1. คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 28 /2551 เรื่อง มอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีรักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรีและมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติราชการแทนกัน
คณะรัฐมนตรีรับทราบคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 28/2551 เรื่อง มอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีรักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรีและมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติราชการแทนกัน อาศัยอำนาจตามความใน มาตรา 10 มาตรา 38 มาตรา 41 มาตรา 42 มาตรา 48 และมาตรา 49 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 และที่แก้ไขเพิ่มเติม นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2551 จึงมีคำสั่งมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีรักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรี และมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติราชการแทนกัน ดังต่อไปนี้
ส่วนที่ 1 คณะรัฐมนตรีมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีรักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรี
1. ในกรณีที่นายกรัฐมนตรีไม่อาจปฏิบัติราชการได้ คณะรัฐมนตรีมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีเป็นผู้รักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรี ตามลำดับ ดังนี้
1.1 นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์
1.2 นายสุรพงษ์ สืบวงศ์ลี
1.3 นายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ์
1.4 นายสหัส บัณฑิตกุล
1.5 พลตรี สนั่น ขจรประศาสน์
1.6 นายสุวิทย์ คุณกิตติ
2. ในระหว่างการรักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรี ผู้รักษาราชการแทนข้างต้น จะสั่งการใดเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลและการอนุมัติเงินงบประมาณอันอยู่ในอำนาจของนายกรัฐมนตรีได้ ต้องได้รับความเห็นชอบของนายกรัฐมนตรีเสียก่อน
ส่วนที่ 2 นายกรัฐมนตรีมอบหมายและมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรีปฏิบัติราชการ แทนนายกรัฐมนตรี
ในกรณีที่รองนายกรัฐมนตรีไม่อยู่หรือไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ให้รองนายกรัฐมนตรีปฏิบัติราชการแทนกันตามลำดับ ดังนี้
ลำดับที่ รองนายกรัฐมนตรี รองนายกรัฐมนตรีที่ปฏิบัติราชการแทนตามลำดับ
1. นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ 1. นายสุรพงษ์ สืบวงศ์ลี
2. นายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ์
2. นายสุรพงษ์ สืบวงศ์ลี 1. นายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ์
2. นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์
3. นายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ์ 1. นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์
2. นายสุรพงษ์ สืบวงศ์ลี
4. นายสหัส บัณฑิตกุล 1. นายสุรพงษ์ สืบวงศ์ลี
2. นายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ์
5. พลตรี สนั่น ขจรประศาสน์ 1. นายสุวิทย์ คุณกิตติ
2. นายสหัส บัณฑิตกุล
6. นายสุวิทย์ คุณกิตติ 1. พลตรี สนั่น ขจรประศาสน์
2. นายสหัส บัณฑิตกุล
ส่วนที่ 3 นายกรัฐมนตรีมอบหมายและมอบอำนาจให้รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี
ในกรณีที่รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีไม่อยู่หรือไม่อาจปฏิบัติราชการได้ให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติราชการแทนกัน ตามลำดับ ดังนี้
ลำดับที่ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
ที่ปฏิบัติราชการแทนตามลำดับ
1. นายชูศักดิ์ ศิรินิล 1. นายจักรภพ เพ็ญแข
2. นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์
2. นายจักรภพ เพ็ญแข 1. นายชูศักดิ์ ศิรินิล
2. นายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ์
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 เป็นต้นไป
2. คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 29 /2551 เรื่อง มอบหมายและมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการ
คณะรัฐมนตรีรับทราบคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 29 /2551 เรื่อง มอบหมายและมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการ
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 9 มาตรา 10 มาตรา 11 มาตรา 12 มาตรา 15 และมาตรา 38 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ที่แก้ไขเพิ่มเติมครั้งสุดท้ายโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ.2545 และพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2550 นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี จึงมีคำสั่งมอบหมายและมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ ตามกฎหมาย และระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ดังต่อไปนี้
ส่วนที่ 1
