คณะรัฐมนตรีเห็นชอบแนวทางการประเมินความคุ้มค่าการปฏิบัติภารกิจของรัฐ ตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอ เพื่อใช้เป็นแนวทางการประเมินความคุ้มค่าการปฏิบัติภารกิจในหน่วยงานนำร่องในปีงบประมาณ 2549 — 2550 โดยมอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ คัดเลือกหน่วยงานนำร่องที่จะเป็นตัวแทนภารกิจด้านการให้บริการสาธารณะและการให้บริการด้านการพัฒนาและความมั่นคง โดยหารือร่วมกับหน่วยงานกลางที่เกี่ยวข้อง และมอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เป็นแกนหลักในการจัดประชุมหารือระหว่างหน่วยงานกลางที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ได้ข้อยุติในเรื่องแนวทางบูรณาการการประเมินผลที่ให้ทุกหน่วยงานกลางสามารถใช้ประโยชน์ร่วมกันได้ อันจะช่วยลดภาระในการจัดทำรายงานของส่วนราชการในระยะต่อไป
แนวทางการประเมินความคุ้มค่าการปฏิบัติภารกิจของรัฐ สรุปสาระสำคัญ 5 ส่วนดังนี้
1. บทนำ กล่าวถึงความเป็นมาและวัตถุประสงค์ในการจัดทำเอกสาร “แนวทางการประเมินความ คุ้มค่าการปฏิบัติภารกิจของรัฐ” เพื่อให้หน่วยงานภาครัฐใช้เป็นแนวทางประเมินความคุ้มค่าการปฏิบัติภารกิจด้วยตนเอง และใช้เป็นกรอบในการจัดทำรายงานผลการประเมินความคุ้มค่าฯ
2. การประเมินความคุ้มค่าการปฏิบัติภารกิจของรัฐ
(1) กรอบแนวคิด การประเมินความคุ้มค่า หมายถึง การประเมินการดำเนินภารกิจของภาครัฐเพื่อให้ได้ผลผลิต ผลลัพธ์ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดอย่างมีประสิทธิภาพ และมีผลประโยชน์ที่สมดุลกับทรัพยากรที่ใช้ ทั้งนี้ ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นอาจเป็นได้ทั้งผลสำเร็จที่พึงประสงค์ และผลกระทบในทางลบที่เกิดขึ้นแก่ประชาชนและสังคม ทั้งที่สามารถคำนวณเป็นตัวเงินได้และไม่สามารถคำนวณเป็นเงินได้
(2) วัตถุประสงค์ มุ่งให้ส่วนราชการประเมินความคุ้มค่าการปฏิบัติภารกิจด้วยตนเอง เพื่อ : -
(2.1) ประเมินว่าการปฏิบัติภารกิจมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และได้ก่อให้เกิดผลประโยชน์ต่อประชาชนและภาครัฐ มากหรือน้อยกว่าค่าใช้จ่ายและผลเสียที่เกิดขึ้นเพียงใด
(2.2) เป็นข้อมูลสำหรับส่วนราชการในการทบทวนจัดลำดับความสำคัญในการเลือกปฏิบัติภารกิจ หรือเป็นข้อมูลสำหรับรัฐบาลเพื่อพิจารณายุบเลิกภารกิจ รวมทั้งปรับปรุงวิธีการปฏิบัติภารกิจให้มีประสิทธิผลและประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น
(2.3) เป็นแนวทางในการพิจารณาจัดตั้งงบประมาณของส่วนราชการในปีต่อไป
