คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์รายงานผลการ
ดำเนินงาน เรื่อง การช่วยเหลือเด็กที่ถูกทอดทิ้ง ระหว่างวันที่ 26 กันยายน — 21 ตุลาคม 2548 ดังนี้
จำนวนเด็กที่นำส่งเข้ารับอุปการะในสถานสงเคราะห์จำแนกตามรูปแบบการรับอุปการะและสาเหตุการนำส่ง
รูปแบบการรับอุปการะ และสาเหตุการนำส่ง อุปการะเป็นการชั่วคราว รับอุปการะเป็นการถาวร รวม
9-25 ก.ย. 26 ก.ย. — 21 ต.ค. 9-25 ก.ย. 26 ก.ย.— 21 ต.ค.
(16 วัน) (25 วัน) (16 วัน) (25 วัน)
รวม 30 56 29 44 159
- ครอบครัวแตกแยก บิดา/มารดา ต้องทำงานนอกบ้าน 6 27 4 8 45
- ครอบครัวมีฐานะยากจน 7 5 5 5 22
- บิดา มารดาต้องโทษ 8 8 - - 16
- ตั้งครรภ์นอกสมรส/ตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ 2 8 6 12 28
- มารดารับการสงเคราะห์ในสถานสงเคราะห์ 1 5 - - 6
-เร่ร่อน - 2 - - 2
- มารดาติดเชื้อ HIV - - 1 1 2
- ญาติไม่สามารถอุปการะได้ - - 2 - 2
- ทอดทิ้งในที่สาธารณะ - - 2* 3* 5
- ทอดทิ้งไว้กับผู้รับจ้างเลี้ยง - - 6* 6* 12
- ทอดทิ้งไว้ในโรงพยาบาล - - 3* 7* 10
* กระทรวงฯ ต้องดำเนินการประกาศสืบหาญาติ การรับรองเข้าทะเบียนราษฎร และเข้าสู่กระบวนการจัดหาครอบครัวบุญธรรม
ผลการดำเนินงานช่วยเหลือเด็กที่นำส่งเข้ารับอุปการะในสถานสงเคราะห์จำแนกตามรูปแบบการให้
ความช่วยเหลือและสาเหตุการนำส่ง พบว่า การทำ MOU ร่วมกับกระทรวงสาธารณสุขและการประชาสัมพันธ์บริการ
ของกระทรวงฯ มีผลต่อการส่งเด็กเข้าสถานสงเคราะห์ กล่าวคือ ผู้ที่มีปัญหาครอบครัวแตกแยก หย่าร้าง
หรือฐานะยากจน จะนำเด็กมาฝากอุปการะเป็นการชั่วคราวเพิ่มขึ้น ในขณะที่การมอบเด็กให้สถานสงเคราะห์เป็น
การถาวรเพื่อหาครอบครัวบุญธรรมลดลง ทำให้คาดการณ์ได้ว่า บิดา มารดาส่วนใหญ่มีความรัก และไม่ต้องการ
ทอดทิ้งบุตร แต่ประสบปัญหาทางด้านเศรษฐกิจและเวลา ทำให้ต้องนำเข้ารับการสงเคราะห์
นอกจากนี้ยังพบว่า กรณีที่มอบเด็กให้สถานสงเคราะห์เป็นการถาวร ส่วนใหญ่มีสาเหตุการตั้งครรภ์
ไม่พึงประสงค์ / ตั้งครรภ์นอกสมรส อีกทั้งมีแนวโน้มการนำบุตรมาฝากอุปการะหรือมอบให้สถานสงเคราะห์เป็น
การถาวรเพิ่มขึ้น
ในส่วนของกลุ่มเด็กที่ถูกทอดทิ้ง ไม่สามารถสืบหาสาเหตุจากครอบครัว จะเห็นได้ว่า กลุ่มเด็กที่ถูก
ทอดทิ้งในที่สาธารณะ หรือทอดทิ้งไว้กับผู้รับจ้างเลี้ยงแทบจะไม่มีการเปลี่ยนแปลง ในขณะที่โรงพยาบาลมีการทอดทิ้ง
เด็กเพิ่มขึ้น แต่ไม่สามารถบ่งชี้ได้ชัดเจนว่า การทำ MOU ไม่ประสบความสำเร็จ เนื่องจากช่วงเวลาที่รวบรวม
ผลการดำเนินงานต่างกัน
