คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รายงานสรุปความก้าวหน้าการดำเนินงานตามนโยบายการแปลงสินทรัพย์เป็นทุน ปีงบประมาณ 2548 ในส่วนของสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) กรมส่งเสริมสหกรณ์ กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ และกรมที่ดิน ประจำปีงบประมาณ 2548 (ตุลาคม — ธันวาคม 2547) ดังนี้
1. สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม เป้าหมายการขึ้นทะเบียน 600,000 ราย การเข้าถึงแหล่งทุน 200,000 ราย ผลการขึ้นทะเบียน 120,387 ราย (20.06%) เกษตรกรยื่นกู้ 7,978 ราย (3.99%) ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) อนุมัติสินเชื่อ 17,658 ราย (8.82%) วงเงินอนุมัติ 1,475.74 ล้านบาท เนื่องจากเป็นช่วงต่อเนื่องระหว่างปีงบประมาณ จำนวนผู้ยื่นขอกู้เงินจึงน้อยกว่าจำนวนผู้ได้รับอนุมัติสินเชื่อ จำนวนเงินกู้ที่เกษตรกรได้รับก่อนมีนโยบายการแปลงสินทรัพย์เป็นทุนเฉลี่ยรายละ 30,000-50,000 บาท ซึ่งเป็นการกู้เพื่อลงทุนระยะสั้นปีต่อปี หลังมีนโยบายนี้เกษตรกรสามารถกู้เงินลงทุนระยะปานกลางเฉลี่ยรายละประมาณ 83,000 บาท หรือมากกว่าหากเป็นโครงการที่ดี เพื่อเป็นการลงทุนระยะยาวเพิ่มขึ้น
2. กรมส่งเสริมสหกรณ์ เป้าหมายการขึ้นทะเบียน 10,000 ราย เกษตรกรยื่นกู้ 3,000 ราย ธ.ก.ส. อนุมัติ เงินกู้ 2,700 ราย ผลการขึ้นทะเบียน 3,316 ราย (33.16%) เกษตรกรยื่นกู้ 217 ราย (7.23%) ธ.ก.ส. อนุมัติสินเชื่อ 25 ราย (0.92%) วงเงินอนุมัติ 3.46 ล้านบาท
3. กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ เป้าหมายการขึ้นทะเบียน 30,000 ราย เกษตรกรยื่นกู้ 15,400 ราย ธ.ก.ส. อนุมัติเงินกู้ 2,700 ราย ผลการขึ้นทะเบียน 2,706 ราย (9.02%) เกษตรกรยื่นกู้ 347 ราย (2.25%) ธ.ก.ส. อนุมัติสินเชื่อ 147 ราย (0.95%) วงเงินอนุมัติ 12.75 ล้านบาท
4. กรมที่ดิน เป้าหมายการออกโฉนด 1,000,528 แปลง ผลการออกโฉนด 332,341 แปลง (33.22%) สถาบันการเงินอนุมัติสินเชื่อ 483 ราย วงเงินอนุมัติ 146.45 ล้านบาท
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2548--จบ--
1. สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม เป้าหมายการขึ้นทะเบียน 600,000 ราย การเข้าถึงแหล่งทุน 200,000 ราย ผลการขึ้นทะเบียน 120,387 ราย (20.06%) เกษตรกรยื่นกู้ 7,978 ราย (3.99%) ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) อนุมัติสินเชื่อ 17,658 ราย (8.82%) วงเงินอนุมัติ 1,475.74 ล้านบาท เนื่องจากเป็นช่วงต่อเนื่องระหว่างปีงบประมาณ จำนวนผู้ยื่นขอกู้เงินจึงน้อยกว่าจำนวนผู้ได้รับอนุมัติสินเชื่อ จำนวนเงินกู้ที่เกษตรกรได้รับก่อนมีนโยบายการแปลงสินทรัพย์เป็นทุนเฉลี่ยรายละ 30,000-50,000 บาท ซึ่งเป็นการกู้เพื่อลงทุนระยะสั้นปีต่อปี หลังมีนโยบายนี้เกษตรกรสามารถกู้เงินลงทุนระยะปานกลางเฉลี่ยรายละประมาณ 83,000 บาท หรือมากกว่าหากเป็นโครงการที่ดี เพื่อเป็นการลงทุนระยะยาวเพิ่มขึ้น
2. กรมส่งเสริมสหกรณ์ เป้าหมายการขึ้นทะเบียน 10,000 ราย เกษตรกรยื่นกู้ 3,000 ราย ธ.ก.ส. อนุมัติ เงินกู้ 2,700 ราย ผลการขึ้นทะเบียน 3,316 ราย (33.16%) เกษตรกรยื่นกู้ 217 ราย (7.23%) ธ.ก.ส. อนุมัติสินเชื่อ 25 ราย (0.92%) วงเงินอนุมัติ 3.46 ล้านบาท
3. กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ เป้าหมายการขึ้นทะเบียน 30,000 ราย เกษตรกรยื่นกู้ 15,400 ราย ธ.ก.ส. อนุมัติเงินกู้ 2,700 ราย ผลการขึ้นทะเบียน 2,706 ราย (9.02%) เกษตรกรยื่นกู้ 347 ราย (2.25%) ธ.ก.ส. อนุมัติสินเชื่อ 147 ราย (0.95%) วงเงินอนุมัติ 12.75 ล้านบาท
4. กรมที่ดิน เป้าหมายการออกโฉนด 1,000,528 แปลง ผลการออกโฉนด 332,341 แปลง (33.22%) สถาบันการเงินอนุมัติสินเชื่อ 483 ราย วงเงินอนุมัติ 146.45 ล้านบาท
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2548--จบ--