คณะรัฐมนตรีรับทราบสรุปภาวะเศรษฐกิจไตรมาส 4/2550 และแนวโน้มเศรษฐกิจปี 2551 ตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เสนอ ดังนี้
1. เศรษฐกิจไทยในไตรมาสสี่และทั้งปี 2550
1.1 GDP ขยายตัวร้อยละ 5.7 สูงกว่าขยายตัวร้อยละ 4.2 ในไตรมาสแรก ร้อยละ 4.3 ในไตรมาสสอง และร้อยละ 4.8 ในไตรมาสสาม และรวมทั้งปีเศรษฐกิจไทยขยายตัวร้อยละ 4.8 สำหรับในไตรมาสที่สี่นั้นปริมาณการส่งออกสุทธิยังขยายตัวได้ดีและสนับสนุนการขยายตัวของเศรษฐกิจได้มากกว่าในช่วง 3 ไตรมาส ในขณะเดียวกันการลงทุนภาคเอกชนปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่อง และการเบิกจ่ายงบประมาณรัฐบาลเป็นไปตามเป้าหมายและเบิกจ่ายได้สูงกว่าในช่วงเดียวกันของปี 2549 แต่อย่างไรก็ตามการใช้จ่ายครัวเรือนยังอ่อนแอ ทั้งนี้การฟื้นตัวของการใช้จ่ายภาครัฐและการลงทุนภาคเอกชนในครึ่งหลังของปีทำให้การขยายตัวของเศรษฐกิจในครึ่งหลังของปีมีลักษณะสมดุลมากขึ้นกว่าในครึ่งแรก
ภาพรวมเศรษฐกิจปี 2550 มีเสถียรภาพ โดยที่อัตราการว่างงานในไตรมาสสี่ยังต่ำที่ร้อยละ 1.1 และเฉลี่ยทั้งปีอัตราการว่างงานเท่ากับร้อยละ 1.4 อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยทั้งปีเท่ากับร้อยละ 2.3 โดยที่ในไตรมาสสุดท้าย ปี 2550 อัตราเงินเฟ้อเพิ่มสูงขึ้นเป็นร้อยละ 2.9 จากร้อยละ 2.0 ในสามไตรมาสแรก ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุล 6,182 ล้านดอลลาร์ สรอ. และรวมทั้งปี 2550 เกินดุล 14,922 ล้านดอลลาร์ สรอ. คิดเป็นร้อยละ 6.1 ของ GDP
1.2 การขยายตัวและสัญญาณที่ดีในไตรมาสสี่ปี 2550
1.2.1 การส่งออกยังขยายตัวสูง ทั้งการส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรม แม้ว่าเศรษฐกิจโลกโดยรวมชะลอตัวและค่าเงินบาทแข็งขึ้น โดยมูลค่าการส่งออกในรูปเงินดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 24.0 สูงกว่า ที่ขยายตัวร้อยละ 17.9 ในไตรมาสแรก ร้อยละ 18 ในไตรมาสสอง และร้อยละ 12.6 ในไตรมาสสาม โดยที่ปริมาณการส่งออก ในไตรมาสสี่นี้เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.3 และราคาเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.5 สินค้าส่งออกที่เพิ่มขึ้นในในไตรมาสสุดท้ายของปี ประกอบด้วย ข้าว ยางพารา มันสำปะหลัง อาหารทะเลกระป๋อง อิเล็กทรอนิกส์ เครื่องใช้ไฟฟ้า และยานยนต์และส่วนประกอบ
รวมทั้งปี 2550 การส่งออกทั้งปี 2550 มีมูลค่าทั้งสิ้น 151,147 ล้านดอลลาร์สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.1 โดยราคาเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.7 และปริมาณเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.8 แต่ค่าเงินบาทที่แข็งขึ้นทำให้มูลค่าการส่งออกในรูปเงินบาทเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 7.7 โดยที่ราคาในรูปเงินบาทลดลงร้อยละ 3.7 กลุ่มสินค้าที่มูลค่าการส่งออกขยายตัวได้ดีในปี 2550 ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์อุปกรณ์และส่วนประกอบ รถยนต์อุปกรณ์และส่วนประกอบ แผงวงจรไฟฟ้า ยางพารา และอัญมณีและเครื่องประดับ เป็นต้น โดยการส่งออกไปยังประเทศญี่ปุ่น EU (15) และอาเซียน (5) ขยายตัวได้ดีและมีการขยายฐานการส่งออกไปยังตลาดอื่น ๆ มากขึ้นตามลำดับ ได้แก่ประเทศจีน อินเดีย ยุโรปตะวันออก ออสเตรเลีย และตะวันออกกลาง ซึ่งทำให้สามารถชดเชยการส่งออกไปยังสหรัฐฯ ที่หดตัวลงร้อยละ 1.2
1.2.2 การลงทุนภาคเอกชนเร่งตัวดีขึ้น โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.9 ในไตรมาสที่สี่ จากที่ขยายตัวร้อยละ 1.1 ในไตรมาสสาม และลดลงร้อยละ 2.3 และร้อยละ 0.7 ในไตรมาสแรกและไตรมาสสอง โดยที่การลงทุนทั้งในเครื่องจักรและอุปกรณ์เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.4 มีการนำเข้าสินค้าทุน (ณ ราคาปี 2543) เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.9 และการจำหน่ายเครื่องจักรภายในประเทศ (ณ ราคาปี 2543) เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.7 แต่การลงทุนในการก่อสร้างของภาคเอกชนนั้นลดลงร้อยละ 8.5 โดยที่การก่อสร้างที่อยู่อาศัยและโรงงานอุตสาหกรรมลดลง
การลงทุนที่เร่งตัวขึ้นทำให้การนำเข้าสินค้าทุนเพิ่มขึ้นตามลำดับ โดยที่ในไตรมาสสุดท้ายปี 2550 ปริมาณการนำเข้าสินค้าทุนเพิ่มขึ้นต่อเนื่องร้อยละ 15.9 จากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.9 ในไตรมาสสาม และลดลงร้อยละ 2.0 ในครึ่งแรกของปี กลุ่มสินค้าทุนที่มีการนำเข้าเพิ่มขึ้น ประกอบด้วย ประเภทเครื่องจักรไฟฟ้า เครื่องกลการเกษตร และชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์ เป็นต้น
1.2.3 การเบิกจ่ายงบประมาณรัฐบาลเพิ่มขึ้นมาก ในไตรมาสสี่มีการเบิกจ่ายงบประมาณรัฐบาลจำนวน 358,157.5 ล้านบาท เป็นอัตราการเบิกจ่ายร้อยละ 21.6 ของกรอบวงเงินงบประมาณซึ่งต่ำกว่าเป้าหมายการเบิกจ่ายร้อยละ 22.5 เล็กน้อย แต่อย่างไรก็ตามเป็นรายจ่ายที่สูงกว่าในช่วงเดียวกันของปี 2549มาก (เนื่องจากไตรมาสสี่ปี 2549 เป็นช่วงที่พระราชบัญญัติงบประมาณ 2550 ต้องล่าช้าออกไปจึงมีการเบิกจ่ายเพียง 257,821.1 ล้านบาท)
