แท็ก
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
กระทรวงการคลัง
คณะรัฐมนตรี
รัฐวิสาหกิจ
บัญชี
คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงการคลังรายงานผลการเบิกจ่ายงบลงทุนของรัฐวิสาหกิจประจำ ปี 2548 สำหรับงวดสิ้นสุด
วันที่ 30 กันยายน 2548 ดังนี้
1. ปัจจุบันรัฐวิสาหกิจที่เสนอขออนุมัติงบลงทุนจากสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) มีจำนวน
ทั้งสิ้น 50 แห่ง (แบ่งเป็นรัฐวิสาหกิจที่มีรอบปีบัญชีตามปีงบประมาณ จำนวน 41 แห่ง และรัฐวิสาหกิจที่มีรอบปีบัญชีตามปีปฏิทินจำนวน 9 แห่ง)
ซึ่งในปี 2548 มีวงเงินงบลงทุนที่ได้รับอนุมัติให้เบิกจ่ายจำนวนทั้งสิ้น 400,190.26 ล้านบาท โดย ณ วันที่ 30 กันยายน 2548
รัฐวิสาหกิจสามารถเบิกจ่ายงบลงทุนได้รวม 209,223.37 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 52.28 ของวงเงินที่ได้รับอนุมัติให้เบิกจ่ายทั้งปี
สำหรับรัฐวิสาหกิจแห่งใหญ่ ๆ จำนวน 18 แห่ง ซึ่งมีงบลงทุนที่ได้รับอนุมัติให้เบิกจ่ายทั้งปีเป็นจำนวน 393,917.28 ล้านบาท
หรือคิดเป็นร้อยละ 98.45 ของงบลงทุนรัฐวิสาหกิจที่ได้รับอนุมัติให้เบิกจ่ายทั้งหมด ปรากฏว่า ณ วันที่ 30 กันยายน 2548 รัฐวิสาหกิจดังกล่าว
มีผลการเบิกจ่ายงบลงทุนเป็นดังนี้
หน่วย:ล้านบาท
รัฐวิสาหกิจ วงเงินงบลงทุนที่ได้รับ วงเงินที่คาดว่าจะ ยอดเบิกจ่ายจริงสะสมตั้งแต่ ยอดคงเหลือที่ยัง
อนุมัติให้เบิกจ่ายทั้งปี เบิกจ่ายได้ตามที่รางาน ครม. ต้นปีถึง ก.ย.48 ไม่เบิกจ่าย
จำนวน % จำนวนเงิน %
1. รัฐวิสาหกิจที่ใช้ปีงบประมาณ 225,217.10 161,612.49 71.76 136,252.95 60.50 88,964.15
2. รัฐวิสาหกิจที่ใช้ปีปฏิทิน 168,700.18 111,267.18 65.96 69,910.61 41.44 98,789.57
รวมทั้งสิ้น 393,917.28 272,879.67 69.27 206,163.56 52.34 187,753.72
2. จากผลการเบิกจ่ายงบลงทุนประจำปี 2548 ของรัฐวิสาหกิจจำนวน 18 แห่งใหญ่ดังกล่าวข้างต้นพบว่า
2.1 รัฐวิสาหกิจที่ใช้ปีงบประมาณจำนวน 12 แห่ง สามารถเบิกจ่ายงบลงทุนได้ตามเป้าหมายที่รายงานคณะรัฐมนตรีไว้เพียง
4 แห่ง ส่วนที่เหลืออีกจำนวน 8 แห่ง ได้แก่ โรงงานยาสูบ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) การรถไฟแห่งประเทศไทย
บริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) บริษัทท่าอากาศยานสากลกรุงเทพแห่งใหม่ จำกัด
การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย และการประปานครหลวง ไม่สามารถเบิกจ่ายงบลงทุนได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ โดยมีสาเหตุดังนี้
(1) มีการปรับเปลี่ยนและเพิ่มรายละเอียดของงานก่อสร้าง รวมทั้งการส่งมอบพื้นที่ให้แก่ผู้รับจ้างล่าช้า อันเนื่องมาจาก
ประเด็นทางด้านกฎหมาย ด้านแรงงาน และภัยธรรมชาติจากเหตุการณ์สึนามิ ทำให้การดำเนินงานล่าช้ากว่าแผนที่กำหนด
(2) การจ่ายค่าเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ ต้องรอคำพิพากษาถึงที่สุดก่อนจึงจะสามารถเบิกจ่ายเงินได้
(3) เนื่องจากความไม่พร้อมของสถานที่ติดตั้งระบบ/อุปกรณ์ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทำให้ต้องมีการทบทวนแผนดำเนินการ
ให้สอดคล้องกับระยะเวลาที่ต้องดำเนินงานตามความเป็นจริง และปรับแผนการเบิกจ่ายใหม่ โดยจะไม่ส่งผลกระทบต่อโครงการบริการของ
หน่วยงานในภาพรวม
(4) สามารถประมูลงานได้ต่ำกว่างบประมาณที่ตั้งไว้ ทำให้สามารถประหยัดค่าใช้จ่ายได้
2.2 รัฐวิสาหกิจที่ใช้ปีปฏิทิน จำนวน 6 แห่ง ไม่สามารถเบิกจ่ายงบลงทุนได้ตามเป้าหมายที่รายงานคณะรัฐมนตรีไว้ แต่อย่างไรก็ดี
เนื่องจากรัฐวิสาหกิจกลุ่มนี้ยังมีระยะเวลาดำเนินการอีก 3 เดือน ซึ่งกระทรวงการคลังจะได้ติดตามและเร่งรัดการเบิกจ่ายงบลงทุนของรัฐวิสาหกิจ
กลุ่มนี้ และรายงานผลการเบิกจ่ายงบลงทุนสำหรับงวดสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2548 ต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบอีกครั้งหนึ่ง
