คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานความก้าวหน้าผลการดำเนินงานตามแผนแม่บทการอนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์ป่าแห่งชาติ พ.ศ. 2548 — 2557 และมอบให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาดำเนินการตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืชได้รายงานความก้าวหน้าผลการดำเนินงานตามมติคณะรัฐมนตรี วันที่ 25 ตุลาคม 2548 เรื่องแผนแม่บทการอนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์ป่าแห่งชาติ พ.ศ. 2548 — 2557 โดยเฉพาะตามยุทธศาสตร์ที่ 1 การศึกษาวิจัยและรวบรวมข้อมูลด้านวิชาการจัดทำฐานข้อมูลสัตว์ป่าและระบบนิเวศน์ ยุทธศาสตร์ที่ 3 การอนุรักษ์ความหลากหลายของทรัพยากรสัตว์ป่าและระบบนิเวน์ และยุทธศาสตร์ที่ 4 การใช้ประโยชน์ทรัพยากรสัตว์ป่าอย่างยั่งยืน และความก้าวหน้าโครงการจัดการผืนป่าตะวันตกเชิงระบบนิเวศน์อันเป็นประเด็นสำคัญในการอนุรักษ์และแก้ไขปัญหาการลักลอบล่าสัตว์ป่า สรุปสาระสำคัญ ดังนี้
1. การจัดการถิ่นที่อาศัยของสัตว์ป่า
1.1 การจัดการพื้นที่ป่าเพื่อการอนุรักษ์
1) กลุ่มป่าเขาใหญ่-ดงพญาเย็น บริเวณระหว่างอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่และอุทยานแห่งชาติทับลานอยู่ระหว่างการดำเนินงานร่วมกับกระทรวงคมนาคม
2) กลุ่มป่าตะวันตกและกลุ่มป่าแก่งกระจานบริเวณตอนใต้ของอุทยานแห่งชาติไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรีกับเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าแม่น้ำภาชี จังหวัดราชบุรี โดยอยู่ระหว่างการดำเนินงานโครงการจัดทำแนวเชื่อมต่อป่าเทือกเขาตะนาวศรีร่วมกับกรมป่าไม้ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงกลาโหม ธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (ADB) และสมาคมอนุรักษ์สัตว์ป่า (WCS) ประเทศไทย ซึ่งมีเป้าหมายระยะยาวให้เป็นแนวเชื่อมต่อกับกลุ่มป่าแก่งกระจานตามแนวพรมแดนกับสหภาพพม่า และเพื่อให้เป็นผืนป่าอนุรักษ์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นอกจากนี้ยังมีการเตรียมการทำแนวเชื่อมเส้นทางเดินของสัตว์ป่าภายในผืนป่าตะวันตก บริเวณตอนใต้ของอุทยานแห่งชาติเขื่อนศรีนครินทร์และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าสลักพระ จังหวัดกาญจนบุรี
1.2 การจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการติดตามการเปลี่ยนแปลงทรัพยากรป่าไม้และไฟป่า
ในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ในท้องที่จังหวัดกรุงเทพมหานคร เชียงใหม่ ตาก นครสวรรค์ อุบลราชธานี และสุราษฎร์ธานี เพื่อติดตามการเปลี่ยนแปลงพื้นที่ป่าไม้และไฟป่าอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง โดยเมื่อตรวจสอบพบการเปลี่ยนแปลงพื้นที่ป่าและไฟป่าในบริเวณใดก็สามารถที่จะแจ้งหน่วยปฏิบัติการเคลื่อนที่เร็วเข้าตรวจสอบและดำเนินการในพื้นที่ดังกล่าวได้ทันที
1.3 การแก้ไขปัญหาที่ดินในพื้นที่ป่าไม้
เร่งรัดหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินงานตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 24 เมษายน 2550 ในการแก้ไขปัญหาที่ดินป่าไม้ในป่าอนุรักษ์ โดยดำเนินงานตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2541 ให้แล้วเสร็จภายใน 2 ปี และให้ราษฎรมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ ตลอดจนเพิ่มหน่วยพิทักษ์ป่าเพื่อดูแลพื้นที่ป่าอนุรักษ์ที่ล่อแหลมต่อการบุกรุก