อย่างไรก็ตาม การที่มีเด็กถูกทอดทิ้งในโรงพยาบาลเท่ากับกึ่งหนึ่งของเด็กที่โรงพยาบาลนำส่งกล่าวคือ
ในช่วง 16 วันแรกของการทำ MOU โรงพยาบาลนำส่งเด็กเข้าสถานสงเคราะห์ 5 ราย เป็นเด็กที่ถูกทอดทิ้ง
3 ราย ในขณะที่ผลการดำเนินงานช่วงที่สองใน 25 วันถัดมา โรงพยาบาลนำส่งเด็ก จำนวน 14 ราย และเป็น
เด็กถูกทอดทิ้ง 7 ราย ดังนั้น สิ่งที่จะเสริมสร้างประสิทธิภาพของการทำงานร่วมกันระหว่างกระทรวงการพัฒนา
สังคมฯ และกระทรวงสาธารณสุขให้ดียิ่งขึ้น คือ การเฝ้าระวังและให้ความใส่ใจกับกลุ่มสตรีที่ตั้งครรภ์ และสตรีที่
ใกล้คลอด
จำนวนเด็กที่นำส่งเข้ารับอุปการะในสถานสงเคราะห์จำแนกตามอายุ
จำแนกอายุ 9-25 ก.ย. 2548 26 ก.ย. — 21 ต.ค. 2548 รวม
(16 วัน) (25 วัน)
แรกเกิด — 6 เดือน 25 58 83
6 เดือน — 1 ปี 6 7 13
1 ปี — 1 ปี 6 เดือน 2 8 10
1 ปี 6 เดือน — 2 ปี 3 7 10
2 ปีขึ้นไป 23 20 45
รวม 59 100 159
ผลการดำเนินงานช่วยเหลือเด็กที่นำส่งเข้ารับอุปการะในสถานสงเคราะห์เมื่อจำแนกตามอายุ พบว่า
การทอดทิ้งเด็กตั้งแต่แรกเกิด — 6 เดือน มีจำนวนมากเป็นลำดับหนึ่ง ทั้งนี้ อาจเนื่องจากความไม่พร้อมของ
ครอบครัว หรือการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ จึงทำให้แนวโน้มการทอดทิ้งเด็ก โดยทันทีมีมาก
จำนวนเด็กที่นำส่งเข้าสถานสงเคราะห์จำแนกตามหน่วยงานนำส่ง
จำแนกตามหน่วยงานนำส่ง 9-25 ก.ย. 2548 26 ก.ย. — 21 ต.ค. 2548 รวม
(16 วัน) (25 วัน)
โรงพยาบาล 5 14 16
ครอบครัว 9 13 22
หน่วยงานในสังกัดกระทรวงการ
พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ 36 63 102
ตำรวจ/องค์กรเอกชน 9 10 19
รวม 59 100 159
ผลการดำเนินงานช่วยเหลือเด็กที่นำส่งเข้ารับอุปการะในสถานสงเคราะห์เมื่อจำแนกตามหน่วยงาน
นำส่ง พบว่า หน่วยงานตำรวจและองค์กรเอกชน ซึ่งเป็นหน่วยที่เข้าไปช่วยเหลือเด็กถูกทอดทิ้งในพื้นที่สาธารณะ
มีอัตราส่วนลดลง เมื่อเทียบกับจำนวนวันที่มีการรายงานผล คือ ผลการดำเนินงาน ช่วงแรก 16 วัน ตำรวจและ
องค์กรภาคเอกชนนำส่งเด็ก 9 ราย ผลการดำเนินงานช่วงที่สอง 25 วัน นำส่งเด็ก 10 ราย นอกจากนี้ยังพบว่า
ครอบครัว มารดา บิดา หรือผู้ปกครอง นำเด็กมาขอรับการช่วยเหลือที่จุดบริการมากขึ้น อาทิ นำส่งที่
สถานสงเคราะห์ด้วยตนเอง หรือนำส่งหน่วยงานในสังกัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
แสดงว่าประชาชนและสังคมรับรู้ช่องทางและโอกาสในการเข้าถึงบริการของกระทรวงฯ มากขึ้น โดยผ่านการ
ประชาสัมพันธ์ และการทำความตกลงร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข
แนวทางการแก้ไขและข้อเสนอแนะ
1. ควรมีโครงการ/กิจกรรมเพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมก่อนมีครอบครัว และเตรียมความพร้อม
ครอบครัวก่อนมีบุตร โดยใช้กลไกในระดับพื้นที่ อาทิ สถานีอนามัย ศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน อาสาสมัครในชุมชน
เป็นผู้ให้คำแนะนำปรึกษา และประสานการให้บริการเพื่อส่งเสริมศักยภาพและความพร้อมในการมีครอบครัวและการ
มีบุตรเมื่อพร้อม
2. สถาบันการศึกษาระดับต่าง ๆ อาทิ ระดับเตรียมอุดมศึกษา อุดมศึกษา และสายวิชาชีพ ควรมี
กิจกรรมและให้ความรู้ในการเตรียมความพร้อมก่อนมีครอบครัว
3. ใช้กลไกสื่อในการสร้างความตระหนักและรณรงค์การมีเพศสัมพันธ์ในวัยอันควร และการมีครอบครัว
มีบุตรเมื่อพร้อม
4. เสริมสร้างอาสาสมัคร และองค์กรระดับชุมชนในการเฝ้าระวังปัญหาการทอดทิ้งเด็ก รวมถึง
ปัญหาอันอาจเป็นเหตุให้เกิดการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ เช่น การข่มขืนกระทำชำเรา การมั่วสุมของกลุ่มเด็ก
และเยาวชน
5. ควรมีการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนเข้าถึงข่าวสารและบริการอย่างต่อเนื่อง ควบคู่ไปกับการ
รณรงค์ สร้างความตระหนักในบทบาทของครอบครัว และบทบาทความเป็นพ่อแม่
6. มีการพัฒนามาตรการ กลไก เพื่อส่งเสริมให้บิดามารดาได้มีโอกาสและมีศักยภาพในการเลี้ยงดูลูก
ด้วยตนเอง อาทิ การสนับสนุนให้ชุมชน / องค์กรชุมชน / กลุ่มผู้สูงอายุ / กลุ่มสตรี หรืออาสาสมัครในชุมชน
ทำหน้าที่ในการดูแลเด็กในช่วงเวลาที่บิดามารดาไปทำงาน ส่งเสริมการสร้างงาน สร้างอาชีพในชุมชน หรือการ
ทำงานที่บ้าน เพื่อให้บิดา มารดา มีเวลาเลี้ยงดูบุตร เป็นต้น
7. การพัฒนาบุคลากรของทั้งสองกระทรวง เพื่อสร้างความร่วมมือ พัฒนาทักษะในการทำงานและ
ร่วมเป็นเครือข่ายเฝ้าระวังปัญหา อาทิ การสัมภาษณ์ การสังเกต การให้คำปรึกษาแนะนำ และความรู้
ด้านจิตวิทยาครอบครัว และพัฒนาการแต่ละช่วงวัย รวมถึงทักษะในการเป็นนักเฝ้าระวังทางสังคม
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 15 พฤศจิกายน 2548--จบ--
ดำเนินงาน เรื่อง การช่วยเหลือเด็กที่ถูกทอดทิ้ง ระหว่างวันที่ 26 กันยายน — 21 ตุลาคม 2548 ดังนี้
จำนวนเด็กที่นำส่งเข้ารับอุปการะในสถานสงเคราะห์จำแนกตามรูปแบบการรับอุปการะและสาเหตุการนำส่ง
รูปแบบการรับอุปการะ และสาเหตุการนำส่ง อุปการะเป็นการชั่วคราว รับอุปการะเป็นการถาวร รวม
9-25 ก.ย. 26 ก.ย. — 21 ต.ค. 9-25 ก.ย. 26 ก.ย.— 21 ต.ค.
