คณะรัฐมนตรีรับทราบสรุปผลการดำเนินงานคณะกรรมการนโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติ ปี 2550 — 2551 ตามที่กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาเสนอ สรุปได้ดังนี้
ปีงบประมาณ พ.ศ. 2550
ผลจากมติที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายฯ ที่ผ่านมา ได้ส่งผลต่อการกำหนดนโยบายการกำหนดแผนด้านการส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยวของชาติ และการดำเนินการ รวมทั้งแนวทางแก้ไขปัญหาการท่องเที่ยวให้กับหน่วยงานที่รับผิดชอบนำไปสู่การปฏิบัติ เพื่อสร้างความมั่นคงในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ในประเด็นต่าง ๆ ได้แก่
1. การกำหนดมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในระยะเร่งด่วน ในปี 2550 ตลาดนักท่องเที่ยวต่างประเทศประสบภาวะชะลอตัวในไตรมาสแรก คณะกรรมการนโยบายฯ ได้เสนอมาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยวในระยะเร่งด่วน และคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2550 เห็นชอบในมาตรการเร่งรัดการใช้จ่ายงบประมาณภาครัฐ และมาตรการกระตุ้นตลาดท่องเที่ยวเร่งด่วนไตรมาส 3 — 4 ปี 2550 พร้อมกำหนดมาตรการเชิงนโยบายในการส่งเสริมการจัดประชุมภาครัฐและการจัดสวัสดิการเพื่อการท่องเที่ยวภายในประเทศของข้าราชการ และการกระตุ้นตลาด MICE
2. การกำหนดมาตรการเชิงนโยบายเพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยว ที่ประชุมได้เสนอให้เตรียมความพร้อมของสนามบิน แหล่งท่องเที่ยวและบริการ ความพร้อมในเรื่องความปลอดภัยและอำนวยความสะดวกแก่นักท่องเที่ยว โดยการจัดตั้งจุดรักษาความปลอดภัยและอำนวยความสะดวกแก่นักท่องเที่ยว การฝึกอบรมและพัฒนาบุคลากรให้ความรู้เกี่ยวกับภาษาต่างประเทศ และการรวมพลังอาสาสมัครเพื่อช่วยเหลือนักท่องเที่ยว
3. การบูรณาการยุทธศาสตร์การท่องเที่ยว เนื่องจากมีหน่วยงานต่าง ๆ ได้จัดทำยุทธศาสตร์ด้านการท่องเที่ยว ในระดับมหภาค อาทิ ยุทธศาสตร์การพัฒนาการท่องเที่ยวไทยในระยะแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 (พ.ศ. 2550 — 2554) จัดทำโดยคณะกรรมการนโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติ ยุทธศาสตร์การท่องเที่ยว พ.ศ. 2551 — 2554 จัดทำโดยกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา และยังมียุทธศาสตร์ท่องเที่ยวของหน่วยงานต่าง ๆ ที่ได้จัดทำเฉพาะหน่วยงาน หรือเฉพาะพื้นที่ ทำให้การบริหารจัดการไม่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน คณะกรรมการนโยบายฯ จึงได้มีมติให้ดำเนินการบูรณาการยุทธศาสตร์ด้านการท่องเที่ยว ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนินการของคณะทำงานร่วม และคาดว่าจะแล้วเสร็จในเดือนกุมภาพันธ์ 2551
4. การปรับปรุงระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการส่งเสริมการท่องเที่ยวแห่งชาติ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ขอยกเลิกระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยวแห่งชาติ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2548 และปรับปรุงแก้ไของค์ประกอบอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการนโยบายฯ ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ด้านการท่องเที่ยวในปัจจุบัน
5. ประเด็นสำคัญด้านการพัฒนาการท่องเที่ยวไทย และปัญหาเร่งด่วนที่มีต่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยวไทย คณะกรรมการนโยบายฯ ได้นำเสนอประเด็นพิจารณาเกี่ยวกับสถานการณ์แนวโน้ม ปัญหาและอุปสรรคด้านการท่องเที่ยว และร่วมกันวิเคราะห์ปัญหาและอุปสรรคที่มีต่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยวไทย เพื่อสร้างความมั่นคงรวมถึงติดตามตรวจสอบผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกิจกรรมหรือโครงการต่าง ๆ ของภาครัฐและเอกชน เพื่อให้ได้รับการดูแลแก้ไขได้ทันต่อเหตุการณ์