1. รองนายกรัฐมนตรี (นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์)
1.1 การมอบหมายและมอบอำนาจให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย ดังนี้
1.1.1 คณะกรรมการข้าราชการพลเรือน
1.1.2 คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ
1.1.3 คณะกรรมการส่งเสริมและประสานงานเยาวชนแห่งชาติ
1.1.4 คณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ
1.1.5 คณะกรรมการส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคมแห่งชาติ
1.1.6 คณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ
1.1.7 คณะกรรมการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
1.1.8 สภานายกสภาลูกเสือแห่งชาติ
1.2 การมอบหมายและมอบอำนาจให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ดังนี้
1.2.1 คณะกรรมการกองทุนเงินช่วยเหลือผู้ประสบสาธารณภัยสำนักนายกรัฐมนตรี
1.2.2 คณะกรรมการกำกับและติดตามการปฏิบัติราชการในภูมิภาค
1.2.3 คณะกรรมการจัดทำแผนการบริหารราชการแผ่นดิน
1.2.4 คณะกรรมการส่งเสริมและประสานงานสตรีและสถาบันครอบครัวแห่งชาติ
1.2.5 คณะกรรมการส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ
1.2.6 คณะกรรมการกำหนดนโยบายและกำกับดูแลกิจการประปาแห่งชาติ
1.2.7 คณะกรรมการสนับสนุนระบบการบริหารงานจังหวัดแบบบูรณาการ
1.2.8 คณะกรรมการพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติ
ส่วนที่ 2
2. รองนายกรัฐมนตรี (นายสุรพงษ์ สืบวงศ์ลี)
2.1 การมอบหมายและมอบอำนาจให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย ดังนี้
2.1.1 คณะกรรมการนโยบายทุนรัฐวิสาหกิจ
2.1.2 คณะกรรมการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ
2.1.3 คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ
2.1.4 คณะกรรมการอาหารแห่งชาติ
2.1.5 คณะกรรมการสุขภาพจิตแห่งชาติ
2.1.6 คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
2.2 การมอบหมายและมอบอำนาจให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ดังนี้
2.2.1 คณะกรรมการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
2.2.2 คณะกรรมการบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษถนนราชดำเนิน
2.2.3 คณะกรรมการกำกับนโยบายด้านรัฐวิสาหกิจ
2.2.4 คณะกรรมการบริหารสินเชื่อเกษตรแห่งชาติ
2.2.5 คณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์
ส่วนที่ 3
3. รองนายกรัฐมนตรี (นายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ์)
3.1 การมอบหมายและมอบอำนาจให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย ดังนี้
3.1.1 คณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
3.1.2 สภาวิจัยแห่งชาติ
3.2 การมอบหมายและมอบอำนาจให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ดังนี้
3.2.1 คณะกรรมการอำนวยการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์แห่งชาติ
3.2.2 คณะกรรมการอำนวยการจัดระบบศูนย์ราชการ
3.2.3 คณะกรรมการนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ
3.2.4 คณะกรรมการนโยบายและมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร
3.2.5 คณะกรรมการบริหารแรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมือง
ส่วนที่ 4
4. รองนายกรัฐมนตรี (นายสหัส บัณฑิตกุล)
4.1 การมอบหมายและมอบอำนาจให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย ดังนี้
4.1.1 คณะกรรมการพิจารณาการเสนอขอพระราชทาน
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์
4.1.2 คณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก
4.1.3 คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ
4.1.4 คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ
4.1.5 คณะกรรมการกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน
4.1.6 คณะกรรมการพลังงานปรมาณูเพื่อสันติ
4.1.7 คณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมแห่งชาติ
4.2 การมอบหมายและมอบอำนาจให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ดังนี้
4.2.1 คณะกรรมการพิจารณาการเสนอขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ชั้นสายสะพาย
4.2.2 คณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ
4.2.3 คณะกรรมการอนุรักษ์และพัฒนากรุงรัตนโกสินทร์และเมืองเก่า
4.2.4 คณะกรรมการนโยบายการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งชาติ
4.2.5 คณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
4.2.6 คณะกรรมการนโยบายนาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ
4.2.7 คณะกรรมการนโยบายเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ
4.2.8 คณะกรรมการภูมิสารสนเทศแห่งชาติ
ส่วนที่ 5
5. รองนายกรัฐมนตรี (พลตรี สนั่น ขจรประศาสน์)
5.1 การมอบหมายและมอบอำนาจให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย ดังนี้
5.1.1 คณะกรรมการนโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติ
5.1.2 คณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร
5.1.3 คณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน
5.2 การมอบหมายและมอบอำนาจให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ดังนี้
5.2.1 คณะกรรมการบริหารกองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ
5.2.2 คณะกรรมการบริหารกองทุนเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวไทย
5.2.3 คณะกรรมการช่วยเหลือเกษตรกรและผู้ยากจน
5.2.4 คณะกรรมการประสานงานและสนับสนุนงานโครงการหลวง
5.2.5 คณะกรรมการนโยบายและฟื้นฟูทะเลไทย
5.2.6 คณะกรรมการแก้ไขปัญหาการบุกรุกที่ดินของรัฐ
ส่วนที่ 6
6. รองนายกรัฐมนตรี (นายสุวิทย์ คุณกิตติ)
6.1 การมอบหมายและมอบอำนาจให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย ดังนี้
6.1.1 คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน
6.1.2 คณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
6.2 การมอบหมายและมอบอำนาจให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ดังนี้
6.2.1 คณะกรรมการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารแห่งชาติ
6.2.2 คณะกรรมการบริหารระบบการเตือนภัยพิบัติแห่งชาติ
6.2.3 คณะกรรมการพัฒนาอุตสาหกรรมแห่งชาติ
ส่วนที่ 7
7. รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายชูศักดิ์ ศิรินิล)
7.1 การมอบหมายและมอบอำนาจให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย ดังนี้
7.1.1 คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค
7.1.2 รองประธานกรรมการในคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ
7.2 การมอบหมายและมอบอำนาจให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ดังนี้
7.2.1 คณะกรรมการบริหารพนักงานราชการ
7.2.2 คณะกรรมการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการ
7.2.3 คณะกรรมการควบคุมการเรี่ยไรของหน่วยงานของรัฐ
ส่วนที่ 8
8. รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายจักรภพ เพ็ญแข)
8.1 การมอบหมายและมอบอำนาจให้ปฏิบัติหน้าที่ในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย ดังนี้
- คณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ
8.2 การมอบหมายและมอบอำนาจให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ดังนี้
8.2.1 คณะกรรมการประชาสัมพันธ์แห่งชาติ
8.2.2 คณะกรรมการพิจารณาการเสนอขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ชั้นต่ำกว่าสายสะพาย
8.2.3 รองประธานกรรมการในคณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ
ส่วนที่ 9
1. ให้รองนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ที่สั่งและปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรีในส่วนราชการใดเป็นประธาน อ.ก.พ. ทำหน้าที่ อ.ก.พ.กระทรวงของส่วนราชการนั้นด้วย ยกเว้น อ.ก.พ. สำนักนายกรัฐมนตรี ให้รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี(นายจักรภพ เพ็ญแข) เป็นประธาน
2. เมื่อรองนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีได้ดำเนินการตามที่ได้รับมอบหมายและมอบอำนาจแล้ว ให้รายงานนายกรัฐมนตรีทราบทุกสามสิบวัน
3. ให้รองนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีที่ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการในคณะกรรมการตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีในคำสั่งนี้ พิจารณาความจำเป็นและความเหมาะสมในการยุบเลิกคณะกรรมการดังกล่าวหากเห็นว่าหมดความจำเป็นหรือซ้ำซ้อนกับภารกิจของหน่วยงานอื่น หรืออาจยุบรวมคณะกรรมการชุดต่าง ๆ เข้าด้วยกัน หรือปรับปรุงองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการดังกล่าว โดยการยกเลิกหรือแก้ไขเพิ่มเติมระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง หรือจัดทำระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีขึ้นใหม่ โดยยึดหลักการมีผู้รับผิดชอบภารกิจอย่างชัดแจ้ง การไม่ปฏิบัติงานซ้ำซ้อนกัน และการบูรณาการภารกิจให้เกิดการประสานและสอดคล้องรองรับกัน แล้วเสนอผลการพิจารณาและข้อเสนอแนะ ตลอดจนร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีที่ขอแก้ไขเพิ่มเติมหรือจัดทำขึ้นใหม่ต่อคณะรัฐมนตรี ในกรณีที่เห็นควร ให้คงระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีนั้น ๆ ไว้ตามเดิมให้รายงานเหตุผลและความจำเป็นด้วยเช่นกัน
ทั้งนี้ ตั้งแต่ วันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 เป็นต้นไป
3. คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 30 /2551 เรื่อง มอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีกำกับและติดตามการปฏิบัติราชการในภูมิภาค
คณะรัฐมนตรีรับทราบคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 30 /2551 เรื่อง มอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีกำกับและติดตามการปฏิบัติราชการในภูมิภาค