(16 วัน) (25 วัน) (16 วัน) (25 วัน)
รวม 30 56 29 44 159
- ครอบครัวแตกแยก บิดา/มารดา ต้องทำงานนอกบ้าน 6 27 4 8 45
- ครอบครัวมีฐานะยากจน 7 5 5 5 22
- บิดา มารดาต้องโทษ 8 8 - - 16
- ตั้งครรภ์นอกสมรส/ตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ 2 8 6 12 28
- มารดารับการสงเคราะห์ในสถานสงเคราะห์ 1 5 - - 6
-เร่ร่อน - 2 - - 2
- มารดาติดเชื้อ HIV - - 1 1 2
- ญาติไม่สามารถอุปการะได้ - - 2 - 2
- ทอดทิ้งในที่สาธารณะ - - 2* 3* 5
- ทอดทิ้งไว้กับผู้รับจ้างเลี้ยง - - 6* 6* 12
- ทอดทิ้งไว้ในโรงพยาบาล - - 3* 7* 10
* กระทรวงฯ ต้องดำเนินการประกาศสืบหาญาติ การรับรองเข้าทะเบียนราษฎร และเข้าสู่กระบวนการจัดหาครอบครัวบุญธรรม
ผลการดำเนินงานช่วยเหลือเด็กที่นำส่งเข้ารับอุปการะในสถานสงเคราะห์จำแนกตามรูปแบบการให้
ความช่วยเหลือและสาเหตุการนำส่ง พบว่า การทำ MOU ร่วมกับกระทรวงสาธารณสุขและการประชาสัมพันธ์บริการ
ของกระทรวงฯ มีผลต่อการส่งเด็กเข้าสถานสงเคราะห์ กล่าวคือ ผู้ที่มีปัญหาครอบครัวแตกแยก หย่าร้าง
หรือฐานะยากจน จะนำเด็กมาฝากอุปการะเป็นการชั่วคราวเพิ่มขึ้น ในขณะที่การมอบเด็กให้สถานสงเคราะห์เป็น
การถาวรเพื่อหาครอบครัวบุญธรรมลดลง ทำให้คาดการณ์ได้ว่า บิดา มารดาส่วนใหญ่มีความรัก และไม่ต้องการ
ทอดทิ้งบุตร แต่ประสบปัญหาทางด้านเศรษฐกิจและเวลา ทำให้ต้องนำเข้ารับการสงเคราะห์
นอกจากนี้ยังพบว่า กรณีที่มอบเด็กให้สถานสงเคราะห์เป็นการถาวร ส่วนใหญ่มีสาเหตุการตั้งครรภ์
ไม่พึงประสงค์ / ตั้งครรภ์นอกสมรส อีกทั้งมีแนวโน้มการนำบุตรมาฝากอุปการะหรือมอบให้สถานสงเคราะห์เป็น
การถาวรเพิ่มขึ้น
ในส่วนของกลุ่มเด็กที่ถูกทอดทิ้ง ไม่สามารถสืบหาสาเหตุจากครอบครัว จะเห็นได้ว่า กลุ่มเด็กที่ถูก
ทอดทิ้งในที่สาธารณะ หรือทอดทิ้งไว้กับผู้รับจ้างเลี้ยงแทบจะไม่มีการเปลี่ยนแปลง ในขณะที่โรงพยาบาลมีการทอดทิ้ง
เด็กเพิ่มขึ้น แต่ไม่สามารถบ่งชี้ได้ชัดเจนว่า การทำ MOU ไม่ประสบความสำเร็จ เนื่องจากช่วงเวลาที่รวบรวม
ผลการดำเนินงานต่างกัน
อย่างไรก็ตาม การที่มีเด็กถูกทอดทิ้งในโรงพยาบาลเท่ากับกึ่งหนึ่งของเด็กที่โรงพยาบาลนำส่งกล่าวคือ
ในช่วง 16 วันแรกของการทำ MOU โรงพยาบาลนำส่งเด็กเข้าสถานสงเคราะห์ 5 ราย เป็นเด็กที่ถูกทอดทิ้ง
