คณะรัฐมนตรีรับทราบและเห็นชอบตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ (ทส.) ดังนี้
1. รับทราบผลการประชุมภาคีอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ (CITES) ครั้งที่ 14 การประชุมโต๊ะกลมระดับรัฐมนตรี (Ministerial Round Table) การประชุมภาคีอนุสัญญา CITES ของทวีปเอเซีย (Asia Regional Meeting) การประชุมคณะกรรมการบริหารอนุสัญญา CITES ครั้งที่ 55 (55th Standing Committee) และการประชุมคณะกรรมการบริหารอนุสัญญา ครั้งที่ 56(56th Standing Committee)
2. เห็นชอบในหลักการให้ดำเนินมาตรการควบคุมการค้างาช้างภายในประเทศ โดยให้ ทส. (กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช) เป็นหน่วยงานหลักเพื่อประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
2.1 ทส. กระทรวงมหาดไทย (มท.) (กรมการปกครอง) และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) (กรมปศุสัตว์) พิจารณาปรับปรุงแก้ไขกฎหมาย ที่เกี่ยวข้องให้ครอบคลุมถึงงาช้างบ้านและการควบคุมการค้างาช้าง เพื่อให้สามารถกำหนดมาตรการควบคุมการค้างาช้างอย่างครบถ้วนสมบูรณ์ต่อไป
2.2 กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) ให้การสนับสนุนพิจารณาทบทวนออกประกาศ พณ. กำหนดให้บุคคลธรรมดาและห้างหุ้นส่วนที่มิใช่นิติบุคคลเป็นผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีตามพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. 2543 และออกประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กำหนดลักษณะของบัญชีสินค้าและเอกสารประกอบการลงบัญชีสินค้าของพาณิชยกิจที่เกี่ยวกับงาช้างเป็นการเฉพาะ
2.3 กรมปศุสัตว์ให้ความร่วมมือในการกำหนดเงื่อนไขเกี่ยวกับการออกใบอนุญาตค้างาช้างภายในประเทศ ตามพระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2499
2.4 กระทรวงการคลัง (กค.) (กรมศุลกากร) ให้การสนับสนุนการจัดทำข้อตกลงเกี่ยวกับการระงับคดี การจัดการและเก็บรักษาของกลางในคดีที่เกี่ยวกับงาช้างและสัตว์ป่าอื่นๆ เพื่อดำเนินการให้สอดคล้องตามอนุสัญญา CITES
2.5 บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) และการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ให้ความร่วมมือในการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ โดยการรณรงค์ไม่ให้ซื้องาช้างจากประเทศไทย
2.6 สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กรมศุลกากร และ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) ให้ความร่วมมือในการป้องกันและปราบปรามการลักลอบค้างาช้างอย่างเคร่งครัด
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรายงานว่า
1. คณะผู้แทนประเทศไทยได้เข้าประชุมภาคีอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ (CITES) ครั้งที่ 14 (CITES CoP14) ระหว่างวันที่ 3 -15 มิถุนายน 2550 ณ กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ พร้อมนี้ได้เข้าประชุมอื่นๆ ที่จัดขึ้นในระหว่างการประชุมข้างต้น ได้แก่ การประชุมโต๊ะกลมระดับรัฐมนตรี (Ministerial Round Table) การประชุมภาคีอนุสัญญา CITES ของภูมิภาคเอเซีย (Asia Regional Meeting) การประชุมคณะกรรมการบริหารอนุสัญญา CITES ครั้งที่ 55 (55th Standing Committee) และการประชุมคณะกรรมการบริหารอนุสัญญา ครั้งที่ 56 (56th Standing Committee)