2. การจัดการสัตว์ป่า
2.1 การป้องกันการลักลอบล่าสัตว์ป่า
มีการพัฒนาระบบการลาดตระเวนในพื้นที่ป่าอนุรักษ์โดยใช้ระบบฐานข้อมูลเทคโนโลยีสารสนเทศภูมิศาสตร์ รวมทั้งให้มีการบันทึกตำแหน่งและเส้นทางการลาดตระเวนในทุกครั้งที่เจ้าหน้าที่ออกปฏิบัติการด้วยเครื่องมือรับพิกัดสัญญาณดาวเทียม (GPS) ควบคู่ไปกับการบันทึกภาพด้วยกล้องดิจิตอล และบันทึกข้อมูลที่ได้ตรวจพบลงในแบบฟอร์มบันทึกข้อมูลมาตรฐาน ตลอดจนมีการวิเคราะห์ข้อมูลอย่างเป็นระบบเพื่อนำผลไปใช้ในการวางแผนการป้องกันและปราบปรามการลักลอบล่าสัตว์ป่า ปัจจุบันได้มีการนำวิธีการดังกล่าวไปใช้ในพื้นที่สำคัญแล้ว เช่น เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว และกำลังขยายผลไปดำเนินการในป่าอนุรักษ์แห่งอื่น ๆ ทั่วประเทศ
2.2 ศูนย์ปฏิบัติการด้านสัตว์ป่า
จัดตั้งศูนย์ปฎิบัติการด้านสัตว์ป่านำร่องที่ส่วนกลางกรุงเทพมหานคร และที่สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 12 (นครสวรรค์) เพื่อปฏิบัติการด้านการอนุรักษ์สัตว์ป่า ติดตามข้อมูลและเบาะแสด้านการค้าสัตว์ป่าที่ผิดกฎหมาย และดำเนินการเพื่อลดความขัดแย้งระหว่างมนุษย์และสัตว์ป่า เช่น ช้างป่าและลิง เป็นต้น โดยมีการเชื่อมโยงข้อมูลและดำเนินการทั้งในพื้นที่และนอกพื้นที่ป่าอนุรักษ์อย่างเป็นรูปธรรม และจะมีแผนจัดตั้งศูนย์ฯในพื้นที่อื่นตามความเหมาะสมต่อไป
2.3 การฟื้นฟูสัตว์ป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ในธรรมชาติ
มีการดำเนินการเพาะเลี้ยงและฟื้นฟูสัตว์ป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ในสภาพธรรมชาติ และฟื้นฟูถิ่นอาศัยเชิงบูรณาการ เช่น เนื้อทรายในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียวและละองละมั่งในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง เป็นต้น
2.4 การส่งเสริมการเพาะเลี้ยงสัตว์ป่า
ส่งเสริมให้ประชาชนเพาะเลี้ยงสัตว์ป่า 55 ชนิด เช่น กวาง เก้ง ไก่ฟ้า นกยูง เป็นต้น เพื่อให้ประชาชนสามารถนำสัตว์ป่าเหล่านี้ไปใช้ประโยชน์ในเชิงเศรษฐกิจและช่วยลดปัญหาการลักลอบล่าสัตว์ป่าในธรรมชาติ
2.5 การรณรงค์ส่งเสริมความรู้ให้กับประชาชน
1) มีแผนจัดรณรงค์และประชาสัมพันธ์อย่างต่อเนื่องเพื่อส่งเสริมความรู้ และรณรงค์ไม่ให้ประชาชนล่าและบริโภคเนื้อสัตว์ป่า รวมทั้งไม่ใช้ผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากสัตว์ป่า โดยเน้นการดำเนินงานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และชุมชน เช่น กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงมหาดไทย ฯลฯ
2) เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2550 นายกรัฐมนตรีได้ให้เกียรติเป็นประธานการจัดงานวันคุ้มครองสัตว์ป่าแห่งชาติ ประจำปี 2550 ณ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช โดยมอบนโยบายป้องกันการล่าและค้าสัตว์ป่าที่ผิดกฎหมายรณรงค์ไม่ให้ประชาชนบริโภคเนื้อสัตว์ป่า และส่งเสริมความรู้ด้านสัตว์ป่าให้สาธารณชน
3. การศึกษาวิจัยสัตว์ป่า
