1. เห็นชอบในหลักการการดำเนินโครงการประกันภัยข้าวนาปี ปีการผลิต 2562 ตามมติคณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการข้าว (นบข.) ซึ่งเป็นการดำเนินงานต่อเนื่องจากโครงการฯ ปีการผลิต 2561 ภายใต้วงเงินงบประมาณจำนวน 1,740.60 ล้านบาท โดยใช้เงินงบประมาณคงเหลือในส่วนที่ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ได้เบิกจ่ายจากสำนักงบประมาณ (สงป.) เพื่อดำเนินโครงการฯ ในปีการผลิต 2561 จำนวน 164.25 ล้านบาท และเสนอของบประมาณเพิ่มเติมจำนวน 1,576.35 ล้านบาท
2. เห็นชอบให้ ธ.ก.ส. ทดรองจ่ายเงินอุดหนุนค่าเบี้ยประกันภัยแทนรัฐบาลในส่วนของงบประมาณเพิ่มเติมม 1,576.35 ล้านบาท และเบิกเงินชดเชยตามจำนวนที่จ่ายจริงพร้อมด้วยอัตราเฉลี่ยดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 6 เดือน ประเภทบุคคลธรรมดาของ 4 ธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ (FDR) บวกร้อยละ 1 ต่อปี ในปีงบประมาณถัดไปให้กับ ธ.ก.ส.
3. มอบหมายให้ ธ.ก.ส. ดำเนินการขายกรมธรรม์ประกันภัยข้าวนาปี ปีการผลิต 2562 ให้ได้ตามเป้าหมายและตามกำหนดเวลาการเอาประกันภัยของเกษตรกรทั้งในส่วนที่ 1 และส่วนที่ 2 (Tier 1 และ Tier 2) พร้อมทั้งให้ ธ.ก.ส. บริหารจัดการความเสี่ยงในแต่ละพื้นที่ให้สอดคล้องกับหลักการประกันภัยและร่วมกับสมาคมประกันวินาศภัยไทย (สมาคมฯ) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการดำเนินการประชาสัมพันธ์โครงการฯ รวมทั้งให้ความรู้ด้านการประกันภัยแก่เกษตรกรและบุคคลที่เกี่ยวข้องเพื่อสร้างความตระหนักรู้ในความสำคัญของการประกันภัย
4. มอบหมายให้กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) ประสานงานกับ ธ.ก.ส. และสมาคมฯ ดำเนินการเชื่อมโยงข้อมูลเอกสารทะเบียนเกษตรกรแบบประมวลรวบรวมความเสียหายและการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ประสบภัย (แบบ กษ 02) และแบบรายงานข้อมูลความเสียหายจริงของเกษตรกร (แบบ กษ 02 เพื่อการประกันภัย) ตลอดจนดำเนินการเพื่อให้มีการปรับปรุงประสิทธิภาพและระบบฐานข้อมูลสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับโครงการฯ เพื่อรองรับการเพิ่มพื้นที่เป้าหมาย และรองรับการจ่ายค่าสินไหมทดแทนให้รวดเร็วและถูกต้องมากขึ้น พร้อมทั้งให้กรมส่งเสริมการเกษตรเก็บข้อมูลพื้นที่ประสบภัย ตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ. 2556 โดยแยกประเภทพืชต่าง ๆ ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้เตรียมการดำเนินการในเบื้องต้นแล้ว
5. มอบหมายให้กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย (มท.) และกรุงเทพมหานครดำเนินการแต่งตั้งคณะกรรมการในการตรวจสอบเกษตรกรที่ได้รับความเสียหายแต่มิได้อยู่ในเขตพื้นที่ที่มีการประกาศเขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน (คณะกรรมการฯ) ตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ. 2556 เช่นเดียวกับการดำเนินการของโครงการฯ ในปีการผลิต 2559 - 2561 และให้คณะกรรมการดังกล่าวดำเนินการรับรองความเสียหายของเกษตรกรในกลุ่มข้างต้น และจัดส่งข้อมูลให้ ธ.ก.ส. และสมาคมฯ เพื่อพิจารณาดำเนินการช่วยเหลือเยียวยาต่อไป
6. มอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (สำนักงาน คปภ.) ปรับปรุงกรมธรรม์ประกันภัยข้าวนาปีให้เป็นไปตามรูปแบบและหลักเกณฑ์ของการรับประกันภัยของโครงการฯ ปีการผลิต 2562 รวมทั้งอนุมัติกรมธรรม์และอัตราเบี้ยประกันภัยให้แล้วเสร็จและสามารถเริ่มรับประกันภัยในปีการผลิต 2562 ได้ทันทีภายหลังคณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบโครงการฯ ปีการผลิต 2562 และดำเนินการสร้างความรู้ความเข้าใจ ตลอดจนประชาสัมพันธ์โครงการฯ ปีการผลิต 2562 ในภาพรวมและเชิงรุกร่วมกันร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
7. มอบหมายให้สมาคมฯ ประสานงานกับ ธ.ก.ส. กรมส่งเสริมสหกรณ์และกรมส่งเสริมการเกษตร กษ. พัฒนาระบบการประกันภัยและการจ่ายค่าสินไหมทดแทน ตลอดจนดำเนินการประชาสัมพันธ์โครงการฯ ปีการผลิต 2562 เพื่อให้เกษตรกรผู้เอาประกันภัยได้รับประโยชน์สูงสุด
สาระสำคัญของเรื่อง
1. การดำเนินโครงการประกันภัยข้าวนาปี ปีการผลิต 2561 ประสบความสำเร็จอย่างสูงเมื่อเทียบกับปีการผลิต 2559 และปีการผลิต 2560 โดย ณ วันสิ้นสุดการจำหน่ายกรมธรรม์ (15 ธันวาคม 2561) มีจำนวนเกษตรกรผู้เอาประกันภัย 1.92 ล้านราย จำนวนพื้นที่เข้าร่วมโครงการ 27.60 ล้านไร่ หรือคิดเป็นร้อยละ 92 ของจำนวนพื้นที่เป้าหมายสูงสุด 30 ล้านไร่ และคิดเป็นร้อยละ 47 ของพื้นที่เพาะปลูกข้าวนาปีทั้งประเทศ
2. เพื่อให้โครงการดังกล่าวสามารถดำเนินการได้อย่างสอดคล้องกับฤดูกาลเพาะปลูกข้าวนาปีของเกษตรกรซึ่งจะเริ่มต้นตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2562 เป็นต้นไป และเพื่อให้เกษตรกรเข้าร่วมโครงการฯ อย่างทั่วถึงรวมทั้งได้รับความคุ้มครองตลอดระยะเวลาการปลูกข้าวนาปีทั้งฤดูการผลิตเพื่อลดผลกระทบที่เกิดจากปรากฏการณ์ธรรมชาติและความแปรปรวนของสภาพภูมิอากาศที่ยังคงมีความถี่และความรุนแรงมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง กค.ได้ดำเนินโครงการฯ ปีการผลิต 2562 ดังนี้
2.1 กค. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ร่วมกันพิจารณาแนวทางการดำเนินโครงการฯ โดย
(1) กำหนดหลักการให้เกษตรกรที่เป็นลูกค้าสินเชื่อเพื่อการเพาะปลูกข้าวนาปีของ ธ.ก.ส. และเกษตรกรทั่วไปได้รับความคุ้มครองจากระบบการประกันภัยตามกฎของจำนวนมาก (Law of Large Numbers) (กฎของจำนวนมาก คือ การใช้ข้อมูลจากสถิติในอดีต เพื่อคาดการณ์ผลที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เมื่อเรามีจำนวนข้อมูลของเหตุการณ์ที่เคยเกิดขึ้นแล้วในอดีตมากขึ้น ย่อมทำให้เราสามารถคาดการณ์ได้ถูกต้องและแม่นยำมากขึ้นไปด้วยนั่นจึงเป็นการลดความเสี่ยงของการคาดการณ์ที่ผิดนั่นเอง) เช่นเดียวกับการดำเนินโครงการฯ ในปีการผลิต 2559 - 2561 และ
(2) ปรับปรุงและพัฒนารูปแบบการดำเนินโครงการฯ เพื่อให้เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการฯ มีส่วนร่วมในการรับภาระค่าเบี้ยประกันภัยโดยสามารถขอเอาประกันภัยเพื่อรับความคุ้มครองเพิ่มเติมจากส่วนที่ภาครัฐให้การอุดหนุนอัตราค่าเบี้ยประกันภัย ซึ่งเป็นการดำเนินการตามนัยมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 10 เมษายน 2561
2.2 กค. ได้นำโครงการประกันภัยข้าวนาปี ปีการผลิต 2562 เสนอ นบข. ในคราวประชุมครั้งที่ 7/2561 เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2561 โดยที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบให้ ธ.ก.ส. ดำเนินโครงการฯ ปีการผลิต 2562 และมอบหมายให้ กค. นำโครงการดังกล่าวเสนอคณะรัฐมนตรี ซึ่งรายละเอียดของโครงการฯ ปีการผลิต 2562 สรุปได้ดังนี้
หัวข้อ / รายละเอียด
1. วัตถุประสงค์ ?