2. ที่ประชุมภาคีอนุสัญญา CITES ครั้งที่ 14 มีมติเห็นชอบแผนปฏิบัติการว่าด้วยการควบคุมการค้างาช้าง (Action Plan for the Control of Trade in elephant ivory) ตามข้อตัดสินใจที่ 13.26 (แก้ไข CoP14) ซึ่งมีประเด็นสำคัญในส่วนที่เกี่ยวข้อง คือ ระบุชื่อประเทศไทย เป็นประเทศในกลุ่มที่ต้องให้ความสำคัญ ในลำดับต้นในการติดตามตรวจสอบการดำเนินการควบคุมการค้างาช้างภายในประเทศ โดยหากประเทศดังกล่าวไม่ดำเนินการให้เป็นไปตามแผนปฏิบัติการนี้ จะเป็นผลให้ถูกระงับการค้าสัตว์ป่าและพืชป่าในบัญชีอนุสัญญา CITES ได้ ทั้งนี้ ประเทศภาคีที่มีการค้างาช้างภายในประเทศ ต้องกำหนดมาตรการควบคุมการค้างาช้างภายในประเทศที่มีประสิทธิภาพ ไม่ให้มีการลักลอบค้าระหว่างประเทศได้ โดยต้องดำเนินการควบคุมการค้างาช้างดังกล่าวให้เป็นไปตามมติที่ประชุมที่ 10.10 (แก้ไข CoP14) เรื่อง การค้าตัวอย่างพันธุ์ช้าง ดังนี้
2.1 ต้องมีระบบการจดทะเบียน และการอนุญาต ผู้นำเข้า โรงงานผลิต ผู้ค้าส่ง และผู้ค้าปลีก งาช้างดิบ งาช้างกึ่งแปรรูป และผลิตภัณฑ์งาช้าง
2.2 ต้องมีการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ข้อมูล โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระดับตลาดค้าปลีกเพื่อประชาสัมพันธ์แก่นักท่องเที่ยวและผู้ที่มีสัญชาติอื่นๆ เพื่อรณรงค์ไม่ให้ซื้องาช้าง เนื่องจากเป็นการผิดกฎหมายในการนำงาช้างเข้าประเทศของตนเอง
2.3 ต้องมีมาตรการบันทึกข้อมูลและตรวจสอบ ที่ให้หน่วยงานด้านการจัดการของอนุสัญญาCITES หรือ หน่วยงานของรัฐที่เหมาะสม สามารถติดตามการเคลื่อนย้ายของงาช้างภายในประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีของ
1) การควบคุมการค้างาช้างดิบที่เข้มงวด และ
2) ระบบการรายงานที่ตรวจสอบได้อย่างมีประสิทธิภาพและเข้มงวด และมีระบบการบังคับใช้กฎหมายสำหรับการค้าผลิตภัณฑ์งาช้าง
3. ปัจจุบันประเทศไทยยังไม่มีมาตรการควบคุมการค้างาช้างภายในประเทศที่สอดคล้องตามแนวทางที่กำหนด หากไม่กำหนดมาตรการควบคุมดังกล่าวอาจทำให้ถูกระงับการค้าสัตว์ป่าและพืชป่าตามอนุสัญญา CITES ได้ ซึ่งจะเกิดความเสียหายในทางเศรษฐกิจของประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการค้ากล้วยไม้ พืชป่า และสัตว์ป่า ในบัญชี CITES และเกิดความเสียหายต่อภาพลักษณ์ของประเทศในด้านการอนุรักษ์สัตว์ป่าและการดำเนินการให้เป็นไปตามพันธะกรณีแห่งอนุสัญญา CITES
4. ช้างเอเชียในประเทศไทยมี 2 สถานะทางกฎหมาย คือ ช้างบ้าน ซึ่งเป็นสัตว์พาหนะตามพระราชบัญญัติสัตว์พาหนะ พ.ศ. 2482 และช้างป่าตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 ซึ่งไม่หมายความรวมถึงสัตว์พาหนะตามกฎหมายว่าด้วยสัตว์พาหนะ ในปัจจุบันงาช้างยังไม่มีกฎหมายควบคุมเป็นการเฉพาะ กล่าวคือพระราชบัญญัติสัตว์พาหนะ พ.ศ. 2482 ที่ควบคุมดูแลช้างบ้านซึ่งเป็นสัตว์พาหนะชนิดหนึ่ง มิได้มีบทบัญญัติที่ครอบคลุมถึงงาของช้างดังกล่าวแต่อย่างใด และช้างบ้านที่เป็นสัตว์พาหนะตามกฎหมายดังกล่าวมิใช่สัตว์ป่าตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 ดังนั้นจึงไม่มีกฎหมายเฉพาะที่จะอาศัยอำนาจเพื่อควบคุมการค้างาช้างบ้านได้ ประเทศไทยจึงมีการค้างาช้างโดยที่ไม่มีการควบคุมดูแล โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้อกำหนดเกี่ยวกับที่มาของงาช้าง และเป็นช่องทางของการนำงาช้างที่ผิดกฎหมาย ได้แก่ งาช้างป่า และงาช้าง แอฟริกา มาปะปน โดยที่กล่าวอ้างว่าเป็นงาของช้างบ้าน
