คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอการแก้ไขสัญญาร่วมลงทุนตามนัยมาตรา 64 และมาตรา 68 (3) แห่งพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 รวม 4 สัญญา ซึ่งสำนักงานอัยการสูงสุด (อส.) ตรวจพิจารณา และบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) (ทอท.) ได้ปรับปรุง ร่างสัญญาตามข้อสังเกตของ อส. แล้ว ดังนี้
1. ร่างสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมสัญญาโครงการคลังสินค้า ณ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (โครงการคลังสินค้าฯ) ครั้งที่ 2 ระหว่าง ทอท. กับบริษัท ดับบลิวเอฟเอสพีจีคาร์โก้ จำกัด (WFS- PG CARGO Co., Ltd. : WFSPG)
2. ร่างสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมสัญญาโครงการอุปกรณ์บริการภาคพื้นและสิ่งอำนวยความสะดวก ด้านการซ่อมบำรุง ณ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (โครงการอุปกรณ์บริการภาคพื้นฯ) ครั้งที่ 2 ระหว่าง ทอท. กับ บริษัท บริการภาคพื้นการบินกรุงเทพเวิลด์ไวด์ไฟลท์เซอร์วิส จำกัด (Worldwide Flight Services Bangkok Air Ground Handling Co., Ltd. : BFS)
3. ร่างสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมสัญญาโครงการครัวการบิน (Catering Services) ณ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (โครงการครัวการบินฯ) ครั้งที่ 3 ระหว่าง ทอท. กับบริษัท ครัวการบินกรุงเทพ จำกัด (Bangkok Air Catering Co., Ltd. : BAC)
4. ร่างสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมสัญญาโครงการครัวการบิน (Catering Services) ณ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ครั้งที่ 3 ระหว่าง ทอท. กับบริษัท แอลเอสจี สกายเชฟส์ (ประเทศไทย) จำกัด [LSG Sky Chefs (Thailand) Ltd. : LSG]
เรื่องดังกล่าวกระทรวงคมนาคม โดยบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) ได้เสนอขอแก้ไขสัญญาเพิ่มเติมจำนวน 4 ฉบับ ระหว่างบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) ผู้ประกอบการเอกชนที่ได้รับสิทธิในการดำเนินโครงการคลังสินค้า โครงการอุปกรณ์บริการภาคพื้นและสิ่งอำนวยความสะดวกด้านการซ่อมบำรุงและโครงการครัวการบิน ณ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ได้แก่ บริษัท ดับบลิวเอฟเอสพีจีคาร์โก้ จำกัด (WFSPG) บริษัท บริการภาคพื้นการบินกรุงเทพเวิลด์ไวด์ไฟลท์เซอร์วิส จำกัด (BFS) บริษัท ครัวการบินกรุงเทพ จำกัด (BAC) และ บริษัท แอลเอสจี สกายเชฟส์ (ประเทศไทย) จำกัด (LSG) ซึ่งมีสาระสำคัญเพื่อเป็นการบรรเทาผลกระทบจากสถานการณ์ความไม่สงบทางการเมืองภายในประเทศอันนำไปสู่การปิดท่าอากาศยานสุวรรณภูมิช่วงระหว่างเดือนเมษายน – ธันวาคม 2553 (ระยะเวลา 9 เดือน) ตามมติคณะกรรมการบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) ในคราวประชุมครั้งที่ 3/2553 เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2553 ที่ให้ความเห็นชอบมาตรการให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการปี 2553 และปี 2553 (เพิ่มเติม) และต่อมาคณะกรรมการประสานงานโครงการต่าง ๆ ณ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิครั้งที่ 1/2555 เมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2555 มีมติเห็นชอบมาตรการดังกล่าวข้างต้นยกเว้นการขยายอายุสัญญาออกไปอีก 2 ปี โดยจะให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการ ดังนี้
