาคร) เสนอ และให้กรุงเทพมหานครศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมต่อไป
คณะอนุกรรมการศึกษาพัฒนาภาคมหานครแบบบูรณาการได้จัดทำรายงานงานผลการศึกษาการพัฒนาภาคมหานครเสนอที่ประชุมคณะกรรมการฯ ครั้งที่ 1/2551 เมื่อวันที่ 15 มกราคม 2551 โดยมีแนวทางหลักคือ การประสานการพัฒนาแบบบูรณาการและมีส่วนร่วม การใช้ภูมิภาคเป็นกรอบในการพัฒนา มีเป้าหมายเพื่อที่จะทำให้เกิดการพัฒนาแบบสมดุลทั้งทางกายภาพ เศรษฐกิจและสังคม และให้มีการจัดตั้งองค์กรกลางในการพัฒนาภาคมหานคร โดยกำหนดเกณฑ์ในการจัดตั้งองค์กรแยกเป็น 3 ประเด็น ดังนี้
1. โครงสร้างองค์กร ให้มีการจัดรูปแบบองค์กรเป็น 3 กลุ่ม คือ
1) คณะกรรมการพัฒนาภาคมหานครแบบบูรณาการ ประกอบด้วยกลุ่มผู้เกี่ยวข้องกับการพัฒนาภาคมหานครโดยตรง 5 กลุ่ม ได้แก่ ภาครัฐบาลกลาง ภาคท้องถิ่น (กรุงเทพมหานครและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น) ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม และภาควิชาการ/วิชาชีพ
2) คณะอนุกรรมการพัฒนาภาคมหานครแบบบูรณาการ ประกอบด้วยกลุ่มผู้มีหน้าที่ดำเนินการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องหรือสนับสนุนการพัฒนาภาคมหานคร
3) กลุ่มผู้ได้รับผลกระทบจากการพัฒนาภาคมหานคร เช่น ประชาชน กลุ่มประชาชน องค์กรต่าง ๆ ซึ่งต้องจัดให้มีส่วนร่วมอย่างเหมาะสม
2. อำนาจหน้าที่ขององค์กร คือการสื่อสารเพื่อประสานความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่าง ๆ เพื่อนำมากำหนดวิสัยทัศน์และแนวทางการพัฒนาภาคมหานครแบบบูรณาการ ดำเนินการวางแผนการพัฒนา และบริหารการพัฒนา
3. กระบวนการพัฒนาภาคมหานคร เป็นการสร้างแผนการพัฒนาภาคมหานคร โดยเปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเข้ามามีส่วนร่วมอย่างเหมาะสม ตั้งแต่เริ่มทำแผนพัฒนาภาคมหานคร
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 22 มกราคม 2551--จบ--
คณะอนุกรรมการศึกษาพัฒนาภาคมหานครแบบบูรณาการได้จัดทำรายงานงานผลการศึกษาการพัฒนาภาคมหานครเสนอที่ประชุมคณะกรรมการฯ ครั้งที่ 1/2551 เมื่อวันที่ 15 มกราคม 2551 โดยมีแนวทางหลักคือ การประสานการพัฒนาแบบบูรณาการและมีส่วนร่วม การใช้ภูมิภาคเป็นกรอบในการพัฒนา มีเป้าหมายเพื่อที่จะทำให้เกิดการพัฒนาแบบสมดุลทั้งทางกายภาพ เศรษฐกิจและสังคม และให้มีการจัดตั้งองค์กรกลางในการพัฒนาภาคมหานคร โดยกำหนดเกณฑ์ในการจัดตั้งองค์กรแยกเป็น 3 ประเด็น ดังนี้
1. โครงสร้างองค์กร ให้มีการจัดรูปแบบองค์กรเป็น 3 กลุ่ม คือ
1) คณะกรรมการพัฒนาภาคมหานครแบบบูรณาการ ประกอบด้วยกลุ่มผู้เกี่ยวข้องกับการพัฒนาภาคมหานครโดยตรง 5 กลุ่ม ได้แก่ ภาครัฐบาลกลาง ภาคท้องถิ่น (กรุงเทพมหานครและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น) ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม และภาควิชาการ/วิชาชีพ
2) คณะอนุกรรมการพัฒนาภาคมหานครแบบบูรณาการ ประกอบด้วยกลุ่มผู้มีหน้าที่ดำเนินการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องหรือสนับสนุนการพัฒนาภาคมหานคร
3) กลุ่มผู้ได้รับผลกระทบจากการพัฒนาภาคมหานคร เช่น ประชาชน กลุ่มประชาชน องค์กรต่าง ๆ ซึ่งต้องจัดให้มีส่วนร่วมอย่างเหมาะสม
2. อำนาจหน้าที่ขององค์กร คือการสื่อสารเพื่อประสานความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่าง ๆ เพื่อนำมากำหนดวิสัยทัศน์และแนวทางการพัฒนาภาคมหานครแบบบูรณาการ ดำเนินการวางแผนการพัฒนา และบริหารการพัฒนา
3. กระบวนการพัฒนาภาคมหานคร เป็นการสร้างแผนการพัฒนาภาคมหานคร โดยเปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเข้ามามีส่วนร่วมอย่างเหมาะสม ตั้งแต่เริ่มทำแผนพัฒนาภาคมหานคร
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 22 มกราคม 2551--จบ--