คณะรัฐมนตรีอนุมัติในหลักการโครงการเร่งรัดขยายทางหลวงหมายเลข 314 ตอน บางปะกง — ฉะเชิงเทรา จาก 4 ช่องจราจร เป็น 8 ช่องจราจร ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ และมอบหมายให้กระทรวงคมนาคมโดยกรมทางหลวงจัดทำแผนการดำเนินการและแผนการใช้จ่ายเงินอย่างละเอียดชัดเจนและขอทำความตกลงกับสำนักงบประมาณต่อไป ทั้งนี้ การดำเนินโครงการดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของโครงข่ายทางหลวงที่เชื่อมโยงกับทางสายหลักของกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกและอีสานตอนใต้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจะต้องรองรับการจราจรในเส้นทางที่จะไปยังสนามบินสุวรรณภูมิ ซึ่งมีกำหนดเปิดใช้สนามบินในปี 2548
กระทรวงคมนาคมรายงานว่า
1. เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2547 นายกรัฐมนตรีได้เดินทางไปตรวจราชการที่จังหวัดฉะเชิงเทรา ตามที่ได้รับ ข้อร้องเรียนจากราษฎรจำนวนมากขอให้ช่วยเร่งรัดโครงการขยายทางหลวงหมายเลข 314 ตอน บางปะกง — ฉะเชิงเทรา ให้เป็น 6 ช่องทางจราจร เนื่องจากการจราจรเริ่มหนาแน่นและติดขัดมาก
2. รองนายกรัฐมนตรี (นายจาตุรนต์ ฉายแสง) ในฐานะกำกับติดตามการปฏิบัติราชการในเขตตรวจราชการที่ 8 ของ สำนักนายกรัฐมนตรี เห็นว่ามีความจำเป็นต้องขยายช่องทางจราจรให้เป็น 6 ช่องทาง คาดว่าจะใช้งบประมาณทั้งสิ้น 500 ล้านบาท จึงได้นำโครงการดังกล่าวกราบเรียนนายกรัฐมนตรีเพื่อเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติในหลักการให้กรมทางหลวงดำเนินการสำรวจออกแบบ และก่อสร้างขยายทางหลวงหมายเลข 314 ตอน บางปะกง — ฉะเชิงเทรา กม. 0+000- กม. 18+000 ให้เป็น 6 ช่องจราจร โดยให้กรมทางหลวงขอทำความตกลงในรายละเอียดด้านการเงินกับสำนักงบประมาณตามความจำเป็นต่อไป
3. นายกรัฐมนตรีได้พิจารณาแล้ว มีคำสั่งให้ส่งเรื่องดังกล่าวให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมพิจารณามีความเห็นก่อนเสนอคณะรัฐมนตรี
4. กระทรวงคมนาคมโดยกรมทางหลวงพิจารณาเรื่องดังกล่าวแล้ว เห็นว่าการก่อสร้างขยายช่องจราจรจาก 4 ช่องจราจรเป็น 6 ช่องจราจรนั้น ยังคงมีความจำเป็น เพื่อให้เส้นทางสามารถให้บริการการจราจรปัจจุบันและอนาคตได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และปลอดภัย ซึ่งหากได้รับการจัดสรรงบประมาณตามที่รองนายกรัฐมนตรี (นายจาตุรนต์ ฉายแสง) ขอรับการสนับสนุน จำนวน 500 ล้านบาทแล้ว กรมทางหลวงจะได้ดำเนินการก่อสร้างขยายเป็นทาง 6 ช่องจราจรต่อไป โดยกรมทางหลวงได้ รายงานข้อมูลเพิ่มเติม ดังนี้