มีโครงการวิจัยสัตว์ป่าทั้งระยะสั้นและระยะยาวร่วมกับสถาบันการศึกษาต่าง ๆ เช่น โครงการสำรวจการกระจายของสัตว์ป่าขนาดใหญ่ โครงการเฝ้าระวังโรคไข้หวัดนกในสัตว์ป่า และโครงการศึกษาวิจัยสัตว์ป่าแบบบูรณาการเพื่อใช้เป็นดัชนีชี้วัดคุณภาพการจัดการอย่างแท้จริง เช่น โครงการอนุรักษ์เสือโคร่ง (Tigers Forever) ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้งที่มีการวางระบบตรวจวัดประชากรเสือโคร่งและเหยื่อของเสือโคร่ง เช่น กระทิง วัวแดง กวางป่า ที่ได้มาตรฐานระดับสากลโดยความร่วมมือระหว่างกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช และสมาคมอนุรักษ์สัตว์ป่า (WCS) ประเทศไทย จนเป็นที่ประจักษ์ในระดับนานาชาติถึงคุณค่าของกลุ่มป่าตะวันตกในฐานะเป็นแหล่งอนุรักษ์เสือโคร่งที่สำคัญของโลก
4. การขอความร่วมมือและการสนับสนุนการดำเนินงานจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีดังนี้
4.1 การจัดการพื้นที่ป่าเพื่อการอนุรักษ์
1) การจัดทำโครงการเชื่อมต่อป่า (Corridor) ภายในกลุ่มป่าเขาใหญ่ — ดงพญาเย็น ขอความร่วมมือและการสนับสนุนจากกระทรวงคมนาคม (กรมทางหลวงและกรมทางหลวงชนบท) และระหว่างกลุ่มป่าตะวันตกกับกลุ่มป่าแก่งกระจาน ขอความร่วมมือและการสนับสนุนจากกระทรวงมหาดไทย (กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น จังหวัด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น) กระทรวงกลาโหม (กองทัพภาคที่ 1) กระทรวงคมนาคม (กรมทางหลวงและกรมทางหลวงชนบท) และหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
2) การจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการติดตามการเปลี่ยนแปลงทรัพยากรป่าไม้และไฟป่า ขอความร่วมมือและการสนับสนุนจาก กระทรวงมหาดไทย กระทรวงกลาโหม กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
4.2 การจัดการสัตว์ป่า โดยการจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการด้านสัตว์ป่าขอความร่วมมือและการสนับสนุนจาก กระทรวงมหาดไทย กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กรมปศุสัตว์) และ กระทรวงศึกษาธิการ (มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 22 มกราคม 2551--จบ--
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืชได้รายงานความก้าวหน้าผลการดำเนินงานตามมติคณะรัฐมนตรี วันที่ 25 ตุลาคม 2548 เรื่องแผนแม่บทการอนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์ป่าแห่งชาติ พ.ศ. 2548 — 2557 โดยเฉพาะตามยุทธศาสตร์ที่ 1 การศึกษาวิจัยและรวบรวมข้อมูลด้านวิชาการจัดทำฐานข้อมูลสัตว์ป่าและระบบนิเวศน์ ยุทธศาสตร์ที่ 3 การอนุรักษ์ความหลากหลายของทรัพยากรสัตว์ป่าและระบบนิเวน์ และยุทธศาสตร์ที่ 4 การใช้ประโยชน์ทรัพยากรสัตว์ป่าอย่างยั่งยืน และความก้าวหน้าโครงการจัดการผืนป่าตะวันตกเชิงระบบนิเวศน์อันเป็นประเด็นสำคัญในการอนุรักษ์และแก้ไขปัญหาการลักลอบล่าสัตว์ป่า สรุปสาระสำคัญ ดังนี้
1. การจัดการถิ่นที่อาศัยของสัตว์ป่า
1.1 การจัดการพื้นที่ป่าเพื่อการอนุรักษ์
1) กลุ่มป่าเขาใหญ่-ดงพญาเย็น บริเวณระหว่างอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่และอุทยานแห่งชาติทับลานอยู่ระหว่างการดำเนินงานร่วมกับกระทรวงคมนาคม
2) กลุ่มป่าตะวันตกและกลุ่มป่าแก่งกระจานบริเวณตอนใต้ของอุทยานแห่งชาติไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรีกับเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าแม่น้ำภาชี จังหวัดราชบุรี โดยอยู่ระหว่างการดำเนินงานโครงการจัดทำแนวเชื่อมต่อป่าเทือกเขาตะนาวศรีร่วมกับกรมป่าไม้ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงกลาโหม ธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (ADB) และสมาคมอนุรักษ์สัตว์ป่า (WCS) ประเทศไทย ซึ่งมีเป้าหมายระยะยาวให้เป็นแนวเชื่อมต่อกับกลุ่มป่าแก่งกระจานตามแนวพรมแดนกับสหภาพพม่า และเพื่อให้เป็นผืนป่าอนุรักษ์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นอกจากนี้ยังมีการเตรียมการทำแนวเชื่อมเส้นทางเดินของสัตว์ป่าภายในผืนป่าตะวันตก บริเวณตอนใต้ของอุทยานแห่งชาติเขื่อนศรีนครินทร์และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าสลักพระ จังหวัดกาญจนบุรี