การลงทุนรัฐวิสาหกิจซึ่งรวมการลงทุนของ ปตท. นั้นมีการเบิกจ่ายจำนวน 124,433.60 ล้านบาท (เพิ่มขึ้นจากการเบิกจ่ายจำนวน 82,660.67 ล้านบาทในช่วงเดียวกันของปีก่อน) ซึ่งเมื่อวัด ณ ราคาปี 2531 รายจ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภครัฐบาล เพิ่มขึ้นร้อยละ 16 เพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากร้อยละ 9.8 .ขยายตัวได้ดีต่อเนื่องจากร้อยละ 9.4 ในไตรมาสแรก ร้อยละ 9.2 ไตรมาสสอง และร้อยละ 9.8 ในไตรมาสสาม การลงทุนภาครัฐเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.0 เร่งตัวกว่าในร้อยละ 3.6 ในสามไตรมาสแรกเล็กน้อย
1.2.4 สถานการณ์ด้านท่องเที่ยวปรับตัวดีขึ้นตามลำดับเช่นกัน โดยที่ในไตรมาสสี่มี จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติประมาณ 4.051 ล้านคน เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.6 จากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.7 ในไตรมาสสาม และร้อยละ 3.3 ในครึ่งปีแรก
1.2.5 การใช้จ่ายครัวเรือนยังชะลอตัวและอ่อนแอ อย่างไรก็ตามคาดว่าเป็นภาวะชั่วคราว ในไตรมาสสี่การใช้จ่ายครัวเรือนเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 1.6 เทียบกับที่ขยายตัวร้อยละ 1.4 ในไตรมาสแรก ร้อยละ 0.8 ในไตรมาสสอง และร้อยละ 1.8 ในไตรมาสสาม การใช้จ่ายที่ยังชะลอตัวเป็นเพราะปริมาณการจำหน่ายรถยนต์นั่งส่วนบุคคลกลับมาลดลงมากในเดือนพฤศจิกายนและธันวาคม เนื่องจากรอการซื้อรถยนต์ที่ใช้แก๊สโซฮอล์ซึ่งได้รับสิทธิประโยชน์จากการลดภาษีสรรพสามิตที่จะมีผลตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2551 และรถยนต์ประหยัดพลังงานมาตรฐานสากลซึ่งจะได้รับการลดภาษีสรรพสามิตภายหลังจากที่ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาในระยะต่อไป
นอกจากนี้ปริมาณการจำหน่ายโทรทัศน์ก็ลดลงมาก รวมทั้งการจำหน่ายลอตเตอรี่ สำหรับหมวดการใช้จ่ายที่มีการปรับตัวดีขึ้น ประกอบด้วย รถจักรยานยนต์ เฟอร์นิเจอร์และเครื่องประดับ และเครื่องใช้ไฟฟ้า (ยกเว้นโทรทัศน์) และสินค้าอุปโภคบริโภคนำเข้าเพิ่มขึ้นมากทั้งเครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องใช้เบ็ดเตล็ดในครัวเรือน นาฬิกาและส่วนประกอบ รองเท้าและเสื้อผ้า
2. แนวโน้มเศรษฐกิจไทยปี 2551 ในปี 2551 เงื่อนไขเศรษฐกิจภายในประเทศมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้น ทั้งการใช้จ่ายและการลงทุนภาคเอกชน และการใช้จ่ายและการลงทุนภาครัฐ รวมทั้งการดำเนินนโยบายรัฐบาลเพื่อฟื้นฟูและสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตามรัฐบาลจะต้องบริหารความเสี่ยงและลดผลกระทบจากปัจจัยเสี่ยงเรื่องราคาน้ำมันที่สูงขึ้นและเศรษฐกิจโลกที่อาจจะชะลอตัวรุนแรงกว่าที่คาดไว้
2.1 ปัจจัยบวก
2.1.1 แนวโน้มการลงทุนของภาครัฐและภาคเอกชนดีขึ้น การลงทุนภาคเอกชนมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นตั้งแต่ครึ่งหลังของปี 2550 โดยที่ขยายตัวร้อยละ 3.9 ในไตรมาสที่สี่หลังจากที่ขยายตัวร้อยละ 1.1 ในไตรมาสสาม และจากที่หดตัวร้อยละ 1.5 ในครึ่งแรกของปี สำหรับการลงทุนภาครัฐนั้นก็เร่งตัวมากขึ้นโดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.8 และ 4.5 ในไตรมาสที่สามและสี่ตามลำดับจากการเร่งรัดการลงทุนของภาครัฐ สำหรับในปี 2551 นั้นมีปัจจัยสนับสนุนการลงทุนภาคเอกชนหลายประการ ได้แก่
(1) ความเชื่อมั่นของภาคธุรกิจที่ดีขึ้น
(2) อัตราการใช้กำลังผลิตเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยในปี 2550 อยู่ที่ระดับเฉลี่ยร้อยละ 76.1 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 73.9 ในปี 2550 และร้อยละ 72.1 ในปี 2549 โดยธุรกิจหลายประเภทมีแผนการลงทุนที่ชัดเจนมากขึ้นภายใต้สถานการณ์ที่อัตราการใช้กำลังการผลิตสูงขึ้นตามลำดับและเกือบเต็มกำลังในหลายอุตสาหกรรม อาทิ ปิโตรเคมี กระดาษ ผลิตภัณฑ์ซีเม็นต์ ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม ยานยนต์ โลหะสังกะสี ยางรถยนต์ มอเตอร์ไฟฟ้า แผงวงจรไฟฟ้าและฮาร์ดดิสไดร์ฟ เป็นต้น ประกอบกับนโยบายรัฐบาลที่ให้ความสำคัญกับการส่งเสริมการลงทุนภาคเอกชน
(3) โครงการลงทุนที่ได้รับอนุมัติส่งเสริมการลงทุนแล้วในปี 2549 และ 2550 ซึ่งคาดว่าจะมีความพร้อมและดำเนินการลงทุนได้ในปี 2551 นั้นมีจำนวนมาก โดยในปี 2550 มีกิจการที่ได้รับอนุมัติส่งเสริมการลงทุนจากสำนักงานคณะกรรมส่งเสริมการลงทุน จำนวน 1,342 ราย วงเงินลงทุน 744.5 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 99.5
