เอกสารผลลัพธ์ของกระทรวงศึกษาธิการสำหรับการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 35 และการประชุมสุดยอดที่เกี่ยวข้อง

ข่าวการเมือง Tuesday October 15, 2019 17:56 —มติคณะรัฐมนตรี

คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและอนุมัติตามที่กระทรวงศึกษาธิการเสนอ ดังนี้

1. เห็นชอบต่อถ้อยคำและสารัตถะในเอกสารผลลัพธ์ฯ ปฏิญญากรุงเทพฯ ว่าด้วยการเสริมสร้างความเป็นหุ้นส่วนทางการศึกษาเพื่อบรรลุเป้าหมายตามวาระการพัฒนาที่ยั่งยืน ค.ศ. 2030 (Bangkok Declaration on Advancing Partnership in Education for 2030 Agenda for Sustainable Development in ASEAN) และแผนปฏิบัติการระดับภูมิภาคเพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานตามปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยการเสริมสร้างความเข้มแข็งด้านการศึกษาให้แก่เด็กและเยาวชนที่ตกหล่น (Regional Action Plan for the Implementation of the ASEAN Declaration on Strengthening Education for Out-of-School Children and Youth)

2. อนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการหรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายให้ความเห็นชอบเอกสารผลลัพธ์ฯ ปฏิญญากรุงเทพฯ ว่าด้วยการเสริมสร้างความเป็นหุ้นส่วนทางการศึกษาเพื่อบรรลุเป้าหมายตามวาระการพัฒนาที่ยั่งยืน ค.ศ. 2030 (Bangkok Declaration on Advancing Partnership in Education for 2030 Agenda for Sustainable Development in ASEAN) และรับรองเอกสารผลลัพธ์ฯ แผนปฏิบัติการระดับภูมิภาคเพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานตามปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยการเสริมสร้างความเข้มแข็งด้านการศึกษาให้แก่เด็กและเยาวชนที่ตกหล่น (Regional Action Plan for the Implementation of the ASEAN Declaration on Strengthening Education for Out-of-School Children and Youth) ร่วมกับรัฐมนตรีศึกษาธิการอาเซียนหรือผู้แทน

3. อนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ในฐานะประธานคณะมนตรีประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน หรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมาย ร่วมเห็นชอบเอกสารผลลัพธ์ฯ ปฏิญญากรุงเทพฯ ว่าด้วยการเสริมสร้างความเป็นหุ้นส่วนทางการศึกษาเพื่อบรรลุเป้าหมายตามวาระการพัฒนาที่ยั่งยืน ค.ศ. 2030 (Bangkok Declaration on Advancing Partnership in Education for 2030 Agenda for Sustainable Development in ASEAN) และแผนปฏิบัติการระดับภูมิภาคเพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานตามปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยการเสริมสร้างความเข้มแข็งด้านการศึกษาให้แก่เด็กและเยาวชนที่ตกหล่น (Regional Action Plan for the Implementation of the ASEAN Declaration on Strengthening Education for Out-of-School Children and Youth) ในการประชุมคณะมนตรีประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน ครั้งที่ 22 ในวันที่ 2 พฤศจิกายน 2562

4. อนุมัติให้นายกรัฐมนตรีหรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายให้การรับรองเอกสารผลลัพธ์ฯ ปฏิญญากรุงเทพฯ ว่าด้วยการเสริมสร้างความเป็นหุ้นส่วนทางการศึกษาเพื่อบรรลุเป้าหมายตามวาระการพัฒนาที่ยั่งยืน ค.ศ. 2030 (Bangkok Declaration on Advancing Partnership in Education for 2030 Agenda for Sustainable Development in ASEAN) ร่วมกับผู้นำประเทศสมาชิกอาเซียนในการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 35 (ทั้งนี้ เอกสารผลลัพธ์ฯ แผนปฏิบัติการระดับภูมิภาคเพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานตามปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยการเสริมสร้างความเข้มแข็งด้านการศึกษาให้แก่เด็กและเยาวชนที่ตกหล่น (Regional Action Plan for the Implementation of the ASEAN Declaration on Strengthening Education for Out-of-School Children and Youth) เป็นเอกสารที่เสนอเพื่อที่ประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 35 รับทราบ)

ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องปรับปรุงถ้อยคำในเอกสารผลลัพธ์ฯ ปฏิญญากรุงเทพฯ ว่าด้วยการเสริมสร้างความเป็นหุ้นส่วนทางการศึกษาเพื่อบรรลุเป้าหมายตามวาระการพัฒนาที่ยั่งยืน ค.ศ. 2030 (Bangkok Declaration on Advancing Partnership in Education for 2030 Agenda for Sustainable Development in ASEAN) และแผนปฏิบัติการระดับภูมิภาคเพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานตามปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยการเสริมสร้างความเข้มแข็งด้านการศึกษาให้แก่เด็กและเยาวชนที่ตกหล่น (Regional Action Plan for the Implementation of the ASEAN Declaration on Strengthening Education for Out-of-School Children and Youth) ในส่วนที่มิใช่สาระสำคัญ ไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของประเทศไทยและหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้ให้กระทรวงศึกษาธิการดำเนินการต่อไปได้โดยไม่ต้องเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีกครั้ง

