คณะรัฐมนตรีเห็นชอบแนวทางการดำเนินการตามนโยบายรัฐบาลในระยะเร่งด่วนตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอทั้ง 2 ข้อ ทั้งนี้ ในส่วนของการจัดทำแผนปฏิบัติการเร่งรัดส่วนที่กำหนดกลุ่มนโยบายเร่งด่วนและผู้รับผิดชอบนั้น ให้เพิ่มรองนายกรัฐมนตรีและกระทรวงรับผิดชอบ ดังนี้
1. กลุ่มที่ 3 การเพิ่มรายได้ของประชาชน ให้เพิ่มกระทรวงอุตสาหกรรม
2. กลุ่มที่ 4 การลงทุนและการใช้จ่ายภาครัฐ ให้เพิ่มกระทรวงพาณิชย์
3. กลุ่มที่ 5 การหารายได้เข้าประเทศ ให้เพิ่มรองนายกรัฐมนตรี (นายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ์)
4. กลุ่มที่ 6 การดูแลทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ให้เพิ่มกระทรวงอุตสาหกรรม
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอแนวทางการดำเนินการในระยะเร่งด่วน ดังนี้
1. การจัดทำแผนการบริหารราชการแผ่นดิน แผนปฏิบัติการของกระทรวง ระยะ 4 ปี และแผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ 2552
1.1 แผนการบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2551-2554 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 76 กำหนดให้รัฐบาลต้องจัดทำแผนการบริหารราชการแผ่นดิน รวมทั้ง พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 และระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการจัดทำแผนการบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2547 และฉบับที่ 2 พ.ศ. 2548 ข้อ 5 กำหนดให้มีคณะกรรมการจัดทำแผนการบริหารราชการแผ่นดิน มีหน้าที่พิจารณาร่างแผนการบริหารราชการแผ่นดินให้แล้วเสร็จและเสนอนายกรัฐมนตรีภายใน 60 วัน นับแต่วันที่คณะรัฐมนตรีแถลงนโยบายต่อรัฐสภา เมื่อนายกรัฐมนตรีเห็นชอบแล้ว ให้เสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาต่อไป ซึ่งมีแนวทางดำเนินการ ดังนี้
1.1.1 องค์ประกอบ
(1) รองนายกรัฐมนตรี (นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์) ประธาน
(2) เลขาธิการคณะรัฐมนตรี กรรมการ
(3) เลขาธิการนายกรัฐมนตรี กรรมการ
(4) เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจ กรรมการ
และสังคมแห่งชาติ
(5) ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ กรรมการ
(6) เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ กรรมการ
(7) ผู้ทรงคุณวุฒิ (นายการุณ กิตติสถาพร) กรรมการ
(8) รองเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจ เลขานุการ
และสังคมแห่งชาติ (นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ)
(9) รองเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ ผู้ช่วยเลขานุการ
1.1.2 แนวทางดำเนินการ พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 มาตรา 14 กำหนดให้นำนโยบายของรัฐบาลที่แถลงต่อรัฐสภามาพิจารณาดำเนินการให้สอดคล้องกับแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และแผนพัฒนาประเทศด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ อย่างน้อยจะต้องมีสาระสำคัญเกี่ยวกับการกำหนดเป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ของงาน ส่วนราชการหรือบุคคลที่จะรับผิดชอบในแต่ละภารกิจ ประมาณการรายได้และรายจ่ายและทรัพยากรต่างๆ ที่จะต้องใช้ ระยะเวลาดำเนินการ และการติดตามประเมินผล โดยมีแนวทางในการจัดทำแผนการบริหารราชการแผ่นดิน ดังนี้
(1) รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีที่กำกับดูแลกระทรวงมอบหมายให้ส่วนราชการนำนโยบายของรัฐบาลมาใช้ในการจัดทำยุทธศาสตร์ แนวทาง แผนงานหรือโครงการ