โครงการ/ผู้ประกอบการ มาตรการที่1 มาตรการที่2 มาตรการที่3 โครงการคลังสินค้า/บริษัท WFSPG ใช้ ใช้ ใช้ โครงการอุปกรณ์บริการภาคพื้นและ ใช้
สิ่งอำนวยความสะดวกด้านการซ่อมบำรุง/บริษัท BFS
โครงการครัวการบิน/บริษัท BAC ใช้ ใช้ ใช้ โครงการครัวการบิน/บริษัท LSG ใช้ ใช้ ใช้
หมายเหตุ มาตรการที่ 1 เลื่อนการเรียกเก็บเงินค่าตอบแทนอัตราร้อยละและอัตราค่าตอบแทนขั้นต่ำของปีสัญญาที่ 2 ไปเป็นอัตราร้อยละและอัตราค่าตอบแทนขั้นต่ำในปีสัญญาที่ 4 และปีสัญญาที่ 5
มาตรการที่ 2 ยกเว้นค่าตอบแทนขั้นต่ำ 9 เดือน ตั้งแต่เดือนเมษายน – ธันวาคม 2553 (กรณีค่าตอบแทนที่คำนวณจากอัตราร้อยละสูงกว่าอัตราค่าตอบแทนขั้นต่ำให้เรียกเก็บเงินค่าตอบแทนในอัตราค่าตอบแทนขั้นต่ำ)
มาตรการที่ 3 เลื่อนการเรียกเก็บเงินค่าตอบแทนอัตราร้อยละและอัตราค่าตอบแทนขั้นต่ำของปีสัญญาที่ 3 ไปเป็นอัตราร้อยละและอัตราค่าตอบแทนขั้นต่ำในปีสัญญาที่ 6 และตั้งแต่ปีสัญญาที่ 4 เป็นต้นไปให้เลื่อนอัตราร้อยละและอัตราค่าตอบแทนขั้นต่ำที่กำหนดไว้เป็นลักษณะเดียวกันกับการเลื่อนอัตราร้อยละและอัตราค่าตอบแทนขั้นต่ำของปีสัญญาที่ 3 เป็นปีสัญญาที่ 6 จนครบกำหนดอายุสัญญา 20 ปี
โดยในส่วนของมูลค่าความช่วยเหลือผู้ประกอบการตามมาตรการให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการปี 2553 และปี 2553 (เพิ่มเติม) เมื่อบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) ได้แก้ไขสัญญาเพิ่มเติมแล้ว จะทำให้อัตราค่าตอบแทนที่ผู้ประกอบการจะต้องชำระเป็นไปตามรายละเอียดที่ปรากฏในตาราง ซึ่งมูลค่าการให้ความช่วยเหลือนั้นเป็นไปตามหลักการที่ว่า การให้ความช่วยเหลือจะต้องไม่เกินไปกว่ามูลค่าความเสียหายที่ประเมินได้
ช่วงเวลาของสัญญา
BAC - ค่าตอบแทนขั้นต่ำ (บาท)
ปีที่ 4
(1 มกราคม 2553 – 29,000,000.00
31 มีนาคม 2553)
(1 เมษายน 2553 – 57,033,333.33
27 กันยายน 2553) (ไม่เรียกเก็บขั้นต่ำ)
ปีที่ 5
(28 กันยายน 2553 – 29,966,666.67
31 ธันวาคม 2553) (ไม่เรียกเก็บขั้นต่ำ)
(1 มกราคม 2554 – 86,033,333.33
27 กันยายน 2554)
ปีที่ 6 116,000,000.00
ปีที่ 7 129,920,000.00
ปีที่ 8 129,920,000.00
ปีที่ 9 129,920,000.00
ปีที่ 10 145,510,400.00
ปีที่ 11 145,510,400.00
ปีที่ 12 145,510,400.00
ปีที่ 13 162,971,648.00
ปีที่ 14 162,971,648.00
ปีที่ 15 162,971,648.00
ปีที่ 16 182,528,246.00
ปีที่ 17 182,528,246.00
ปีที่ 18 182,528,246.00
ปีที่ 19 204,431,636.00
ปีที่ 20 204,431,636.00
LSG - ค่าตอบแทนขั้นต่ำ (บาท)
ปีที่ 4
(1 มกราคม 2553 – 17,500,000.00
31 มีนาคม 2553)
(1 เมษายน 2553 – 34,416,666.67
27 กันยายน 2553) (ไม่เรียกเก็บขั้นต่ำ)
ปีที่ 5
(28 กันยายน 2553 – 18,083,333.33
31 ธันวาคม 2553) (ไม่เรียกเก็บขั้นต่ำ)
(1 มกราคม 2554 – 51,916,666.67
27 กันยายน 2554)
ปีที่ 6 70,000,000.00
ปีที่ 7 78,400,000.00
ปีที่ 8 78,400,000.00
ปีที่ 9 78,400,000.00
ปีที่ 10 87,808,000.00
ปีที่ 11 87,808,000.00
ปีที่ 12 87,808,000.00
ปีที่ 13 98,344,960.00
ปีที่ 14 98,344,960.00
ปีที่ 15 98,344,960.00
ปีที่ 16 110,146,356.00
ปีที่ 17 110,146,356.00
ปีที่ 18 110,146,356.00
ปีที่ 19 123,363,919.00
ปีที่ 20 123,363,919.00
BFS - ค่าตอบแทนขั้นต่ำ (บาท)
ปีที่ 4
(1 มกราคม 2553 – 41,500,000.00
31 มีนาคม 2553)
(1 เมษายน 2553 – 81,616,666.67
27 กันยายน 2553) (ไม่เรียกเก็บขั้นต่ำ)
ปีที่ 5
(28 กันยายน 2553 – 48,029,333.33