ปีงบประมาณ พ.ศ. 2551
ผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายฯ ครั้งที่ 1/2550 เมื่อวันที่ 16 มกราคม 2550 รับทราบและได้มีมติเห็นชอบในเรื่องสำคัญ 3 เรื่อง ดังนี้
1. ผลการดำเนินงานในด้านอำนวยความสะดวกและช่วยเหลือแก่นักท่องเที่ยวของกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ในการสร้างความมั่นใจ รวมทั้งอำนวยความสะดวกให้กับนักท่องเที่ยวที่เดินทาง และเข้าร่วมกิจกรรมสำคัญในเทศกาลต่างๆ ในประเทศไทย เช่น เทศกาลลอยกระทง เทศกาลคริสต์มาส และส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่
2. คณะกรรมการนโยบายฯ มีมติเห็นชอบให้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อเป็นกลไกสนับสนุนการดำเนินงาน จำนวน 8 คณะ ประกอบด้วย คณะอนุกรรมการด้านการตลาด คณะอนุกรรมการด้านการพัฒนาบุคลากร คณะอนุกรรมการด้านการพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชน คณะอนุกรรมการด้านโครงสร้างพื้นฐาน คณะอนุกรรมการด้านการพัฒนาแหล่งและสินค้าทางการท่องเที่ยว คณะอนุกรรมการด้านการแก้ไขปัญหาเร่งด่วนซึ่งเป็นอุปสรรคด้านการท่องเที่ยว คณะอนุกรรมการบูรณาการแผนยุทธศาสตร์ด้านการท่องเที่ยว และคณะอนุกรรมการกำกับและติดตามการปฏิบัติงาน
3. คณะกรรมการนโยบายการท่องเที่ยว ได้เห็นชอบแผนพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว เพื่อเป็นกรอบแนวทางการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวต่าง ๆ ของประเทศ โดยแบ่งแหล่งท่องเที่ยวออกเป็น 11 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มเส้นทางน้ำพุร้อน กลุ่มเส้นทางท่องเที่ยวผจญภัย กลุ่มเส้นทางอารยธรรมล้านนา กลุ่มเปิดโลกดินแดนไดโนเสาร์สู่อินโดจีน กลุ่มตามรอยอารยธรรมขอม กลุ่มเปิดโลกสุรินทร์สู่นครวัด กลุ่มอารยธรรมสองฝั่งโขง กลุ่มวิถีชีวิตลุ่มแม่น้ำภาคกลาง กลุ่มเส้นทางอัญมณีและการท่องเที่ยวเชิงเกษตร กลุ่มชายฝั่งทะเลภาคใต้ตอนบน (Riviera) และกลุ่มมหัศจรรย์สองสมุทร
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 22 มกราคม 2551--จบ--
ปีงบประมาณ พ.ศ. 2550
ผลจากมติที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายฯ ที่ผ่านมา ได้ส่งผลต่อการกำหนดนโยบายการกำหนดแผนด้านการส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยวของชาติ และการดำเนินการ รวมทั้งแนวทางแก้ไขปัญหาการท่องเที่ยวให้กับหน่วยงานที่รับผิดชอบนำไปสู่การปฏิบัติ เพื่อสร้างความมั่นคงในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ในประเด็นต่าง ๆ ได้แก่
1. การกำหนดมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในระยะเร่งด่วน ในปี 2550 ตลาดนักท่องเที่ยวต่างประเทศประสบภาวะชะลอตัวในไตรมาสแรก คณะกรรมการนโยบายฯ ได้เสนอมาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยวในระยะเร่งด่วน และคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2550 เห็นชอบในมาตรการเร่งรัดการใช้จ่ายงบประมาณภาครัฐ และมาตรการกระตุ้นตลาดท่องเที่ยวเร่งด่วนไตรมาส 3 — 4 ปี 2550 พร้อมกำหนดมาตรการเชิงนโยบายในการส่งเสริมการจัดประชุมภาครัฐและการจัดสวัสดิการเพื่อการท่องเที่ยวภายในประเทศของข้าราชการ และการกระตุ้นตลาด MICE
2. การกำหนดมาตรการเชิงนโยบายเพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยว ที่ประชุมได้เสนอให้เตรียมความพร้อมของสนามบิน แหล่งท่องเที่ยวและบริการ ความพร้อมในเรื่องความปลอดภัยและอำนวยความสะดวกแก่นักท่องเที่ยว โดยการจัดตั้งจุดรักษาความปลอดภัยและอำนวยความสะดวกแก่นักท่องเที่ยว การฝึกอบรมและพัฒนาบุคลากรให้ความรู้เกี่ยวกับภาษาต่างประเทศ และการรวมพลังอาสาสมัครเพื่อช่วยเหลือนักท่องเที่ยว
