คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงแรงงานรายงานผลการตรวจราชการและติดตามสถานการณ์ภัยแล้งของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน (นายสรอรรถ กลิ่นประทุม) เมื่อวันเสาร์ที่ 2 เมษายน 2548 และให้รองนายกรัฐมนตรี (นายพินิจ จารุสมบัติ) รับข้อมูลและเรื่องดังกล่าวไปประกอบการพิจารณาดำเนินการแก้ไขปัญหาภัยแล้งในภาพรวมต่อไป สรุปได้ดังนี้
1. จังหวัดสมุทรสงคราม ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสงคราม (นายวิชชา ประสานเกลียว) รายงานสรุป รวมทั้งมีผู้ขอรับการช่วยเหลือ ดังนี้
1.1 สถานการณ์ภัยแล้ง มีพื้นที่ประสบภัยแล้ง 1 อำเภอ (อำเภออัมพวา) 11 ตำบล 96 หมู่บ้าน พื้นที่ทางการเกษตร 203,374 ไร่ และไม่มีรายงานความเสียหาย ประกอบกับขณะนี้สถานการณ์ภัยแล้งได้บรรเทาลง เนื่องจากมีฝนตกลงมาเมื่อวันที่ 25 — 26 มีนาคม 2548
1.2 ปัญหาของจังหวัดสมุทรสงครามขณะนี้คือ เกิดมลภาวะน้ำเสียในคลองวัดประดู่ ตำบลวัดประดู่ อำเภออัมพวา ไม่สามารถใช้น้ำจากคลองวัดประดู่เพื่อการอุปโภคบริโภคได้ รวมทั้งก่อให้เกิดความเสียหายแก่พื้นที่ไร่สวนผลไม้ ได้แก่ ลิ้นจี่ ส้มโอ สวนมะพร้าว เป็นอย่างมาก ซึ่งเชื่อว่าสาเหตุมลภาวะน้ำเสียเกิดจากการปล่อยน้ำเสียและสิ่งปฏิกูลของโรงงานอุตสาหกรรม และฟาร์มสุกรจากอำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี ซึ่งไหลลงมารวมในคลองวัดประดู่ จึงขอให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานช่วยหาทางแก้ไขด้วย
1.3 สถานการณ์แรงงานต่างด้าว นายจ้างแจ้งความต้องการแรงงานต่างด้าวทำงาน 11,976 ราย มีแรงงานต่างด้าวมาจดทะเบียน 8,579 ราย และได้พิจารณาออกใบอนุญาตทำงาน 6,607 ราย ซึ่งขณะนี้จังหวัดสมุทรสงครามได้ดำเนินการตรวจสอบการใช้แรงงานต่างด้าว และปราบปรามจับกุมผู้ฝ่าฝืนกฎหมายอย่างจริงจัง
1.4 นายกสมาคมประมงจังหวัดสมุทรสงครามได้เสนอขอให้รัฐบาลดูแลช่วยเหลือเรื่องราคาน้ำมันเขียวที่ใช้ในกิจการเรือประมง ขณะนี้มีราคาสูงมาก หากรัฐบาลไม่สามารถช่วยเหลือได้อาจจำเป็นต้องปิดอ่าวในวันที่ 4 พฤษภาคม 2548 ซึ่งจะส่งผลให้ไม่สามารถทำการประมงทะเลได้ รวมทั้งแรงงานต่างด้าวที่อยู่ในภาคประมงจะเคลื่อนย้ายงานมาทำงานบนฝั่งทะเลมากขึ้น สำหรับมาตรการแก้ไขปัญหาของสมาคมประมงคือ จะแบ่งแรงงานต่างด้าวออกเป็น 2 ส่วน โดยส่วนหนึ่งส่งกลับประเทศ (กลับบ้าน) และอีกส่วนหนึ่งให้คงประจำอยู่บนเรือไม่ให้ขึ้นฝั่ง แต่จะส่งอาหารน้ำให้
2. จังหวัดราชบุรี ผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรี (นายพลวัต ชยานุวัชร) รายงานสรุปรวมทั้งมีผู้ขอรับการช่วยเหลือ ดังนี้
2.1 สถานการณ์ภัยแล้ง มีพื้นที่ได้รับผลกระทบจากภัยแล้ง 6 อำเภอ 54 ตำบล 334 หมู่บ้าน พื้นที่การเกษตรทั้งหมด 1,411,824 ไร่ ได้รับผลกระทบจากภัยแล้ง 113,331 ไร่ ทั้งนี้ อำเภอจอมบึงเป็นอำเภอที่ประสบปัญหาภัยแล้งมากที่สุด และจังหวัดราชบุรีได้แก้ไขปัญหาภัยแล้ง โดย (1) พิจารณาความเหมาะสมของสภาพพื้นที่และความต้องการเร่งด่วนของราษฎร (2) ทำแผนการแจกจ่ายน้ำเพื่อการบริโภค (3) แจกจ่ายน้ำผู้บริโภคเฉลี่ย 50 ลิตร/คน/วัน
