(1) ร่างแถลงการณ์ Communique (Global Environment)
(2) G 20 Implementation Framework for Actions on Marine Plastic Litter และ
(3) ร่างแถลงการณ์ G20 Communique Joint part (Energy and Environment) พร้อมอนุมัติให้หัวหน้าคณะผู้แทนไทยให้การรับรองร่างเอกสารผลลัพธ์การประชุมระดับรัฐมนตรี G 20 ด้านพลังงานสิ่งแวดล้อมโลกเพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืนดังกล่าว ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องปรับปรุงแก้ไขร่างเอกสารข้างต้น ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญหรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ต่อประเทศไทย ให้เป็นดุลยพินิจของหัวหน้าคณะผู้แทนไทยเป็นผู้พิจารณา โดยไม่ต้องนำกลับไปเสนอคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง ตามที่เสนอกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เสนอ
1. Communique (Global Environment) มีสาระสำคัญดังนี้
(1) ยอมรับการปรับปรุงการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพผ่านทางนโยบายและวิธีการต่างๆ อาทิ เศรษฐกิจหมุนเวียน การจัดการวัสดุอย่างยั่งยืน หลักการ3Rs (การลด การใช้ซ้ำ การหมุนเวียนกลับมาใช้ใหม่) และการทำขยะให้มีมูลค่า
(2) เร่งให้เกิดกิจกรรมต่างๆเพื่อลดการสูญเสียอาหารและขยะจากอาหาร ตลอดจนการจัดการขยะจากอาหารอย่างมีประสิทธิภาพและถูกสุขอนามัย
(3) ขยะทางทะเลโดยเฉพาะอย่างยิ่งขยะพลาสติกและไมโครพลาสติกในทะเลเป็นเรื่องที่ต้องการปฏิบัติการอย่างเร่งด่วน เนื่องจากมีอิทธิพลต่อระบบนิเวศทางทะเล อุตสาหกรรมต่างๆรวมไปถึงการประมง การท่องเที่ยว การขนส่งสินค้าและอาจมีผลต่อสุขภาพของมนุษย์ด้วย
(4) รับทราบถึงการบรรเทาผลกระทบและการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศสามารถลดความเสี่ยงภัยพิบัติและส่งเสริมการดำเนินงานตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อชุมชนที่มีความเปราะบาง และประชาชนทั่วไป
2. G 20 Implementation Framework for Actions on Marine Plastic Litter ซึ่งเป็นภาคผนวกของ Communique (Global Environment) มีสาระสำคัญดังนี้
(1) เพื่อส่งเสริมแนวทางวัฏจักรชีวิตที่ครอบคลุมเพื่อป้องกันและลดขยะพลาสติกที่ระบายออกสู่มหาสมุทรอย่างเร่งด่วน การทำความสะอาดขยะพลาสติกในทะเลให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม การจัดการวิธีการแก้ปัญหาโดยใช้นวัตกรรมและความร่วมมือระหว่างประเทศ เพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถของประเทศ ตลอดจนการป้องกันและการลดการเกิดขยะพลาสติก การส่งเสริมการผลิตและการบริโภคอย่างยั่งยืน
(2) เสริมสร้างการประสานความร่วมมือระหว่างประเทศเพื่อส่งเสริมวิธีการแก้ปัญหาเชิงนวัตกรรมเพื่อการออกแบบผลิตภัณฑ์ ทรัพยากรที่มีประสิทธิภาพและวิธีการหมุนเวียน เทคโนโลยีในการจัดการของเสีย เทคโนโลยีในการบำบัดน้ำเสีย ทางเลือกต่างๆที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม สำหรับผลิตภัณฑ์พลาสติก รวมทั้งผลิตภัณฑ์พลาสติกและไมโครพลาสติกที่ใช้ครั้งเดียว
3. G20 Communique Joint part (Energy and Environment) มีสาระสำคัญดังนี้
(1) ยอมรับความสำคัญของการเป็นผู้นำในการเปลี่ยนผ่านพลังงานเพื่อที่จะตระหนักในเรื่อง “3E+S” (ความมั่งคงทางพลังงาน ความพอเพียงทางเศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย) และ การจัดการประเด็นความท้าทายหลักระดับโลกต่างๆ ซึ่งรวมไปถึงการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ โดยเน้นย้ำความสำคัญในการส่งเสริมการทำงานร่วมกันเมื่อต้องต่อสู้กับปัญหาที่กล่าวมาข้างต้น เพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน
(2) เพื่อกระตุ้นวงจรประเสริฐ (Virtuous Cycle) และนำการเปลี่ยนแปลงไปสู่อนาคตที่มีความยืดหยุ่นและยั่งยืนขณะเดียวกันสร้างความมั่นใจในความมั่งคงด้านพลังงาน การลดก๊าซเรือนกระจกและการปล่อยก๊าซอื่นๆ รวมถึงการปรับปรุงการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ ควรเน้นการรวบรวมภูมิปัญญาจากทั่วโลก การระดมทุน/การลงทุน และการปรับปรุงสภาพแวดล้อมทางธุรกิจเพื่อส่งเสริมเทคโนโลยีและสังคมนวัตกรรม
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 4 มิถุนายน 2562--