โดยที่เป็นการสมควรมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีกำกับและติดตามการปฏิบัติราชการในภูมิภาค เพื่อประโยชน์ในการประสานติดตาม เร่งรัด ช่วยเหลือ และประเมินผลการปฏิบัติราชการในภูมิภาคให้บังเกิดประสิทธิภาพ เรียบร้อย รวดเร็ว เกิดประโยชน์สูงสุด สามารถตอบสนองความต้องการของประชาชนในพื้นที่ และแก้ไขปัญหาข้อขัดข้องต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในพื้นที่ได้อย่างรวดเร็ว รวมทั้งสามารถแปลงนโยบายของรัฐบาลไปสู่การปฏิบัติ ที่เป็นรูปธรรม โดยสมควรใช้พื้นที่เขตตรวจราชการของสำนักนายกรัฐมนตรีเป็นหลักอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 11 (1) และ (9) และมาตรา 38 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545 และ (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2550 และข้อ 13 ของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการกำกับและติดตามการปฏิบัติราชการในภูมิภาค พ.ศ. 2547 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2548 นายกรัฐมนตรี จึงมีคำสั่งมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีกำกับและติดตามการปฏิบัติราชการในภูมิภาค ดังต่อไปนี้
1. พื้นที่
1.1 รองนายกรัฐมนตรี (นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์) กำกับและติดตามการปฏิบัติราชการในพื้นที่ดังนี้
เขตตรวจราชการที่ 15 ของสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ลำปาง ลำพูน
เขตตรวจราชการที่ 16 ของสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แก่ จังหวัดน่าน พะเยา เชียงราย แพร่
เขตตรวจราชการที่ 17 ของสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แก่ จังหวัดตาก พิษณุโลก สุโขทัย เพชรบูรณ์ อุตรดิตถ์
1.2 รองนายกรัฐมนตรี (นายสุรพงษ์ สืบวงศ์ลี) กำกับและติดตามการปฏิบัติราชการในพื้นที่ดังนี้
เขตตรวจราชการที่ 13 ของสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แก่ จังหวัดอำนาจเจริญ ศรีสะเกษ ยโสธร อุบลราชธานี
เขตตรวจราชการที่ 14 ของสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แก่ จังหวัดสุรินทร์ นครราชสีมา บุรีรัมย์ ชัยภูมิ
1.3 รองนายกรัฐมนตรี (นายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ์) กำกับและติดตามการปฏิบัติราชการในพื้นที่ดังนี้
เขตตรวจราชการที่ 6 ของสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แก่ จังหวัดชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง
เขตตรวจราชการที่ 7 ของสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แก่ จังหวัดระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง
1.4 รองนายกรัฐมนตรี (นายสหัส บัณฑิตกุล) กำกับและติดตาม การปฏิบัติราชการในพื้นที่ดังนี้
เขตตรวจราชการที่ 1 ของสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แก่ จังหวัดนนทบุรี ปทุมธานี พระนครศรีอยุธยา สระบุรี
เขตตรวจราชการที่ 2 ของสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แก่ จังหวัดชัยนาท ลพบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง
เขตตรวจราชการที่ 8 ของสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แก่ จังหวัดสงขลา สตูล ปัตตานี ยะลา นราธิวาส
1.5 รองนายกรัฐมนตรี (พลตรี สนั่น ขจรประศาสน์) กำกับและติดตามการปฏิบัติราชการในพื้นที่ดังนี้
เขตตรวจราชการที่ 4 ของสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แก่ จังหวัดกาญจนบุรี นครปฐม ราชบุรี สุพรรณบุรี
เขตตรวจราชการที่ 18 ของสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แก่ จังหวัดกำแพงเพชร พิจิตร นครสวรรค์ อุทัยธานี
1.6 รองนายกรัฐมนตรี (นายสุวิทย์ คุณกิตติ) กำกับและติดตามการปฏิบัติราชการในพื้นที่ดังนี้
เขตตรวจราชการที่ 3 ของสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แก่ จังหวัดฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี สระแก้ว นครนายก สมุทรปราการ
เขตตรวจราชการที่ 12 ของสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แก่ จังหวัดร้อยเอ็ด ขอนแก่น มหาสารคาม กาฬสินธุ์
1.7 รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายชูศักดิ์ ศิรินิล) กำกับและติดตามการปฏิบัติราชการในพื้นที่ดังนี้
เขตตรวจราชการที่ 5 ของสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แก่ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เพชรบุรี สมุทรสาคร สุมทรสงคราม
เขตตรวจราชการที่ 9 ของสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แก่ จังหวัดจันทบุรี ชลบุรี ระยอง ตราด
1.8 รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายจักรภพ เพ็ญแข) กำกับและติดตามการปฏิบัติราชการในพื้นที่ดังนี้
เขตตรวจราชการที่ 10 ของสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แก่ จังหวัดหนองคาย เลย อุดรธานี หนองบัวลำภู
เขตตรวจราชการที่ 11 ของสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แก่ จังหวัดนครพนม มุกดาหาร สกลนคร