2.1.2 การดำเนินนโยบายรัฐบาลในการเร่งรัดการลงทุนที่สำคัญของประเทศซึ่งได้กำหนดไว้ในนโยบายเร่งด่วนที่จะเริ่มดำเนินการในปีแรก ได้แก่ การพัฒนาระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในกรุงเทพและปริมณฑล รถไฟความเร็วสูงและรถไฟทางคู่ และการพัฒนาขีดความสามารถของท่าอากาศยานสากล เป็นต้น นอกจากนี้ การดำเนินโยบายของรัฐบาลได้ให้ความสำคัญกับการฟื้นฟูเศรษฐกิจให้มีความเข้มแข็ง แก้ไขปัญหาความยากจนโดยการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากเพื่อเพิ่มศักยภาพในการหารายได้ ลดรายจ่าย และสร้างโอกาสในอาชีพให้แก่ประชาชน โดยเฉพาะเกษตรกร แรงงาน และวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
2.1.3 การปรับโครงสร้างการใช้พลังงานและการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน ทำให้เศรษฐกิจปรับตัวในภาวะที่ราคาพลังงานสูงได้ดีกว่าในอดีต เช่น การเปลี่ยนไปใช้รถยนต์ประหยัดพลังงานและรถยนต์ขนาดเล็กมากขึ้นตามลำดับโดยมีแรงกระตุ้นจากมาตรการการลดหย่อนภาษีรถยนต์ขนาดเล็กประหยัดพลังงาน (ECO Car) และรถยนต์ที่ใช้แก๊สโซฮอล์เพิ่มขึ้น โดยที่ผู้ผลิตรถยนต์ค่ายต่าง ๆ ก็ได้เตรียมกำลังการผลิตและมีความพร้อมในการที่นำรถยนต์ประเภทดังกล่าวออกสู่ตลาด อาทิ บริษัทฮอนด้า ทาทามอร์เตอร์ส และฟอร์ดโฟกัส เป็นต้น
นอกจากนี้ค่าเงินบาทที่แข็งขึ้นก็มีส่วนช่วยในการลดผลกระทบจากราคาน้ำมัน การปรับตัวที่ดีขึ้นในปี 2550 ที่ผ่านมา ได้แก่ การใช้น้ำมันไบโอดีเซลและแก๊สโซฮอล์ทดแทนน้ำมันดีเซลหมุนเร็วและน้ำมันเบนซินมากขึ้น โดยที่การใช้น้ำมันไบโอดีเซลซึ่งมีฐานการใช้ที่ต่ำมากในปี 2549 ยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในไตรมาสสี่ และปริมาณการใช้แก๊สโซฮอล์เพิ่มขึ้นร้อยละ 77 ในขณะที่ปริมาณการใช้น้ำมันเบนซิน 95 และ 91 ลดลงถึงร้อยละ 18.8 ทำให้ในปี 2550 ปริมาณการนำเข้าน้ำมันดิบและน้ำมันเชื้อเพลิงรวมลดลงร้อยละ 5.5 และร้อยละ 5.0 ตามลำดับ ดังนั้นมูลค่าการนำเข้าน้ำมันดิบ และเชื้อเพลิงรวมในรูปของเงินดอลลาร์ สรอ. จึงเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 1.5 และร้อยละ 2.8 ตามลำดับ แม้ว่าราคาจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.3 และร้อยละ 8.2 ตามลำดับ
2.2 การบริหารความเสี่ยง ในปี 2551 ยังมีความเสี่ยงจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้นและสร้างแรงกดดันต่อภาวะเงินเฟ้อ และข้อจำกัดด้านการส่งออกจากภาวะเศรษฐกิจโลกชะลอตัวที่อาจจะรุนแรงกว่าที่คาดอันเนื่องจากปัญหาหนี้ด้อยคุณภาพในสหรัฐฯที่มีผลกระทบเป็นวงกว้างมากขึ้นในขณะที่การแข่งขันในตลาดโลกจะรุนแรงมากขึ้นโดยเฉพาะในกลุ่มผลิตภัณฑ์สิ่งทอและเสื้อผ้าสำเร็จรูป เครื่องใช้ไฟฟ้า อาหารทะเลกระป๋อง เฟอร์นิเจอร์ และสินค้าอุตสาหกรรมอื่น ๆ สำหรับตลาดล่างและกลาง รวมทั้งมีการกฎเกณฑ์ทางการค้าโดยเฉพาะในด้านมาตรฐานคุณภาพสินค้าที่เข้มงวดมากขึ้นที่ทำให้ธุรกิจไทยต้องเร่งปรับตัว
2.3 คาดว่าในปี 2551 เศรษฐกิจไทยจะขยายตัวประมาณร้อยละ 4.5-5.5 อัตราเงินเฟ้อเท่ากับร้อยละ 3.2-3.7 และดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลประมาณร้อยละ 3.0 ของ GDP ในการแถลงข่าวครั้งนี้ สศช. ได้ปรับประมาณการการขยายตัวของเศรษฐกิจเป็นร้อยละ 4.5-5.5 สูงกว่าร้อยละ 4.0-5.0 ในการแถลงข่าวเมื่อวันที 3 ธันวาคม 2550 โดยมีเหตุผล ของการปรับประมาณการ ดังนี้
2.3.1 ข้อมูลเศรษฐกิจล่าสุดในไตรมาสสุดท้ายปี 2550 แสดงว่าภาวะเศรษฐกิจในภาพรวมมีแรงส่งดีขึ้น (economic momentum)
2.3.2 การฟื้นตัวของการลงทุนภาคเอกชนที่เร่งตัวเร็วกว่าที่คาดไว้เดิม ซึ่งมีธุรกิจหลายประเภทมีแผนการลงทุนที่ชัดเจนมากขึ้นภายใต้สถานการณ์ที่อัตราการใช้กำลังการผลิตสูงขึ้นตามลำดับและเกือบเต็มกำลังในหลายอุตสาหกรรม อาทิ ปิโตรเคมี กระดาษ ผลิตภัณฑ์ซีเม็นต์ ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม ยานยนต์ โลหะสังกะสี ยางรถยนต์ มอเตอร์ไฟฟ้า แผงวงจรไฟฟ้าและฮาร์ดดิสไดร์ฟ เป็นต้น ซึ่งมีโครงการลงทุนที่ได้รับอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนไว้แล้ว ในปี 2550 เป็นจำนวนสูงโดยที่ส่วนหนึ่งเป็นโครงการลงทุนในอุตสาหกรรมที่มีอัตราการใช้กำลังการผลิตเต็มกำลัง จึงคาดว่า การลงทุนภาคเอกชนมีแนวโน้มขยายตัวได้สูงกว่าที่คาดไว้เดิม นอกจากนี้เป็นเพราะการดำเนินนโยบายรัฐบาลที่ให้ความสำคัญกับการผลักดันและส่งเสริมการลงทุนภาคเอกชนโดยประกาศให้ปี 2551-2552 เป็น “ปีแห่งการลงทุน”
2.3.3 การส่งออกยังมีแนวโน้มขยายตัวได้ดีกว่าที่คาดไว้เดิมแม้ว่าเศรษฐกิจโลก จะชะลอตัว สะท้อนว่าการส่งออกของไทยมีความอ่อนไหวต่อภาวะเศรษฐกิจในประเทศอุตสาหกรรมกรรมหลักและภาวะเศรษฐกิจโลกน้อยลง ดังจะเห็นว่าการส่งออกขยายตัวสูงกว่าที่คาดการณ์ตลอดช่วงปี 2550 ทั้งนี้เนื่องจาก
(1) โครงสร้างตลาดส่งออกของประเทศไทยมีการกระจายตัวมากขึ้น โดยที่การพึ่งพิงตลาดส่งออกใหม่มีสัดส่วนเพิ่มขึ้นในขณะที่การพึ่งพิงตลาดหลัก ทั้งสหรัฐฯ และญี่ปุ่นมีสัดส่วนลดลง
(2) ประเทศที่กลายเป็นตลาดส่งออกที่สำคัญมากขึ้นสำหรับประเทศไทยนั้นมีการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่เร็วขึ้นกว่ากลุ่มประเทศอื่น ซึ่งได้แก่ ประเทศจีน เอเชียในภาพรวม และยุโรปตะวันออก ดังนั้นประเทศเหล่านี้โดยเฉพาะเอเชียกลายเป็นเครื่องจักรขับเคลื่อนเศรษฐกิจโลก (growth engine) ที่สำคัญมากขึ้นโดยมีสัดส่วนของขนาดเศรษฐกิจในระบบเศรษฐกิจโลกที่สูงขึ้น