(2) นอกจากนโยบายรัฐบาลแล้ว ให้นำแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และแผนพัฒนาประเทศด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 และยุทธศาสตร์กระทรวง เป็นต้น มาพิจารณาประกอบการจัดทำแผนด้วย
(3) ในกรณีปีงบประมาณ 2551 กระทรวงสามารถปรับแผนให้สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาลได้
(4) การกำหนดตัวชี้วัดในตารางข้อมูลแผนการบริหารราชการแผ่นดินให้ใช้ตัวชี้วัดในระดับนโยบาย
1.1.3 กำหนดระยะเวลาดำเนินการ เพื่อให้การจัดทำร่างแผนบริหารราชการแผ่นดินแล้วเสร็จ เพื่อนำเสนอนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีพิจารณา ในวันที่ 11 มีนาคม 2551 จึงเห็นควรกำหนดขั้นตอนและระยะเวลาดำเนินการ ดังนี้
ขั้นตอน กำหนดเวลา
1) คณะรัฐมนตรีแถลงนโยบายต่อรัฐสภา 18 กุมภาพันธ์ 2551
2) ประชุมคณะกรรมการจัดทำแผนการบริหารราชการแผ่นดิน ครั้งที่ 1 22 กุมภาพันธ์ 2551
3) ประชุมส่วนราชการเพื่อชี้แจงนโยบายรัฐบาลและมอบนโยบายเรื่อง
การจัดทำแผนการบริหารราชการแผ่นดิน (นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน) 25 กุมภาพันธ์ 2551
4) รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีกำกับดูแลกระทรวง มอบนโยบายและ
กำกับการจัดทำแผนการบริหารราชการแผ่นดินของกระทรวง/หน่วยงาน
ในสังกัด เพื่อส่วนราชการต่าง ๆ จัดทำข้อเสนอแผนการบริหารราชการแผ่นดิน 26-29 กุมภาพันธ์ 2551
5) ส่วนราชการส่งแผนการบริหารราชการแผ่นดินของกระทรวงให้ สศช. สงป
และ กพร. โดยความเห็นชอบจากรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการเจ้าสังกัด 3 มีนาคม 2551
6) สศช. บูรณาการแผนการบริหารราชการแผ่นดิน สงป. บูรณาการงบประมาณ 3 — 7 มีนาคม 2551
7) ประชุมคณะกรรมการจัดทำแผนการบริหารราชการแผ่นดิน ครั้งที่ 2 7 มีนาคม 2551
8) เสนอนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีพิจารณา 11 มีนาคม 2551
1.2 แผนปฏิบัติการของกระทรวง ระยะ 4 ปี และแผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ 2552 เมื่อคณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบแผนบริหารราชการแผ่นดินแล้ว พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 มาตรา 16 ได้กำหนดให้ส่วนราชการต้องดำเนินการ ดังนี้
1.2.1 จัดทำแผนปฏิบัติราชการระยะ 4 ปี ให้สอดคล้องกับแผนบริหารราชการแผ่นดิน และในแต่ละปีงบประมาณ
1.2.2 จัดทำแผนปฏิบัติราชการประจำปี นำเสนอรัฐมนตรีเจ้าสังกัดให้ความเห็นชอบ และให้สำนักงบประมาณจัดสรรงบประมาณในแต่ละภารกิจตามแผนปฏิบัติราชการ ดังนั้น เมื่อคณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบแผนบริหารราชการแผ่นดินแล้ว ส่วนราชการจะต้องเร่งจัดทำแผนปฏิบัติการ ระยะ 4 ปี และแผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ 2552 เพื่อใช้ประกอบการพิจารณาจัดสรรงบประมาณ ปี 2552 ต่อไป
2. การจัดทำแผนปฏิบัติการเร่งด่วน เพื่อให้นโยบายรัฐบาลที่ได้แถลงต่อรัฐสภามีผลในทางปฏิบัติในการสร้างความเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจไทย จึงเห็นควรจัดทำมาตรการระยะ 1 ปี ตามนโยบายเร่งด่วนด้านเศรษฐกิจ ดังนี้
2.1 กลุ่มนโยบายเร่งด่วนและผู้รับผิดชอบ
กลุ่มนโยบายเร่งด่วน รองนายกรัฐมนตรี กระทรวงรับผิดชอบ
กลุ่มที่ 1 ดูแลปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน รองนายกรัฐมนตรี
1. ดูแลเสถียรภาพของค่าเงินบาท และดูแลระดับ (นายสุรพงษ์ สืบวงศ์ลี) กค. / ธปท.
