คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดบางประการต่อการเดินอากาศ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ... ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณา ก่อนเสนอสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาต่อไป
กระทรวงคมนาคมชี้แจงว่า องค์การการบินพลเรือน (ICAO) ได้ออกข้อมติสมัชชา ICAO ที่ A33-4 ซึ่งได้เร่งรัดให้ประเทศสมาชิกออกกฎหมายและระเบียบข้อบังคับภายในเพื่อดำเนินการเกี่ยวกับปัญหาผู้โดยสารประพฤติตนไม่เหมาะสมบนอากาศยานพลเรือน องค์การฯ จึงได้จัดทำเอกสาร ICAO Circular 288-LE/1 : Guidance Material on the Legal Aspects of Unruly/Disruptive Passengers, 2001 และกฎหมายต้นแบบว่าด้วยการกระทำความผิดบางประการบนอากาศยานพลเรือน (Model Legislation on Certain Offences Committed on Board Civil Aircrafts) แจ้งเวียนให้ประเทศสมาชิกเพื่อใช้ประกอบการพิจารณาในการออกกฎหมายภายในเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวให้เป็นไปในแนวทางเดียวกัน กรมการขนส่งทางอากาศจึงได้ปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดบางประการต่อการเดินอากาศ พ.ศ. 2521 เพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามข้อมติสมัชชาองค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศดังกล่าว ประกอบกับมีบทบัญญัติเดิมที่บัญญัติไว้โดยไม่สอดคล้องกับอนุสัญญาที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดบางประการต่อการเดินอากาศที่ประเทศไทยเป็นภาคึ จึงได้เสนอร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวมาเพื่อดำเนินการ
ร่างพระราชบัญญัติฯ ดังกล่าวมีสาระสำคัญ ดังนี้
1. กำหนดโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำในอากาศยาน เช่น การยึดหรือเข้าควบคุมอากาศยานในระหว่างการบิน โดยใช้กำลังประทุษร้ายหรือขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้ายผู้อื่นหรือขู่เข็ญว่าจะกระทำอันตรายต่ออากาศยานนั้น กระทำด้วยประการใด ๆ ต่อเจ้าหน้าที่ประจำอากาศยาน ซึ่งการกระทำนั้นเป็นเหตุรบกวนการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ประจำอากาศยาน ทำร้ายร่างกาย หรือล่วงละเมิดทางเพศผู้อื่น ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์หรือใช้สารที่มีฤทธิ์ต่อจิตประสานจนเป็นเหตุให้ตนเมา ประพฤติวุ่นวาย หรือครองสติไม่ได้และน่าจะเป็นอันตรายต่อความปลอดภัยของอากาศยานหรือบุคคลในอากาศยาน สูบบุหรี่ในห้องน้ำ หรือที่อื่นใดในลักษณะที่น่าจะเป็นอันตรายต่อความปลอดภัยของอากาศยาน เป็นต้น
2. กำหนดกรณีความผิดที่ได้กระทำนอกราชอาณาจักรให้ต้องรับโทษในราชอาณาจักร และกำหนดให้ ผู้กระทำความผิดนอกราชอาณาจักรซึ่งต้องรับโทษในราชอาณาจักรไม่ต้องถูกลงโทษซ้ำสอง
3. กำหนดให้ผู้ควบคุมอากาศยานมีอำนาจใช้มาตรการอันสมควรในการป้องกันต่อบุคคลที่มีเหตุอันควรสงสัยว่าได้กระทำความผิดตามกฎหมานอาญา
4. กำหนดให้ผู้ควบคุมอากาศยาน เจ้าหน้าที่ประจำอากาศยาน ผู้โดยสารผู้ดำเนินการเดินอากาศ และเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจ ซึ่งได้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ไม่ต้องรับผิดทั้งทางแพ่ง ทางอาญา และทางวินัย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 8 พฤศจิกายน 2548--จบ--
กระทรวงคมนาคมชี้แจงว่า องค์การการบินพลเรือน (ICAO) ได้ออกข้อมติสมัชชา ICAO ที่ A33-4 ซึ่งได้เร่งรัดให้ประเทศสมาชิกออกกฎหมายและระเบียบข้อบังคับภายในเพื่อดำเนินการเกี่ยวกับปัญหาผู้โดยสารประพฤติตนไม่เหมาะสมบนอากาศยานพลเรือน องค์การฯ จึงได้จัดทำเอกสาร ICAO Circular 288-LE/1 : Guidance Material on the Legal Aspects of Unruly/Disruptive Passengers, 2001 และกฎหมายต้นแบบว่าด้วยการกระทำความผิดบางประการบนอากาศยานพลเรือน (Model Legislation on Certain Offences Committed on Board Civil Aircrafts) แจ้งเวียนให้ประเทศสมาชิกเพื่อใช้ประกอบการพิจารณาในการออกกฎหมายภายในเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวให้เป็นไปในแนวทางเดียวกัน กรมการขนส่งทางอากาศจึงได้ปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดบางประการต่อการเดินอากาศ พ.ศ. 2521 เพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามข้อมติสมัชชาองค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศดังกล่าว ประกอบกับมีบทบัญญัติเดิมที่บัญญัติไว้โดยไม่สอดคล้องกับอนุสัญญาที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดบางประการต่อการเดินอากาศที่ประเทศไทยเป็นภาคึ จึงได้เสนอร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวมาเพื่อดำเนินการ
ร่างพระราชบัญญัติฯ ดังกล่าวมีสาระสำคัญ ดังนี้
1. กำหนดโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำในอากาศยาน เช่น การยึดหรือเข้าควบคุมอากาศยานในระหว่างการบิน โดยใช้กำลังประทุษร้ายหรือขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้ายผู้อื่นหรือขู่เข็ญว่าจะกระทำอันตรายต่ออากาศยานนั้น กระทำด้วยประการใด ๆ ต่อเจ้าหน้าที่ประจำอากาศยาน ซึ่งการกระทำนั้นเป็นเหตุรบกวนการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ประจำอากาศยาน ทำร้ายร่างกาย หรือล่วงละเมิดทางเพศผู้อื่น ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์หรือใช้สารที่มีฤทธิ์ต่อจิตประสานจนเป็นเหตุให้ตนเมา ประพฤติวุ่นวาย หรือครองสติไม่ได้และน่าจะเป็นอันตรายต่อความปลอดภัยของอากาศยานหรือบุคคลในอากาศยาน สูบบุหรี่ในห้องน้ำ หรือที่อื่นใดในลักษณะที่น่าจะเป็นอันตรายต่อความปลอดภัยของอากาศยาน เป็นต้น
2. กำหนดกรณีความผิดที่ได้กระทำนอกราชอาณาจักรให้ต้องรับโทษในราชอาณาจักร และกำหนดให้ ผู้กระทำความผิดนอกราชอาณาจักรซึ่งต้องรับโทษในราชอาณาจักรไม่ต้องถูกลงโทษซ้ำสอง
3. กำหนดให้ผู้ควบคุมอากาศยานมีอำนาจใช้มาตรการอันสมควรในการป้องกันต่อบุคคลที่มีเหตุอันควรสงสัยว่าได้กระทำความผิดตามกฎหมานอาญา
4. กำหนดให้ผู้ควบคุมอากาศยาน เจ้าหน้าที่ประจำอากาศยาน ผู้โดยสารผู้ดำเนินการเดินอากาศ และเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจ ซึ่งได้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ไม่ต้องรับผิดทั้งทางแพ่ง ทางอาญา และทางวินัย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 8 พฤศจิกายน 2548--จบ--