คณะรัฐมนตรีพิจารณาสรุปสถานการณ์อุทกภัยและการให้ความช่วยเหลือในพื้นที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์และชุมพรตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ แล้วมีมติอนุมัติให้ความช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยกรณีบ้านเรือนเสียหาย ทั้งหลังตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ. 2546 จากเดิมที่กำหนดไว้หลังละไม่เกิน 30,000 บาท เพิ่มเติมเป็นหลังละ 60,000 บาท ดังเช่นกรณีเหตุการณ์บ้านน้ำก้อ น้ำชุน อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ ทั้งนี้โดยให้ใช้จ่ายจากเงินทดรองราชการฯ (งบ 50 ล้านบาท) ในอำนาจของผู้ว่าราชการจังหวัดได้เป็นกรณีพิเศษ
ทั้งนี้กระทรวงมหาดไทย โดยสำนักเลขาธิการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยได้สรุปสถานการณ์อุทกภัยและการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยในพื้นที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์และชุมพร ดังนี้
1. การแจ้งเตือนภัย
ได้แจ้งเตือนประชาชนที่อาศัยในพื้นที่เสี่ยงภัยให้ระมัดระวังภัยจากภาวะน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่า ไหลหลาก โดยให้จังหวัดกำชับเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องติดตามเฝ้าระวังสถานการณ์เพื่อเตรียมรับสถานการณ์อุทกภัยที่อาจเกิดขึ้นในพื้นที่รับผิดชอบ
2. สรุปสถานการณ์อุทกภัย (วันที่ 18-21 พฤศจิกายน 2548) พื้นที่ประสบภัย รวม 2 จังหวัด ได้แก่
- จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ พื้นที่ประสบภัย จำนวน 3 อำเภอ 16 ตำบล 124 หมู่บ้าน ได้แก่ อำเภอบางสะพาน บางสะพานน้อย และทับสะแก ราษฎรเดือดร้อน 8,151 ครัวเรือน 52,500 คน ถนน 89 สาย สะพาน 17 แห่ง อ่างเก็บน้ำ 2 แห่ง พื้นที่การเกษตร 33,000 ไร่ มีผู้เสียชีวิต 5 ราย (อำเภอทับสะแก 2 คน และอำเภอบางสะพาน 3 คน) สูญหาย 2 ราย (อำเภอบางสะพาน) มูลค่าความเสียหาย 110,000,000 บาท
- จังหวัดชุมพร พื้นที่ประสบภัย จำนวน 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอปะทิว อำเภอท่าแซะ และอำเภอเมือง รวม 16 ตำบล 66 หมู่บ้าน ราษฎรเดือดร้อน 2,501 ครัวเรือน 7,841 คน ถนน 12 สาย สะพาน 1 แห่ง เรือประมง 4 ลำ มูลค่าความเสียหาย 62,000,000 บาท
3. การตรวจพื้นที่ประสบภัยของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยพร้อมคณะได้เดินทางไปตรวจสภาพความเสียหายจากอุทกภัยในพื้นที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และแจกจ่ายถุงยังชีพแก่ประชาชนผู้ประสบภัย จำนวน 900 ชุด พร้อมทั้งได้ตรวจสภาพความเสียหายของบ้านเรือนราษฎรบ้านคลองลอยที่ได้รับผลกระทบกรณีอ่างเก็บน้ำคลองลอยสันอ่างขาด และได้สั่งการให้จังหวัดและหน่วยงานต่าง ๆ ในพื้นที่ดำเนินการให้ความช่วยเหลือในระยะเร่งด่วน ระยะยาว และให้ความช่วยเหลือการซ่อมแซมอ่างเก็บน้ำคลองลอย และอ่างเก็บน้ำบ้านช้างแรกด้วย ซึ่งกระทรวงมหาดไทยเห็นว่า เนื่องจากความเสียหายจาก เหตุอุทกภัยน้ำป่าไหลหลากในพื้นที่อำเภอบางสะพาน บางสะพานน้อย และทับสะแก ทำให้บ้านเรือนราษฎรเสียหายกว่า 110 หลังคาเรือน โดยเฉพาะพื้นที่อำเภอบางสะพานได้รับผลกระทบจากอ่างเก็บน้ำคลองลอยที่สันอ่างเก็บน้ำขาดทำให้ปริมาณน้ำไหลหลากเข้าท่วมบ้านเรือนราษฎรและพัดพาเศษไม้ ท่อนซุง ทำความเสียหายต่อบ้านเรือนราษฎรเสียหายสิ้นเชิงประมาณ 60 หลังคาเรือน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 29 พฤศจิกายน 2548--จบ--