ราคาสินค้าอุปโภคบริโภคและราคาพลังงาน (นายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ์) พณ./พน./คค./กษ.
2. ดำเนินมาตรการลดผลกระทบจากราคาพลังงาน พน.
กลุ่มที่ 2 การลดรายจ่ายของประชาชน รองนายกรัฐมนตรี
3. สร้างระบบประกันความเสี่ยงให้เกษตรกร (นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์) กษ.
4. วางระบบการถือครองที่ดินและกำหนดแนวเขต (พลตรี สนั่น ขจรประศาสน์) กษ./ทส.
การใช้ที่ดิน
5. ขยายบทบาทของศูนย์ซ่อมสร้างเพื่อชุมชน ศธ.
(Fix-it Center)
6. สร้างโอกาสให้ประชาชนได้มีที่อยู่อาศัยอย่างทั่วถึง พม.
กลุ่มที่ 3 การเพิ่มรายได้ของประชาชน รองนายกรัฐมนตรี
7. เพิ่มศักยภาพของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง (นายสุรพงษ์ สืบวงศ์ลี) นร.
8. จัดสรรงบประมาณตามขนาดประชากร
(Small Medium Large: SML) ให้ครบทุก มท.
หมู่บ้านและชุมชน
9. เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการโครงการ
หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) นร.
10. สานต่อโครงการธนาคารประชาชน กค.
11. พักหนี้ของเกษตรกรรายย่อยและยากจน กค.
12. สนับสนุนสินเชื่อแก่ผู้ประกอบการขนาดกลาง ขนาดย่อม กค.
และวิสาหกิจชุมชน
กลุ่มที่ 4 การลงทุนและการใช้จ่ายภาครัฐ รองนายกรัฐมนตรี
13. เร่งรัดการลงทุน เช่น ระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน (นายสหัส บัณฑิตกุล) คค.
การขนส่งระบบราง และท่าอากาศยานสากล (นายสุวิทย์ คุณกิตติ)
14. ขยายพื้นที่และเพิ่มประสิทธิภาพระบบชลประทาน กษ.
15. ประกาศ “ปีแห่งการลงทุน” ปี 2551/2552 อก.
16. เร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณภาครัฐ กค.
17. การปรับปรุงแก้ไขกฎหมายเกี่ยวกับการลงทุน
จากต่างประเทศ (FBA/Retail)
กลุ่มที่ 5 การหารายได้เข้าประเทศ รองนายกรัฐมนตรี
18. ประกาศ “ปีแห่งการท่องเที่ยวไทย” ปี 2551/2552 (พลตรี สนั่น ขจรประศาสน์) กก.
(นายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ์)
กลุ่มที่ 6 การดูแลทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รองนายกรัฐมนตรี
19. เร่งรัดมาตรการและโครงการเพื่อบรรเทาผลกระทบ (นายสหัส บัณฑิตกุล) ทส.