อย่างไรก็ตาม เพื่อให้การดำเนินการเป็นไปตามข้อกำหนดโดยไม่ล่าช้า กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ในฐานะหน่วยงานหลักที่รับผิดชอบงานอนุสัญญา CITES ได้ประสานงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่ออาศัยฐานอำนาจตามกฎหมายที่บังคับใช้อยู่แล้วดำเนินการไปพลางก่อนจนกว่าจะมีกฎหมายที่ควบคุมดูแลเป็นการเฉพาะ ได้แก่
4.1 การจดทะเบียน
- กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ออกประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง ให้ผู้ประกอบพาณิชยกิจต้องจดทะเบียนพาณิชย์ (ฉบับที่ 8) พ.ศ. 2547 กำหนดให้ผู้ประกอบการทั้งที่เป็นบุคคลธรรมดาและนิติบุคคลที่ประกอบพาณิชยกิจเกี่ยวกับงาช้างต้องจดทะเบียนพาณิชย์
- ขณะนี้อยู่ระหว่างการประสานงานกับกรมปศุสัตว์ เพื่อกำหนดเงื่อนไขเกี่ยวกับการออกใบอนุญาตค้างาช้างตามพระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2499
4.2 การเผยแพร่ประชาสัมพันธ์
- การจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ในบริเวณที่มีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ เพื่อรณรงค์มิให้ซื้องาช้างจากประเทศไทย ในบริเวณพื้นที่ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ตลาดนัดจตุจักร และด่านตรวจสัตว์ป่าชายแดนต่างๆ
- การจัดกิจกรรมประชาสัมพันธ์สร้างความเข้าใจเรื่องการควบคุมการค้างาช้างกับผู้ประกอบพาณิชยกิจเกี่ยวกับงาช้าง ในพื้นที่อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี กาญจนบุรี และกรุงเทพฯ ตลอดจนการประชุมหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ดังกล่าว
- การขอความร่วมมือจากจังหวัดทุกจังหวัดในการรณรงค์ เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ และปราบปรามการลักลอบค้างาช้าง
4.3 ระบบฐานข้อมูลและกระบวนการตรวจสอบ
- อยู่ระหว่างการเสนอให้ พณ. พิจารณาทบทวนออกประกาศ พณ. กำหนดให้บุคคลธรรมดาและห้างหุ้นส่วนที่มิใช่นิติบุคคลเป็นผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีตามพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. 2543 และออกประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กำหนดลักษณะของบัญชีสินค้าและเอกสารประกอบการลงบัญชีสินค้าของพาณิชยกิจที่เกี่ยวกับงาช้างเป็นการเฉพาะ
5. การดำเนินมาตรการควบคุมการค้างาช้างภายในประเทศเพื่อให้สอดคล้องตามมติที่ประชุมที่ 10.10 (แก้ไข CoP14) มีแนวทางดังนี้