(3) ประเทศไทยมีขีดความสามารถในการแข่งขันในกลุ่มสินค้าอิเล็กทรอนิกส์และกลุ่มยานยนต์และส่วนประกอบมากขึ้นจากการขยายฐานการผลิตของบรรษัทข้ามชาติ ในขณะเดียวกันการที่สินค้าอิเล็กทรอนิกส์นั้นมีวงจรชีวิตสั้นลง (product life cycle) อันเนื่องมาจากความก้าวหน้าของเทคโนโลยีก็ทำให้มีการปรับเปลี่ยนผลิตภัณฑ์เร็วขึ้นและกระตุ้นความต้องการในตลาดได้อย่างต่อเนื่องมากขึ้นกว่าในอดีต รวมทั้งประโยชน์ที่มาจากการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มีองค์ประกอบของดิจิตอลมากขึ้น (digital content) สำหรับรถยนต์นั้นมีการส่งออกไปยังตลาดออสเตรเลียเพิ่มขึ้นภายหลังข้อตกลงการค้าเสรี และการส่งออกไปยังตะวันออกกลางเพิ่มขึ้นตามรายได้จากการส่งออกน้ำมันที่เพิ่มขึ้นมาก
(4) ในปีที่ผ่านมาประเทศไทยได้รับประโยชน์จากการที่ราคาส่งออกสินค้าเกษตรสำคัญ (ข้าว มันสำปะหลัง และยางพารา) สูงขึ้นมากตามภาวะราคาสินค้าโภคภัณฑ์อื่น ๆ และราคาน้ำมัน ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นเพราะความต้องการพืชพลังงานที่เพิ่มขึ้นในตลาดโลก ซึ่งคาดว่าในปี 2551 ราคาสินค้าเกษตรกลุ่มนี้จะสูงขึ้นตามภาวะราคาน้ำมัน โดยที่การส่งออกข้าวนั้นราคาจะเพิ่มขึ้นตามราคาข้าวสาลีซึ่งผลผลิตในประเทศจีนได้รับความเสียหายจากผลกระทบภัยธรรมชาติในช่วงเดือนมกราคมที่ผ่านมา
3. การบริหารจัดการเศรษฐกิจในปี 2551 ในปี 2551 การบริหารจัดการเศรษฐกิจภายใต้รัฐบาลใหม่ จะต้องดำเนินการทั้งในด้านการรักษาเสถียรภาพของเศรษฐกิจภายใต้ภาวะราคาน้ำมันแพงและเศรษฐกิจโลกชะลอตัว และการเตรียมปัจจัยโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ ที่จะรองรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจให้มีความยั่งยืนได้ในระยะยาวบนแนวทางหลักที่สำคัญอันประกอบด้วย การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต การสร้างและเพิ่มคุณค่าของสินค้าเพื่อการแข่งขัน การเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน การสร้างฐานเศรษฐกิจในประเทศ (domestic economy) และการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนและการส่งเสริมการอยู่ดีมีสุขของประชาชน โดยแนวทางการบริหารจัดการดังนี้
3.1 การสร้างความเชื่อมั่นให้กับภาคการลงทุน โดยการสานต่อนโยบายด้านการลงทุนภาครัฐทางด้านโครงสร้างพื้นฐานให้มีความต่อเนื่อง โดยเฉพาะการจัดเตรียมการลงทุนโครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในกรุงเทพมหานครอย่างเป็นรูปธรรม และผลักดันให้โครงการที่ได้รับอนุมัติแล้วเริ่มก่อสร้างได้ในปี 2551 เพื่อสร้างพื้นฐานการขยายตัวและการเพิ่มประสิทธิภาพของระบบเศรษฐกิจในระยะยาว ตลอดจนการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ของประเทศ เร่งรัดการแก้ไขกฎหมาย กฎระเบียบ และปัญหาที่เป็นอุปสรรคต่อการขยายตัวของการลงทุนของภาคเอกชน และผลักดันการดำเนินการ “ปีแห่งการลงทุน 2551/2552”
3.2 การเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณประจำปี 2551 ของภาครัฐให้สามารถเบิกจ่ายได้ตามเป้าหมายอัตราการเบิกจ่ายร้อยละ 94 สำหรับงบประมาณรัฐบาล (โดยเฉพาะการดำเนินงานภายใต้ยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุขและการเพิ่มศักยภาพชุมชน วงเงิน 15,000 ล้านบาท) และร้อยละ 90 สำหรับงบลงทุนรัฐวิสาหกิจ ควบคู่ไปกับการขับเคลื่อนแผนพัฒนาและงบประมาณจังหวัดและกลุ่มจังหวัด
3.3 การดูแลค่าครองชีพของประชาชน โดยดูแลการปรับขึ้นราคาสินค้าให้มีความเหมาะสมและเป็นธรรม และสร้างกำลังซื้อของประชาชนในระดับฐานราก โดยดำเนินมาตรการเร่งด่วนของรัฐบาลที่เกี่ยวข้องกับการลดรายจ่ายและสร้างรายได้ของประชาชนให้สามารถสร้างโอกาสและความรู้เพื่อการมีอาชีพและรายได้ที่ยั่งยืน
3.4 การส่งเสริมการส่งออกในตลาดใหม่โดยเฉพาะในตะวันออกกลาง แอฟริกา และยุโรปตะวันออก รวมทั้งการดูแลมาตรฐานสินค้าโดยเฉพาะสินค้าอาหารอย่างเข้มงวด
3.5 การส่งเสริมการท่องเที่ยวให้ฟื้นตัวจากภาวะการชะลอตัวในปี 2550และเริ่มดำเนินการ “ปีแห่งการท่องเที่ยวไทย 2551/2552”
3.6 การผลักดันมาตรการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานและรณรงค์การใช้พลังงานทางเลือกเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง (เช่น แผนการใช้ E10/95 E10/91 E20/95 B2 และ B5 เป็นต้น) และสร้างความมั่นคงด้านพลังงาน ทั้งจากการพัฒนาพลังงานทางเลือกในประเทศและขยายความเชื่อมโยงกับแหล่งพลังงานในภูมิภาค
3.7 การปรับโครงสร้างการผลิตทั้งภาคเกษตร อุตสาหกรรม และบริการโดยเน้นการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและการเพิ่มมูลค่าสินค้าและบริการ ควบคู่กับการกำหนดกลไกในการดูแลและสนับสนุนการปรับตัวของภาคธุรกิจรายสาขาและวิสาหกิจขนาดกลางขนาดย่อมที่ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการผลิตในตลาดโลก เช่น การขยายระยะเวลาการใช้เงินกองทุน SMEs ที่ยังคงเหลือ 3,779 ล้านบาท เป็นต้น