จากวิกฤติโลกร้อน
2.2 เห็นควรให้มีคณะกรรมการขับเคลื่อนนโยบายเร่งด่วนด้านเศรษฐกิจ โดยมีรองนายกรัฐมนตรี (นายสุรพงษ์ สืบวงศ์ลี) เป็นประธาน รัฐมนตรีกระทรวงที่เกี่ยวข้องเป็นกรรมการ โดยมีเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เป็นเลขานุการ และรองเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเป็นผู้ช่วยเลขานุการ ทั้งนี้ให้เชิญรองนายกรัฐมนตรีเข้าร่วมประชุมด้วย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2551--จบ--
1. กลุ่มที่ 3 การเพิ่มรายได้ของประชาชน ให้เพิ่มกระทรวงอุตสาหกรรม
2. กลุ่มที่ 4 การลงทุนและการใช้จ่ายภาครัฐ ให้เพิ่มกระทรวงพาณิชย์
3. กลุ่มที่ 5 การหารายได้เข้าประเทศ ให้เพิ่มรองนายกรัฐมนตรี (นายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ์)
4. กลุ่มที่ 6 การดูแลทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ให้เพิ่มกระทรวงอุตสาหกรรม
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอแนวทางการดำเนินการในระยะเร่งด่วน ดังนี้
1. การจัดทำแผนการบริหารราชการแผ่นดิน แผนปฏิบัติการของกระทรวง ระยะ 4 ปี และแผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ 2552
1.1 แผนการบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2551-2554 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 76 กำหนดให้รัฐบาลต้องจัดทำแผนการบริหารราชการแผ่นดิน รวมทั้ง พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 และระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการจัดทำแผนการบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2547 และฉบับที่ 2 พ.ศ. 2548 ข้อ 5 กำหนดให้มีคณะกรรมการจัดทำแผนการบริหารราชการแผ่นดิน มีหน้าที่พิจารณาร่างแผนการบริหารราชการแผ่นดินให้แล้วเสร็จและเสนอนายกรัฐมนตรีภายใน 60 วัน นับแต่วันที่คณะรัฐมนตรีแถลงนโยบายต่อรัฐสภา เมื่อนายกรัฐมนตรีเห็นชอบแล้ว ให้เสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาต่อไป ซึ่งมีแนวทางดำเนินการ ดังนี้
1.1.1 องค์ประกอบ
(1) รองนายกรัฐมนตรี (นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์) ประธาน
(2) เลขาธิการคณะรัฐมนตรี กรรมการ
(3) เลขาธิการนายกรัฐมนตรี กรรมการ
(4) เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจ กรรมการ
และสังคมแห่งชาติ
(5) ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ กรรมการ
(6) เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ กรรมการ
(7) ผู้ทรงคุณวุฒิ (นายการุณ กิตติสถาพร) กรรมการ
(8) รองเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจ เลขานุการ
และสังคมแห่งชาติ (นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ)
(9) รองเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ ผู้ช่วยเลขานุการ
1.1.2 แนวทางดำเนินการ พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 มาตรา 14 กำหนดให้นำนโยบายของรัฐบาลที่แถลงต่อรัฐสภามาพิจารณาดำเนินการให้สอดคล้องกับแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และแผนพัฒนาประเทศด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ อย่างน้อยจะต้องมีสาระสำคัญเกี่ยวกับการกำหนดเป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ของงาน ส่วนราชการหรือบุคคลที่จะรับผิดชอบในแต่ละภารกิจ ประมาณการรายได้และรายจ่ายและทรัพยากรต่างๆ ที่จะต้องใช้ ระยะเวลาดำเนินการ และการติดตามประเมินผล โดยมีแนวทางในการจัดทำแผนการบริหารราชการแผ่นดิน ดังนี้
