การลงทุนโครงการขยายพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด (โครงการพัฒนาท่าเรืออุตสาหกรรม มาบตาพุด ระยะที่ 3)

ข่าวการเมือง Tuesday October 1, 2019 18:37 —มติคณะรัฐมนตรี

คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการลงทุนโครงการขยายพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด ตามโครงการพัฒนาท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด ระยะที่ 3 ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรม โดยการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) เสนอ ในกรอบวงเงิน 55,400,000,000 บาท โดยใช้จ่ายจากเงินงบประมาณของ กนอ. ร่วมลงทุนก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน คิดเป็นมูลค่าปัจจุบัน 12,900,000,000 บาท โดย กนอ. จะชำระให้เอกชนที่ร่วมลงทุน ในช่วงที่ 1 จำนวน 710 ล้านบาท/ปี เป็นระยะเวลา 30 ปี และเอกชนร่วมลงทุน จำนวน 42,500,000,000 บาท

สาระสำคัญของเรื่อง

โครงการพัฒนาท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด ระยะที่ 3 มีสาระสำคัญ สรุปได้ ดังนี้

องค์ประกอบ

โครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure)

รายละเอียด

งานขุดลอกและถมทะเล พื้นที่ 1,000 ไร่ แบ่งเป็น

  • พื้นที่ถมทะเลหลังท่าเพื่อใช้งานประมาณ 550 ไร่ (เพื่อก่อสร้างท่าเรือ และพื้นที่พัฒนาอุตสาหกรรมด้านพลังงาน)
  • พื้นที่บ่อเก็บกักตะกอนดินเลน ประมาณ 450 ไร่

ช่วงดำเนินการ และสิทธิในการใช้พื้นที่

ดำเนินการในช่วงที่ 1 โดยเอกชนจะได้รับสิทธิในการพัฒนาพื้นที่ 35 ปี (ปี 2563-2597) โดยใช้เวลาก่อสร้าง 5 ปี และดำเนินกิจการท่าเรือก๊าซ 30 ปี

จำนวนเงินลงทุน (ล้านบาท) 12,900*

แหล่งเงินทุน

งบประมาณของการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

องค์ประกอบ

การลงทุนบนพื้นที่ที่ได้จากการถมทะเลในช่วงที่ 1 (Superstructure)

รายละเอียด

ท่าเรือก๊าซ (พื้นที่ 200 ไร่ ความยาวหน้าท่า 1,415 เมตร)

ช่วงดำเนินการ และสิทธิในการใช้พื้นที่

ดำเนินการในช่วงที่ 1 โดยเอกชนจะได้รับสิทธิในการพัฒนาพื้นที่ 35 ปี (ปี 2563-2597) โดยใช้เวลาก่อสร้าง 5 ปี และดำเนินกิจการท่าเรือก๊าซ 30 ปี

จำนวนเงินลงทุน (ล้านบาท) 35,000

แหล่งเงินทุน

เงินลงทุนเอกชน

ท่าเทียบเรือสินค้าเหลว 2 ท่า (พื้นที่ 200 ไร่ ความยาวหน้าท่า 814 เมตร)

ช่วงดำเนินการ และสิทธิในการใช้พื้นที่

ดำเนินการในช่วงที่ 2 โดยเอกชนจะได้สิทธิในการพัฒนาพื้นที่ 32 ปี (ปี 2566-2597) โดยใช้เวลาก่อสร้าง 2 ปี และระยะเวลาดำเนินกิจการ 30 ปี

จำนวนเงินลงทุน (ล้านบาท) 4,300

แหล่งเงินทุน

เงินลงทุนเอกชน

คลังสินค้าและธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับก๊าซธรรมชาติ (พื้นที่ 150 ไร่)

ช่วงดำเนินการ และสิทธิในการใช้พื้นที่

ดำเนินการในช่วงที่ 2 โดยเอกชนจะได้สิทธิในการพัฒนาพื้นที่ 32 ปี (ปี 2566-2597) โดยใช้เวลาก่อสร้าง 2 ปี และระยะเวลาดำเนินกิจการ 30 ปี

จำนวนเงินลงทุน (ล้านบาท) 3,200

แหล่งเงินทุน

เงินลงทุนเอกชน

  • การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยจะร่วมลงทุนโครงสร้างพื้นฐานเป็นมูลค่าปัจจุบันไม่เกิน 12,900 ล้านบาท ระยะเวลา 30 ปี จะชำระเงินร่วมลงทุนสุทธิ 710 ล้านบาทต่อปี ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 2562

นอกจากนี้ ภายในโครงการฯ ยังประกอบด้วยสาธารณูปโภคอื่น ๆ เช่น ระบบไฟฟ้า ระบบประปา ระบบดับเพลิง ระบบบำบัดน้ำเสีย เป็นต้น

ที่มา: ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 1 ตุลาคม 2562


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