4.1 ทางสายดังกล่าว มีระยะทางประมาณ 22.7 กิโลเมตร เขตทางกว้าง 30.00 เมตร (ด้านซ้ายทาง 16.00 เมตร ขวาทาง 14.00 เมตร) ปริมาณการจราจร 25,911 คัน/วัน สองข้างทางมีย่านชุมชนตั้งอยู่ตลอดเส้นทาง ปัจจุบันทางช่วงผ่านเขตเทศบาลเมืองฉะเชิงเทรา ได้ทำการก่อสร้างเต็มรูปแบบแล้ว คงเหลือช่วงที่เป็นทาง 4 ช่องจราจร ระหว่าง กม. 0+000 - กม. 19+500 ระยะทาง 19.5 กิโลเมตร ซึ่งรองนายกรัฐมนตรี (นายจาตุรนต์ ฉายแสง) เห็นควรก่อสร้างเต็มพื้นที่เขตทาง เพื่อแก้ไขปัญหาการจราจรติดขัด และสามารถรองรับการจราจรได้ทันเวลาเมื่อเปิดใช้สนามบินสุวรรณภูมิ
4.2 กรมทางหลวงได้ตรวจสอบประมาณการค่าก่อสร้าง (ช่วงที่เหลือระยะทาง 19.5 กิโลเมตร) เป็น ทางมาตรฐานเต็มรูปแบบ โดยขยายผิวทางเป็น 8 ช่องจราจร มีเกาะกลาง และทางเท้าสองข้างทางพร้อมท่อระบายน้ำ ติดตั้งไฟฟ้าแสงสว่างในเขตชุมชนทั้ง 9 แห่ง ปรับปรุงขยายสะพานเดิม 18 สะพาน รวมใช้งบประมาณทั้งสิ้นประมาณ 850 ล้านบาท
4.3 ทางสายดังกล่าวเป็นโครงข่ายทางหลวงที่เชื่อมโยงกับทางสายหลักของกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออก และอีสานตอนใต้ คือ จังหวัดฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด ปราจีนบุรี สระแก้ว และจังหวัดนครราชสีมา จะต้องรองรับการจราจรจากสนามบินสุวรรณภูมิใน 3 สายทาง คือ
- ทางหลวงพิเศษ หมายเลข 7 มอเตอร์เวย์ (อยู่ระหว่างขยายเป็นทาง 8 ช่องจราจร)
- ทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข 34 สายบางนา — ชลบุรี - ตราด
- ทางหลวงชนบท หมายเลข ฉช 3001 สายลาดกระบัง — บรรจบทางหลวงหมายเลข 314 ที่ กม. 14+600
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 7 มิถุนายน 2548--จบ--
กระทรวงคมนาคมรายงานว่า
1. เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2547 นายกรัฐมนตรีได้เดินทางไปตรวจราชการที่จังหวัดฉะเชิงเทรา ตามที่ได้รับ ข้อร้องเรียนจากราษฎรจำนวนมากขอให้ช่วยเร่งรัดโครงการขยายทางหลวงหมายเลข 314 ตอน บางปะกง — ฉะเชิงเทรา ให้เป็น 6 ช่องทางจราจร เนื่องจากการจราจรเริ่มหนาแน่นและติดขัดมาก
2. รองนายกรัฐมนตรี (นายจาตุรนต์ ฉายแสง) ในฐานะกำกับติดตามการปฏิบัติราชการในเขตตรวจราชการที่ 8 ของ สำนักนายกรัฐมนตรี เห็นว่ามีความจำเป็นต้องขยายช่องทางจราจรให้เป็น 6 ช่องทาง คาดว่าจะใช้งบประมาณทั้งสิ้น 500 ล้านบาท จึงได้นำโครงการดังกล่าวกราบเรียนนายกรัฐมนตรีเพื่อเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติในหลักการให้กรมทางหลวงดำเนินการสำรวจออกแบบ และก่อสร้างขยายทางหลวงหมายเลข 314 ตอน บางปะกง — ฉะเชิงเทรา กม. 0+000- กม. 18+000 ให้เป็น 6 ช่องจราจร โดยให้กรมทางหลวงขอทำความตกลงในรายละเอียดด้านการเงินกับสำนักงบประมาณตามความจำเป็นต่อไป