5.1 มาตรการระยะยาว การปรับปรุงแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องให้ครอบคลุมถึงงาช้างบ้าน และการควบคุมการค้างาช้างภายในประเทศ เพื่อให้สามารถกำหนดมาตรการควบคุมการค้างาช้างอย่างครบถ้วนสมบูรณ์ต่อไป โดยมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง คือ ทส. (กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช) มท. (กรมการปกครอง) และ กษ. (กรมปศุสัตว์)
5.2 มาตรการระยะสั้น
5.2.1 การอาศัยอำนาจของพระราชบัญญัติทะเบียนพาณิชย์ พ.ศ. 2499 และพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. 2543 เพื่อออกประกาศ พณ.กำหนดให้บุคคลธรรมดาและห้างหุ้นส่วนที่มิใช่นิติบุคคลเป็นผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีตามกฎหมายว่าด้วยการบัญชีด้วย และออกประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กำหนดลักษณะของบัญชีสินค้าและเอกสารประกอบการลงบัญชีสินค้าของพาณิชยกิจที่เกี่ยวกับงาช้างเป็นการเฉพาะ
5.2.2 การอาศัยอำนาจของพระราชบัญญัติ โรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2499 เพื่อกำหนดเงื่อนไขเกี่ยวกับการออกใบอนุญาตค้างาช้างภายในประเทศ
5.2.3 การสนับสนุนการจัดทำข้อตกลงกับหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้อง เช่น กค. (กรมศุลกากร) เป็นต้น เกี่ยวกับการระงับคดี การจัดการและเก็บรักษาของกลางในคดีที่เกี่ยวกับงาช้างและสัตว์ป่าอื่นๆ เพื่อดำเนินการให้สอดคล้องตามอนุสัญญา CITES
5.2.4 การป้องกันและปราบปรามการลักลอบ ค้างาช้างทั้งระหว่างประเทศและภายใน ประเทศอย่างเคร่งครัด โดยความร่วมมือของหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้อง เช่น กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กรมศุลกากร กรมปศุสัตว์ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า สำนักงานตำรวจแห่งชาติ จังหวัดทุกจังหวัด เป็นต้น
5.2.5 การเผยแพร่ประชาสัมพันธ์แก่นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติอย่างต่อเนื่องในพื้นที่ท่าอากาศยานนานาชาติ บริเวณชายแดน โรงแรม และแหล่งท่องเที่ยวที่เป็นที่นิยมของชาวต่างชาติ โดยความร่วมมือของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย จังหวัดทุกจังหวัด เป็นต้น
6. ทส. พิจารณาแล้วเห็นว่าการดำเนินการในเรื่องนี้จะมีผลกระทบในแง่ผลดีโดยไม่มีผลเสียต่อนโยบายรัฐบาลและเศรษฐกิจโดยรวม คือ
6.1 เกิดภาพลักษณ์ที่ดีของรัฐบาลและประเทศในด้าน การอนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์ป่า ซึ่งเป็นประเด็นที่ได้รับความสนใจทั้งในระดับชาติและนานาชาติ
6.2 เกิดภาพลักษณ์ที่ดีในการดำเนินการให้เป็นไปตามพันธกรณีที่ไทยให้ความตกลงไว้
6.3 เป็นการสนับสนุนการค้างาช้างภายในประเทศที่ได้มาอย่างถูกต้องตามกฎหมาย ซึ่งเป็นการส่งเสริมการใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติให้เกิดประโยชน์สูงสุดโดยการสร้างงานและมูลค่าของสินค้า
6.4 หากประเทศไทยมีมาตรการควบคุมการค้างาช้างภายในประเทศที่มีประสิทธิภาพ จะสามารถรักษาตลาดการค้าพืชป่าและสัตว์ป่าในบัญชี CITES โดยเฉพาะอย่างยิ่งกล้วยไม้ และพันธุ์ไม้ต่างๆ ตลอดจนผลิตภัณฑ์เครื่องหนังจากสัตว์ป่า เนื่องจากการระงับการค้าจะห้ามค้าพืชป่าและสัตว์ป่าทุกชนิดในบัญชี CITES จะนำมา ซึ่งความสูญเสียมูลค่าเศรษฐกิจจำนวนมาก