ทั้งนี้กระทรวงมหาดไทย โดยสำนักเลขาธิการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยได้สรุปสถานการณ์อุทกภัยและการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยในพื้นที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์และชุมพร ดังนี้
1. การแจ้งเตือนภัย
ได้แจ้งเตือนประชาชนที่อาศัยในพื้นที่เสี่ยงภัยให้ระมัดระวังภัยจากภาวะน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่า ไหลหลาก โดยให้จังหวัดกำชับเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องติดตามเฝ้าระวังสถานการณ์เพื่อเตรียมรับสถานการณ์อุทกภัยที่อาจเกิดขึ้นในพื้นที่รับผิดชอบ
2. สรุปสถานการณ์อุทกภัย (วันที่ 18-21 พฤศจิกายน 2548) พื้นที่ประสบภัย รวม 2 จังหวัด ได้แก่
- จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ พื้นที่ประสบภัย จำนวน 3 อำเภอ 16 ตำบล 124 หมู่บ้าน ได้แก่ อำเภอบางสะพาน บางสะพานน้อย และทับสะแก ราษฎรเดือดร้อน 8,151 ครัวเรือน 52,500 คน ถนน 89 สาย สะพาน 17 แห่ง อ่างเก็บน้ำ 2 แห่ง พื้นที่การเกษตร 33,000 ไร่ มีผู้เสียชีวิต 5 ราย (อำเภอทับสะแก 2 คน และอำเภอบางสะพาน 3 คน) สูญหาย 2 ราย (อำเภอบางสะพาน) มูลค่าความเสียหาย 110,000,000 บาท
- จังหวัดชุมพร พื้นที่ประสบภัย จำนวน 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอปะทิว อำเภอท่าแซะ และอำเภอเมือง รวม 16 ตำบล 66 หมู่บ้าน ราษฎรเดือดร้อน 2,501 ครัวเรือน 7,841 คน ถนน 12 สาย สะพาน 1 แห่ง เรือประมง 4 ลำ มูลค่าความเสียหาย 62,000,000 บาท
3. การตรวจพื้นที่ประสบภัยของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยพร้อมคณะได้เดินทางไปตรวจสภาพความเสียหายจากอุทกภัยในพื้นที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และแจกจ่ายถุงยังชีพแก่ประชาชนผู้ประสบภัย จำนวน 900 ชุด พร้อมทั้งได้ตรวจสภาพความเสียหายของบ้านเรือนราษฎรบ้านคลองลอยที่ได้รับผลกระทบกรณีอ่างเก็บน้ำคลองลอยสันอ่างขาด และได้สั่งการให้จังหวัดและหน่วยงานต่าง ๆ ในพื้นที่ดำเนินการให้ความช่วยเหลือในระยะเร่งด่วน ระยะยาว และให้ความช่วยเหลือการซ่อมแซมอ่างเก็บน้ำคลองลอย และอ่างเก็บน้ำบ้านช้างแรกด้วย ซึ่งกระทรวงมหาดไทยเห็นว่า เนื่องจากความเสียหายจาก เหตุอุทกภัยน้ำป่าไหลหลากในพื้นที่อำเภอบางสะพาน บางสะพานน้อย และทับสะแก ทำให้บ้านเรือนราษฎรเสียหายกว่า 110 หลังคาเรือน โดยเฉพาะพื้นที่อำเภอบางสะพานได้รับผลกระทบจากอ่างเก็บน้ำคลองลอยที่สันอ่างเก็บน้ำขาดทำให้ปริมาณน้ำไหลหลากเข้าท่วมบ้านเรือนราษฎรและพัดพาเศษไม้ ท่อนซุง ทำความเสียหายต่อบ้านเรือนราษฎรเสียหายสิ้นเชิงประมาณ 60 หลังคาเรือน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 29 พฤศจิกายน 2548--จบ--