2.2 จังหวัดราชบุรี ได้เสนอขอรับการสนับสนุนเงินงบกลางจากรัฐบาลเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรผู้ประสบภัยแล้งด้านพืชและปศุสัตว์ เป็นเงินรวม 27,853,452.50 บาท ในจำนวนนี้ที่ประชุมคณะกรรมการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติจังหวัดราชบุรี (ก.ช.ภ.จ.ราชบุรี) ได้ให้ความเห็นชอบแล้วเป็นเงิน 7,415,792.50 บาท และอยู่ระหว่างการตรวจสอบข้อมูลเพื่อเสนอ ก.ช.ภ.จ.ราชบุรี เป็นเงิน 20,437,660 บาท
2.3 กำนันตำบลเบิกไพร อำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี ร้องขอให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานช่วยติดตามเรื่องความเดือดร้อนของราษฎรตำบลเบิกไพร ที่มีเอกสารสิทธิ น.ส.3 และ น.ส.3 ก แต่ไม่สามารถใช้เอกสารดังกล่าวได้ เนื่องจากอยู่ในเขตป่าสงวน หรือป่าเสื่อมโทรม และไม่อนุมัติให้แปลงสินทรัพย์เป็นทุน ซึ่งได้ส่งเรื่องนี้ให้สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีแล้ว ขณะนี้ยังไม่ได้รับคำตอบ
3. หลังจากรับฟังรับการบรรยายสรุปและการขอรับการช่วยเหลือแล้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานได้มอบนโยบายให้แก่ข้าราชการจังหวัดสมุทรสงครามและจังหวัดราชบุรี เพื่อเป็นแนวทางการปฏิบัติราชการและแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ดังนี้
3.1 นโยบายโดยรวม ได้แจ้งให้ข้าราชการและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในจังหวัดทราบว่าการมาตรวจราชการในวันนี้ได้รับมอบหมายจากนายกรัฐมนตรีให้มาศึกษาและดูแลแก้ไขปัญหาภัยแล้งของราษฎร 2 จังหวัดที่อยู่ในความรับผิดชอบ คือจังหวัดสมุทรสงคราม และจังหวัดราชบุรี รวมทั้งช่วยแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนอื่น ๆ ของราษฎร ตลอดจนได้ฝากหัวหน้าส่วนราชการในจังหวัด 2 จังหวัด ให้เป็นธุระรับเรื่องร้องทุกข์ และปัญหาความเดือดร้อนของราษฎร โดยเฉพาะปัญหาความยากจนและปัญหาภัยแล้ง โดยให้ประสานงานกับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในพื้นที่ด้วย
3.2 เรื่องการแก้ไขปัญหาภัยแล้ง และการบริหารจัดการน้ำอย่างมีระบบ จังหวัดควรมีแผนยุทธศาสตร์แก้ไขปัญหาภัยแล้งระยะยาว โดยมีนักวิชาการมาร่วมทำงาน ฝึกอบรมให้เกษตรกรรู้ถึงวิธีบริหารจัดการน้ำ รวมทั้งสร้างจิตสำนึกในเรื่องการประหยัดน้ำ รู้จักคุณค่าของน้ำ และวิธีการประหยัดน้ำให้แก่ราษฎร หรือปรับเปลี่ยนอาชีพจากเกษตรกรมาเป็นอุตสาหกรรม เพื่อรองรับการแข่งขันการค้าเสรีที่จะมีบทบาทมากขึ้น
3.3 เรื่องปัญหาน้ำเสียในคลองวัดประดู่ อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม ซึ่งเป็นปัญหาเชื่อมโยงระหว่าง 2 จังหวัด ได้มอบหมายให้ผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรีเร่งรัดตั้งคณะทำงานเพื่อแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนและไม่เข้าใจที่เกิดขึ้น โดยเชิญสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และผู้เกี่ยวข้องในพื้นที่ทุกจังหวัดร่วมประชุมหารือกัน โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานจะเข้าร่วมประชุมด้วย
