คณะรัฐมนตรีรับทราบและเห็นชอบตามที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เสนอดังนี้
1. รับทราบ
1.1 รายงานผลการดำเนินงานโครงการบ้านมั่นคง ณ 30 กันยายน 2550 ได้ดำเนินการรวม 76 จังหวัด 176 เมือง และ 50 เขตในกรุงเทพมหานคร ดำเนินโครงการแล้ว 485 โครงการ ครอบคลุมการแก้ปัญหา 958 ชุมชน 52,780 ครัวเรือน อนุมัติงบประมาณสนับสนุนพัฒนาระบบสาธารณูปโภค จำนวนเงิน 1,573.77 ล้านบาท และสนับสนุนงบสินเชื่อในการพัฒนาที่อยู่อาศัยของชุมชน 1,661.71 ล้านบาท
1.2 รายงานสรุปการจัดงานสัปดาห์ที่อยู่อาศัยสร้างถิ่นฐานมั่นคงด้วยวิถีชุมชนไทย ร่วมเฉลิมพระเกียรติในโอกาสเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา ระหว่างวันที่ 1-8 ตุลาคม 2550 เป็นการจัดงานพิธีการเพื่อเฉลิมฉลองวันที่อยู่อาศัยโลกและการจัดสัมมนาระดับชาติ โดยมีชุมชน หน่วยงาน และภาคีที่เกี่ยวข้องร่วมจัดกิจกรรม รวมทั้งสิ้น 93 กิจกรรม ใน 73 เมือง 40 จังหวัด
2. เห็นชอบ
2.1 “ร่าง” แนวทางและแผนปฏิบัติการแก้ไขปัญหาชุมชนแออัดเร่งด่วน ดังนี้
1. จัดตั้งคณะกรรมการแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัยเร่งด่วน ประกอบด้วยตัวแทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ชุมชน และผู้ทรงคุณวุฒิ โดยมีรองนายกรัฐมนตรี (นายไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม) เป็นประธาน โดยคณะกรรมการชุดนี้จะมีบทบาทในการประสานงานแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวข้องอย่างเป็นองค์รวม รวมถึงการกำกับดูแลการแก้ไขปัญหาทั้งด้านนโยบายและด้านปฏิบัติการ
2. จัดตั้งกองทุนประกันกรณีชาวบ้านถูกจับกุมดำเนินคดีเนื่องจากปัญหาการไล่ที่ วงเงินงบประมาณ 5 ล้านบาท โดยชุมชนมีส่วนร่วมสมทบและร่วมรับผิดชอบ
3. ให้ความช่วยเหลือชุมชนที่ถูกดำเนินคดี โดยการสนับสนุนงบประมาณผ่านหน่วยงานที่มีบทบาทให้ความช่วยเหลือชุมชนด้านกฎหมาย
4. จัดสรรงบประมาณช่วยเหลือการจัดหาที่พักชั่วคราวกรณีไล่รื้อเร่งด่วนหรือประสบพิบัติภัยในลักษณะงบประมาณประจำปี
5. ให้หน่วยงานท้องถิ่นร่วมกับการไฟฟ้า และการประปาช่วยเหลือในการดูแลจัดหาน้ำไฟชั่วคราวให้ชุมชนที่ถูกตัดน้ำตัดไฟในกรณีถูกฟ้องบังคับดำเนินคดี
6. ตั้งคณะกรรมการแก้ไขปัญหาคนไร้บ้าน โดยมีองค์ประกอบจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและตัวแทนกลุ่มคนไร้บ้าน และจัดตั้งศูนย์คนไร้บ้านเพื่อเป็นศูนย์กลางในการพัฒนาศักยภาพคนไร้บ้านให้กลับสู่สังคม
7. สร้างฐานข้อมูลชุมชน เพื่อเป็นข้อมูลกลางที่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องจะนำไปใช้ร่วมกันในการจัดลำดับความสำคัญของปัญหา กลุ่มปัญหาและขั้นตอนการแก้ไขปัญหา