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2551--จบ--
1. เศรษฐกิจไทยในไตรมาสสี่และทั้งปี 2550
1.1 GDP ขยายตัวร้อยละ 5.7 สูงกว่าขยายตัวร้อยละ 4.2 ในไตรมาสแรก ร้อยละ 4.3 ในไตรมาสสอง และร้อยละ 4.8 ในไตรมาสสาม และรวมทั้งปีเศรษฐกิจไทยขยายตัวร้อยละ 4.8 สำหรับในไตรมาสที่สี่นั้นปริมาณการส่งออกสุทธิยังขยายตัวได้ดีและสนับสนุนการขยายตัวของเศรษฐกิจได้มากกว่าในช่วง 3 ไตรมาส ในขณะเดียวกันการลงทุนภาคเอกชนปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่อง และการเบิกจ่ายงบประมาณรัฐบาลเป็นไปตามเป้าหมายและเบิกจ่ายได้สูงกว่าในช่วงเดียวกันของปี 2549 แต่อย่างไรก็ตามการใช้จ่ายครัวเรือนยังอ่อนแอ ทั้งนี้การฟื้นตัวของการใช้จ่ายภาครัฐและการลงทุนภาคเอกชนในครึ่งหลังของปีทำให้การขยายตัวของเศรษฐกิจในครึ่งหลังของปีมีลักษณะสมดุลมากขึ้นกว่าในครึ่งแรก
ภาพรวมเศรษฐกิจปี 2550 มีเสถียรภาพ โดยที่อัตราการว่างงานในไตรมาสสี่ยังต่ำที่ร้อยละ 1.1 และเฉลี่ยทั้งปีอัตราการว่างงานเท่ากับร้อยละ 1.4 อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยทั้งปีเท่ากับร้อยละ 2.3 โดยที่ในไตรมาสสุดท้าย ปี 2550 อัตราเงินเฟ้อเพิ่มสูงขึ้นเป็นร้อยละ 2.9 จากร้อยละ 2.0 ในสามไตรมาสแรก ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุล 6,182 ล้านดอลลาร์ สรอ. และรวมทั้งปี 2550 เกินดุล 14,922 ล้านดอลลาร์ สรอ. คิดเป็นร้อยละ 6.1 ของ GDP
1.2 การขยายตัวและสัญญาณที่ดีในไตรมาสสี่ปี 2550
1.2.1 การส่งออกยังขยายตัวสูง ทั้งการส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรม แม้ว่าเศรษฐกิจโลกโดยรวมชะลอตัวและค่าเงินบาทแข็งขึ้น โดยมูลค่าการส่งออกในรูปเงินดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 24.0 สูงกว่า ที่ขยายตัวร้อยละ 17.9 ในไตรมาสแรก ร้อยละ 18 ในไตรมาสสอง และร้อยละ 12.6 ในไตรมาสสาม โดยที่ปริมาณการส่งออก ในไตรมาสสี่นี้เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.3 และราคาเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.5 สินค้าส่งออกที่เพิ่มขึ้นในในไตรมาสสุดท้ายของปี ประกอบด้วย ข้าว ยางพารา มันสำปะหลัง อาหารทะเลกระป๋อง อิเล็กทรอนิกส์ เครื่องใช้ไฟฟ้า และยานยนต์และส่วนประกอบ
รวมทั้งปี 2550 การส่งออกทั้งปี 2550 มีมูลค่าทั้งสิ้น 151,147 ล้านดอลลาร์สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.1 โดยราคาเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.7 และปริมาณเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.8 แต่ค่าเงินบาทที่แข็งขึ้นทำให้มูลค่าการส่งออกในรูปเงินบาทเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 7.7 โดยที่ราคาในรูปเงินบาทลดลงร้อยละ 3.7 กลุ่มสินค้าที่มูลค่าการส่งออกขยายตัวได้ดีในปี 2550 ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์อุปกรณ์และส่วนประกอบ รถยนต์อุปกรณ์และส่วนประกอบ แผงวงจรไฟฟ้า ยางพารา และอัญมณีและเครื่องประดับ เป็นต้น โดยการส่งออกไปยังประเทศญี่ปุ่น EU (15) และอาเซียน (5) ขยายตัวได้ดีและมีการขยายฐานการส่งออกไปยังตลาดอื่น ๆ มากขึ้นตามลำดับ ได้แก่ประเทศจีน อินเดีย ยุโรปตะวันออก ออสเตรเลีย และตะวันออกกลาง ซึ่งทำให้สามารถชดเชยการส่งออกไปยังสหรัฐฯ ที่หดตัวลงร้อยละ 1.2
1.2.2 การลงทุนภาคเอกชนเร่งตัวดีขึ้น โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.9 ในไตรมาสที่สี่ จากที่ขยายตัวร้อยละ 1.1 ในไตรมาสสาม และลดลงร้อยละ 2.3 และร้อยละ 0.7 ในไตรมาสแรกและไตรมาสสอง โดยที่การลงทุนทั้งในเครื่องจักรและอุปกรณ์เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.4 มีการนำเข้าสินค้าทุน (ณ ราคาปี 2543) เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.9 และการจำหน่ายเครื่องจักรภายในประเทศ (ณ ราคาปี 2543) เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.7 แต่การลงทุนในการก่อสร้างของภาคเอกชนนั้นลดลงร้อยละ 8.5 โดยที่การก่อสร้างที่อยู่อาศัยและโรงงานอุตสาหกรรมลดลง
การลงทุนที่เร่งตัวขึ้นทำให้การนำเข้าสินค้าทุนเพิ่มขึ้นตามลำดับ โดยที่ในไตรมาสสุดท้ายปี 2550 ปริมาณการนำเข้าสินค้าทุนเพิ่มขึ้นต่อเนื่องร้อยละ 15.9 จากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.9 ในไตรมาสสาม และลดลงร้อยละ 2.0 ในครึ่งแรกของปี กลุ่มสินค้าทุนที่มีการนำเข้าเพิ่มขึ้น ประกอบด้วย ประเภทเครื่องจักรไฟฟ้า เครื่องกลการเกษตร และชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์ เป็นต้น
1.2.3 การเบิกจ่ายงบประมาณรัฐบาลเพิ่มขึ้นมาก ในไตรมาสสี่มีการเบิกจ่ายงบประมาณรัฐบาลจำนวน 358,157.5 ล้านบาท เป็นอัตราการเบิกจ่ายร้อยละ 21.6 ของกรอบวงเงินงบประมาณซึ่งต่ำกว่าเป้าหมายการเบิกจ่ายร้อยละ 22.5 เล็กน้อย แต่อย่างไรก็ตามเป็นรายจ่ายที่สูงกว่าในช่วงเดียวกันของปี 2549มาก (เนื่องจากไตรมาสสี่ปี 2549 เป็นช่วงที่พระราชบัญญัติงบประมาณ 2550 ต้องล่าช้าออกไปจึงมีการเบิกจ่ายเพียง 257,821.1 ล้านบาท)