3.4 ปัญหาแรงงานต่างด้าว ต้องให้มีความชัดเจนเรื่องจำนวนตัวเลขของแรงงานต่างด้าวทั่วประเทศ รวมทั้งให้ความเป็นธรรมแก่แรงงานต่างด้าว และนายจ้างที่มาขึ้นทะเบียนอย่างถูกต้องตามกฎหมาย หากไม่มาจดทะเบียนต้องเร่งผลักดันออกไป ซึ่งจะครบกำหนดระยะเวลาผ่อนผันวันที่ 30 มิถุนายน 2548 และควรให้มีแผนบริหารจัดการแรงงานต่างด้าวอย่างเป็นระบบ ซึ่งจะสามารถแก้ไขปัญหาแรงงานต่างด้าวให้หมดไปได้ รวมทั้งได้ขอให้ระมัดระวังโรคที่มากับแรงงานต่างด้าวที่อาจแพร่เชื้อได้ง่าย
3.5 ปัญหาเรื่องเอกสารสิทธิ น.ส.3 และ น.ส.3 ก. จะดำเนินการให้ถูกต้องต่อไป ซึ่งได้ฝาก ส.ส.ปารีณา ไกรคุปต์ ช่วยดูแล และจะประสานกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมต่อไป
3.6 การให้ความช่วยเหลือเกษตรกรที่ประสบปัญหาภัยแล้งให้ได้รับเงินชดเชยที่จังหวัดราชบุรี ฝากให้ดำเนินการตามขั้นตอนของระเบียบ และมีความโปร่งใส เมื่อผ่านการตรวจสอบแล้วรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานจะไปเร่งรัดในเรื่องการอนุมัติเบิกจ่ายเงินต่อไป
อนึ่ง การตรวจราชการและติดตามสถานการณ์ภัยแล้งคราวนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานได้เดินทางไปกล่าวปราศรัยกับราษฎรและมอบน้ำดื่ม/ถุงยังชีพให้แก่ราษฎร ตำบลวัดประดู่ อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม และแจกจ่ายน้ำให้แก่ราษฎร ณ บ้านหนองปรือ หมู่ที่ 2 ตำบลเบิกไพร อำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี ด้วย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 12 เมษายน 2548--จบ--
1. จังหวัดสมุทรสงคราม ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสงคราม (นายวิชชา ประสานเกลียว) รายงานสรุป รวมทั้งมีผู้ขอรับการช่วยเหลือ ดังนี้
1.1 สถานการณ์ภัยแล้ง มีพื้นที่ประสบภัยแล้ง 1 อำเภอ (อำเภออัมพวา) 11 ตำบล 96 หมู่บ้าน พื้นที่ทางการเกษตร 203,374 ไร่ และไม่มีรายงานความเสียหาย ประกอบกับขณะนี้สถานการณ์ภัยแล้งได้บรรเทาลง เนื่องจากมีฝนตกลงมาเมื่อวันที่ 25 — 26 มีนาคม 2548
1.2 ปัญหาของจังหวัดสมุทรสงครามขณะนี้คือ เกิดมลภาวะน้ำเสียในคลองวัดประดู่ ตำบลวัดประดู่ อำเภออัมพวา ไม่สามารถใช้น้ำจากคลองวัดประดู่เพื่อการอุปโภคบริโภคได้ รวมทั้งก่อให้เกิดความเสียหายแก่พื้นที่ไร่สวนผลไม้ ได้แก่ ลิ้นจี่ ส้มโอ สวนมะพร้าว เป็นอย่างมาก ซึ่งเชื่อว่าสาเหตุมลภาวะน้ำเสียเกิดจากการปล่อยน้ำเสียและสิ่งปฏิกูลของโรงงานอุตสาหกรรม และฟาร์มสุกรจากอำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี ซึ่งไหลลงมารวมในคลองวัดประดู่ จึงขอให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานช่วยหาทางแก้ไขด้วย
1.3 สถานการณ์แรงงานต่างด้าว นายจ้างแจ้งความต้องการแรงงานต่างด้าวทำงาน 11,976 ราย มีแรงงานต่างด้าวมาจดทะเบียน 8,579 ราย และได้พิจารณาออกใบอนุญาตทำงาน 6,607 ราย ซึ่งขณะนี้จังหวัดสมุทรสงครามได้ดำเนินการตรวจสอบการใช้แรงงานต่างด้าว และปราบปรามจับกุมผู้ฝ่าฝืนกฎหมายอย่างจริงจัง