3. นายกรัฐมนตรีได้พิจารณาแล้ว มีคำสั่งให้ส่งเรื่องดังกล่าวให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมพิจารณามีความเห็นก่อนเสนอคณะรัฐมนตรี
4. กระทรวงคมนาคมโดยกรมทางหลวงพิจารณาเรื่องดังกล่าวแล้ว เห็นว่าการก่อสร้างขยายช่องจราจรจาก 4 ช่องจราจรเป็น 6 ช่องจราจรนั้น ยังคงมีความจำเป็น เพื่อให้เส้นทางสามารถให้บริการการจราจรปัจจุบันและอนาคตได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และปลอดภัย ซึ่งหากได้รับการจัดสรรงบประมาณตามที่รองนายกรัฐมนตรี (นายจาตุรนต์ ฉายแสง) ขอรับการสนับสนุน จำนวน 500 ล้านบาทแล้ว กรมทางหลวงจะได้ดำเนินการก่อสร้างขยายเป็นทาง 6 ช่องจราจรต่อไป โดยกรมทางหลวงได้ รายงานข้อมูลเพิ่มเติม ดังนี้
4.1 ทางสายดังกล่าว มีระยะทางประมาณ 22.7 กิโลเมตร เขตทางกว้าง 30.00 เมตร (ด้านซ้ายทาง 16.00 เมตร ขวาทาง 14.00 เมตร) ปริมาณการจราจร 25,911 คัน/วัน สองข้างทางมีย่านชุมชนตั้งอยู่ตลอดเส้นทาง ปัจจุบันทางช่วงผ่านเขตเทศบาลเมืองฉะเชิงเทรา ได้ทำการก่อสร้างเต็มรูปแบบแล้ว คงเหลือช่วงที่เป็นทาง 4 ช่องจราจร ระหว่าง กม. 0+000 - กม. 19+500 ระยะทาง 19.5 กิโลเมตร ซึ่งรองนายกรัฐมนตรี (นายจาตุรนต์ ฉายแสง) เห็นควรก่อสร้างเต็มพื้นที่เขตทาง เพื่อแก้ไขปัญหาการจราจรติดขัด และสามารถรองรับการจราจรได้ทันเวลาเมื่อเปิดใช้สนามบินสุวรรณภูมิ
4.2 กรมทางหลวงได้ตรวจสอบประมาณการค่าก่อสร้าง (ช่วงที่เหลือระยะทาง 19.5 กิโลเมตร) เป็น ทางมาตรฐานเต็มรูปแบบ โดยขยายผิวทางเป็น 8 ช่องจราจร มีเกาะกลาง และทางเท้าสองข้างทางพร้อมท่อระบายน้ำ ติดตั้งไฟฟ้าแสงสว่างในเขตชุมชนทั้ง 9 แห่ง ปรับปรุงขยายสะพานเดิม 18 สะพาน รวมใช้งบประมาณทั้งสิ้นประมาณ 850 ล้านบาท
4.3 ทางสายดังกล่าวเป็นโครงข่ายทางหลวงที่เชื่อมโยงกับทางสายหลักของกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออก และอีสานตอนใต้ คือ จังหวัดฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด ปราจีนบุรี สระแก้ว และจังหวัดนครราชสีมา จะต้องรองรับการจราจรจากสนามบินสุวรรณภูมิใน 3 สายทาง คือ
- ทางหลวงพิเศษ หมายเลข 7 มอเตอร์เวย์ (อยู่ระหว่างขยายเป็นทาง 8 ช่องจราจร)
- ทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข 34 สายบางนา — ชลบุรี - ตราด
- ทางหลวงชนบท หมายเลข ฉช 3001 สายลาดกระบัง — บรรจบทางหลวงหมายเลข 314 ที่ กม. 14+600
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 7 มิถุนายน 2548--จบ--