(3) กรอบการประเมินความคุ้มค่า ให้ความสำคัญกับการประเมินใน 3 มิติ ได้แก่
(3.1) ประสิทธิผลการปฏิบัติภารกิจ เป็นการประเมินการบรรลุวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายของการปฏิบัติภารกิจ โดยเปรียบเทียบผลที่ได้รับจากการปฏิบัติภารกิจว่ามีความสอดคล้องเป็นไปตามวัตถุประสงค์ เป้าหมาย และผลที่คาดว่าจะได้รับที่กำหนดไว้ก่อนดำเนินการหรือไม่ โดยพิจารณาจากตัวชี้วัด 3 ด้าน ได้แก่ การบรรลุวัตถุประสงค์ในการปฏิบัติภารกิจ ความพึงพอใจ และคุณภาพการให้บริการ
(3.2) ประสิทธิภาพการปฏิบัติภารกิจ หมายถึง การประเมินความเหมาะสมสอดคล้องของการใช้ทรัพยากรและกระบวนการทำงาน เพื่อให้ได้มาซึ่งผลผลิตตามวัตถุประสงค์ โดยพิจารณาจากผลผลิตเทียบกับต้นทุนทั้งหมด การจัดหาทรัพยากรที่ได้มาตรฐาน มีค่าใช้จ่ายที่เหมาะสม รวมทั้งมีกระบวนการทำงานที่ประหยัดทรัพยากรประกอบด้วยตัวชี้วัด 2 ด้าน ได้แก่ ประสิทธิภาพการผลิต และการประหยัด โดยประสิทธิภาพการผลิตจะวัดจากประสิทธิภาพการดำเนินงานโดยรวม การปรับปรุงประสิทธิภาพการดำเนินงาน ระบบการจัดการและการปฏิบัติงาน และสิ่งแวดล้อมในการทำงาน
(3.3) ผลกระทบ หมายถึง ผลอันสืบเนื่องจากการปฏิบัติภารกิจ ทั้งที่คาดหมายหรือตั้งใจ และไม่ได้คาดหมาย ทั้งที่เกิดขึ้นระหว่างและภายหลังการปฏิบัติภารกิจ ที่อาจกระทบต่อการพัฒนาในมิติอื่น หรือการปฏิบัติภารกิจของหน่วยงานอื่น หรือประชาชนทั้งที่เป็นกลุ่มเป้าหมายและกลุ่มอื่น ทั้งในและนอกพื้นที่ ครอบคลุมถึงผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อม รวมทั้งผลกระทบด้านบวกและลบ ในมิติที่สามารถประเมินในรูปตัวเงินและไม่ใช่ตัวเงิน นอกจากนี้ยังต้องคำนึงถึงผลกระทบในกรณีที่ไม่ได้ดำเนินงานตามภารกิจของภาครัฐด้วย
(4) ความเชื่อมโยงระหว่างการประเมินความคุ้มค่าฯ กับการประเมินการปฏิบัติราชการตามคำ รับรองการปฏิบัติราชการ การประเมินผลการปฏิบัติราชการจะประเมินในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ เน้นใน 4 มิติ คือ ประสิทธิผล ประสิทธิภาพ คุณภาพการให้บริการ และการพัฒนาองค์กร ตามหลักการประเมินผลแบบสมดุล (Balanced Scorecard) ส่วนการประเมินความคุ้มค่าจะประเมินในระดับผลลัพธ์และผลกระทบ ซึ่งเชื่อมโยงต่อยอดจากการประเมินผลการปฏิบัติราชการ โดยประเมินก่อน ระหว่าง และหลังการปฏิบัติภารกิจของหน่วยงาน ทั้งนี้ เมื่อนำไปใช้ประเมินร่วมกันจะทำให้การใช้ทรัพยากรของส่วนราชการต่าง ๆ ดีขึ้น และช่วยให้ทราบว่าส่วนราชการใดมีภารกิจซ้ำซ้อนกันหรือไม่
