คณะรัฐมนตรีพิจารณาการจัดทำแผนการบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2551-2554 ตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอ แล้วมีมติดังนี้
1. เห็นชอบการมอบหมายผู้รับผิดชอบ ภายใต้นโยบายรัฐบาลที่แถลงต่อรัฐสภา ซึ่งสามารถจำแนกเป็น 1) นโยบายเร่งด่วนที่ต้องเริ่มดำเนินการในปีแรก 19 เรื่อง แยกเป็น 7 กลุ่ม และ 2) นโยบายในระยะการบริหารราชการ 4 ปีของรัฐบาล แยกเป็น 7 นโยบาย โดยมอบหมายรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีรับผิดชอบแต่ละนโยบาย ดังนี้
1.1 นโยบายฟ??นฟูความเชื่อมั่นของประเทศ (นโยบายเร่งด่วน) 7 กลุ่ม
กลุ่มนโยบายเร่งด่วน รองนายกรัฐมนตรี
กลุ่มที่ 1 ดูแลปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน รองนายกรัฐมนตรี (นายสุรพงษ์ สืบวงศ์ลี/นายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ์)
กลุ่มที่ 2 การลดรายจ่ายของประชาชน รองนายกรัฐมนตรี (นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์/พลตรี สนั่น ขจรประศาสน์)
กลุ่มที่ 3 การเพิ่มรายได้ของประชาชน รองนายกรัฐมนตรี (นายสุรพงษ์ สืบวงศ์ลี)
กลุ่มที่ 4 การลงทุนและการใช้จ่ายภาครัฐ รองนายกรัฐมนตรี (นายสุรพงษ์ สืบวงศ์ลี/นายสหัส บัณฑิตกุล/นายสุวิทย์ คุณกิตติ)
กลุ่มที่ 5 การหารายได้เข้าประเทศ รองนายกรัฐมนตรี (พลตรี สนั่น ขจรประศาสน์)
กลุ่มที่ 6 การดูแลทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รองนายกรัฐมนตรี (นายสหัส บัณฑิตกุล)
กลุ่มที่ 7 กลุ่มฟื้นฟูความเชื่อมั่นด้านสังคมและ รองนายกรัฐมนตรี (นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์)
ความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้
1.2 นโยบายในระยะการบริหารราชการ 4 ปีของรัฐบาล แยกเป็น 7 นโยบาย
นโยบายในระยะการบริหารราชการ 4 ปี รองนายกรัฐมนตรี
1.นโยบายสังคมและคุณภาพชีวิต รองนายกรัฐมนตรี (นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์)
2.นโยบายเศรษฐกิจ รองนายกรัฐมนตรี (นายสุรพงษ? สืบวงศ?ลี/นายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ์/
นายสหัส บัณฑิตกุล/พลตรี สนั่น ขจรประศาสน์/นายสุวิทย? คุณกิตติ)
3.นโยบายที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รองนายกรัฐมนตรี (นายสหัส บัณฑิตกุล/พลตรี สนั่น ขจรประศาสน์)
4.นโยบายวิทยาศาสตร?เทคโนโลยีและนวัตกรรม รองนายกรัฐมนตรี (นายสหัส บัณฑิตกุล)
5.นโยบายการต่างประเทศและเศรษฐกิจระหว่างประเทศ รองนายกรัฐมนตรี (นายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ?)