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 22 มกราคม 2551--จบ--
1. รับทราบผลการประชุมภาคีอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ (CITES) ครั้งที่ 14 การประชุมโต๊ะกลมระดับรัฐมนตรี (Ministerial Round Table) การประชุมภาคีอนุสัญญา CITES ของทวีปเอเซีย (Asia Regional Meeting) การประชุมคณะกรรมการบริหารอนุสัญญา CITES ครั้งที่ 55 (55th Standing Committee) และการประชุมคณะกรรมการบริหารอนุสัญญา ครั้งที่ 56(56th Standing Committee)
2. เห็นชอบในหลักการให้ดำเนินมาตรการควบคุมการค้างาช้างภายในประเทศ โดยให้ ทส. (กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช) เป็นหน่วยงานหลักเพื่อประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
2.1 ทส. กระทรวงมหาดไทย (มท.) (กรมการปกครอง) และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) (กรมปศุสัตว์) พิจารณาปรับปรุงแก้ไขกฎหมาย ที่เกี่ยวข้องให้ครอบคลุมถึงงาช้างบ้านและการควบคุมการค้างาช้าง เพื่อให้สามารถกำหนดมาตรการควบคุมการค้างาช้างอย่างครบถ้วนสมบูรณ์ต่อไป
2.2 กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) ให้การสนับสนุนพิจารณาทบทวนออกประกาศ พณ. กำหนดให้บุคคลธรรมดาและห้างหุ้นส่วนที่มิใช่นิติบุคคลเป็นผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีตามพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. 2543 และออกประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กำหนดลักษณะของบัญชีสินค้าและเอกสารประกอบการลงบัญชีสินค้าของพาณิชยกิจที่เกี่ยวกับงาช้างเป็นการเฉพาะ
2.3 กรมปศุสัตว์ให้ความร่วมมือในการกำหนดเงื่อนไขเกี่ยวกับการออกใบอนุญาตค้างาช้างภายในประเทศ ตามพระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2499
2.4 กระทรวงการคลัง (กค.) (กรมศุลกากร) ให้การสนับสนุนการจัดทำข้อตกลงเกี่ยวกับการระงับคดี การจัดการและเก็บรักษาของกลางในคดีที่เกี่ยวกับงาช้างและสัตว์ป่าอื่นๆ เพื่อดำเนินการให้สอดคล้องตามอนุสัญญา CITES
2.5 บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) และการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ให้ความร่วมมือในการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ โดยการรณรงค์ไม่ให้ซื้องาช้างจากประเทศไทย
2.6 สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กรมศุลกากร และ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) ให้ความร่วมมือในการป้องกันและปราบปรามการลักลอบค้างาช้างอย่างเคร่งครัด
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรายงานว่า
1. คณะผู้แทนประเทศไทยได้เข้าประชุมภาคีอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ (CITES) ครั้งที่ 14 (CITES CoP14) ระหว่างวันที่ 3 -15 มิถุนายน 2550 ณ กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ พร้อมนี้ได้เข้าประชุมอื่นๆ ที่จัดขึ้นในระหว่างการประชุมข้างต้น ได้แก่ การประชุมโต๊ะกลมระดับรัฐมนตรี (Ministerial Round Table) การประชุมภาคีอนุสัญญา CITES ของภูมิภาคเอเซีย (Asia Regional Meeting) การประชุมคณะกรรมการบริหารอนุสัญญา CITES ครั้งที่ 55 (55th Standing Committee) และการประชุมคณะกรรมการบริหารอนุสัญญา ครั้งที่ 56 (56th Standing Committee)
