คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงแรงงานรายงานผลการประชุมว่าด้วยความร่วมมือด้านการจ้างแรงงานไทย-กัมพูชา ระดับรัฐมนตรี ครั้งที่ 3 และระดับเจ้าหน้าที่อาวุโส ครั้งที่ 6 ระหว่างวันที่ 28 พฤศจิกายน — วันที่ 1 ธันวาคม 2550 ณ เมืองเสียมราฐ ประเทศกัมพูชา ซึ่งมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานเป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทย
กระทรวงแรงงานรายงานว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน (นายอภัย จันทนจุลกะ) ในฐานะหัวหน้าคณะผู้แทนฝ่ายไทย พร้อมด้วยองค์คณะผู้แทนไทยได้เข้าร่วมการประชุมว่าด้วยความร่วมมือด้านการจ้างแรงงานไทย-กัมพูชา ระดับรัฐมนตรี ครั้งที่ 3 และระดับเจ้าหน้าที่อาวุโส ครั้งที่ 6 ระหว่างวันที่ 28 พฤศจิกายน — วันที่ 1 ธันวาคม 2550 ณ เมืองเสียมราฐ ประเทศกัมพูชา ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลและกำหนดแนวทางการพิสูจน์สัญชาติและการออกเอกสารรับรองบุคคล (C.I) ให้แก่แรงงานกัมพูชาที่ทำงานในประเทศไทย มีผลการประชุมโดยสรุป ดังนี้
1. การพิสูจน์สัญชาติ ทั้งสองฝ่ายเห็นชอบให้ฝ่ายกัมพูชาเข้ามาดำเนินการพิสูจน์สัญชาติและออกเอกสารรับรองบุคคล (C.I) ให้แก่แรงงานกัมพูชาซึ่งมีเลขประจำตัว 13 หลักที่กระทรวงมหาดไทยของไทยออกให้และได้รับใบอนุญาตทำงานซึ่งออกโดยกระทรวงแรงงานของไทย โดยให้ดำเนินการไปจนถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2551 และหากจำเป็นต้องขยายเวลาการดำเนินการต่อไปอีก ให้ทั้งสองฝ่ายประชุมหารือความจำเป็นอีกครั้ง
2. การส่งกลับแรงงานกัมพูชา ทั้งสองฝ่ายเห็นชอบให้จัดตั้งคณะทำงานร่วมมือกันกำหนดแนวทางการส่งกลับแรงงานกัมพูชาให้เหมาะสมและเป็นธรรม และให้แลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อกำหนดขั้นตอนการส่งกลับ ความสามารถในการรับ — ส่งแรงงานกลับประเทศกัมพูชาในแต่ละครั้ง สถานที่รองรับการส่งกลับ หน่วยงานที่จะรับดำเนินการรวมทั้งระยะเวลา เอกสาร และค่าใช้จ่ายในการดำเนินการเพื่อกลับเข้ามาทำงานในประเทศไทยอย่างถูกต้องตามกฎหมาย
3. การจัดระบบการจ้างงานลักษณะไป-กลับ และการเข้ามาทำงานตามฤดูกาลบริเวณชายแดน ทั้งสองฝ่ายเห็นชอบให้จัดตั้งคณะทำงานด้านวิชาการของทั้งสองฝ่ายประกอบด้วยผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อจัดทำข้อตกลงระหว่างรัฐบาลของสองประเทศเกี่ยวกับการข้ามแดนเพื่อเข้ามาทำงานลักษณะไป-กลับ และทำงานตามฤดูกาลบริเวณชายแดน โดยจะจัดทำเอกสารข้ามแดนเพื่อมาทำงาน รวมทั้งกำหนดรายละเอียดขั้นตอนและกฎหมายที่เกี่ยวข้องให้มีผลในทางปฏิบัติโดยเร็ว
4. เรื่องอื่น ๆ ฝ่ายกัมพูชาเสนอให้ฝ่ายไทยพิจารณาในประเด็นเกี่ยวกับการขอรับความช่วยเหลือด้านโปรแกรมคอมพิวเตอร์และการจัดทำฐานข้อมูลการเดินทางเข้าออกของแรงงานกัมพูชาเพื่อให้ทางการกัมพูชาสามารถประสานงานกับฝ่ายไทยได้โดยใช้ฐานข้อมูลชนิดเดียวกัน รวมทั้งแจ้งให้ทราบเกี่ยวกับความยุ่งยากของแรงงานกัมพูชาในประเทศไทยที่ต้องรายงานตัวทุก 90 วัน ณ ด่านตรวจคนเข้าเมือง ส่วนฝ่ายไทยเสนอให้ฝ่ายกัมพูชาพิจารณาในประเด็นเกี่ยวกับการจัดทำฐานข้อมูลการเดินทางเข้าออกของแรงงานกัมพูชาและการสนับสนุนด้านโปรแกรมคอมพิวเตอร์ โดยฝ่ายไทยจะนำไปพิจารณาและแจ้งให้ฝ่ายกัมพูชาทราบต่อไป รวมทั้งแจ้งให้ทราบว่ากรณีการรายงานตัวของแรงงานกัมพูชาตามที่กฎระเบียบกำหนดนั้น เป็นการปฏิบัติเช่นเดียวกับคนต่างชาติอื่นที่ทำงานหรือทำธุรกิจในประเทศไทย ทั้งนี้ นายจ้างสามารถช่วยเหลือแรงงานกัมพูชาได้โดยดาวน์โหลดแบบฟอร์มการรายงานตัวได้จากเว็บไซต์ www.immigration.go.th และกรอกแบบฟอร์มให้สมบูรณ์พร้อมแนบเอกสารตามที่ระบุส่งมาที่สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 22 มกราคม 2551--จบ--