1.2 การจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการติดตามการเปลี่ยนแปลงทรัพยากรป่าไม้และไฟป่า
ในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ในท้องที่จังหวัดกรุงเทพมหานคร เชียงใหม่ ตาก นครสวรรค์ อุบลราชธานี และสุราษฎร์ธานี เพื่อติดตามการเปลี่ยนแปลงพื้นที่ป่าไม้และไฟป่าอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง โดยเมื่อตรวจสอบพบการเปลี่ยนแปลงพื้นที่ป่าและไฟป่าในบริเวณใดก็สามารถที่จะแจ้งหน่วยปฏิบัติการเคลื่อนที่เร็วเข้าตรวจสอบและดำเนินการในพื้นที่ดังกล่าวได้ทันที
1.3 การแก้ไขปัญหาที่ดินในพื้นที่ป่าไม้
เร่งรัดหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินงานตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 24 เมษายน 2550 ในการแก้ไขปัญหาที่ดินป่าไม้ในป่าอนุรักษ์ โดยดำเนินงานตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2541 ให้แล้วเสร็จภายใน 2 ปี และให้ราษฎรมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ ตลอดจนเพิ่มหน่วยพิทักษ์ป่าเพื่อดูแลพื้นที่ป่าอนุรักษ์ที่ล่อแหลมต่อการบุกรุก
2. การจัดการสัตว์ป่า
2.1 การป้องกันการลักลอบล่าสัตว์ป่า
มีการพัฒนาระบบการลาดตระเวนในพื้นที่ป่าอนุรักษ์โดยใช้ระบบฐานข้อมูลเทคโนโลยีสารสนเทศภูมิศาสตร์ รวมทั้งให้มีการบันทึกตำแหน่งและเส้นทางการลาดตระเวนในทุกครั้งที่เจ้าหน้าที่ออกปฏิบัติการด้วยเครื่องมือรับพิกัดสัญญาณดาวเทียม (GPS) ควบคู่ไปกับการบันทึกภาพด้วยกล้องดิจิตอล และบันทึกข้อมูลที่ได้ตรวจพบลงในแบบฟอร์มบันทึกข้อมูลมาตรฐาน ตลอดจนมีการวิเคราะห์ข้อมูลอย่างเป็นระบบเพื่อนำผลไปใช้ในการวางแผนการป้องกันและปราบปรามการลักลอบล่าสัตว์ป่า ปัจจุบันได้มีการนำวิธีการดังกล่าวไปใช้ในพื้นที่สำคัญแล้ว เช่น เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว และกำลังขยายผลไปดำเนินการในป่าอนุรักษ์แห่งอื่น ๆ ทั่วประเทศ
2.2 ศูนย์ปฏิบัติการด้านสัตว์ป่า
จัดตั้งศูนย์ปฎิบัติการด้านสัตว์ป่านำร่องที่ส่วนกลางกรุงเทพมหานคร และที่สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 12 (นครสวรรค์) เพื่อปฏิบัติการด้านการอนุรักษ์สัตว์ป่า ติดตามข้อมูลและเบาะแสด้านการค้าสัตว์ป่าที่ผิดกฎหมาย และดำเนินการเพื่อลดความขัดแย้งระหว่างมนุษย์และสัตว์ป่า เช่น ช้างป่าและลิง เป็นต้น โดยมีการเชื่อมโยงข้อมูลและดำเนินการทั้งในพื้นที่และนอกพื้นที่ป่าอนุรักษ์อย่างเป็นรูปธรรม และจะมีแผนจัดตั้งศูนย์ฯในพื้นที่อื่นตามความเหมาะสมต่อไป
2.3 การฟื้นฟูสัตว์ป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ในธรรมชาติ
มีการดำเนินการเพาะเลี้ยงและฟื้นฟูสัตว์ป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ในสภาพธรรมชาติ และฟื้นฟูถิ่นอาศัยเชิงบูรณาการ เช่น เนื้อทรายในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียวและละองละมั่งในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง เป็นต้น