(1) รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีที่กำกับดูแลกระทรวงมอบหมายให้ส่วนราชการนำนโยบายของรัฐบาลมาใช้ในการจัดทำยุทธศาสตร์ แนวทาง แผนงานหรือโครงการ
(2) นอกจากนโยบายรัฐบาลแล้ว ให้นำแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และแผนพัฒนาประเทศด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 และยุทธศาสตร์กระทรวง เป็นต้น มาพิจารณาประกอบการจัดทำแผนด้วย
(3) ในกรณีปีงบประมาณ 2551 กระทรวงสามารถปรับแผนให้สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาลได้
(4) การกำหนดตัวชี้วัดในตารางข้อมูลแผนการบริหารราชการแผ่นดินให้ใช้ตัวชี้วัดในระดับนโยบาย
1.1.3 กำหนดระยะเวลาดำเนินการ เพื่อให้การจัดทำร่างแผนบริหารราชการแผ่นดินแล้วเสร็จ เพื่อนำเสนอนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีพิจารณา ในวันที่ 11 มีนาคม 2551 จึงเห็นควรกำหนดขั้นตอนและระยะเวลาดำเนินการ ดังนี้
ขั้นตอน กำหนดเวลา
1) คณะรัฐมนตรีแถลงนโยบายต่อรัฐสภา 18 กุมภาพันธ์ 2551
2) ประชุมคณะกรรมการจัดทำแผนการบริหารราชการแผ่นดิน ครั้งที่ 1 22 กุมภาพันธ์ 2551
3) ประชุมส่วนราชการเพื่อชี้แจงนโยบายรัฐบาลและมอบนโยบายเรื่อง
การจัดทำแผนการบริหารราชการแผ่นดิน (นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน) 25 กุมภาพันธ์ 2551
4) รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีกำกับดูแลกระทรวง มอบนโยบายและ
กำกับการจัดทำแผนการบริหารราชการแผ่นดินของกระทรวง/หน่วยงาน
ในสังกัด เพื่อส่วนราชการต่าง ๆ จัดทำข้อเสนอแผนการบริหารราชการแผ่นดิน 26-29 กุมภาพันธ์ 2551
5) ส่วนราชการส่งแผนการบริหารราชการแผ่นดินของกระทรวงให้ สศช. สงป
และ กพร. โดยความเห็นชอบจากรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการเจ้าสังกัด 3 มีนาคม 2551
6) สศช. บูรณาการแผนการบริหารราชการแผ่นดิน สงป. บูรณาการงบประมาณ 3 — 7 มีนาคม 2551
7) ประชุมคณะกรรมการจัดทำแผนการบริหารราชการแผ่นดิน ครั้งที่ 2 7 มีนาคม 2551
8) เสนอนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีพิจารณา 11 มีนาคม 2551
1.2 แผนปฏิบัติการของกระทรวง ระยะ 4 ปี และแผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ 2552 เมื่อคณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบแผนบริหารราชการแผ่นดินแล้ว พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 มาตรา 16 ได้กำหนดให้ส่วนราชการต้องดำเนินการ ดังนี้
1.2.1 จัดทำแผนปฏิบัติราชการระยะ 4 ปี ให้สอดคล้องกับแผนบริหารราชการแผ่นดิน และในแต่ละปีงบประมาณ
1.2.2 จัดทำแผนปฏิบัติราชการประจำปี นำเสนอรัฐมนตรีเจ้าสังกัดให้ความเห็นชอบ และให้สำนักงบประมาณจัดสรรงบประมาณในแต่ละภารกิจตามแผนปฏิบัติราชการ ดังนั้น เมื่อคณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบแผนบริหารราชการแผ่นดินแล้ว ส่วนราชการจะต้องเร่งจัดทำแผนปฏิบัติการ ระยะ 4 ปี และแผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ 2552 เพื่อใช้ประกอบการพิจารณาจัดสรรงบประมาณ ปี 2552 ต่อไป
2. การจัดทำแผนปฏิบัติการเร่งด่วน เพื่อให้นโยบายรัฐบาลที่ได้แถลงต่อรัฐสภามีผลในทางปฏิบัติในการสร้างความเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจไทย จึงเห็นควรจัดทำมาตรการระยะ 1 ปี ตามนโยบายเร่งด่วนด้านเศรษฐกิจ ดังนี้
2.1 กลุ่มนโยบายเร่งด่วนและผู้รับผิดชอบ
กลุ่มนโยบายเร่งด่วน รองนายกรัฐมนตรี กระทรวงรับผิดชอบ
กลุ่มที่ 1 ดูแลปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน รองนายกรัฐมนตรี
1. ดูแลเสถียรภาพของค่าเงินบาท และดูแลระดับ (นายสุรพงษ์ สืบวงศ์ลี) กค. / ธปท.