6.นโยบายความมั่นคงของรัฐ รองนายกรัฐมนตรี (นายสมชาย วงศ?สวัสดิ์)
7.นโยบายการบริหารจัดการที่ดี รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายชูศักดิ์ ศิรินิล/นายจักรภพ เพ็ญแข)
ทั้งนี้ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีที่รับผิดชอบ จะเป็นผู้กำกับให้กระทรวงและส่วนราชการจัดทำข้อเสนอเป้าหมายและตัวชี้วัดระดับนโยบาย กลยุทธ์/วิธีดำเนินการ และแผนงานหรือโครงการสำคัญ จัดส่งให้คณะกรรมการจัดทำแผนการบริหารราชการแผ่นดิน เพื่อบูรณาการและจัดทำร่างแผนการบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2551-2554 นำเสนอนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบต่อไป
2. เห็นชอบหลักการจัดทำแผนการบริหารราชการแผ่นดิน ดังนี้
2.1 ให้ส่วนราชการเร่งรัดการดำเนินการตามนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาล 19 เรื่อง โดยในขั้นแรกรองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี และปลัดกระทรวง พิจารณาปรับแผนการปฏิบัติงานในปีงบประมาณ 2551 เพื่อเสริมการดำเนินงานตามนโยบายเร่งด่วน ก่อนที่จะของบประมาณเพิ่มเติม โดยพิจารณาเลื่อนชะลอโครงการที่ไม่จำเป็นไปในปีงบประมาณถัดไป พร้อมนี้ให้เร่งรัดจัดทำแผนสำหรับขอตั้งงบประมาณในปีงบประมาณ 2552 เพื่อให้เริ่มใช้งบประมาณได้ภายในเดือนตุลาคม 2551
2.2 การบูรณาการแผนงาน/โครงการ โดยรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีที่รับผิดชอบนโยบายเป็นเจ้าภาพในการบูรณาการแผนงาน และประสานกระทรวงที่เกี่ยวข้องกับงานในความรับผิดชอบมาพิจารณาแผนงานร่วมกัน โดยยึดประโยชน์สูงสุดของประชาชนเป็นตัวตั้ง และหลีกเลี่ยงความซ้ำซ้อนจากการกำหนดแผนงาน/โครงการเป็นรายกระทรวง
2.3 การจัดทำงบประมาณและแผนงานที่เป็นหน้าที่ของจังหวัดและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ต้องเชื่อมโยงและสอดคล้องกับแผนงานของกระทรวง เพื่อให้การใช้งบประมาณเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นการเพิ่มบทบาทของท้องถิ่นในการรับผิดชอบภารกิจที่ได้รับการถ่ายโอน
2.4 งบลงทุนแผนงาน/โครงการขนาดใหญ่ ด้านโครงสร้างพื้นฐาน การศึกษา และสาธารณสุข ที่ใช้เงินลงทุนสูง ให้กระทรวงและส่วนราชการเจ้าของโครงการประสานหารือกับกระทรวงการคลังและสำนักงบประมาณอย่างใกล้ชิด
3. เห็นชอบให้แต่งตั้งรองเลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา (นายอัชพร จารุจินดา) เป็นผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการจัดทำแผนการบริหารราชการแผ่นดินเพิ่มเติม
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2551--จบ--
1. เห็นชอบการมอบหมายผู้รับผิดชอบ ภายใต้นโยบายรัฐบาลที่แถลงต่อรัฐสภา ซึ่งสามารถจำแนกเป็น 1) นโยบายเร่งด่วนที่ต้องเริ่มดำเนินการในปีแรก 19 เรื่อง แยกเป็น 7 กลุ่ม และ 2) นโยบายในระยะการบริหารราชการ 4 ปีของรัฐบาล แยกเป็น 7 นโยบาย โดยมอบหมายรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีรับผิดชอบแต่ละนโยบาย ดังนี้
1.1 นโยบายฟ??นฟูความเชื่อมั่นของประเทศ (นโยบายเร่งด่วน) 7 กลุ่ม
กลุ่มนโยบายเร่งด่วน รองนายกรัฐมนตรี
กลุ่มที่ 1 ดูแลปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน รองนายกรัฐมนตรี (นายสุรพงษ์ สืบวงศ์ลี/นายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ์)
กลุ่มที่ 2 การลดรายจ่ายของประชาชน รองนายกรัฐมนตรี (นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์/พลตรี สนั่น ขจรประศาสน์)
กลุ่มที่ 3 การเพิ่มรายได้ของประชาชน รองนายกรัฐมนตรี (นายสุรพงษ์ สืบวงศ์ลี)
กลุ่มที่ 4 การลงทุนและการใช้จ่ายภาครัฐ รองนายกรัฐมนตรี (นายสุรพงษ์ สืบวงศ์ลี/นายสหัส บัณฑิตกุล/นายสุวิทย์ คุณกิตติ)
กลุ่มที่ 5 การหารายได้เข้าประเทศ รองนายกรัฐมนตรี (พลตรี สนั่น ขจรประศาสน์)
กลุ่มที่ 6 การดูแลทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รองนายกรัฐมนตรี (นายสหัส บัณฑิตกุล)
กลุ่มที่ 7 กลุ่มฟื้นฟูความเชื่อมั่นด้านสังคมและ รองนายกรัฐมนตรี (นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์)
ความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้
1.2 นโยบายในระยะการบริหารราชการ 4 ปีของรัฐบาล แยกเป็น 7 นโยบาย
นโยบายในระยะการบริหารราชการ 4 ปี รองนายกรัฐมนตรี
1.นโยบายสังคมและคุณภาพชีวิต รองนายกรัฐมนตรี (นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์)
2.นโยบายเศรษฐกิจ รองนายกรัฐมนตรี (นายสุรพงษ? สืบวงศ?ลี/นายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ์/
นายสหัส บัณฑิตกุล/พลตรี สนั่น ขจรประศาสน์/นายสุวิทย? คุณกิตติ)
3.นโยบายที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รองนายกรัฐมนตรี (นายสหัส บัณฑิตกุล/พลตรี สนั่น ขจรประศาสน์)
4.นโยบายวิทยาศาสตร?เทคโนโลยีและนวัตกรรม รองนายกรัฐมนตรี (นายสหัส บัณฑิตกุล)
5.นโยบายการต่างประเทศและเศรษฐกิจระหว่างประเทศ รองนายกรัฐมนตรี (นายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ?)
