คณะรัฐมนตรีพิจารณาการเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาว่าด้วยการผสมสารในวัตถุระเบิดพลาสติกเพื่อวัตถุประสงค์ในการตรวจจับ ค.ศ. 1991 ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ แล้วมีมติเห็นชอบดังนี้
1. เห็นชอบในหลักการตามที่คณะกรรมการเพื่อพิจารณาการเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาเกี่ยวกับการก่อการร้ายระหว่างประเทศเสนอให้ประเทศไทยสามารถเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาว่าด้วยการผสมสารในวัตถุระเบิดพลาสติกเพื่อวัตถุประสงค์ในการตรวจจับ ค.ศ.1991 ได้โดยไม่จำเป็นต้องแก้ไขเพิ่มเติมหรือออกกฎหมายอนุวัติการอีก
2. ให้ประเทศไทยเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาว่าด้วยการผสมสารในวัตถุระเบิดพลาสติกเพื่อวัตถุประสงค์ใน การตรวจจับ ค.ศ. 1991 โดยให้ตั้งข้อสงวนตามข้อ 11 วรรค 2 ของอนุสัญญาฯ ที่จะไม่ผูกพันตามข้อ 11 วรรค 1 ของอนุสัญญาฯ ที่กำหนดให้รัฐภาคีระงับข้อพิพาทระหว่างกันโดยอนุญาโตตุลาการหรือศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ตามแนวทางปฏิบัติของประเทศไทยที่จะไม่รับเขตอำนาจศาลยุติธรรมระหว่างประเทศล่วงหน้า และให้กระทรวงการต่างประเทศจัดทำภาคยานุวัติสารเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาฯ ต่อไป
ทั้งนี้ อนุสัญญาฯ ดังกล่าวมีสาระสำคัญดังนี้
1. กำหนดให้รัฐภาคีใช้มาตรการที่จำเป็นและอย่างได้ผลเพื่อห้ามและป้องกันการผลิตวัตถุระเบิดพลาสติกที่ไม่ได้ผสมสารช่วยตรวจจับในดินแดนของตน
2. กำหนดให้รัฐภาคีใช้มาตรการที่จำเป็นและอย่างได้ผลเพื่อห้ามและป้องกันการเคลื่อนย้ายวัตถุระเบิดพลาสติกที่ไม่ได้ผสมสารช่วยตรวจจับเข้ามาหรือออกจากดินแดนของตน
3. กำหนดให้รัฐภาคีใช้มาตรการที่จำเป็นเพื่อการทำลายหรือใช้ให้หมดไปซึ่งวัตถุระเบิดพลาสติกที่ไม่ได้ผสมสารช่วยตรวจจับที่มีไว้ในครอบครอง โดยภาคเอกชนภายใน 3 ปี และโดยกองทัพและตำรวจภายใน 15 ปี นับแต่วันที่อนุสัญญาฯ มีผลใช้บังคับกับประเทศไทย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 18 ตุลาคม 2548--จบ--
1. เห็นชอบในหลักการตามที่คณะกรรมการเพื่อพิจารณาการเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาเกี่ยวกับการก่อการร้ายระหว่างประเทศเสนอให้ประเทศไทยสามารถเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาว่าด้วยการผสมสารในวัตถุระเบิดพลาสติกเพื่อวัตถุประสงค์ในการตรวจจับ ค.ศ.1991 ได้โดยไม่จำเป็นต้องแก้ไขเพิ่มเติมหรือออกกฎหมายอนุวัติการอีก
2. ให้ประเทศไทยเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาว่าด้วยการผสมสารในวัตถุระเบิดพลาสติกเพื่อวัตถุประสงค์ใน การตรวจจับ ค.ศ. 1991 โดยให้ตั้งข้อสงวนตามข้อ 11 วรรค 2 ของอนุสัญญาฯ ที่จะไม่ผูกพันตามข้อ 11 วรรค 1 ของอนุสัญญาฯ ที่กำหนดให้รัฐภาคีระงับข้อพิพาทระหว่างกันโดยอนุญาโตตุลาการหรือศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ตามแนวทางปฏิบัติของประเทศไทยที่จะไม่รับเขตอำนาจศาลยุติธรรมระหว่างประเทศล่วงหน้า และให้กระทรวงการต่างประเทศจัดทำภาคยานุวัติสารเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาฯ ต่อไป
ทั้งนี้ อนุสัญญาฯ ดังกล่าวมีสาระสำคัญดังนี้
1. กำหนดให้รัฐภาคีใช้มาตรการที่จำเป็นและอย่างได้ผลเพื่อห้ามและป้องกันการผลิตวัตถุระเบิดพลาสติกที่ไม่ได้ผสมสารช่วยตรวจจับในดินแดนของตน
2. กำหนดให้รัฐภาคีใช้มาตรการที่จำเป็นและอย่างได้ผลเพื่อห้ามและป้องกันการเคลื่อนย้ายวัตถุระเบิดพลาสติกที่ไม่ได้ผสมสารช่วยตรวจจับเข้ามาหรือออกจากดินแดนของตน
3. กำหนดให้รัฐภาคีใช้มาตรการที่จำเป็นเพื่อการทำลายหรือใช้ให้หมดไปซึ่งวัตถุระเบิดพลาสติกที่ไม่ได้ผสมสารช่วยตรวจจับที่มีไว้ในครอบครอง โดยภาคเอกชนภายใน 3 ปี และโดยกองทัพและตำรวจภายใน 15 ปี นับแต่วันที่อนุสัญญาฯ มีผลใช้บังคับกับประเทศไทย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 18 ตุลาคม 2548--จบ--