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 22 พฤศจิกายน 2548--จบ--
วันที่ 30 กันยายน 2548 ดังนี้
1. ปัจจุบันรัฐวิสาหกิจที่เสนอขออนุมัติงบลงทุนจากสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) มีจำนวน
ทั้งสิ้น 50 แห่ง (แบ่งเป็นรัฐวิสาหกิจที่มีรอบปีบัญชีตามปีงบประมาณ จำนวน 41 แห่ง และรัฐวิสาหกิจที่มีรอบปีบัญชีตามปีปฏิทินจำนวน 9 แห่ง)
ซึ่งในปี 2548 มีวงเงินงบลงทุนที่ได้รับอนุมัติให้เบิกจ่ายจำนวนทั้งสิ้น 400,190.26 ล้านบาท โดย ณ วันที่ 30 กันยายน 2548
รัฐวิสาหกิจสามารถเบิกจ่ายงบลงทุนได้รวม 209,223.37 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 52.28 ของวงเงินที่ได้รับอนุมัติให้เบิกจ่ายทั้งปี
สำหรับรัฐวิสาหกิจแห่งใหญ่ ๆ จำนวน 18 แห่ง ซึ่งมีงบลงทุนที่ได้รับอนุมัติให้เบิกจ่ายทั้งปีเป็นจำนวน 393,917.28 ล้านบาท
หรือคิดเป็นร้อยละ 98.45 ของงบลงทุนรัฐวิสาหกิจที่ได้รับอนุมัติให้เบิกจ่ายทั้งหมด ปรากฏว่า ณ วันที่ 30 กันยายน 2548 รัฐวิสาหกิจดังกล่าว
มีผลการเบิกจ่ายงบลงทุนเป็นดังนี้
หน่วย:ล้านบาท
รัฐวิสาหกิจ วงเงินงบลงทุนที่ได้รับ วงเงินที่คาดว่าจะ ยอดเบิกจ่ายจริงสะสมตั้งแต่ ยอดคงเหลือที่ยัง
อนุมัติให้เบิกจ่ายทั้งปี เบิกจ่ายได้ตามที่รางาน ครม. ต้นปีถึง ก.ย.48 ไม่เบิกจ่าย
จำนวน % จำนวนเงิน %
1. รัฐวิสาหกิจที่ใช้ปีงบประมาณ 225,217.10 161,612.49 71.76 136,252.95 60.50 88,964.15
2. รัฐวิสาหกิจที่ใช้ปีปฏิทิน 168,700.18 111,267.18 65.96 69,910.61 41.44 98,789.57
รวมทั้งสิ้น 393,917.28 272,879.67 69.27 206,163.56 52.34 187,753.72
2. จากผลการเบิกจ่ายงบลงทุนประจำปี 2548 ของรัฐวิสาหกิจจำนวน 18 แห่งใหญ่ดังกล่าวข้างต้นพบว่า
2.1 รัฐวิสาหกิจที่ใช้ปีงบประมาณจำนวน 12 แห่ง สามารถเบิกจ่ายงบลงทุนได้ตามเป้าหมายที่รายงานคณะรัฐมนตรีไว้เพียง
4 แห่ง ส่วนที่เหลืออีกจำนวน 8 แห่ง ได้แก่ โรงงานยาสูบ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) การรถไฟแห่งประเทศไทย
บริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) บริษัทท่าอากาศยานสากลกรุงเทพแห่งใหม่ จำกัด
การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย และการประปานครหลวง ไม่สามารถเบิกจ่ายงบลงทุนได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ โดยมีสาเหตุดังนี้
(1) มีการปรับเปลี่ยนและเพิ่มรายละเอียดของงานก่อสร้าง รวมทั้งการส่งมอบพื้นที่ให้แก่ผู้รับจ้างล่าช้า อันเนื่องมาจาก
ประเด็นทางด้านกฎหมาย ด้านแรงงาน และภัยธรรมชาติจากเหตุการณ์สึนามิ ทำให้การดำเนินงานล่าช้ากว่าแผนที่กำหนด
(2) การจ่ายค่าเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ ต้องรอคำพิพากษาถึงที่สุดก่อนจึงจะสามารถเบิกจ่ายเงินได้
(3) เนื่องจากความไม่พร้อมของสถานที่ติดตั้งระบบ/อุปกรณ์ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทำให้ต้องมีการทบทวนแผนดำเนินการ
ให้สอดคล้องกับระยะเวลาที่ต้องดำเนินงานตามความเป็นจริง และปรับแผนการเบิกจ่ายใหม่ โดยจะไม่ส่งผลกระทบต่อโครงการบริการของ
หน่วยงานในภาพรวม
(4) สามารถประมูลงานได้ต่ำกว่างบประมาณที่ตั้งไว้ ทำให้สามารถประหยัดค่าใช้จ่ายได้
2.2 รัฐวิสาหกิจที่ใช้ปีปฏิทิน จำนวน 6 แห่ง ไม่สามารถเบิกจ่ายงบลงทุนได้ตามเป้าหมายที่รายงานคณะรัฐมนตรีไว้ แต่อย่างไรก็ดี
เนื่องจากรัฐวิสาหกิจกลุ่มนี้ยังมีระยะเวลาดำเนินการอีก 3 เดือน ซึ่งกระทรวงการคลังจะได้ติดตามและเร่งรัดการเบิกจ่ายงบลงทุนของรัฐวิสาหกิจ
กลุ่มนี้ และรายงานผลการเบิกจ่ายงบลงทุนสำหรับงวดสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2548 ต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบอีกครั้งหนึ่ง
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 22 พฤศจิกายน 2548--จบ--