6.นโยบายความมั่นคงของรัฐ รองนายกรัฐมนตรี (นายสมชาย วงศ?สวัสดิ์)
7.นโยบายการบริหารจัดการที่ดี รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายชูศักดิ์ ศิรินิล/นายจักรภพ เพ็ญแข)
ทั้งนี้ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีที่รับผิดชอบ จะเป็นผู้กำกับให้กระทรวงและส่วนราชการจัดทำข้อเสนอเป้าหมายและตัวชี้วัดระดับนโยบาย กลยุทธ์/วิธีดำเนินการ และแผนงานหรือโครงการสำคัญ จัดส่งให้คณะกรรมการจัดทำแผนการบริหารราชการแผ่นดิน เพื่อบูรณาการและจัดทำร่างแผนการบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2551-2554 นำเสนอนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบต่อไป
2. เห็นชอบหลักการจัดทำแผนการบริหารราชการแผ่นดิน ดังนี้
2.1 ให้ส่วนราชการเร่งรัดการดำเนินการตามนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาล 19 เรื่อง โดยในขั้นแรกรองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี และปลัดกระทรวง พิจารณาปรับแผนการปฏิบัติงานในปีงบประมาณ 2551 เพื่อเสริมการดำเนินงานตามนโยบายเร่งด่วน ก่อนที่จะของบประมาณเพิ่มเติม โดยพิจารณาเลื่อนชะลอโครงการที่ไม่จำเป็นไปในปีงบประมาณถัดไป พร้อมนี้ให้เร่งรัดจัดทำแผนสำหรับขอตั้งงบประมาณในปีงบประมาณ 2552 เพื่อให้เริ่มใช้งบประมาณได้ภายในเดือนตุลาคม 2551
2.2 การบูรณาการแผนงาน/โครงการ โดยรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีที่รับผิดชอบนโยบายเป็นเจ้าภาพในการบูรณาการแผนงาน และประสานกระทรวงที่เกี่ยวข้องกับงานในความรับผิดชอบมาพิจารณาแผนงานร่วมกัน โดยยึดประโยชน์สูงสุดของประชาชนเป็นตัวตั้ง และหลีกเลี่ยงความซ้ำซ้อนจากการกำหนดแผนงาน/โครงการเป็นรายกระทรวง
2.3 การจัดทำงบประมาณและแผนงานที่เป็นหน้าที่ของจังหวัดและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ต้องเชื่อมโยงและสอดคล้องกับแผนงานของกระทรวง เพื่อให้การใช้งบประมาณเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นการเพิ่มบทบาทของท้องถิ่นในการรับผิดชอบภารกิจที่ได้รับการถ่ายโอน
2.4 งบลงทุนแผนงาน/โครงการขนาดใหญ่ ด้านโครงสร้างพื้นฐาน การศึกษา และสาธารณสุข ที่ใช้เงินลงทุนสูง ให้กระทรวงและส่วนราชการเจ้าของโครงการประสานหารือกับกระทรวงการคลังและสำนักงบประมาณอย่างใกล้ชิด
3. เห็นชอบให้แต่งตั้งรองเลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา (นายอัชพร จารุจินดา) เป็นผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการจัดทำแผนการบริหารราชการแผ่นดินเพิ่มเติม
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2551--จบ--