1.4 นายกสมาคมประมงจังหวัดสมุทรสงครามได้เสนอขอให้รัฐบาลดูแลช่วยเหลือเรื่องราคาน้ำมันเขียวที่ใช้ในกิจการเรือประมง ขณะนี้มีราคาสูงมาก หากรัฐบาลไม่สามารถช่วยเหลือได้อาจจำเป็นต้องปิดอ่าวในวันที่ 4 พฤษภาคม 2548 ซึ่งจะส่งผลให้ไม่สามารถทำการประมงทะเลได้ รวมทั้งแรงงานต่างด้าวที่อยู่ในภาคประมงจะเคลื่อนย้ายงานมาทำงานบนฝั่งทะเลมากขึ้น สำหรับมาตรการแก้ไขปัญหาของสมาคมประมงคือ จะแบ่งแรงงานต่างด้าวออกเป็น 2 ส่วน โดยส่วนหนึ่งส่งกลับประเทศ (กลับบ้าน) และอีกส่วนหนึ่งให้คงประจำอยู่บนเรือไม่ให้ขึ้นฝั่ง แต่จะส่งอาหารน้ำให้
2. จังหวัดราชบุรี ผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรี (นายพลวัต ชยานุวัชร) รายงานสรุปรวมทั้งมีผู้ขอรับการช่วยเหลือ ดังนี้
2.1 สถานการณ์ภัยแล้ง มีพื้นที่ได้รับผลกระทบจากภัยแล้ง 6 อำเภอ 54 ตำบล 334 หมู่บ้าน พื้นที่การเกษตรทั้งหมด 1,411,824 ไร่ ได้รับผลกระทบจากภัยแล้ง 113,331 ไร่ ทั้งนี้ อำเภอจอมบึงเป็นอำเภอที่ประสบปัญหาภัยแล้งมากที่สุด และจังหวัดราชบุรีได้แก้ไขปัญหาภัยแล้ง โดย (1) พิจารณาความเหมาะสมของสภาพพื้นที่และความต้องการเร่งด่วนของราษฎร (2) ทำแผนการแจกจ่ายน้ำเพื่อการบริโภค (3) แจกจ่ายน้ำผู้บริโภคเฉลี่ย 50 ลิตร/คน/วัน
2.2 จังหวัดราชบุรี ได้เสนอขอรับการสนับสนุนเงินงบกลางจากรัฐบาลเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรผู้ประสบภัยแล้งด้านพืชและปศุสัตว์ เป็นเงินรวม 27,853,452.50 บาท ในจำนวนนี้ที่ประชุมคณะกรรมการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติจังหวัดราชบุรี (ก.ช.ภ.จ.ราชบุรี) ได้ให้ความเห็นชอบแล้วเป็นเงิน 7,415,792.50 บาท และอยู่ระหว่างการตรวจสอบข้อมูลเพื่อเสนอ ก.ช.ภ.จ.ราชบุรี เป็นเงิน 20,437,660 บาท
2.3 กำนันตำบลเบิกไพร อำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี ร้องขอให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานช่วยติดตามเรื่องความเดือดร้อนของราษฎรตำบลเบิกไพร ที่มีเอกสารสิทธิ น.ส.3 และ น.ส.3 ก แต่ไม่สามารถใช้เอกสารดังกล่าวได้ เนื่องจากอยู่ในเขตป่าสงวน หรือป่าเสื่อมโทรม และไม่อนุมัติให้แปลงสินทรัพย์เป็นทุน ซึ่งได้ส่งเรื่องนี้ให้สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีแล้ว ขณะนี้ยังไม่ได้รับคำตอบ
3. หลังจากรับฟังรับการบรรยายสรุปและการขอรับการช่วยเหลือแล้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานได้มอบนโยบายให้แก่ข้าราชการจังหวัดสมุทรสงครามและจังหวัดราชบุรี เพื่อเป็นแนวทางการปฏิบัติราชการและแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ดังนี้
