คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงการคลังเสนอการแก้ไขเพิ่มเติมวิธีการดำเนินมาตรการส่งเสริมการท่องเที่ยวในประเทศ “ชิมช้อปใช้” (มาตรการฯ) ดังนี้
กระทรวงการคลังได้หารือร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กรมการท่องเที่ยว สำนักงานปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย กรมการปกครอง และธนาคารแห่งประเทศไทย เพื่อเตรียมความพร้อมในการดำเนินมาตรการฯ ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถบรรลุวัตถุประสงค์ในการกระตุ้นเศรษฐกิจ ส่งเสริมการท่องเที่ยว และสนับสนุนการใช้จ่ายผ่านระบบการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์โดยภาครัฐ (g-Wallet) และติดตามความคืบหน้ากับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยเห็นว่ามีประเด็นวิธีการดำเนินมาตรการที่ควรมีการปรับปรุงแก้ไขเพื่อให้สอดคล้องกับแนวปฏิบัติและเกิดประโยชน์กับประชาชนมากยิ่งขึ้น
การดำเนินมาตรการฯ นี้จะเริ่มต้นในวันที่ 27 กันยายน 2562 จึงจำเป็นที่จะต้องมีความชัดเจนเกี่ยวกับหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขของการดำเนินมาตรการฯ โดยเร็วที่สุด เพื่อจะได้จัดทำระบบการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์โดยภาครัฐที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของมาตรการฯ และสามารถประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนเข้าใจการดำเนินมาตรการฯ อย่างถูกต้อง
สาระสำคัญ
ขอแก้ไขเพิ่มเติมวิธีการดำเนินมาตรการฯ โดยมีประเด็นที่จะแก้ไขเพิ่มเติม และเหตุผลของการแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าว ดังนี้
4.1) ประชาชนที่สนใจลงทะเบียนผ่านเว็บไซต์เพื่อเข้าร่วมมาตรการ โดยระบุจังหวัดที่จะเดินทางไปท่องเที่ยวซึ่งต้องไม่ใช่จังหวัดที่ระบุในบัตรประจำตัวประชาชน และต้องลงทะเบียนก่อนเดินทางท่องเที่ยวอย่างน้อย 2 วัน
4.1) ประชาชนสัญชาติไทยที่สนใจลงทะเบียนผ่านเว็บไซต์เพื่อเข้าร่วมมาตรการ โดยระบุจังหวัดที่จะเดินทางไปท่องเที่ยวซึ่งต้องไม่ใช่จังหวัดที่ระบุในทะเบียนบ้าน และต้องลงทะเบียนก่อนเดินทางท่องเที่ยวตามเงื่อนไขที่กระทรวงการคลังกำหนด
เพื่อให้สอดคล้องกับการตรวจสอบข้อมูลของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
4.2) ผู้ลงทะเบียนจะได้รับสิทธิประโยชน์ 2 ส่วน เพื่อใช้จ่ายสำหรับการท่องเที่ยวในจังหวัดที่เลือก ดังนี้
4.2.1) รัฐบาลสนับสนุนวงเงินเพื่อเป็นสิทธิ์ในการซื้อสินค้าและบริการจากผู้ประกอบการที่เข้าร่วมมาตรการ จำนวน 1,000 บาทต่อคน
4.2.2) กรณีที่ผู้ลงทะเบียนเติมเงินเพื่อใช้จ่ายค่าอาหารและเครื่องดื่ม ค่าที่พัก หรือค่าซื้อสินค้าท้องถิ่น จากผู้ประกอบการที่เข้าร่วมมาตรการ รัฐบาลจะสนับสนุนเงินชดเชยเป็นจำนวนเท่ากับร้อยละ 15 ของยอดชำระเงินที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 4,500 บาทต่อคน (วงเงินใช้จ่ายไม่เกิน 30,000 บาทต่อคน)
4.2) ผู้ลงทะเบียนจะได้รับสิทธิประโยชน์ 2 ส่วน เพื่อใช้จ่ายสำหรับการท่องเที่ยวในจังหวัดที่เลือก ดังนี้
4.2.1) รัฐบาลสนับสนุนวงเงินเพื่อเป็นสิทธิ์ในการซื้อสินค้าและบริการจากผู้ประกอบการที่เข้าร่วมมาตรการ จำนวน 1,000 บาทต่อคน
4.2.2) กรณีที่ผู้ลงทะเบียนเติมเงินเพื่อใช้จ่ายค่าอาหารและเครื่องดื่ม ค่าที่พักรวมถึงบริการต่าง ๆ ตามปกติของที่พักนั้น ค่าซื้อสินค้าท้องถิ่น ค่าซื้อสินค้าจากร้านธงฟ้าประชารัฐ หรือค่าบริการที่เกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยวในท้องถิ่นนั้น เช่น สปา การเช่าพาหนะ ค่าบริการนำเที่ยวในพื้นที่ เป็นต้น จากผู้ประกอบการที่เข้าร่วมมาตรการ รัฐบาลจะสนับสนุนเงินชดเชยเป็นจำนวนเท่ากับร้อยละ 15 ของยอดเงินชำระเงินที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 4,500 บาทต่อคน (วงเงินใช้จ่ายไม่เกิน 30,000 บาทต่อคน)
1. เพื่อกระตุ้นให้เกิดการท่องเที่ยวแบบครบวงจร
2. เพื่อให้สอดคล้องกับพฤติกรรมการใช้จ่ายของนักท่องเที่ยว และให้การใช้จ่ายกระจายไปยังเศรษฐกิจฐานรากมากขึ้น
ที่มา: ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 10 กันยายน 2562