การลงทุนรัฐวิสาหกิจซึ่งรวมการลงทุนของ ปตท. นั้นมีการเบิกจ่ายจำนวน 124,433.60 ล้านบาท (เพิ่มขึ้นจากการเบิกจ่ายจำนวน 82,660.67 ล้านบาทในช่วงเดียวกันของปีก่อน) ซึ่งเมื่อวัด ณ ราคาปี 2531 รายจ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภครัฐบาล เพิ่มขึ้นร้อยละ 16 เพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากร้อยละ 9.8 .ขยายตัวได้ดีต่อเนื่องจากร้อยละ 9.4 ในไตรมาสแรก ร้อยละ 9.2 ไตรมาสสอง และร้อยละ 9.8 ในไตรมาสสาม การลงทุนภาครัฐเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.0 เร่งตัวกว่าในร้อยละ 3.6 ในสามไตรมาสแรกเล็กน้อย
1.2.4 สถานการณ์ด้านท่องเที่ยวปรับตัวดีขึ้นตามลำดับเช่นกัน โดยที่ในไตรมาสสี่มี จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติประมาณ 4.051 ล้านคน เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.6 จากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.7 ในไตรมาสสาม และร้อยละ 3.3 ในครึ่งปีแรก
1.2.5 การใช้จ่ายครัวเรือนยังชะลอตัวและอ่อนแอ อย่างไรก็ตามคาดว่าเป็นภาวะชั่วคราว ในไตรมาสสี่การใช้จ่ายครัวเรือนเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 1.6 เทียบกับที่ขยายตัวร้อยละ 1.4 ในไตรมาสแรก ร้อยละ 0.8 ในไตรมาสสอง และร้อยละ 1.8 ในไตรมาสสาม การใช้จ่ายที่ยังชะลอตัวเป็นเพราะปริมาณการจำหน่ายรถยนต์นั่งส่วนบุคคลกลับมาลดลงมากในเดือนพฤศจิกายนและธันวาคม เนื่องจากรอการซื้อรถยนต์ที่ใช้แก๊สโซฮอล์ซึ่งได้รับสิทธิประโยชน์จากการลดภาษีสรรพสามิตที่จะมีผลตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2551 และรถยนต์ประหยัดพลังงานมาตรฐานสากลซึ่งจะได้รับการลดภาษีสรรพสามิตภายหลังจากที่ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาในระยะต่อไป
นอกจากนี้ปริมาณการจำหน่ายโทรทัศน์ก็ลดลงมาก รวมทั้งการจำหน่ายลอตเตอรี่ สำหรับหมวดการใช้จ่ายที่มีการปรับตัวดีขึ้น ประกอบด้วย รถจักรยานยนต์ เฟอร์นิเจอร์และเครื่องประดับ และเครื่องใช้ไฟฟ้า (ยกเว้นโทรทัศน์) และสินค้าอุปโภคบริโภคนำเข้าเพิ่มขึ้นมากทั้งเครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องใช้เบ็ดเตล็ดในครัวเรือน นาฬิกาและส่วนประกอบ รองเท้าและเสื้อผ้า
2. แนวโน้มเศรษฐกิจไทยปี 2551 ในปี 2551 เงื่อนไขเศรษฐกิจภายในประเทศมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้น ทั้งการใช้จ่ายและการลงทุนภาคเอกชน และการใช้จ่ายและการลงทุนภาครัฐ รวมทั้งการดำเนินนโยบายรัฐบาลเพื่อฟื้นฟูและสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตามรัฐบาลจะต้องบริหารความเสี่ยงและลดผลกระทบจากปัจจัยเสี่ยงเรื่องราคาน้ำมันที่สูงขึ้นและเศรษฐกิจโลกที่อาจจะชะลอตัวรุนแรงกว่าที่คาดไว้
2.1 ปัจจัยบวก
2.1.1 แนวโน้มการลงทุนของภาครัฐและภาคเอกชนดีขึ้น การลงทุนภาคเอกชนมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นตั้งแต่ครึ่งหลังของปี 2550 โดยที่ขยายตัวร้อยละ 3.9 ในไตรมาสที่สี่หลังจากที่ขยายตัวร้อยละ 1.1 ในไตรมาสสาม และจากที่หดตัวร้อยละ 1.5 ในครึ่งแรกของปี สำหรับการลงทุนภาครัฐนั้นก็เร่งตัวมากขึ้นโดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.8 และ 4.5 ในไตรมาสที่สามและสี่ตามลำดับจากการเร่งรัดการลงทุนของภาครัฐ สำหรับในปี 2551 นั้นมีปัจจัยสนับสนุนการลงทุนภาคเอกชนหลายประการ ได้แก่
(1) ความเชื่อมั่นของภาคธุรกิจที่ดีขึ้น
(2) อัตราการใช้กำลังผลิตเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยในปี 2550 อยู่ที่ระดับเฉลี่ยร้อยละ 76.1 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 73.9 ในปี 2550 และร้อยละ 72.1 ในปี 2549 โดยธุรกิจหลายประเภทมีแผนการลงทุนที่ชัดเจนมากขึ้นภายใต้สถานการณ์ที่อัตราการใช้กำลังการผลิตสูงขึ้นตามลำดับและเกือบเต็มกำลังในหลายอุตสาหกรรม อาทิ ปิโตรเคมี กระดาษ ผลิตภัณฑ์ซีเม็นต์ ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม ยานยนต์ โลหะสังกะสี ยางรถยนต์ มอเตอร์ไฟฟ้า แผงวงจรไฟฟ้าและฮาร์ดดิสไดร์ฟ เป็นต้น ประกอบกับนโยบายรัฐบาลที่ให้ความสำคัญกับการส่งเสริมการลงทุนภาคเอกชน
(3) โครงการลงทุนที่ได้รับอนุมัติส่งเสริมการลงทุนแล้วในปี 2549 และ 2550 ซึ่งคาดว่าจะมีความพร้อมและดำเนินการลงทุนได้ในปี 2551 นั้นมีจำนวนมาก โดยในปี 2550 มีกิจการที่ได้รับอนุมัติส่งเสริมการลงทุนจากสำนักงานคณะกรรมส่งเสริมการลงทุน จำนวน 1,342 ราย วงเงินลงทุน 744.5 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 99.5
2.1.2 การดำเนินนโยบายรัฐบาลในการเร่งรัดการลงทุนที่สำคัญของประเทศซึ่งได้กำหนดไว้ในนโยบายเร่งด่วนที่จะเริ่มดำเนินการในปีแรก ได้แก่ การพัฒนาระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในกรุงเทพและปริมณฑล รถไฟความเร็วสูงและรถไฟทางคู่ และการพัฒนาขีดความสามารถของท่าอากาศยานสากล เป็นต้น นอกจากนี้ การดำเนินโยบายของรัฐบาลได้ให้ความสำคัญกับการฟื้นฟูเศรษฐกิจให้มีความเข้มแข็ง แก้ไขปัญหาความยากจนโดยการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากเพื่อเพิ่มศักยภาพในการหารายได้ ลดรายจ่าย และสร้างโอกาสในอาชีพให้แก่ประชาชน โดยเฉพาะเกษตรกร แรงงาน และวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
