คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการของการเพิ่มกรอบวงเงินสนับสนุนโครงการบ้านมั่นคงจากเดิม 80,000 บาท/ครัวเรือน เป็น 89,800 บาท/ครัวเรือน โดยให้เริ่มมีผลในปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ตามที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เสนอ
โครงการบ้านมั่นคง เริ่มดำเนินโครงการตั้งแต่ปี 2547 ซึ่งต่อมาได้จัดเป็นโครงการภายใต้แผนแม่บทการพัฒนาที่อยู่อาศัย ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560 – 2579) ของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อแก้ไขปัญหาและพัฒนาที่อยู่อาศัยของผู้มีรายได้น้อยในชุมชนเมืองและชนบท โดยมีระบบสาธารณูปโภค สาธารณูปการ และสิ่งแวดล้อมที่ดี มีรูปแบบสอดคล้องกับวิถีชีวิตและความสามารถในการใช้จ่ายของคนในชุมชน และเพื่อพัฒนาศักยภาพของชุมชนให้เข้มแข็ง สามารถวางแผนจัดการที่อยู่อาศัยร่วมกันในระดับพื้นที่ร่วมกับหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง และสามารถเชื่อมโยงกับงานพัฒนาด้านต่าง ๆ ด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมอย่างบูรณาการ ซึ่งโครงการดังกล่าวใช้งบประมาณในการดำเนินโครงการ 2 ส่วน ได้แก่ 1) งบประมาณพัฒนาสาธารณูปโภคและที่อยู่อาศัย ได้แก่ ค่าใช้จ่ายในการพัฒนาปรับปรุงชุมชน (เช่น การถมดินเพื่อสร้างที่อยู่อาศัย สร้างถนนในชุมชน ท่อระบายน้ำ เป็นต้น) การพัฒนาปรับปรุงที่อยู่อาศัย การบริหารจัดการในชุมชนและสนับสนุนการพัฒนาและดำเนินโครงการ และ 2) สินเชื่อในการพัฒนาที่อยู่อาศัยของชุมชน ซึ่งกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์แจ้งว่า การดำเนินโครงการบ้านมั่นคงที่ผ่านมาในปี 2553 – 2560 พบว่า งบประมาณในส่วนพัฒนาสาธารณูปโภคและที่อยู่อาศัยที่เกิดขึ้นจริงไม่เพียงพอ เนื่องจากราคาการก่อสร้างที่อยู่อาศัยมีราคาสูงขึ้น ประกอบกับราคาวัสดุก่อสร้างที่ผ่านมาในปี 2553 - 2561 มีราคาสูงขึ้น ดังนั้น กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จึงขอปรับแนวทางการอุดหนุนและสนับสนุนค่าใช้จ่ายสำหรับงบประมาณพัฒนาสาธารณูปโภคและที่อยู่อาศัย โดยขอเพิ่มกรอบวงเงินสนับสนุนโครงการบ้านมั่นคงจากเดิม 80,000 บาท/ครัวเรือน ตามที่คณะรัฐมนตรีได้เคยมีมติอนุมัติไว้ (มติคณะรัฐมนตรีวันที่ 16 มิถุนายน 2552) เป็น 89,800 บาท/ครัวเรือน (เพิ่มในส่วนงบพัฒนาปรับปรุงชุมชน) โดยให้เริ่มมีผลในปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ซึ่งเป็นไปตามที่นายกรัฐมนตรีเห็นชอบในหลักการตามความเห็นของสำนักงบประมาณ ซึ่งการขอเพิ่มกรอบวงเงินดังกล่าวจะทำให้รัฐต้องใช้งบประมาณรายจ่ายเพิ่มขึ้น (ตลอดระยะเวลาการดำเนินโครงการ 20 ปี) จาก 55,200 ล้านบาท เป็น 61,793.342 ล้านบาท (เพิ่มขึ้น 6,593.342 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 11.94) รายละเอียดสรุปได้ ดังนี้
หน่วย: ล้านบาท
ระยะเวลา (20 ปี) จำนวนครัวเรือน เป้าหมาย ระยะที่ 1 (พ.ศ. 2560 - 2564) 67,210 พ.ศ. 2560 5,000 พ.ศ. 2561 6,710 พ.ศ. 2562 5,500 พ.ศ. 2563 20,000 พ.ศ. 2564 30,000 ระยะที่ 2 (พ.ศ. 2565 - 2569) 150,000 ระยะที่ 3 (พ.ศ. 2570 - 2574) 200,000 ระยะที่ 4 (พ.ศ. 2575 - 2579) 272,790 รวม (พ.ศ. 2560– 2579) 690,000
ระยะเวลา (20 ปี)
งบประมาณ เดิม (80,000 บาท) ต่อครัวเรือน ขอเพิ่มในครั้งนี้ (89,800 บาท) ต่อครัวเรือน ระยะที่ 1 (พ.ศ. 2560 - 2564) 5,376.80 5,866.80 พ.ศ. 2560 400 - พ.ศ. 2561 536.8 - พ.ศ. 2562 440 - พ.ศ. 2563 1,600 1,796 พ.ศ. 2564 2,400 2,694 ระยะที่ 2 (พ.ศ. 2565 - 2569) 12,000 13,470 ระยะที่ 3 (พ.ศ. 2570 - 2574) 16,000 17,960 ระยะที่ 4 (พ.ศ. 2575 - 2579) 21,823.20 24,496.54 รวม (พ.ศ. 2560– 2579) 55,200 61,793.34 ระยะเวลา (20 ปี) งบประมาณที่เพิ่มขึ้น (บาท) ระยะที่ 1 (พ.ศ. 2560 - 2564) 490 พ.ศ. 2560 - พ.ศ. 2561 - พ.ศ. 2562 - พ.ศ. 2563 196 พ.ศ. 2564 294 ระยะที่ 2 (พ.ศ. 2565 - 2569) 1,470 ระยะที่ 3 (พ.ศ. 2570 - 2574) 1,960 ระยะที่ 4 (พ.ศ. 2575 - 2579) 2,673.34 รวม (พ.ศ. 2560– 2579) 6,593.34 ระยะเวลา (20 ปี) หมายเหตุ
ระยะที่ 1 (พ.ศ. 2560 - 2564)
พ.ศ. 2560 - พ.ศ. 2561 - พ.ศ. 2562 - พ.ศ. 2563 - พ.ศ. 2564 - ระยะที่ 2 (พ.ศ. 2565 - 2569) ปีละ 30,000 ครัวเรือน ระยะที่ 3 (พ.ศ. 2570 - 2574) ปีละ 40,000 ครัวเรือน ระยะที่ 4 (พ.ศ. 2575 - 2579) ปีละ 50,000 ครัวเรือน
(เฉพาะปี 2579 เป้าหมาย 32,790 ครัวเรือน)
รวม (พ.ศ. 2560– 2579) -
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 25 มิถุนายน 2562--