ราคาสินค้าอุปโภคบริโภคและราคาพลังงาน (นายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ์) พณ./พน./คค./กษ.
2. ดำเนินมาตรการลดผลกระทบจากราคาพลังงาน พน.
กลุ่มที่ 2 การลดรายจ่ายของประชาชน รองนายกรัฐมนตรี
3. สร้างระบบประกันความเสี่ยงให้เกษตรกร (นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์) กษ.
4. วางระบบการถือครองที่ดินและกำหนดแนวเขต (พลตรี สนั่น ขจรประศาสน์) กษ./ทส.
การใช้ที่ดิน
5. ขยายบทบาทของศูนย์ซ่อมสร้างเพื่อชุมชน ศธ.
(Fix-it Center)
6. สร้างโอกาสให้ประชาชนได้มีที่อยู่อาศัยอย่างทั่วถึง พม.
กลุ่มที่ 3 การเพิ่มรายได้ของประชาชน รองนายกรัฐมนตรี
7. เพิ่มศักยภาพของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง (นายสุรพงษ์ สืบวงศ์ลี) นร.
8. จัดสรรงบประมาณตามขนาดประชากร
(Small Medium Large: SML) ให้ครบทุก มท.
หมู่บ้านและชุมชน
9. เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการโครงการ
หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) นร.
10. สานต่อโครงการธนาคารประชาชน กค.
11. พักหนี้ของเกษตรกรรายย่อยและยากจน กค.
12. สนับสนุนสินเชื่อแก่ผู้ประกอบการขนาดกลาง ขนาดย่อม กค.
และวิสาหกิจชุมชน
กลุ่มที่ 4 การลงทุนและการใช้จ่ายภาครัฐ รองนายกรัฐมนตรี
13. เร่งรัดการลงทุน เช่น ระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน (นายสหัส บัณฑิตกุล) คค.
การขนส่งระบบราง และท่าอากาศยานสากล (นายสุวิทย์ คุณกิตติ)
14. ขยายพื้นที่และเพิ่มประสิทธิภาพระบบชลประทาน กษ.
15. ประกาศ “ปีแห่งการลงทุน” ปี 2551/2552 อก.
16. เร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณภาครัฐ กค.
17. การปรับปรุงแก้ไขกฎหมายเกี่ยวกับการลงทุน
จากต่างประเทศ (FBA/Retail)
กลุ่มที่ 5 การหารายได้เข้าประเทศ รองนายกรัฐมนตรี
18. ประกาศ “ปีแห่งการท่องเที่ยวไทย” ปี 2551/2552 (พลตรี สนั่น ขจรประศาสน์) กก.
(นายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ์)
กลุ่มที่ 6 การดูแลทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รองนายกรัฐมนตรี
19. เร่งรัดมาตรการและโครงการเพื่อบรรเทาผลกระทบ (นายสหัส บัณฑิตกุล) ทส.
จากวิกฤติโลกร้อน
2.2 เห็นควรให้มีคณะกรรมการขับเคลื่อนนโยบายเร่งด่วนด้านเศรษฐกิจ โดยมีรองนายกรัฐมนตรี (นายสุรพงษ์ สืบวงศ์ลี) เป็นประธาน รัฐมนตรีกระทรวงที่เกี่ยวข้องเป็นกรรมการ โดยมีเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เป็นเลขานุการ และรองเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเป็นผู้ช่วยเลขานุการ ทั้งนี้ให้เชิญรองนายกรัฐมนตรีเข้าร่วมประชุมด้วย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2551--จบ--