สาระสำคัญของเอกสารผลลัพธ์ฯ ทั้ง 2 ฉบับ

1. ปฏิญญากรุงเทพฯ ว่าด้วยการเสริมสร้างความเป็นหุ้นส่วนทางการศึกษาเพื่อบรรลุเป้าหมายตามวาระการพัฒนาที่ยั่งยืน ค.ศ. 2030 (Bangkok Declaration on Advancing Partnership in Education for 2030 Agenda for Sustainable Development in ASEAN) จัดทำขึ้นเพื่อประกาศเจตนารมณ์ของผู้นำอาเซียนในการยกระดับความร่วมมือด้านการศึกษา และใช้โอกาสในการเป็นประธานอาเซียนของไทยในการเสริมสร้างความร่วมมือเพื่อขับเคลื่อนกิจกรรมให้บรรลุตามวาระการพัฒนาที่ยั่งยืน ค.ศ. 2030 ให้สัมฤทธิ์ผลอย่างมีประสิทธิภาพ โดยสาระสำคัญของปฏิญญาฯ ฉบับดังกล่าวมุ่งเน้นการดำเนินการใน 3 ด้าน ได้แก่ (1) การสร้างความตระหนักเกี่ยวกับวาระการพัฒนาที่ยั่งยืน ค.ศ. 2030 (Awareness Raising on the 2030 Agenda for Sustainable Development) (2) การส่งเสริมการจัดการศึกษาเพื่อสนับสนุนการบรรลุเป้าหมายตามวาระการพัฒนาที่ยั่งยืน ค.ศ. 2030 (Promotion of Education for the 2030 Agenda for Sustainable Development) และ (3) การเสริมสร้างหุ้นส่วนความร่วมมือเพื่อสนับสนุนการดำเนินการให้บรรลุเป้าหมายตามวาระการพัฒนาที่ยั่งยืน ค.ศ. 2030 (Advancing Partnership to Achieve the 2030 Agenda for Sustainable Development) ทั้งนี้ ปฏิญญาฉบับนี้ ได้ผ่านการให้ความเห็นชอบ (Ad-Referendum) จากเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านการศึกษาของอาเซียน (ASEAN Senior Officials Meeting on Education) แล้วเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2562

2. แผนปฏิบัติการระดับภูมิภาคเพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานตามปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยการเสริมสร้างความเข้มแข็งด้านการศึกษาให้แก่เด็กและเยาวชนที่ตกหล่น (Regional Action Plan for the Implementation of the ASEAN Declaration on Strengthening Education for Out-of-School Children and Youth) เป็นเอกสารระบุประเด็นสำคัญที่เห็นควรเร่งดำเนินการและแนวทางการจัดกิจกรรมตามปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยการเสริมสร้างความเข้มแข็งด้านการศึกษาให้แก่เด็กและเยาวชนที่ตกหล่น (ASEAN Action Plan for the Implementation of the ASEAN Declaration on Strengthening Education for Out-of-School Children and Youth) ที่มุ่งเน้นการขจัดปัญหาที่เป็นอุปสรรคต่อการเข้าถึงการศึกษาของเด็กและเยาวชนในภูมิภาคผ่านการจัดการศึกษาแบบยืดหยุ่น (Flexible Education) ตลอดจนเสริมสร้างโอกาสการเรียนรู้ตลอดชีวิตตามศักยภาพและความจำเป็นของแต่ละบุคคล โดยแผนปฏิบัติการได้กำหนดประเด็นสำคัญที่เห็นควรเร่งดำเนินการพร้อมกิจกรรมที่เกี่ยวข้องใน 3 ด้าน ได้แก่ (1) การจัดการองค์ความรู้และนโยบาย (Knowledge Management and Policy) (2) การจัดกิจกรรมและโครงการเพื่อเสริมสร้างโอกาสในการเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างเท่าเทียม (Programme and Initiatives) และ (3) การประชาสัมพันธ์และสร้างเครือข่ายความร่วมมือ (Advocacy and Stakeholder Engagement) โดยแผนปฏิบัติการฯ ฉบับนี้ได้ผ่านการให้ความเห็นชอบ (Ad-Referendum) จากเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านการศึกษาของอาเซียน (ASEAN Senior Officials Meeting on Education) แล้วเมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 2562

ที่มา: ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 15 ตุลาคม 2562


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