2.4 การส่งเสริมการเพาะเลี้ยงสัตว์ป่า
ส่งเสริมให้ประชาชนเพาะเลี้ยงสัตว์ป่า 55 ชนิด เช่น กวาง เก้ง ไก่ฟ้า นกยูง เป็นต้น เพื่อให้ประชาชนสามารถนำสัตว์ป่าเหล่านี้ไปใช้ประโยชน์ในเชิงเศรษฐกิจและช่วยลดปัญหาการลักลอบล่าสัตว์ป่าในธรรมชาติ
2.5 การรณรงค์ส่งเสริมความรู้ให้กับประชาชน
1) มีแผนจัดรณรงค์และประชาสัมพันธ์อย่างต่อเนื่องเพื่อส่งเสริมความรู้ และรณรงค์ไม่ให้ประชาชนล่าและบริโภคเนื้อสัตว์ป่า รวมทั้งไม่ใช้ผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากสัตว์ป่า โดยเน้นการดำเนินงานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และชุมชน เช่น กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงมหาดไทย ฯลฯ
2) เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2550 นายกรัฐมนตรีได้ให้เกียรติเป็นประธานการจัดงานวันคุ้มครองสัตว์ป่าแห่งชาติ ประจำปี 2550 ณ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช โดยมอบนโยบายป้องกันการล่าและค้าสัตว์ป่าที่ผิดกฎหมายรณรงค์ไม่ให้ประชาชนบริโภคเนื้อสัตว์ป่า และส่งเสริมความรู้ด้านสัตว์ป่าให้สาธารณชน
3. การศึกษาวิจัยสัตว์ป่า
มีโครงการวิจัยสัตว์ป่าทั้งระยะสั้นและระยะยาวร่วมกับสถาบันการศึกษาต่าง ๆ เช่น โครงการสำรวจการกระจายของสัตว์ป่าขนาดใหญ่ โครงการเฝ้าระวังโรคไข้หวัดนกในสัตว์ป่า และโครงการศึกษาวิจัยสัตว์ป่าแบบบูรณาการเพื่อใช้เป็นดัชนีชี้วัดคุณภาพการจัดการอย่างแท้จริง เช่น โครงการอนุรักษ์เสือโคร่ง (Tigers Forever) ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้งที่มีการวางระบบตรวจวัดประชากรเสือโคร่งและเหยื่อของเสือโคร่ง เช่น กระทิง วัวแดง กวางป่า ที่ได้มาตรฐานระดับสากลโดยความร่วมมือระหว่างกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช และสมาคมอนุรักษ์สัตว์ป่า (WCS) ประเทศไทย จนเป็นที่ประจักษ์ในระดับนานาชาติถึงคุณค่าของกลุ่มป่าตะวันตกในฐานะเป็นแหล่งอนุรักษ์เสือโคร่งที่สำคัญของโลก
4. การขอความร่วมมือและการสนับสนุนการดำเนินงานจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีดังนี้
4.1 การจัดการพื้นที่ป่าเพื่อการอนุรักษ์
1) การจัดทำโครงการเชื่อมต่อป่า (Corridor) ภายในกลุ่มป่าเขาใหญ่ — ดงพญาเย็น ขอความร่วมมือและการสนับสนุนจากกระทรวงคมนาคม (กรมทางหลวงและกรมทางหลวงชนบท) และระหว่างกลุ่มป่าตะวันตกกับกลุ่มป่าแก่งกระจาน ขอความร่วมมือและการสนับสนุนจากกระทรวงมหาดไทย (กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น จังหวัด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น) กระทรวงกลาโหม (กองทัพภาคที่ 1) กระทรวงคมนาคม (กรมทางหลวงและกรมทางหลวงชนบท) และหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
2) การจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการติดตามการเปลี่ยนแปลงทรัพยากรป่าไม้และไฟป่า ขอความร่วมมือและการสนับสนุนจาก กระทรวงมหาดไทย กระทรวงกลาโหม กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
4.2 การจัดการสัตว์ป่า โดยการจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการด้านสัตว์ป่าขอความร่วมมือและการสนับสนุนจาก กระทรวงมหาดไทย กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กรมปศุสัตว์) และ กระทรวงศึกษาธิการ (มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 22 มกราคม 2551--จบ--