3. ขอบเขตและตัวชี้วัดในการประเมินความคุ้มค่าฯ
(1) หน่วยของการประเมิน การประเมินความคุ้มค่าฯ เป็นการประเมินการปฏิบัติภารกิจในหน่วยงานระดับกรม อย่างไรก็ตาม หลักการในการประเมินสามารถประยุกต์ได้ ทั้งในระดับกรม กลุ่มภารกิจ หรือกระทรวง
(2) ภารกิจที่ต้องประเมิน ให้ความสำคัญเฉพาะภารกิจหลัก (Core Business ) ของหน่วยงาน โดยหน่วยงานต้องเป็นผู้กำหนดด้วยตนเองว่า ภารกิจหลักและผลผลิตหลักของหน่วยงานคืออะไร ทั้งนี้ ภารกิจหลักของหน่วยงาน อาจแบ่งออกได้เป็นการให้บริการสาธารณะ ซึ่งประชาชนเป็นผู้ได้รับประโยชน์โดยตรง และการให้บริการด้านการพัฒนาและความมั่นคง ซึ่งประชาชนเป็นผู้ได้รับประโยชน์โดยอ้อม ส่วนผลผลิตหลักของหน่วยงานครอบคลุมทั้งผลผลิต/โครงการที่ได้จากการปฏิบัติภารกิจหลักของหน่วยงาน
(3) ตัวชี้วัดในการประเมินความคุ้มค่า ประกอบด้วย
(3.1) ตัวชี้วัดหลัก ทุกหน่วยงานแม้ภารกิจจะมีลักษณะแตกต่างกัน แต่สามารถใช้ตัวชี้วัดในแต่ละมิติเช่นเดียวกันได้ ดังนี้ การประเมินประสิทธิภาพ ตัวชี้วัด ได้แก่ ต้นทุนต่อหน่วย สัดส่วนผลผลิตต่อทรัพยากร และสัดส่วนค่าใช้จ่ายจริงต่อค่าใช้จ่ายตามแผน การประเมินประสิทธิผล จะวัดจากระดับความสำเร็จในการบรรลุวัตถุประสงค์/เป้าหมาย ระดับความพึงพอใจของผู้ใช้ประโยชน์และคุณภาพการให้บริการ ส่วน การประเมินผลกระทบ หน่วยงานจะกำหนดตัวชี้วัดเอง เพื่อสะท้อนการปฏิบัติภารกิจว่ามีผลกระทบต่อเศรษฐกิจ สังคม หรือสิ่งแวดล้อม มากน้อยเพียงใด นอกจากนี้ หน่วยงานจะต้องนำการวิเคราะห์ระดับความสำเร็จของการดำเนินงานจากการใช้งบประมาณ (PART) ของสำนักงบประมาณ มาประกอบการอธิบายความคุ้มค่าของการปฏิบัติภารกิจด้วย
(3.2) ตัวชี้วัดเสริม ในกรณีภารกิจของหน่วยงานไม่สามารถประเมินผลประโยชน์เป็นตัวเลขได้ชัดเจน หรือเป็นภารกิจที่จัดทำเป็นโครงการ หน่วยงานจะต้องใช้ตัวชี้วัดเพิ่มเติม ได้แก่ การประเมินประสิทธิผลของค่าใช้จ่าย (Cost - Effectiveness) และการประเมินผลประโยชน์ต่อค่าใช้จ่าย (Benefit — Cost Ratio) เพื่อประเมินความคุ้มค่าฯ ด้วย
4. องค์ประกอบรายงาน ขั้นตอนและกลไกการประเมินความคุ้มค่าฯ
(1) องค์ประกอบของรายงานการประเมินความคุ้มค่าฯ ประกอบด้วยสาระสำคัญอย่างน้อย 3 ส่วน คือ 1) ข้อมูลเบื้องต้นของหน่วยงาน 2) กรอบการประเมินความคุ้มค่าฯ และผลการประเมินความคุ้มค่าฯ และ 3) ข้อเสนอแนวทางการปรับปรุงประสิทธิภาพการปฏิบัติภารกิจระระต่อไป