3 ราย ในขณะที่ผลการดำเนินงานช่วงที่สองใน 25 วันถัดมา โรงพยาบาลนำส่งเด็ก จำนวน 14 ราย และเป็น
เด็กถูกทอดทิ้ง 7 ราย ดังนั้น สิ่งที่จะเสริมสร้างประสิทธิภาพของการทำงานร่วมกันระหว่างกระทรวงการพัฒนา
สังคมฯ และกระทรวงสาธารณสุขให้ดียิ่งขึ้น คือ การเฝ้าระวังและให้ความใส่ใจกับกลุ่มสตรีที่ตั้งครรภ์ และสตรีที่
ใกล้คลอด
จำนวนเด็กที่นำส่งเข้ารับอุปการะในสถานสงเคราะห์จำแนกตามอายุ
จำแนกอายุ 9-25 ก.ย. 2548 26 ก.ย. — 21 ต.ค. 2548 รวม
(16 วัน) (25 วัน)
แรกเกิด — 6 เดือน 25 58 83
6 เดือน — 1 ปี 6 7 13
1 ปี — 1 ปี 6 เดือน 2 8 10
1 ปี 6 เดือน — 2 ปี 3 7 10
2 ปีขึ้นไป 23 20 45
รวม 59 100 159
ผลการดำเนินงานช่วยเหลือเด็กที่นำส่งเข้ารับอุปการะในสถานสงเคราะห์เมื่อจำแนกตามอายุ พบว่า
การทอดทิ้งเด็กตั้งแต่แรกเกิด — 6 เดือน มีจำนวนมากเป็นลำดับหนึ่ง ทั้งนี้ อาจเนื่องจากความไม่พร้อมของ
ครอบครัว หรือการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ จึงทำให้แนวโน้มการทอดทิ้งเด็ก โดยทันทีมีมาก
จำนวนเด็กที่นำส่งเข้าสถานสงเคราะห์จำแนกตามหน่วยงานนำส่ง
จำแนกตามหน่วยงานนำส่ง 9-25 ก.ย. 2548 26 ก.ย. — 21 ต.ค. 2548 รวม
(16 วัน) (25 วัน)
โรงพยาบาล 5 14 16
ครอบครัว 9 13 22
หน่วยงานในสังกัดกระทรวงการ
พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ 36 63 102
ตำรวจ/องค์กรเอกชน 9 10 19
รวม 59 100 159
ผลการดำเนินงานช่วยเหลือเด็กที่นำส่งเข้ารับอุปการะในสถานสงเคราะห์เมื่อจำแนกตามหน่วยงาน
นำส่ง พบว่า หน่วยงานตำรวจและองค์กรเอกชน ซึ่งเป็นหน่วยที่เข้าไปช่วยเหลือเด็กถูกทอดทิ้งในพื้นที่สาธารณะ
มีอัตราส่วนลดลง เมื่อเทียบกับจำนวนวันที่มีการรายงานผล คือ ผลการดำเนินงาน ช่วงแรก 16 วัน ตำรวจและ
องค์กรภาคเอกชนนำส่งเด็ก 9 ราย ผลการดำเนินงานช่วงที่สอง 25 วัน นำส่งเด็ก 10 ราย นอกจากนี้ยังพบว่า
ครอบครัว มารดา บิดา หรือผู้ปกครอง นำเด็กมาขอรับการช่วยเหลือที่จุดบริการมากขึ้น อาทิ นำส่งที่
สถานสงเคราะห์ด้วยตนเอง หรือนำส่งหน่วยงานในสังกัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
แสดงว่าประชาชนและสังคมรับรู้ช่องทางและโอกาสในการเข้าถึงบริการของกระทรวงฯ มากขึ้น โดยผ่านการ