8. สนับสนุนให้ชุมชนเป็นแกนหลักในการแก้ไขปัญหาและให้การสนับสนุนด้านงบประมาณ
2.2 ข้อเสนอเพื่อสนับสนุนด้านนโยบายในการดำเนินโครงการบ้านมั่นคง
1. การสนับสนุนงบประมาณต่อเนื่อง เพื่อดำเนินการตามเป้าหมายแผนปฏิบัติการที่เหลืออีกจำนวน 154,695 ครัวเรือน
2. การสนับสนุนด้านการเงิน เพื่อสนับสนุนสินเชื่อการพัฒนาที่อยู่อาศัยผู้มีรายได้น้อย โครงการบ้านมั่นคงเป็นการพัฒนาโดยชุมชนเป็นผู้ลงทุนในการพัฒนาที่ผ่านมาได้ใช้กองทุนของ พอช. สนับสนุนให้สินเชื่อ แต่เนื่องจากการดำเนินการตามเป้าหมายจำเป็นต้องมีแหล่งเงิน เพื่อสนับสนุนการให้สินเชื่อที่ผู้มีรายได้น้อยสามารถเข้าถึงได้ จำเป็นต้องมีมารตรการสนับสนุนจากรัฐบาล โดยการจัดหาแหล่งเงินต้นทุนต่ำ (Soft Loan) ให้ หรือรัฐอุดหนุนชดเชยต้นทุนการดำเนินงานบางส่วนให้กับสถาบันการเงิน เพื่อให้สถาบันการเงินให้สินเชื่อในอัตราดอกเบี้ยที่ชุมชนสามารถรับภาระได้
3. การสนับสนุนด้านที่ดินหรือหน่วยงาน
(1) ขอให้หน่วยงานที่ครอบครองที่ดินทั้งราชการ รัฐวิสาหกิจ และองค์กรของรัฐพิจารณาให้การสนับสนุนการใช้ที่ดินของหน่วยงานโดยเฉพาะในกรณีที่มีประชาชนบุกรุกอาศัยอยู่แล้ว รวมถึงการให้สิทธิการเช่าระยะยาว หรือจัดหาที่ดินรองรับเพื่อการพัฒนาที่อยู่อาศัยที่มั่นคงของผู้มีรายได้น้อย
(2) ขอใช้ระเบียบการเช่าที่ดินของกรมธนารักษ์เป็นแนวทางหลัก และขอการผ่อนปรนระเบียบ ได้แก่ การคิดอัตราค่าเช่าคิดตามทำเล โดยอัตราการเช่าอยู่ระหว่าง 5-15 บาทต่อตารางวา/เมตร ต่อปี การปรับอัตราค่าเช่าร้อยละ 5 ทุก 5 ปี การจัดเก็บค่าเช่าล่วงหน้าปีต่อปี ยกเว้นการจัดเก็บค่าเช่าย้อนหลัง และค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนการเช่าที่เกินกว่า 3 ปี
4. การปรับปรุงกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องของหน่วยงาน
(1) ขอให้เร่งดำเนินการออกกฎกระทรวงกำหนดยกเว้นผ่อนผัน หรือกำหนดเงื่อนไขในการปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร สำหรับอาคารที่หน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ ราชการส่วนท้องถิ่นหรือองค์กรอื่นของรัฐจัดให้มีขึ้นเพื่อเป็นที่อยู่อาศัยสำหรับผู้มีรายได้น้อย
(2) ขอให้พิจารณาปรับปรุงพระราชบัญญัติผังเมือง ปี 2550 พระราชบัญญัติจัดสรร และพระราชบัญญัติสิ่งแวดล้อม ตลอดจนการปรับปรุงกฎระเบียบ ขั้นตอน และระยะเวลาการดำเนินงานในการส่งเสริมการจัดตั้ง กำกับ และพัฒนาสหกรณ์ ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อสนับสนุนการจัดตั้งสหกรณ์ของชุมชนผู้มีรายได้น้อยในโครงการบ้านมั่นคง