2. ที่ประชุมภาคีอนุสัญญา CITES ครั้งที่ 14 มีมติเห็นชอบแผนปฏิบัติการว่าด้วยการควบคุมการค้างาช้าง (Action Plan for the Control of Trade in elephant ivory) ตามข้อตัดสินใจที่ 13.26 (แก้ไข CoP14) ซึ่งมีประเด็นสำคัญในส่วนที่เกี่ยวข้อง คือ ระบุชื่อประเทศไทย เป็นประเทศในกลุ่มที่ต้องให้ความสำคัญ ในลำดับต้นในการติดตามตรวจสอบการดำเนินการควบคุมการค้างาช้างภายในประเทศ โดยหากประเทศดังกล่าวไม่ดำเนินการให้เป็นไปตามแผนปฏิบัติการนี้ จะเป็นผลให้ถูกระงับการค้าสัตว์ป่าและพืชป่าในบัญชีอนุสัญญา CITES ได้ ทั้งนี้ ประเทศภาคีที่มีการค้างาช้างภายในประเทศ ต้องกำหนดมาตรการควบคุมการค้างาช้างภายในประเทศที่มีประสิทธิภาพ ไม่ให้มีการลักลอบค้าระหว่างประเทศได้ โดยต้องดำเนินการควบคุมการค้างาช้างดังกล่าวให้เป็นไปตามมติที่ประชุมที่ 10.10 (แก้ไข CoP14) เรื่อง การค้าตัวอย่างพันธุ์ช้าง ดังนี้
2.1 ต้องมีระบบการจดทะเบียน และการอนุญาต ผู้นำเข้า โรงงานผลิต ผู้ค้าส่ง และผู้ค้าปลีก งาช้างดิบ งาช้างกึ่งแปรรูป และผลิตภัณฑ์งาช้าง
2.2 ต้องมีการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ข้อมูล โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระดับตลาดค้าปลีกเพื่อประชาสัมพันธ์แก่นักท่องเที่ยวและผู้ที่มีสัญชาติอื่นๆ เพื่อรณรงค์ไม่ให้ซื้องาช้าง เนื่องจากเป็นการผิดกฎหมายในการนำงาช้างเข้าประเทศของตนเอง
2.3 ต้องมีมาตรการบันทึกข้อมูลและตรวจสอบ ที่ให้หน่วยงานด้านการจัดการของอนุสัญญาCITES หรือ หน่วยงานของรัฐที่เหมาะสม สามารถติดตามการเคลื่อนย้ายของงาช้างภายในประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีของ
1) การควบคุมการค้างาช้างดิบที่เข้มงวด และ
2) ระบบการรายงานที่ตรวจสอบได้อย่างมีประสิทธิภาพและเข้มงวด และมีระบบการบังคับใช้กฎหมายสำหรับการค้าผลิตภัณฑ์งาช้าง
3. ปัจจุบันประเทศไทยยังไม่มีมาตรการควบคุมการค้างาช้างภายในประเทศที่สอดคล้องตามแนวทางที่กำหนด หากไม่กำหนดมาตรการควบคุมดังกล่าวอาจทำให้ถูกระงับการค้าสัตว์ป่าและพืชป่าตามอนุสัญญา CITES ได้ ซึ่งจะเกิดความเสียหายในทางเศรษฐกิจของประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการค้ากล้วยไม้ พืชป่า และสัตว์ป่า ในบัญชี CITES และเกิดความเสียหายต่อภาพลักษณ์ของประเทศในด้านการอนุรักษ์สัตว์ป่าและการดำเนินการให้เป็นไปตามพันธะกรณีแห่งอนุสัญญา CITES
4. ช้างเอเชียในประเทศไทยมี 2 สถานะทางกฎหมาย คือ ช้างบ้าน ซึ่งเป็นสัตว์พาหนะตามพระราชบัญญัติสัตว์พาหนะ พ.ศ. 2482 และช้างป่าตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 ซึ่งไม่หมายความรวมถึงสัตว์พาหนะตามกฎหมายว่าด้วยสัตว์พาหนะ ในปัจจุบันงาช้างยังไม่มีกฎหมายควบคุมเป็นการเฉพาะ กล่าวคือพระราชบัญญัติสัตว์พาหนะ พ.ศ. 2482 ที่ควบคุมดูแลช้างบ้านซึ่งเป็นสัตว์พาหนะชนิดหนึ่ง มิได้มีบทบัญญัติที่ครอบคลุมถึงงาของช้างดังกล่าวแต่อย่างใด และช้างบ้านที่เป็นสัตว์พาหนะตามกฎหมายดังกล่าวมิใช่สัตว์ป่าตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 ดังนั้นจึงไม่มีกฎหมายเฉพาะที่จะอาศัยอำนาจเพื่อควบคุมการค้างาช้างบ้านได้ ประเทศไทยจึงมีการค้างาช้างโดยที่ไม่มีการควบคุมดูแล โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้อกำหนดเกี่ยวกับที่มาของงาช้าง และเป็นช่องทางของการนำงาช้างที่ผิดกฎหมาย ได้แก่ งาช้างป่า และงาช้าง แอฟริกา มาปะปน โดยที่กล่าวอ้างว่าเป็นงาของช้างบ้าน