31 ธันวาคม 2553) (ไม่เรียกเก็บขั้นต่ำ)
(1 มกราคม 2554 – 137,890,666.67
27 กันยายน 2554)
ปีที่ 6 185,920,000.00
ปีที่ 7 185,920,000.00
ปีที่ 8 208,230,400.00
ปีที่ 9 208,230,400.00
ปีที่ 10 208,230,400.00
ปีที่ 11 233,218,048.00
ปีที่ 12 233,218,048.00
ปีที่ 13 233,218,048.00
ปีที่ 14 261,204,214.00
ปีที่ 15 261,204,214.00
ปีที่ 16 261,204,214.00
ปีที่ 17 292,548,720.00
ปีที่ 18 292,548,720.00
ปีที่ 19 292,548,720.00
ปีที่ 20 327,654,566.00
WFSPG - ค่าตอบแทนขั้นต่ำ (บาท)
ปีที่ 4
(1 มกราคม 2553 – 37,500,000.00
31 มีนาคม 2553)
(1 เมษายน 2553 – 73,750,000.00
27 กันยายน 2553) (ไม่เรียกเก็บขั้นต่ำ)
ปีที่ 5
(28 กันยายน 2553 – 38,750,000.00
31 ธันวาคม 2553) (ไม่เรียกเก็บขั้นต่ำ)
(1 มกราคม 2554 – 111,250,000.00
27 กันยายน 2554)
ปีที่ 6 150,000,000.00
ปีที่ 7 168,000,000.00
ปีที่ 8 168,000,000.00
ปีที่ 9 168,000,000.00
ปีที่ 10 188,160,000.00
ปีที่ 11 188,160,000.00
ปีที่ 12 188,160,000.00
ปีที่ 13 210,739,200.00
ปีที่ 14 210,739,200.00
ปีที่ 15 210,739,200.00
ปีที่ 16 236,027,904.00
ปีที่ 17 236,027,904.00
ปีที่ 18 236,027,904.00
ปีที่ 19 264,351,253.00
ปีที่ 20 264,351,253.00
ดังนั้น เรื่องดังกล่าวจึงเป็นการเสนอขอแก้ไขการเรียกเก็บค่าผลประโยชน์ตอบแทนซึ่งเป็น การเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับผลประโยชน์ตอบแทนของรัฐ จึงเข้าข่ายการแก้ไขสัญญาร่วมลงทุนในส่วนที่เป็นสาระสำคัญตามประกาศคณะกรรมการนโยบายการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ ซึ่งบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) ได้ดำเนินการตามขั้นตอนของมาตรา 47 แห่งพระราชบัญญัติการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2556 ซึ่งอาศัยบทเฉพาะกาลตามนัยมาตรา 64 และมาตรา 68 (3) แห่งพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 ด้วยแล้ว โดยร่างสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าวได้ผ่านการพิจารณาเห็นชอบจากคณะกรรมการบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) คณะกรรมการกำกับดูแลโครงการคลังสินค้า โครงการอุปกรณ์บริการภาคพื้นและสิ่งอำนวยความสะดวกด้านการซ่อมบำรุง และโครงการครัวการบิน ณ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ รวมทั้งได้ผ่านการตรวจพิจารณาจากสำนักงานอัยการสูงสุดแล้ว ประกอบกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กระทรวงการคลัง สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และสำนักงานอัยการสูงสุด เห็นชอบกับการแก้ไขสัญญาร่วมลงทุนตามพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 รวม 4 ฉบับ ตามที่กระทรวงคมนาคม [บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน)] เสนอด้วยแล้ว
ทั้งนี้ การแก้ไขสัญญาที่กระทรวงคมนาคม [บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน)] เสนอมาในครั้งนี้ เป็นการดำเนินการให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการในลักษณะเดียวกันกับที่บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ได้รับไปแล้วก่อนหน้านี้ จึงเป็นไปตามหลักการความเท่าเทียมกันสำหรับผู้ประกอบการทุกราย ตามความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ที่มา: ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 2 กรกฎาคม 2562