คณะรัฐมนตรีรับทราบแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการแสดงบัญชีรายการทรัพย์สินและหนี้สินของคณะรัฐมนตรีในการเข้ารับตำแหน่งและพ้นจากตำแหน่ง ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 ตามที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเสนอ
ข้อเท็จจริง
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 259 มาตรา 260 และ มาตรา 263 และพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 ได้บัญญัติเกี่ยวกับการแสดงบัญชีทรัพย์สิน ในส่วนของนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี และข้าราชการการเมืองอื่น สรุปได้ดังนี้
1. วันเข้ารับตำแหน่ง นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี และข้าราชการการเมืองจะต้องยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินของตน คู่สมรส และบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ภายใน 30 วัน นับตั้งแต่วันเข้ารับตำแหน่ง (วันที่ถวายสัตย์ปฏิญาณ)
2. วันพ้นตำแหน่ง นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี และข้าราชการการเมืองจะต้องยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินของตน คู่สมรส และบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ นับตั้งแต่วันพ้นจากตำแหน่ง 2 ครั้ง คือ
ครั้งที่ 1 จะต้องยื่นภายใน 30 วัน นับตั้งแต่วันพ้นจากตำแหน่ง
ครั้งที่ 2 จะต้องยื่นภายใน 30 วัน นับแต่วันที่พ้นจากตำแหน่งมาแล้วเป็นเวลา 1 ปี
3. กรณีเสียชีวิตระหว่างดำรงตำแหน่งหรือพ้นจากตำแหน่ง กรณีนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี หรือข้าราชการการเมืองเสียชีวิตในระหว่างดำรงตำแหน่งหรือก่อนยื่นบัญชีหลังจากพ้นตำแหน่ง ให้ทายาทหรือผู้จัดการมรดก เป็นผู้ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินที่มีอยู่ ณ วันที่เสียชีวิตแทนผู้เสียชีวิต ภายใน 90 วัน นับตั้งแต่วันที่เสียชีวิต
4. ทรัพย์สินที่จะต้องแสดงรายการฯ
4.1 ทรัพย์สินและหนี้สินของตน คู่สมรส และบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะตามที่มีอยู่จริงในวันที่เข้ารับตำแหน่งหรือวันที่พ้นจากตำแหน่ง แล้วแต่กรณี
4.2 ทรัพย์สินและหนี้สินของตน คู่สมรส และบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะในต่างประเทศตามที่มีอยู่จริง
4.3 ทรัพย์สินที่อยู่ในความครอบครองของผู้อื่น คู่สมรสและบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะด้วย
4.4 ทรัพย์สินของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองที่มอบหมายให้อยู่ในความครอบครองหรือดูแลของบุคคลอื่น ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อมด้วย
5. เอกสารที่ต้องยื่นต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
5.1 บัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินที่มีอยู่จริงในวันที่เข้ารับตำแหน่งหรือวันที่พ้นจากตำแหน่ง แล้วแต่กรณี
5.2 สำเนาหลักฐานที่พิสูจน์ได้ว่าทรัพย์สินนั้นมีอยู่จริง
5.3 สำเนาแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในรอบปีที่ผ่านมา
ทั้งนี้ เอกสารที่ยื่นจะต้องมีลายมือชื่อผู้ยื่นรับรองกำกับไว้ทุกหน้า ถ้าเอกสารมี 2 หน้า ต้องลงนามรับรองทั้ง 2 หน้า
6. ผลของการไม่ยื่นบัญชีหรือยื่นบัญชีเป็นเท็จ หรือปกปิดข้อเท็จจริงที่ควรแจ้งให้ทราบ
6.1 ผู้ที่จงใจไม่ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินและเอกสารประกอบ หรือจงใจยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและเอกสารประกอบด้วยข้อความอันเป็นเท็จ หรือปกปิดข้อเท็จจริงที่ควรแจ้งให้ทราบ ให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติเสนอเรื่องให้ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองวินิจฉัย ถ้าศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองวินิจฉัยว่าผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองผู้ใดกระทำความผิด ให้ผู้นั้นพ้นจากตำแหน่งในวันที่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองวินิจฉัย
6.2 ผู้กระทำความผิดตามข้อ 6.1 จะถูกห้ามไม่ให้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองหรือดำรงตำแหน่งใดในพรรคการเมืองเป็นเวลา 5 ปี นับแต่วันที่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองวินิจฉัย
6.3 จำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2551--จบ--
ข้อเท็จจริง
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 259 มาตรา 260 และ มาตรา 263 และพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 ได้บัญญัติเกี่ยวกับการแสดงบัญชีทรัพย์สิน ในส่วนของนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี และข้าราชการการเมืองอื่น สรุปได้ดังนี้
1. วันเข้ารับตำแหน่ง นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี และข้าราชการการเมืองจะต้องยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินของตน คู่สมรส และบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ภายใน 30 วัน นับตั้งแต่วันเข้ารับตำแหน่ง (วันที่ถวายสัตย์ปฏิญาณ)
2. วันพ้นตำแหน่ง นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี และข้าราชการการเมืองจะต้องยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินของตน คู่สมรส และบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ นับตั้งแต่วันพ้นจากตำแหน่ง 2 ครั้ง คือ
ครั้งที่ 1 จะต้องยื่นภายใน 30 วัน นับตั้งแต่วันพ้นจากตำแหน่ง
ครั้งที่ 2 จะต้องยื่นภายใน 30 วัน นับแต่วันที่พ้นจากตำแหน่งมาแล้วเป็นเวลา 1 ปี
3. กรณีเสียชีวิตระหว่างดำรงตำแหน่งหรือพ้นจากตำแหน่ง กรณีนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี หรือข้าราชการการเมืองเสียชีวิตในระหว่างดำรงตำแหน่งหรือก่อนยื่นบัญชีหลังจากพ้นตำแหน่ง ให้ทายาทหรือผู้จัดการมรดก เป็นผู้ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินที่มีอยู่ ณ วันที่เสียชีวิตแทนผู้เสียชีวิต ภายใน 90 วัน นับตั้งแต่วันที่เสียชีวิต
4. ทรัพย์สินที่จะต้องแสดงรายการฯ
4.1 ทรัพย์สินและหนี้สินของตน คู่สมรส และบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะตามที่มีอยู่จริงในวันที่เข้ารับตำแหน่งหรือวันที่พ้นจากตำแหน่ง แล้วแต่กรณี
4.2 ทรัพย์สินและหนี้สินของตน คู่สมรส และบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะในต่างประเทศตามที่มีอยู่จริง
4.3 ทรัพย์สินที่อยู่ในความครอบครองของผู้อื่น คู่สมรสและบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะด้วย
4.4 ทรัพย์สินของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองที่มอบหมายให้อยู่ในความครอบครองหรือดูแลของบุคคลอื่น ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อมด้วย
5. เอกสารที่ต้องยื่นต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
5.1 บัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินที่มีอยู่จริงในวันที่เข้ารับตำแหน่งหรือวันที่พ้นจากตำแหน่ง แล้วแต่กรณี
5.2 สำเนาหลักฐานที่พิสูจน์ได้ว่าทรัพย์สินนั้นมีอยู่จริง
5.3 สำเนาแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในรอบปีที่ผ่านมา
ทั้งนี้ เอกสารที่ยื่นจะต้องมีลายมือชื่อผู้ยื่นรับรองกำกับไว้ทุกหน้า ถ้าเอกสารมี 2 หน้า ต้องลงนามรับรองทั้ง 2 หน้า
6. ผลของการไม่ยื่นบัญชีหรือยื่นบัญชีเป็นเท็จ หรือปกปิดข้อเท็จจริงที่ควรแจ้งให้ทราบ
6.1 ผู้ที่จงใจไม่ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินและเอกสารประกอบ หรือจงใจยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและเอกสารประกอบด้วยข้อความอันเป็นเท็จ หรือปกปิดข้อเท็จจริงที่ควรแจ้งให้ทราบ ให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติเสนอเรื่องให้ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองวินิจฉัย ถ้าศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองวินิจฉัยว่าผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองผู้ใดกระทำความผิด ให้ผู้นั้นพ้นจากตำแหน่งในวันที่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองวินิจฉัย
6.2 ผู้กระทำความผิดตามข้อ 6.1 จะถูกห้ามไม่ให้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองหรือดำรงตำแหน่งใดในพรรคการเมืองเป็นเวลา 5 ปี นับแต่วันที่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองวินิจฉัย
6.3 จำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2551--จบ--