กระทรวงแรงงานรายงานว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน (นายอภัย จันทนจุลกะ) ในฐานะหัวหน้าคณะผู้แทนฝ่ายไทย พร้อมด้วยองค์คณะผู้แทนไทยได้เข้าร่วมการประชุมว่าด้วยความร่วมมือด้านการจ้างแรงงานไทย-กัมพูชา ระดับรัฐมนตรี ครั้งที่ 3 และระดับเจ้าหน้าที่อาวุโส ครั้งที่ 6 ระหว่างวันที่ 28 พฤศจิกายน — วันที่ 1 ธันวาคม 2550 ณ เมืองเสียมราฐ ประเทศกัมพูชา ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลและกำหนดแนวทางการพิสูจน์สัญชาติและการออกเอกสารรับรองบุคคล (C.I) ให้แก่แรงงานกัมพูชาที่ทำงานในประเทศไทย มีผลการประชุมโดยสรุป ดังนี้
1. การพิสูจน์สัญชาติ ทั้งสองฝ่ายเห็นชอบให้ฝ่ายกัมพูชาเข้ามาดำเนินการพิสูจน์สัญชาติและออกเอกสารรับรองบุคคล (C.I) ให้แก่แรงงานกัมพูชาซึ่งมีเลขประจำตัว 13 หลักที่กระทรวงมหาดไทยของไทยออกให้และได้รับใบอนุญาตทำงานซึ่งออกโดยกระทรวงแรงงานของไทย โดยให้ดำเนินการไปจนถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2551 และหากจำเป็นต้องขยายเวลาการดำเนินการต่อไปอีก ให้ทั้งสองฝ่ายประชุมหารือความจำเป็นอีกครั้ง
2. การส่งกลับแรงงานกัมพูชา ทั้งสองฝ่ายเห็นชอบให้จัดตั้งคณะทำงานร่วมมือกันกำหนดแนวทางการส่งกลับแรงงานกัมพูชาให้เหมาะสมและเป็นธรรม และให้แลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อกำหนดขั้นตอนการส่งกลับ ความสามารถในการรับ — ส่งแรงงานกลับประเทศกัมพูชาในแต่ละครั้ง สถานที่รองรับการส่งกลับ หน่วยงานที่จะรับดำเนินการรวมทั้งระยะเวลา เอกสาร และค่าใช้จ่ายในการดำเนินการเพื่อกลับเข้ามาทำงานในประเทศไทยอย่างถูกต้องตามกฎหมาย
3. การจัดระบบการจ้างงานลักษณะไป-กลับ และการเข้ามาทำงานตามฤดูกาลบริเวณชายแดน ทั้งสองฝ่ายเห็นชอบให้จัดตั้งคณะทำงานด้านวิชาการของทั้งสองฝ่ายประกอบด้วยผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อจัดทำข้อตกลงระหว่างรัฐบาลของสองประเทศเกี่ยวกับการข้ามแดนเพื่อเข้ามาทำงานลักษณะไป-กลับ และทำงานตามฤดูกาลบริเวณชายแดน โดยจะจัดทำเอกสารข้ามแดนเพื่อมาทำงาน รวมทั้งกำหนดรายละเอียดขั้นตอนและกฎหมายที่เกี่ยวข้องให้มีผลในทางปฏิบัติโดยเร็ว
4. เรื่องอื่น ๆ ฝ่ายกัมพูชาเสนอให้ฝ่ายไทยพิจารณาในประเด็นเกี่ยวกับการขอรับความช่วยเหลือด้านโปรแกรมคอมพิวเตอร์และการจัดทำฐานข้อมูลการเดินทางเข้าออกของแรงงานกัมพูชาเพื่อให้ทางการกัมพูชาสามารถประสานงานกับฝ่ายไทยได้โดยใช้ฐานข้อมูลชนิดเดียวกัน รวมทั้งแจ้งให้ทราบเกี่ยวกับความยุ่งยากของแรงงานกัมพูชาในประเทศไทยที่ต้องรายงานตัวทุก 90 วัน ณ ด่านตรวจคนเข้าเมือง ส่วนฝ่ายไทยเสนอให้ฝ่ายกัมพูชาพิจารณาในประเด็นเกี่ยวกับการจัดทำฐานข้อมูลการเดินทางเข้าออกของแรงงานกัมพูชาและการสนับสนุนด้านโปรแกรมคอมพิวเตอร์ โดยฝ่ายไทยจะนำไปพิจารณาและแจ้งให้ฝ่ายกัมพูชาทราบต่อไป รวมทั้งแจ้งให้ทราบว่ากรณีการรายงานตัวของแรงงานกัมพูชาตามที่กฎระเบียบกำหนดนั้น เป็นการปฏิบัติเช่นเดียวกับคนต่างชาติอื่นที่ทำงานหรือทำธุรกิจในประเทศไทย ทั้งนี้ นายจ้างสามารถช่วยเหลือแรงงานกัมพูชาได้โดยดาวน์โหลดแบบฟอร์มการรายงานตัวได้จากเว็บไซต์ www.immigration.go.th และกรอกแบบฟอร์มให้สมบูรณ์พร้อมแนบเอกสารตามที่ระบุส่งมาที่สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 22 มกราคม 2551--จบ--