เพื่อให้เกษตรกรมีเครื่องมือในการบริหารจัดการความเสี่ยงด้านภัยพิบัติผ่านระบบการประกันภัย และเป็นการต่อยอดความช่วยเหลือของภาครัฐตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ. 2556 เพื่อรองรับต้นทุนในการเพาะปลูกข้าวให้กับเกษตรกรเมื่อประสบเหตุภัยพิบัติทางธรรมชาติ รวมทั้งเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้จ่ายงบประมาณของภาครัฐ
การรับประกันภัยพื้นฐาน (Tier 1)
พื้นที่รวมไม่เกิน 30 ล้านไร่ แบ่งเป็น
(1) กลุ่มเกษตรกรลูกค้า ธ.ก.ส. ไม่เกิน 28 ล้านไร่
(2) กลุ่มเกษตรกรทั่วไป ไม่เกิน 2 ล้านไร่
การรับประกันภัยร่วมจ่ายโดยสมัครใจ (Tier 2)
พื้นที่ไม่เกิน 5 ล้านไร่
Tier 1
อัตราเท่ากันทุกพื้นที่
85 บาท/ไร่ (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่มและอากรแสตมป์) รัฐบาลอุดหนุน 51 บาท และ ธ.ก.ส. อุดหนุน 34 บาท
92.02 บาท/ไร่(รวมภาษีมูลค่าเพิ่มและอากรแสตมป์)
กลุ่ม (1) รัฐบาลอุดหนุน 58.02 บาท ธ.ก.ส. อุดหนุน 34 บาท
กลุ่มที่ (2) รัฐบาลอุดหนุน 58.02 บาท เกษตรกรจ่ายเอง 34 บาท
Tier 2
กลุ่ม (1) และ (2) จ่ายเพิ่มจาก Tier 1
ในอัตราที่แตกต่างกันตามความเสี่ยงของแต่ละพื้นที่
ความเสี่ยงต่ำ 6.42 บาท/ไร่
ความเสี่ยงปานกลาง 17.12 บาท/ไร่
ความเสี่ยงสูง 27.82 บาท/ไร่
(รวมภาษีมูลค่าเพิ่มและอากรแสตมป์)
4. ระยะเวลาการ ขายประกัน ?
ตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติให้ความเห็นชอบโครงการฯ – วันที่ 30 มิถุนายน 2562 ยกเว้นภาคใต้ ถึงวันที่ 15 ธันวาคม 2562
พื้นที่ / ภัยธรรมชาติ 7 ภัย(น้ำท่วมหรือฝนตกหนัก ภัยแล้ง ฝนแล้งหรือฝนทิ้งช่วง ลมพายุหรือพายุไต้ฝุ่น ภัยอากาศหนาว หรือน้ำค้างแข็ง ลูกเห็บ ไฟไหม้ และภัยช้างป่า*) / ภัยศัตรูพืชหรือโรคระบาด
Tier 1 1,260 บาท/ไร่ 630 บาท/ไร่ Tier 2 240 บาท/ไร่ 120 บาท/ไร่
รวม ไม่เกิน 1,500 บาท/ไร่ 750 บาท/ไร่
ภายในวงเงิน 1,740.60 ล้านบาท (คิดจากพื้นที่เป้าหมาย 30 ล้านไร่) โดยแบ่งเป็น
1) ใช้จ่ายจากงบประมาณคงเหลือจากการดำเนินโครงการ ฯ ในปีการผลิต 2561 จำนวน 164.25 ล้านบาท
2) ให้ ธ.ก.ส. ทดรองจ่ายแทนรัฐบาลไปก่อนและรัฐบาลจัดค่าชดเชยต้นทุนเงินให้ในอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 6 เดือน ประเภทบุคคลธรรมดาของ 4 ธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ (FDR) บวกร้อยละ 1 จำนวน 1,576.35 ล้านบาท
จ่ายตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยเงินช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ. 2556 และจ่ายเพิ่มเติมกรณีที่เสียหายจริงแต่ไม่อยู่ในเขตประกาศภัยตามที่ราชการกำหนด โดยวิธีการประเมินรายบุคคล
(1) เกษตรที่เป็นลูกค้าสินเชื่อ ธ.ก.ส. (กลุ่ม Tier 1) ซึ่งได้รับการอนุมัติสินเชื่อทั้งหมดในการเพาะปลูกเริ่มตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบโครงการ ฯ ทั้งนี้ หากประสงค์เอาประกันภัยเพิ่มในกลุ่ม Tier 2 จะเริ่มตั้งแต่วันที่เกษตรกรขอเอาประกันภัย
(2) เกษตรกรที่เป็นลูกค้าสินเชื่อ ธ.ก.ส. ซึ่งได้รับการอนุมัติสินเชื่อบางส่วนและประสงค์จะเอาประกันภัยเพิ่มเติม โดยรับภาระค่าเบี้ยประกันเองทั้งในกลุ่ม Tier 1 และ Tier 2 เริ่มตั้งแต่วันที่เกษตรกรขอเอาประกันภัย
(3) กลุ่มเกษตรกรทั่วไป เริ่มตั้งแต่วันที่เกษตรกรขอเอาประกันภัย
หมายเหตุ * เป็นการคุ้มครองภัยธรรมชาติใหม่ที่เพิ่มขึ้นจากเดิมของโครงการฯ ปีการผลิต 2561
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2562--