อย่างไรก็ตาม เพื่อให้การดำเนินการเป็นไปตามข้อกำหนดโดยไม่ล่าช้า กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ในฐานะหน่วยงานหลักที่รับผิดชอบงานอนุสัญญา CITES ได้ประสานงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่ออาศัยฐานอำนาจตามกฎหมายที่บังคับใช้อยู่แล้วดำเนินการไปพลางก่อนจนกว่าจะมีกฎหมายที่ควบคุมดูแลเป็นการเฉพาะ ได้แก่
4.1 การจดทะเบียน
- กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ออกประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง ให้ผู้ประกอบพาณิชยกิจต้องจดทะเบียนพาณิชย์ (ฉบับที่ 8) พ.ศ. 2547 กำหนดให้ผู้ประกอบการทั้งที่เป็นบุคคลธรรมดาและนิติบุคคลที่ประกอบพาณิชยกิจเกี่ยวกับงาช้างต้องจดทะเบียนพาณิชย์
- ขณะนี้อยู่ระหว่างการประสานงานกับกรมปศุสัตว์ เพื่อกำหนดเงื่อนไขเกี่ยวกับการออกใบอนุญาตค้างาช้างตามพระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2499
4.2 การเผยแพร่ประชาสัมพันธ์
- การจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ในบริเวณที่มีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ เพื่อรณรงค์มิให้ซื้องาช้างจากประเทศไทย ในบริเวณพื้นที่ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ตลาดนัดจตุจักร และด่านตรวจสัตว์ป่าชายแดนต่างๆ
- การจัดกิจกรรมประชาสัมพันธ์สร้างความเข้าใจเรื่องการควบคุมการค้างาช้างกับผู้ประกอบพาณิชยกิจเกี่ยวกับงาช้าง ในพื้นที่อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี กาญจนบุรี และกรุงเทพฯ ตลอดจนการประชุมหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ดังกล่าว
- การขอความร่วมมือจากจังหวัดทุกจังหวัดในการรณรงค์ เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ และปราบปรามการลักลอบค้างาช้าง
4.3 ระบบฐานข้อมูลและกระบวนการตรวจสอบ
- อยู่ระหว่างการเสนอให้ พณ. พิจารณาทบทวนออกประกาศ พณ. กำหนดให้บุคคลธรรมดาและห้างหุ้นส่วนที่มิใช่นิติบุคคลเป็นผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีตามพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. 2543 และออกประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กำหนดลักษณะของบัญชีสินค้าและเอกสารประกอบการลงบัญชีสินค้าของพาณิชยกิจที่เกี่ยวกับงาช้างเป็นการเฉพาะ
5. การดำเนินมาตรการควบคุมการค้างาช้างภายในประเทศเพื่อให้สอดคล้องตามมติที่ประชุมที่ 10.10 (แก้ไข CoP14) มีแนวทางดังนี้
5.1 มาตรการระยะยาว การปรับปรุงแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องให้ครอบคลุมถึงงาช้างบ้าน และการควบคุมการค้างาช้างภายในประเทศ เพื่อให้สามารถกำหนดมาตรการควบคุมการค้างาช้างอย่างครบถ้วนสมบูรณ์ต่อไป โดยมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง คือ ทส. (กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช) มท. (กรมการปกครอง) และ กษ. (กรมปศุสัตว์)