(2) ขั้นตอนการประเมินความคุ้มค่าฯ หน่วยงานสามารถประเมินการปฏิบัติภารกิจได้ทั้ง 3 ขั้นตอน คือ ประเมินก่อนการปฏิบัติงาน ประเมินระหว่างการดำเนินงาน และประเมินภายหลังเสร็จสิ้นการดำเนินงานว่ามีผลสัมฤทธิ์และคุ้มค่าหรือไม่ เพียงใด
(3) กลไกการประเมินความคุ้มค่าฯ ประกอบด้วยกลไก 2 ระดับ คือ 1) กลไกระดับนโยบาย ได้แก่ คณะกรรมการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการ ซึ่งมีรองนายกรัฐมนตรีที่คณะรัฐมนตรีแต่งตั้งเป็นประธาน และเลขาธิการ ก.พ.ร. เป็นกรรมการและเลขานุการ และ 2) กลไกระดับหน่วยงาน ซึ่งตั้งขึ้นภายในหน่วยงาน มีกลุ่มงาน ก.พ.ร. ของหน่วยงานเป็นฝ่ายเลขานุการ รับผิดชอบการประสานผลักดันการประเมินความคุ้มค่าฯ ภายในหน่วยงาน
5. ภาคผนวก ประกอบด้วย แบบฟอร์มรายงานการประเมินความคุ้มค่าการปฏิบัติภารกิจของรัฐ ข้อเสนอเครื่องมือในการประเมินความคุ้มค่าฯ และคำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการพิจารณาแนวทางดำเนินการประเมินความคุ้มค่าการปฏิบัติภารกิจของรัฐ
การดำเนินงานขั้นต่อไป
ในปีงบประมาณ 2549 — 2550 สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติจะนำ แนวทางการประเมินความคุ้มค่าการปฏิบัติภารกิจของรัฐดังกล่าว ไปดำเนินการประเมินความคุ้มค่าในการปฏิบัติภารกิจของรัฐในหน่วยงานนำร่อง โดยคัดเลือกจากหน่วยงานที่มีภารกิจคล้ายคลึงกัน ในด้านการให้บริการสาธารณะและการให้บริการด้านการพัฒนาและความมั่นคง จากนั้นจะนำผลมาปรับปรุงคู่มือการประเมินความคุ้มค่าฯ ให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น ก่อนผลักดันให้ทุกส่วนราชการใช้ประเมินความคุ้มค่าฯ การปฏิบัติภารกิจด้วยตนเองต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 18 ตุลาคม 2548--จบ--
แนวทางการประเมินความคุ้มค่าการปฏิบัติภารกิจของรัฐ สรุปสาระสำคัญ 5 ส่วนดังนี้
1. บทนำ กล่าวถึงความเป็นมาและวัตถุประสงค์ในการจัดทำเอกสาร “แนวทางการประเมินความ คุ้มค่าการปฏิบัติภารกิจของรัฐ” เพื่อให้หน่วยงานภาครัฐใช้เป็นแนวทางประเมินความคุ้มค่าการปฏิบัติภารกิจด้วยตนเอง และใช้เป็นกรอบในการจัดทำรายงานผลการประเมินความคุ้มค่าฯ
2. การประเมินความคุ้มค่าการปฏิบัติภารกิจของรัฐ
(1) กรอบแนวคิด การประเมินความคุ้มค่า หมายถึง การประเมินการดำเนินภารกิจของภาครัฐเพื่อให้ได้ผลผลิต ผลลัพธ์ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดอย่างมีประสิทธิภาพ และมีผลประโยชน์ที่สมดุลกับทรัพยากรที่ใช้ ทั้งนี้ ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นอาจเป็นได้ทั้งผลสำเร็จที่พึงประสงค์ และผลกระทบในทางลบที่เกิดขึ้นแก่ประชาชนและสังคม ทั้งที่สามารถคำนวณเป็นตัวเงินได้และไม่สามารถคำนวณเป็นเงินได้