2.1.3 การปรับโครงสร้างการใช้พลังงานและการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน ทำให้เศรษฐกิจปรับตัวในภาวะที่ราคาพลังงานสูงได้ดีกว่าในอดีต เช่น การเปลี่ยนไปใช้รถยนต์ประหยัดพลังงานและรถยนต์ขนาดเล็กมากขึ้นตามลำดับโดยมีแรงกระตุ้นจากมาตรการการลดหย่อนภาษีรถยนต์ขนาดเล็กประหยัดพลังงาน (ECO Car) และรถยนต์ที่ใช้แก๊สโซฮอล์เพิ่มขึ้น โดยที่ผู้ผลิตรถยนต์ค่ายต่าง ๆ ก็ได้เตรียมกำลังการผลิตและมีความพร้อมในการที่นำรถยนต์ประเภทดังกล่าวออกสู่ตลาด อาทิ บริษัทฮอนด้า ทาทามอร์เตอร์ส และฟอร์ดโฟกัส เป็นต้น
นอกจากนี้ค่าเงินบาทที่แข็งขึ้นก็มีส่วนช่วยในการลดผลกระทบจากราคาน้ำมัน การปรับตัวที่ดีขึ้นในปี 2550 ที่ผ่านมา ได้แก่ การใช้น้ำมันไบโอดีเซลและแก๊สโซฮอล์ทดแทนน้ำมันดีเซลหมุนเร็วและน้ำมันเบนซินมากขึ้น โดยที่การใช้น้ำมันไบโอดีเซลซึ่งมีฐานการใช้ที่ต่ำมากในปี 2549 ยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในไตรมาสสี่ และปริมาณการใช้แก๊สโซฮอล์เพิ่มขึ้นร้อยละ 77 ในขณะที่ปริมาณการใช้น้ำมันเบนซิน 95 และ 91 ลดลงถึงร้อยละ 18.8 ทำให้ในปี 2550 ปริมาณการนำเข้าน้ำมันดิบและน้ำมันเชื้อเพลิงรวมลดลงร้อยละ 5.5 และร้อยละ 5.0 ตามลำดับ ดังนั้นมูลค่าการนำเข้าน้ำมันดิบ และเชื้อเพลิงรวมในรูปของเงินดอลลาร์ สรอ. จึงเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 1.5 และร้อยละ 2.8 ตามลำดับ แม้ว่าราคาจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.3 และร้อยละ 8.2 ตามลำดับ
2.2 การบริหารความเสี่ยง ในปี 2551 ยังมีความเสี่ยงจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้นและสร้างแรงกดดันต่อภาวะเงินเฟ้อ และข้อจำกัดด้านการส่งออกจากภาวะเศรษฐกิจโลกชะลอตัวที่อาจจะรุนแรงกว่าที่คาดอันเนื่องจากปัญหาหนี้ด้อยคุณภาพในสหรัฐฯที่มีผลกระทบเป็นวงกว้างมากขึ้นในขณะที่การแข่งขันในตลาดโลกจะรุนแรงมากขึ้นโดยเฉพาะในกลุ่มผลิตภัณฑ์สิ่งทอและเสื้อผ้าสำเร็จรูป เครื่องใช้ไฟฟ้า อาหารทะเลกระป๋อง เฟอร์นิเจอร์ และสินค้าอุตสาหกรรมอื่น ๆ สำหรับตลาดล่างและกลาง รวมทั้งมีการกฎเกณฑ์ทางการค้าโดยเฉพาะในด้านมาตรฐานคุณภาพสินค้าที่เข้มงวดมากขึ้นที่ทำให้ธุรกิจไทยต้องเร่งปรับตัว
2.3 คาดว่าในปี 2551 เศรษฐกิจไทยจะขยายตัวประมาณร้อยละ 4.5-5.5 อัตราเงินเฟ้อเท่ากับร้อยละ 3.2-3.7 และดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลประมาณร้อยละ 3.0 ของ GDP ในการแถลงข่าวครั้งนี้ สศช. ได้ปรับประมาณการการขยายตัวของเศรษฐกิจเป็นร้อยละ 4.5-5.5 สูงกว่าร้อยละ 4.0-5.0 ในการแถลงข่าวเมื่อวันที 3 ธันวาคม 2550 โดยมีเหตุผล ของการปรับประมาณการ ดังนี้
2.3.1 ข้อมูลเศรษฐกิจล่าสุดในไตรมาสสุดท้ายปี 2550 แสดงว่าภาวะเศรษฐกิจในภาพรวมมีแรงส่งดีขึ้น (economic momentum)
2.3.2 การฟื้นตัวของการลงทุนภาคเอกชนที่เร่งตัวเร็วกว่าที่คาดไว้เดิม ซึ่งมีธุรกิจหลายประเภทมีแผนการลงทุนที่ชัดเจนมากขึ้นภายใต้สถานการณ์ที่อัตราการใช้กำลังการผลิตสูงขึ้นตามลำดับและเกือบเต็มกำลังในหลายอุตสาหกรรม อาทิ ปิโตรเคมี กระดาษ ผลิตภัณฑ์ซีเม็นต์ ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม ยานยนต์ โลหะสังกะสี ยางรถยนต์ มอเตอร์ไฟฟ้า แผงวงจรไฟฟ้าและฮาร์ดดิสไดร์ฟ เป็นต้น ซึ่งมีโครงการลงทุนที่ได้รับอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนไว้แล้ว ในปี 2550 เป็นจำนวนสูงโดยที่ส่วนหนึ่งเป็นโครงการลงทุนในอุตสาหกรรมที่มีอัตราการใช้กำลังการผลิตเต็มกำลัง จึงคาดว่า การลงทุนภาคเอกชนมีแนวโน้มขยายตัวได้สูงกว่าที่คาดไว้เดิม นอกจากนี้เป็นเพราะการดำเนินนโยบายรัฐบาลที่ให้ความสำคัญกับการผลักดันและส่งเสริมการลงทุนภาคเอกชนโดยประกาศให้ปี 2551-2552 เป็น “ปีแห่งการลงทุน”
2.3.3 การส่งออกยังมีแนวโน้มขยายตัวได้ดีกว่าที่คาดไว้เดิมแม้ว่าเศรษฐกิจโลก จะชะลอตัว สะท้อนว่าการส่งออกของไทยมีความอ่อนไหวต่อภาวะเศรษฐกิจในประเทศอุตสาหกรรมกรรมหลักและภาวะเศรษฐกิจโลกน้อยลง ดังจะเห็นว่าการส่งออกขยายตัวสูงกว่าที่คาดการณ์ตลอดช่วงปี 2550 ทั้งนี้เนื่องจาก
(1) โครงสร้างตลาดส่งออกของประเทศไทยมีการกระจายตัวมากขึ้น โดยที่การพึ่งพิงตลาดส่งออกใหม่มีสัดส่วนเพิ่มขึ้นในขณะที่การพึ่งพิงตลาดหลัก ทั้งสหรัฐฯ และญี่ปุ่นมีสัดส่วนลดลง
(2) ประเทศที่กลายเป็นตลาดส่งออกที่สำคัญมากขึ้นสำหรับประเทศไทยนั้นมีการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่เร็วขึ้นกว่ากลุ่มประเทศอื่น ซึ่งได้แก่ ประเทศจีน เอเชียในภาพรวม และยุโรปตะวันออก ดังนั้นประเทศเหล่านี้โดยเฉพาะเอเชียกลายเป็นเครื่องจักรขับเคลื่อนเศรษฐกิจโลก (growth engine) ที่สำคัญมากขึ้นโดยมีสัดส่วนของขนาดเศรษฐกิจในระบบเศรษฐกิจโลกที่สูงขึ้น