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 22 มกราคม 2551--จบ--
1. รับทราบ
1.1 รายงานผลการดำเนินงานโครงการบ้านมั่นคง ณ 30 กันยายน 2550 ได้ดำเนินการรวม 76 จังหวัด 176 เมือง และ 50 เขตในกรุงเทพมหานคร ดำเนินโครงการแล้ว 485 โครงการ ครอบคลุมการแก้ปัญหา 958 ชุมชน 52,780 ครัวเรือน อนุมัติงบประมาณสนับสนุนพัฒนาระบบสาธารณูปโภค จำนวนเงิน 1,573.77 ล้านบาท และสนับสนุนงบสินเชื่อในการพัฒนาที่อยู่อาศัยของชุมชน 1,661.71 ล้านบาท
1.2 รายงานสรุปการจัดงานสัปดาห์ที่อยู่อาศัยสร้างถิ่นฐานมั่นคงด้วยวิถีชุมชนไทย ร่วมเฉลิมพระเกียรติในโอกาสเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา ระหว่างวันที่ 1-8 ตุลาคม 2550 เป็นการจัดงานพิธีการเพื่อเฉลิมฉลองวันที่อยู่อาศัยโลกและการจัดสัมมนาระดับชาติ โดยมีชุมชน หน่วยงาน และภาคีที่เกี่ยวข้องร่วมจัดกิจกรรม รวมทั้งสิ้น 93 กิจกรรม ใน 73 เมือง 40 จังหวัด
2. เห็นชอบ
2.1 “ร่าง” แนวทางและแผนปฏิบัติการแก้ไขปัญหาชุมชนแออัดเร่งด่วน ดังนี้
1. จัดตั้งคณะกรรมการแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัยเร่งด่วน ประกอบด้วยตัวแทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ชุมชน และผู้ทรงคุณวุฒิ โดยมีรองนายกรัฐมนตรี (นายไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม) เป็นประธาน โดยคณะกรรมการชุดนี้จะมีบทบาทในการประสานงานแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวข้องอย่างเป็นองค์รวม รวมถึงการกำกับดูแลการแก้ไขปัญหาทั้งด้านนโยบายและด้านปฏิบัติการ
2. จัดตั้งกองทุนประกันกรณีชาวบ้านถูกจับกุมดำเนินคดีเนื่องจากปัญหาการไล่ที่ วงเงินงบประมาณ 5 ล้านบาท โดยชุมชนมีส่วนร่วมสมทบและร่วมรับผิดชอบ
3. ให้ความช่วยเหลือชุมชนที่ถูกดำเนินคดี โดยการสนับสนุนงบประมาณผ่านหน่วยงานที่มีบทบาทให้ความช่วยเหลือชุมชนด้านกฎหมาย
4. จัดสรรงบประมาณช่วยเหลือการจัดหาที่พักชั่วคราวกรณีไล่รื้อเร่งด่วนหรือประสบพิบัติภัยในลักษณะงบประมาณประจำปี
5. ให้หน่วยงานท้องถิ่นร่วมกับการไฟฟ้า และการประปาช่วยเหลือในการดูแลจัดหาน้ำไฟชั่วคราวให้ชุมชนที่ถูกตัดน้ำตัดไฟในกรณีถูกฟ้องบังคับดำเนินคดี
6. ตั้งคณะกรรมการแก้ไขปัญหาคนไร้บ้าน โดยมีองค์ประกอบจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและตัวแทนกลุ่มคนไร้บ้าน และจัดตั้งศูนย์คนไร้บ้านเพื่อเป็นศูนย์กลางในการพัฒนาศักยภาพคนไร้บ้านให้กลับสู่สังคม
7. สร้างฐานข้อมูลชุมชน เพื่อเป็นข้อมูลกลางที่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องจะนำไปใช้ร่วมกันในการจัดลำดับความสำคัญของปัญหา กลุ่มปัญหาและขั้นตอนการแก้ไขปัญหา