(2) วัตถุประสงค์ มุ่งให้ส่วนราชการประเมินความคุ้มค่าการปฏิบัติภารกิจด้วยตนเอง เพื่อ : -
(2.1) ประเมินว่าการปฏิบัติภารกิจมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และได้ก่อให้เกิดผลประโยชน์ต่อประชาชนและภาครัฐ มากหรือน้อยกว่าค่าใช้จ่ายและผลเสียที่เกิดขึ้นเพียงใด
(2.2) เป็นข้อมูลสำหรับส่วนราชการในการทบทวนจัดลำดับความสำคัญในการเลือกปฏิบัติภารกิจ หรือเป็นข้อมูลสำหรับรัฐบาลเพื่อพิจารณายุบเลิกภารกิจ รวมทั้งปรับปรุงวิธีการปฏิบัติภารกิจให้มีประสิทธิผลและประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น
(2.3) เป็นแนวทางในการพิจารณาจัดตั้งงบประมาณของส่วนราชการในปีต่อไป
(3) กรอบการประเมินความคุ้มค่า ให้ความสำคัญกับการประเมินใน 3 มิติ ได้แก่
(3.1) ประสิทธิผลการปฏิบัติภารกิจ เป็นการประเมินการบรรลุวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายของการปฏิบัติภารกิจ โดยเปรียบเทียบผลที่ได้รับจากการปฏิบัติภารกิจว่ามีความสอดคล้องเป็นไปตามวัตถุประสงค์ เป้าหมาย และผลที่คาดว่าจะได้รับที่กำหนดไว้ก่อนดำเนินการหรือไม่ โดยพิจารณาจากตัวชี้วัด 3 ด้าน ได้แก่ การบรรลุวัตถุประสงค์ในการปฏิบัติภารกิจ ความพึงพอใจ และคุณภาพการให้บริการ
(3.2) ประสิทธิภาพการปฏิบัติภารกิจ หมายถึง การประเมินความเหมาะสมสอดคล้องของการใช้ทรัพยากรและกระบวนการทำงาน เพื่อให้ได้มาซึ่งผลผลิตตามวัตถุประสงค์ โดยพิจารณาจากผลผลิตเทียบกับต้นทุนทั้งหมด การจัดหาทรัพยากรที่ได้มาตรฐาน มีค่าใช้จ่ายที่เหมาะสม รวมทั้งมีกระบวนการทำงานที่ประหยัดทรัพยากรประกอบด้วยตัวชี้วัด 2 ด้าน ได้แก่ ประสิทธิภาพการผลิต และการประหยัด โดยประสิทธิภาพการผลิตจะวัดจากประสิทธิภาพการดำเนินงานโดยรวม การปรับปรุงประสิทธิภาพการดำเนินงาน ระบบการจัดการและการปฏิบัติงาน และสิ่งแวดล้อมในการทำงาน
(3.3) ผลกระทบ หมายถึง ผลอันสืบเนื่องจากการปฏิบัติภารกิจ ทั้งที่คาดหมายหรือตั้งใจ และไม่ได้คาดหมาย ทั้งที่เกิดขึ้นระหว่างและภายหลังการปฏิบัติภารกิจ ที่อาจกระทบต่อการพัฒนาในมิติอื่น หรือการปฏิบัติภารกิจของหน่วยงานอื่น หรือประชาชนทั้งที่เป็นกลุ่มเป้าหมายและกลุ่มอื่น ทั้งในและนอกพื้นที่ ครอบคลุมถึงผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อม รวมทั้งผลกระทบด้านบวกและลบ ในมิติที่สามารถประเมินในรูปตัวเงินและไม่ใช่ตัวเงิน นอกจากนี้ยังต้องคำนึงถึงผลกระทบในกรณีที่ไม่ได้ดำเนินงานตามภารกิจของภาครัฐด้วย