3.1 นโยบายโดยรวม ได้แจ้งให้ข้าราชการและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในจังหวัดทราบว่าการมาตรวจราชการในวันนี้ได้รับมอบหมายจากนายกรัฐมนตรีให้มาศึกษาและดูแลแก้ไขปัญหาภัยแล้งของราษฎร 2 จังหวัดที่อยู่ในความรับผิดชอบ คือจังหวัดสมุทรสงคราม และจังหวัดราชบุรี รวมทั้งช่วยแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนอื่น ๆ ของราษฎร ตลอดจนได้ฝากหัวหน้าส่วนราชการในจังหวัด 2 จังหวัด ให้เป็นธุระรับเรื่องร้องทุกข์ และปัญหาความเดือดร้อนของราษฎร โดยเฉพาะปัญหาความยากจนและปัญหาภัยแล้ง โดยให้ประสานงานกับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในพื้นที่ด้วย
3.2 เรื่องการแก้ไขปัญหาภัยแล้ง และการบริหารจัดการน้ำอย่างมีระบบ จังหวัดควรมีแผนยุทธศาสตร์แก้ไขปัญหาภัยแล้งระยะยาว โดยมีนักวิชาการมาร่วมทำงาน ฝึกอบรมให้เกษตรกรรู้ถึงวิธีบริหารจัดการน้ำ รวมทั้งสร้างจิตสำนึกในเรื่องการประหยัดน้ำ รู้จักคุณค่าของน้ำ และวิธีการประหยัดน้ำให้แก่ราษฎร หรือปรับเปลี่ยนอาชีพจากเกษตรกรมาเป็นอุตสาหกรรม เพื่อรองรับการแข่งขันการค้าเสรีที่จะมีบทบาทมากขึ้น
3.3 เรื่องปัญหาน้ำเสียในคลองวัดประดู่ อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม ซึ่งเป็นปัญหาเชื่อมโยงระหว่าง 2 จังหวัด ได้มอบหมายให้ผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรีเร่งรัดตั้งคณะทำงานเพื่อแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนและไม่เข้าใจที่เกิดขึ้น โดยเชิญสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และผู้เกี่ยวข้องในพื้นที่ทุกจังหวัดร่วมประชุมหารือกัน โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานจะเข้าร่วมประชุมด้วย
3.4 ปัญหาแรงงานต่างด้าว ต้องให้มีความชัดเจนเรื่องจำนวนตัวเลขของแรงงานต่างด้าวทั่วประเทศ รวมทั้งให้ความเป็นธรรมแก่แรงงานต่างด้าว และนายจ้างที่มาขึ้นทะเบียนอย่างถูกต้องตามกฎหมาย หากไม่มาจดทะเบียนต้องเร่งผลักดันออกไป ซึ่งจะครบกำหนดระยะเวลาผ่อนผันวันที่ 30 มิถุนายน 2548 และควรให้มีแผนบริหารจัดการแรงงานต่างด้าวอย่างเป็นระบบ ซึ่งจะสามารถแก้ไขปัญหาแรงงานต่างด้าวให้หมดไปได้ รวมทั้งได้ขอให้ระมัดระวังโรคที่มากับแรงงานต่างด้าวที่อาจแพร่เชื้อได้ง่าย
3.5 ปัญหาเรื่องเอกสารสิทธิ น.ส.3 และ น.ส.3 ก. จะดำเนินการให้ถูกต้องต่อไป ซึ่งได้ฝาก ส.ส.ปารีณา ไกรคุปต์ ช่วยดูแล และจะประสานกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมต่อไป
3.6 การให้ความช่วยเหลือเกษตรกรที่ประสบปัญหาภัยแล้งให้ได้รับเงินชดเชยที่จังหวัดราชบุรี ฝากให้ดำเนินการตามขั้นตอนของระเบียบ และมีความโปร่งใส เมื่อผ่านการตรวจสอบแล้วรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานจะไปเร่งรัดในเรื่องการอนุมัติเบิกจ่ายเงินต่อไป
อนึ่ง การตรวจราชการและติดตามสถานการณ์ภัยแล้งคราวนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานได้เดินทางไปกล่าวปราศรัยกับราษฎรและมอบน้ำดื่ม/ถุงยังชีพให้แก่ราษฎร ตำบลวัดประดู่ อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม และแจกจ่ายน้ำให้แก่ราษฎร ณ บ้านหนองปรือ หมู่ที่ 2 ตำบลเบิกไพร อำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี ด้วย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 12 เมษายน 2548--จบ--