(3) ประเทศไทยมีขีดความสามารถในการแข่งขันในกลุ่มสินค้าอิเล็กทรอนิกส์และกลุ่มยานยนต์และส่วนประกอบมากขึ้นจากการขยายฐานการผลิตของบรรษัทข้ามชาติ ในขณะเดียวกันการที่สินค้าอิเล็กทรอนิกส์นั้นมีวงจรชีวิตสั้นลง (product life cycle) อันเนื่องมาจากความก้าวหน้าของเทคโนโลยีก็ทำให้มีการปรับเปลี่ยนผลิตภัณฑ์เร็วขึ้นและกระตุ้นความต้องการในตลาดได้อย่างต่อเนื่องมากขึ้นกว่าในอดีต รวมทั้งประโยชน์ที่มาจากการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มีองค์ประกอบของดิจิตอลมากขึ้น (digital content) สำหรับรถยนต์นั้นมีการส่งออกไปยังตลาดออสเตรเลียเพิ่มขึ้นภายหลังข้อตกลงการค้าเสรี และการส่งออกไปยังตะวันออกกลางเพิ่มขึ้นตามรายได้จากการส่งออกน้ำมันที่เพิ่มขึ้นมาก
(4) ในปีที่ผ่านมาประเทศไทยได้รับประโยชน์จากการที่ราคาส่งออกสินค้าเกษตรสำคัญ (ข้าว มันสำปะหลัง และยางพารา) สูงขึ้นมากตามภาวะราคาสินค้าโภคภัณฑ์อื่น ๆ และราคาน้ำมัน ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นเพราะความต้องการพืชพลังงานที่เพิ่มขึ้นในตลาดโลก ซึ่งคาดว่าในปี 2551 ราคาสินค้าเกษตรกลุ่มนี้จะสูงขึ้นตามภาวะราคาน้ำมัน โดยที่การส่งออกข้าวนั้นราคาจะเพิ่มขึ้นตามราคาข้าวสาลีซึ่งผลผลิตในประเทศจีนได้รับความเสียหายจากผลกระทบภัยธรรมชาติในช่วงเดือนมกราคมที่ผ่านมา
3. การบริหารจัดการเศรษฐกิจในปี 2551 ในปี 2551 การบริหารจัดการเศรษฐกิจภายใต้รัฐบาลใหม่ จะต้องดำเนินการทั้งในด้านการรักษาเสถียรภาพของเศรษฐกิจภายใต้ภาวะราคาน้ำมันแพงและเศรษฐกิจโลกชะลอตัว และการเตรียมปัจจัยโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ ที่จะรองรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจให้มีความยั่งยืนได้ในระยะยาวบนแนวทางหลักที่สำคัญอันประกอบด้วย การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต การสร้างและเพิ่มคุณค่าของสินค้าเพื่อการแข่งขัน การเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน การสร้างฐานเศรษฐกิจในประเทศ (domestic economy) และการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนและการส่งเสริมการอยู่ดีมีสุขของประชาชน โดยแนวทางการบริหารจัดการดังนี้
3.1 การสร้างความเชื่อมั่นให้กับภาคการลงทุน โดยการสานต่อนโยบายด้านการลงทุนภาครัฐทางด้านโครงสร้างพื้นฐานให้มีความต่อเนื่อง โดยเฉพาะการจัดเตรียมการลงทุนโครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในกรุงเทพมหานครอย่างเป็นรูปธรรม และผลักดันให้โครงการที่ได้รับอนุมัติแล้วเริ่มก่อสร้างได้ในปี 2551 เพื่อสร้างพื้นฐานการขยายตัวและการเพิ่มประสิทธิภาพของระบบเศรษฐกิจในระยะยาว ตลอดจนการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ของประเทศ เร่งรัดการแก้ไขกฎหมาย กฎระเบียบ และปัญหาที่เป็นอุปสรรคต่อการขยายตัวของการลงทุนของภาคเอกชน และผลักดันการดำเนินการ “ปีแห่งการลงทุน 2551/2552”
3.2 การเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณประจำปี 2551 ของภาครัฐให้สามารถเบิกจ่ายได้ตามเป้าหมายอัตราการเบิกจ่ายร้อยละ 94 สำหรับงบประมาณรัฐบาล (โดยเฉพาะการดำเนินงานภายใต้ยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุขและการเพิ่มศักยภาพชุมชน วงเงิน 15,000 ล้านบาท) และร้อยละ 90 สำหรับงบลงทุนรัฐวิสาหกิจ ควบคู่ไปกับการขับเคลื่อนแผนพัฒนาและงบประมาณจังหวัดและกลุ่มจังหวัด
3.3 การดูแลค่าครองชีพของประชาชน โดยดูแลการปรับขึ้นราคาสินค้าให้มีความเหมาะสมและเป็นธรรม และสร้างกำลังซื้อของประชาชนในระดับฐานราก โดยดำเนินมาตรการเร่งด่วนของรัฐบาลที่เกี่ยวข้องกับการลดรายจ่ายและสร้างรายได้ของประชาชนให้สามารถสร้างโอกาสและความรู้เพื่อการมีอาชีพและรายได้ที่ยั่งยืน
3.4 การส่งเสริมการส่งออกในตลาดใหม่โดยเฉพาะในตะวันออกกลาง แอฟริกา และยุโรปตะวันออก รวมทั้งการดูแลมาตรฐานสินค้าโดยเฉพาะสินค้าอาหารอย่างเข้มงวด
3.5 การส่งเสริมการท่องเที่ยวให้ฟื้นตัวจากภาวะการชะลอตัวในปี 2550และเริ่มดำเนินการ “ปีแห่งการท่องเที่ยวไทย 2551/2552”
3.6 การผลักดันมาตรการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานและรณรงค์การใช้พลังงานทางเลือกเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง (เช่น แผนการใช้ E10/95 E10/91 E20/95 B2 และ B5 เป็นต้น) และสร้างความมั่นคงด้านพลังงาน ทั้งจากการพัฒนาพลังงานทางเลือกในประเทศและขยายความเชื่อมโยงกับแหล่งพลังงานในภูมิภาค
3.7 การปรับโครงสร้างการผลิตทั้งภาคเกษตร อุตสาหกรรม และบริการโดยเน้นการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและการเพิ่มมูลค่าสินค้าและบริการ ควบคู่กับการกำหนดกลไกในการดูแลและสนับสนุนการปรับตัวของภาคธุรกิจรายสาขาและวิสาหกิจขนาดกลางขนาดย่อมที่ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการผลิตในตลาดโลก เช่น การขยายระยะเวลาการใช้เงินกองทุน SMEs ที่ยังคงเหลือ 3,779 ล้านบาท เป็นต้น
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2551--จบ--