(4) ความเชื่อมโยงระหว่างการประเมินความคุ้มค่าฯ กับการประเมินการปฏิบัติราชการตามคำ รับรองการปฏิบัติราชการ การประเมินผลการปฏิบัติราชการจะประเมินในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ เน้นใน 4 มิติ คือ ประสิทธิผล ประสิทธิภาพ คุณภาพการให้บริการ และการพัฒนาองค์กร ตามหลักการประเมินผลแบบสมดุล (Balanced Scorecard) ส่วนการประเมินความคุ้มค่าจะประเมินในระดับผลลัพธ์และผลกระทบ ซึ่งเชื่อมโยงต่อยอดจากการประเมินผลการปฏิบัติราชการ โดยประเมินก่อน ระหว่าง และหลังการปฏิบัติภารกิจของหน่วยงาน ทั้งนี้ เมื่อนำไปใช้ประเมินร่วมกันจะทำให้การใช้ทรัพยากรของส่วนราชการต่าง ๆ ดีขึ้น และช่วยให้ทราบว่าส่วนราชการใดมีภารกิจซ้ำซ้อนกันหรือไม่
3. ขอบเขตและตัวชี้วัดในการประเมินความคุ้มค่าฯ
(1) หน่วยของการประเมิน การประเมินความคุ้มค่าฯ เป็นการประเมินการปฏิบัติภารกิจในหน่วยงานระดับกรม อย่างไรก็ตาม หลักการในการประเมินสามารถประยุกต์ได้ ทั้งในระดับกรม กลุ่มภารกิจ หรือกระทรวง
(2) ภารกิจที่ต้องประเมิน ให้ความสำคัญเฉพาะภารกิจหลัก (Core Business ) ของหน่วยงาน โดยหน่วยงานต้องเป็นผู้กำหนดด้วยตนเองว่า ภารกิจหลักและผลผลิตหลักของหน่วยงานคืออะไร ทั้งนี้ ภารกิจหลักของหน่วยงาน อาจแบ่งออกได้เป็นการให้บริการสาธารณะ ซึ่งประชาชนเป็นผู้ได้รับประโยชน์โดยตรง และการให้บริการด้านการพัฒนาและความมั่นคง ซึ่งประชาชนเป็นผู้ได้รับประโยชน์โดยอ้อม ส่วนผลผลิตหลักของหน่วยงานครอบคลุมทั้งผลผลิต/โครงการที่ได้จากการปฏิบัติภารกิจหลักของหน่วยงาน
(3) ตัวชี้วัดในการประเมินความคุ้มค่า ประกอบด้วย
(3.1) ตัวชี้วัดหลัก ทุกหน่วยงานแม้ภารกิจจะมีลักษณะแตกต่างกัน แต่สามารถใช้ตัวชี้วัดในแต่ละมิติเช่นเดียวกันได้ ดังนี้ การประเมินประสิทธิภาพ ตัวชี้วัด ได้แก่ ต้นทุนต่อหน่วย สัดส่วนผลผลิตต่อทรัพยากร และสัดส่วนค่าใช้จ่ายจริงต่อค่าใช้จ่ายตามแผน การประเมินประสิทธิผล จะวัดจากระดับความสำเร็จในการบรรลุวัตถุประสงค์/เป้าหมาย ระดับความพึงพอใจของผู้ใช้ประโยชน์และคุณภาพการให้บริการ ส่วน การประเมินผลกระทบ หน่วยงานจะกำหนดตัวชี้วัดเอง เพื่อสะท้อนการปฏิบัติภารกิจว่ามีผลกระทบต่อเศรษฐกิจ สังคม หรือสิ่งแวดล้อม มากน้อยเพียงใด นอกจากนี้ หน่วยงานจะต้องนำการวิเคราะห์ระดับความสำเร็จของการดำเนินงานจากการใช้งบประมาณ (PART) ของสำนักงบประมาณ มาประกอบการอธิบายความคุ้มค่าของการปฏิบัติภารกิจด้วย