5.2 มาตรการระยะสั้น
5.2.1 การอาศัยอำนาจของพระราชบัญญัติทะเบียนพาณิชย์ พ.ศ. 2499 และพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. 2543 เพื่อออกประกาศ พณ.กำหนดให้บุคคลธรรมดาและห้างหุ้นส่วนที่มิใช่นิติบุคคลเป็นผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีตามกฎหมายว่าด้วยการบัญชีด้วย และออกประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กำหนดลักษณะของบัญชีสินค้าและเอกสารประกอบการลงบัญชีสินค้าของพาณิชยกิจที่เกี่ยวกับงาช้างเป็นการเฉพาะ
5.2.2 การอาศัยอำนาจของพระราชบัญญัติ โรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2499 เพื่อกำหนดเงื่อนไขเกี่ยวกับการออกใบอนุญาตค้างาช้างภายในประเทศ
5.2.3 การสนับสนุนการจัดทำข้อตกลงกับหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้อง เช่น กค. (กรมศุลกากร) เป็นต้น เกี่ยวกับการระงับคดี การจัดการและเก็บรักษาของกลางในคดีที่เกี่ยวกับงาช้างและสัตว์ป่าอื่นๆ เพื่อดำเนินการให้สอดคล้องตามอนุสัญญา CITES
5.2.4 การป้องกันและปราบปรามการลักลอบ ค้างาช้างทั้งระหว่างประเทศและภายใน ประเทศอย่างเคร่งครัด โดยความร่วมมือของหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้อง เช่น กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กรมศุลกากร กรมปศุสัตว์ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า สำนักงานตำรวจแห่งชาติ จังหวัดทุกจังหวัด เป็นต้น
5.2.5 การเผยแพร่ประชาสัมพันธ์แก่นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติอย่างต่อเนื่องในพื้นที่ท่าอากาศยานนานาชาติ บริเวณชายแดน โรงแรม และแหล่งท่องเที่ยวที่เป็นที่นิยมของชาวต่างชาติ โดยความร่วมมือของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย จังหวัดทุกจังหวัด เป็นต้น
6. ทส. พิจารณาแล้วเห็นว่าการดำเนินการในเรื่องนี้จะมีผลกระทบในแง่ผลดีโดยไม่มีผลเสียต่อนโยบายรัฐบาลและเศรษฐกิจโดยรวม คือ
6.1 เกิดภาพลักษณ์ที่ดีของรัฐบาลและประเทศในด้าน การอนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์ป่า ซึ่งเป็นประเด็นที่ได้รับความสนใจทั้งในระดับชาติและนานาชาติ
6.2 เกิดภาพลักษณ์ที่ดีในการดำเนินการให้เป็นไปตามพันธกรณีที่ไทยให้ความตกลงไว้
6.3 เป็นการสนับสนุนการค้างาช้างภายในประเทศที่ได้มาอย่างถูกต้องตามกฎหมาย ซึ่งเป็นการส่งเสริมการใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติให้เกิดประโยชน์สูงสุดโดยการสร้างงานและมูลค่าของสินค้า
6.4 หากประเทศไทยมีมาตรการควบคุมการค้างาช้างภายในประเทศที่มีประสิทธิภาพ จะสามารถรักษาตลาดการค้าพืชป่าและสัตว์ป่าในบัญชี CITES โดยเฉพาะอย่างยิ่งกล้วยไม้ และพันธุ์ไม้ต่างๆ ตลอดจนผลิตภัณฑ์เครื่องหนังจากสัตว์ป่า เนื่องจากการระงับการค้าจะห้ามค้าพืชป่าและสัตว์ป่าทุกชนิดในบัญชี CITES จะนำมา ซึ่งความสูญเสียมูลค่าเศรษฐกิจจำนวนมาก
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 22 มกราคม 2551--จบ--