3. การบูรณาการยุทธศาสตร์การท่องเที่ยว เนื่องจากมีหน่วยงานต่าง ๆ ได้จัดทำยุทธศาสตร์ด้านการท่องเที่ยว ในระดับมหภาค อาทิ ยุทธศาสตร์การพัฒนาการท่องเที่ยวไทยในระยะแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 (พ.ศ. 2550 — 2554) จัดทำโดยคณะกรรมการนโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติ ยุทธศาสตร์การท่องเที่ยว พ.ศ. 2551 — 2554 จัดทำโดยกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา และยังมียุทธศาสตร์ท่องเที่ยวของหน่วยงานต่าง ๆ ที่ได้จัดทำเฉพาะหน่วยงาน หรือเฉพาะพื้นที่ ทำให้การบริหารจัดการไม่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน คณะกรรมการนโยบายฯ จึงได้มีมติให้ดำเนินการบูรณาการยุทธศาสตร์ด้านการท่องเที่ยว ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนินการของคณะทำงานร่วม และคาดว่าจะแล้วเสร็จในเดือนกุมภาพันธ์ 2551
4. การปรับปรุงระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการส่งเสริมการท่องเที่ยวแห่งชาติ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ขอยกเลิกระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยวแห่งชาติ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2548 และปรับปรุงแก้ไของค์ประกอบอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการนโยบายฯ ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ด้านการท่องเที่ยวในปัจจุบัน
5. ประเด็นสำคัญด้านการพัฒนาการท่องเที่ยวไทย และปัญหาเร่งด่วนที่มีต่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยวไทย คณะกรรมการนโยบายฯ ได้นำเสนอประเด็นพิจารณาเกี่ยวกับสถานการณ์แนวโน้ม ปัญหาและอุปสรรคด้านการท่องเที่ยว และร่วมกันวิเคราะห์ปัญหาและอุปสรรคที่มีต่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยวไทย เพื่อสร้างความมั่นคงรวมถึงติดตามตรวจสอบผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกิจกรรมหรือโครงการต่าง ๆ ของภาครัฐและเอกชน เพื่อให้ได้รับการดูแลแก้ไขได้ทันต่อเหตุการณ์
ปีงบประมาณ พ.ศ. 2551
ผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายฯ ครั้งที่ 1/2550 เมื่อวันที่ 16 มกราคม 2550 รับทราบและได้มีมติเห็นชอบในเรื่องสำคัญ 3 เรื่อง ดังนี้
1. ผลการดำเนินงานในด้านอำนวยความสะดวกและช่วยเหลือแก่นักท่องเที่ยวของกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ในการสร้างความมั่นใจ รวมทั้งอำนวยความสะดวกให้กับนักท่องเที่ยวที่เดินทาง และเข้าร่วมกิจกรรมสำคัญในเทศกาลต่างๆ ในประเทศไทย เช่น เทศกาลลอยกระทง เทศกาลคริสต์มาส และส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่
2. คณะกรรมการนโยบายฯ มีมติเห็นชอบให้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อเป็นกลไกสนับสนุนการดำเนินงาน จำนวน 8 คณะ ประกอบด้วย คณะอนุกรรมการด้านการตลาด คณะอนุกรรมการด้านการพัฒนาบุคลากร คณะอนุกรรมการด้านการพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชน คณะอนุกรรมการด้านโครงสร้างพื้นฐาน คณะอนุกรรมการด้านการพัฒนาแหล่งและสินค้าทางการท่องเที่ยว คณะอนุกรรมการด้านการแก้ไขปัญหาเร่งด่วนซึ่งเป็นอุปสรรคด้านการท่องเที่ยว คณะอนุกรรมการบูรณาการแผนยุทธศาสตร์ด้านการท่องเที่ยว และคณะอนุกรรมการกำกับและติดตามการปฏิบัติงาน
3. คณะกรรมการนโยบายการท่องเที่ยว ได้เห็นชอบแผนพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว เพื่อเป็นกรอบแนวทางการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวต่าง ๆ ของประเทศ โดยแบ่งแหล่งท่องเที่ยวออกเป็น 11 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มเส้นทางน้ำพุร้อน กลุ่มเส้นทางท่องเที่ยวผจญภัย กลุ่มเส้นทางอารยธรรมล้านนา กลุ่มเปิดโลกดินแดนไดโนเสาร์สู่อินโดจีน กลุ่มตามรอยอารยธรรมขอม กลุ่มเปิดโลกสุรินทร์สู่นครวัด กลุ่มอารยธรรมสองฝั่งโขง กลุ่มวิถีชีวิตลุ่มแม่น้ำภาคกลาง กลุ่มเส้นทางอัญมณีและการท่องเที่ยวเชิงเกษตร กลุ่มชายฝั่งทะเลภาคใต้ตอนบน (Riviera) และกลุ่มมหัศจรรย์สองสมุทร
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 22 มกราคม 2551--จบ--