(3.2) ตัวชี้วัดเสริม ในกรณีภารกิจของหน่วยงานไม่สามารถประเมินผลประโยชน์เป็นตัวเลขได้ชัดเจน หรือเป็นภารกิจที่จัดทำเป็นโครงการ หน่วยงานจะต้องใช้ตัวชี้วัดเพิ่มเติม ได้แก่ การประเมินประสิทธิผลของค่าใช้จ่าย (Cost - Effectiveness) และการประเมินผลประโยชน์ต่อค่าใช้จ่าย (Benefit — Cost Ratio) เพื่อประเมินความคุ้มค่าฯ ด้วย
4. องค์ประกอบรายงาน ขั้นตอนและกลไกการประเมินความคุ้มค่าฯ
(1) องค์ประกอบของรายงานการประเมินความคุ้มค่าฯ ประกอบด้วยสาระสำคัญอย่างน้อย 3 ส่วน คือ 1) ข้อมูลเบื้องต้นของหน่วยงาน 2) กรอบการประเมินความคุ้มค่าฯ และผลการประเมินความคุ้มค่าฯ และ 3) ข้อเสนอแนวทางการปรับปรุงประสิทธิภาพการปฏิบัติภารกิจระระต่อไป
(2) ขั้นตอนการประเมินความคุ้มค่าฯ หน่วยงานสามารถประเมินการปฏิบัติภารกิจได้ทั้ง 3 ขั้นตอน คือ ประเมินก่อนการปฏิบัติงาน ประเมินระหว่างการดำเนินงาน และประเมินภายหลังเสร็จสิ้นการดำเนินงานว่ามีผลสัมฤทธิ์และคุ้มค่าหรือไม่ เพียงใด
(3) กลไกการประเมินความคุ้มค่าฯ ประกอบด้วยกลไก 2 ระดับ คือ 1) กลไกระดับนโยบาย ได้แก่ คณะกรรมการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการ ซึ่งมีรองนายกรัฐมนตรีที่คณะรัฐมนตรีแต่งตั้งเป็นประธาน และเลขาธิการ ก.พ.ร. เป็นกรรมการและเลขานุการ และ 2) กลไกระดับหน่วยงาน ซึ่งตั้งขึ้นภายในหน่วยงาน มีกลุ่มงาน ก.พ.ร. ของหน่วยงานเป็นฝ่ายเลขานุการ รับผิดชอบการประสานผลักดันการประเมินความคุ้มค่าฯ ภายในหน่วยงาน
5. ภาคผนวก ประกอบด้วย แบบฟอร์มรายงานการประเมินความคุ้มค่าการปฏิบัติภารกิจของรัฐ ข้อเสนอเครื่องมือในการประเมินความคุ้มค่าฯ และคำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการพิจารณาแนวทางดำเนินการประเมินความคุ้มค่าการปฏิบัติภารกิจของรัฐ
การดำเนินงานขั้นต่อไป
ในปีงบประมาณ 2549 — 2550 สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติจะนำ แนวทางการประเมินความคุ้มค่าการปฏิบัติภารกิจของรัฐดังกล่าว ไปดำเนินการประเมินความคุ้มค่าในการปฏิบัติภารกิจของรัฐในหน่วยงานนำร่อง โดยคัดเลือกจากหน่วยงานที่มีภารกิจคล้ายคลึงกัน ในด้านการให้บริการสาธารณะและการให้บริการด้านการพัฒนาและความมั่นคง จากนั้นจะนำผลมาปรับปรุงคู่มือการประเมินความคุ้มค่าฯ ให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น ก่อนผลักดันให้ทุกส่วนราชการใช้ประเมินความคุ้มค่าฯ การปฏิบัติภารกิจด้วยตนเองต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 18 ตุลาคม 2548--จบ--