ประชาสัมพันธ์ และการทำความตกลงร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข
แนวทางการแก้ไขและข้อเสนอแนะ
1. ควรมีโครงการ/กิจกรรมเพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมก่อนมีครอบครัว และเตรียมความพร้อม
ครอบครัวก่อนมีบุตร โดยใช้กลไกในระดับพื้นที่ อาทิ สถานีอนามัย ศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน อาสาสมัครในชุมชน
เป็นผู้ให้คำแนะนำปรึกษา และประสานการให้บริการเพื่อส่งเสริมศักยภาพและความพร้อมในการมีครอบครัวและการ
มีบุตรเมื่อพร้อม
2. สถาบันการศึกษาระดับต่าง ๆ อาทิ ระดับเตรียมอุดมศึกษา อุดมศึกษา และสายวิชาชีพ ควรมี
กิจกรรมและให้ความรู้ในการเตรียมความพร้อมก่อนมีครอบครัว
3. ใช้กลไกสื่อในการสร้างความตระหนักและรณรงค์การมีเพศสัมพันธ์ในวัยอันควร และการมีครอบครัว
มีบุตรเมื่อพร้อม
4. เสริมสร้างอาสาสมัคร และองค์กรระดับชุมชนในการเฝ้าระวังปัญหาการทอดทิ้งเด็ก รวมถึง
ปัญหาอันอาจเป็นเหตุให้เกิดการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ เช่น การข่มขืนกระทำชำเรา การมั่วสุมของกลุ่มเด็ก
และเยาวชน
5. ควรมีการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนเข้าถึงข่าวสารและบริการอย่างต่อเนื่อง ควบคู่ไปกับการ
รณรงค์ สร้างความตระหนักในบทบาทของครอบครัว และบทบาทความเป็นพ่อแม่
6. มีการพัฒนามาตรการ กลไก เพื่อส่งเสริมให้บิดามารดาได้มีโอกาสและมีศักยภาพในการเลี้ยงดูลูก
ด้วยตนเอง อาทิ การสนับสนุนให้ชุมชน / องค์กรชุมชน / กลุ่มผู้สูงอายุ / กลุ่มสตรี หรืออาสาสมัครในชุมชน
ทำหน้าที่ในการดูแลเด็กในช่วงเวลาที่บิดามารดาไปทำงาน ส่งเสริมการสร้างงาน สร้างอาชีพในชุมชน หรือการ
ทำงานที่บ้าน เพื่อให้บิดา มารดา มีเวลาเลี้ยงดูบุตร เป็นต้น
7. การพัฒนาบุคลากรของทั้งสองกระทรวง เพื่อสร้างความร่วมมือ พัฒนาทักษะในการทำงานและ
ร่วมเป็นเครือข่ายเฝ้าระวังปัญหา อาทิ การสัมภาษณ์ การสังเกต การให้คำปรึกษาแนะนำ และความรู้
ด้านจิตวิทยาครอบครัว และพัฒนาการแต่ละช่วงวัย รวมถึงทักษะในการเป็นนักเฝ้าระวังทางสังคม
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 15 พฤศจิกายน 2548--จบ--