8. สนับสนุนให้ชุมชนเป็นแกนหลักในการแก้ไขปัญหาและให้การสนับสนุนด้านงบประมาณ
2.2 ข้อเสนอเพื่อสนับสนุนด้านนโยบายในการดำเนินโครงการบ้านมั่นคง
1. การสนับสนุนงบประมาณต่อเนื่อง เพื่อดำเนินการตามเป้าหมายแผนปฏิบัติการที่เหลืออีกจำนวน 154,695 ครัวเรือน
2. การสนับสนุนด้านการเงิน เพื่อสนับสนุนสินเชื่อการพัฒนาที่อยู่อาศัยผู้มีรายได้น้อย โครงการบ้านมั่นคงเป็นการพัฒนาโดยชุมชนเป็นผู้ลงทุนในการพัฒนาที่ผ่านมาได้ใช้กองทุนของ พอช. สนับสนุนให้สินเชื่อ แต่เนื่องจากการดำเนินการตามเป้าหมายจำเป็นต้องมีแหล่งเงิน เพื่อสนับสนุนการให้สินเชื่อที่ผู้มีรายได้น้อยสามารถเข้าถึงได้ จำเป็นต้องมีมารตรการสนับสนุนจากรัฐบาล โดยการจัดหาแหล่งเงินต้นทุนต่ำ (Soft Loan) ให้ หรือรัฐอุดหนุนชดเชยต้นทุนการดำเนินงานบางส่วนให้กับสถาบันการเงิน เพื่อให้สถาบันการเงินให้สินเชื่อในอัตราดอกเบี้ยที่ชุมชนสามารถรับภาระได้
3. การสนับสนุนด้านที่ดินหรือหน่วยงาน
(1) ขอให้หน่วยงานที่ครอบครองที่ดินทั้งราชการ รัฐวิสาหกิจ และองค์กรของรัฐพิจารณาให้การสนับสนุนการใช้ที่ดินของหน่วยงานโดยเฉพาะในกรณีที่มีประชาชนบุกรุกอาศัยอยู่แล้ว รวมถึงการให้สิทธิการเช่าระยะยาว หรือจัดหาที่ดินรองรับเพื่อการพัฒนาที่อยู่อาศัยที่มั่นคงของผู้มีรายได้น้อย
(2) ขอใช้ระเบียบการเช่าที่ดินของกรมธนารักษ์เป็นแนวทางหลัก และขอการผ่อนปรนระเบียบ ได้แก่ การคิดอัตราค่าเช่าคิดตามทำเล โดยอัตราการเช่าอยู่ระหว่าง 5-15 บาทต่อตารางวา/เมตร ต่อปี การปรับอัตราค่าเช่าร้อยละ 5 ทุก 5 ปี การจัดเก็บค่าเช่าล่วงหน้าปีต่อปี ยกเว้นการจัดเก็บค่าเช่าย้อนหลัง และค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนการเช่าที่เกินกว่า 3 ปี
4. การปรับปรุงกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องของหน่วยงาน
(1) ขอให้เร่งดำเนินการออกกฎกระทรวงกำหนดยกเว้นผ่อนผัน หรือกำหนดเงื่อนไขในการปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร สำหรับอาคารที่หน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ ราชการส่วนท้องถิ่นหรือองค์กรอื่นของรัฐจัดให้มีขึ้นเพื่อเป็นที่อยู่อาศัยสำหรับผู้มีรายได้น้อย
(2) ขอให้พิจารณาปรับปรุงพระราชบัญญัติผังเมือง ปี 2550 พระราชบัญญัติจัดสรร และพระราชบัญญัติสิ่งแวดล้อม ตลอดจนการปรับปรุงกฎระเบียบ ขั้นตอน และระยะเวลาการดำเนินงานในการส่งเสริมการจัดตั้ง กำกับ และพัฒนาสหกรณ์ ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อสนับสนุนการจัดตั้งสหกรณ์ของชุมชนผู้มีรายได้น้อยในโครงการบ้านมั่นคง
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 22 มกราคม 2551--จบ--