2. การกำกับและติดตามการปฏิบัติราชการในภูมิภาคตามคำสั่งนี้ หมายถึง การตรวจราชการ การขอให้เจ้าหน้าที่ของรัฐรายงานเหตุการณ์และผลการปฏิบัติงานตามนโยบายของรัฐบาลและนายกรัฐมนตรี ยุทธศาสตร์ของชาติ ยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัด และยุทธศาสตร์จังหวัด การประสานราชการเพื่อให้เกิดการบูรณาการยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัด และยุทธศาสตร์จังหวัด ไปสู่การปฏิบัติที่เป็นรูปธรรม การเร่งรัด การติดตามผล การให้คำแนะนำช่วยเหลือ เจ้าหน้าที่ของรัฐในพื้นที่ และการประเมินผลการปฏิบัติงานของหน่วยงานของรัฐและเจ้าหน้าที่ของรัฐ
3. ให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีรายงานปัญหา อุปสรรค แนวทางการแก้ไข ตลอดจนข้อเสนอแนะต่าง ๆ อันเนื่องจากการกำกับและติดตาม การปฏิบัติราชการในเขตตรวจราชการหรือพื้นที่ในความรับผิดชอบต่อนายกรัฐมนตรี
4. ให้สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีจัดให้ผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรีประจำเขตตรวจราชการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องเป็นฝ่ายเลขานุการของรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในกรณีที่รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีติดภารกิจจำเป็นเร่งด่วน สามารถมอบหมายให้ผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรีประจำเขตตรวจราชการปฏิบัติหน้าที่แทน แล้วรายงานผลการปฏิบัติงานให้ทราบต่อไป
5. ให้ผู้ว่าราชการจังหวัด ผู้ตรวจราชการกระทรวง และหัวหน้าส่วนราชการในจังหวัดที่เกี่ยวข้องเสนอข้อมูล อำนวยความสะดวก และให้ความร่วมมือในการปฏิบัติหน้าที่ตามคำสั่งนี้ด้วย
6. ให้เบิกค่าใช้จ่ายในการกำกับและติดตามการปฏิบัติราชการในภูมิภาคของรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีจากงบประมาณของสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี หมวดเงินอุดหนุนทั่วไป โครงการเพิ่มขีดสมรรถนะในการกำกับและติดตามการปฏิบัติราชการในภูมิภาคของรองนายกรัฐมนตรี
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 เป็นต้นไป
4. คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 31/2551 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี รวม 6 คณะ
คณะรัฐมนตรีรับทราบคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 31/2551 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี รวม 6 คณะ
โดยที่สมควรจัดให้การพิจารณาเรื่องต่าง ๆ ที่เสนอต่อคณะรัฐมนตรีมีการตรวจสอบ กลั่นกรองข้อมูล ความจำเป็น ความเหมาะสม และความสอดคล้องกับนโยบายของคณะรัฐมนตรีและรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยอย่างเป็นระบบและรอบคอบรัดกุม
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 11 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ประกอบกับมาตรา 5 แห่งพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการเสนอเรื่องและการประชุมคณะรัฐมนตรี พ.ศ. 2548 นายกรัฐมนตรีด้วยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีจึงมีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี รวม 6 คณะ โดยมีองค์ประกอบ อำนาจหน้าที่ และกลไกการปฏิบัติงาน ดังต่อไปนี้
1. คณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 1
1.1 องค์ประกอบ
1.1.1 รองนายกรัฐมนตรี ประธานกรรมการ
(นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์)
1.1.2 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย รองประธานกรรมการ
1.1.3 รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กรรมการ
(นายชูศักดิ์ ศิรินิล)
1.1.4 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคม กรรมการ
และความมั่นคงของมนุษย์
1.1.5 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม กรรมการ
1.1.6 ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและ กรรมการ
ความมั่นคงของมนุษย์
1.1.7 ปลัดกระทรวงมหาดไทย กรรมการ
1.1.8 ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม กรรมการ
1.1.9 ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กรรมการ
1.1.10 เลขาธิการคณะกรรมการ กรรมการ
ข้าราชการพลเรือน
1.1.11 เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนา กรรมการ
ระบบราชการ
1.1.12 เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการ กรรมการ
เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
1.1.13 เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา กรรมการ
1.1.14 ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ กรรมการ
1.1.15 ผู้อำนวยการสำนักพระพุทธศาสนา กรรมการ
แห่งชาติ
1.1.16 เลขาธิการคณะรัฐมนตรี เลขานุการ
1.1.17 รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ผู้ช่วยเลขานุการ
ฝ่ายการเมืองประจำรองนายกรัฐมนตรี
(นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์)
1.2 อำนาจหน้าที่
1.2.1 พิจารณากลั่นกรองเรื่องที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงวัฒนธรรม กระทรวงศึกษาธิการ สำนักงาน ก.พ. และสำนักงาน ก.พ.ร. ตลอดจนเรื่องที่นายกรัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย
1.2.2 ประเมิน วิเคราะห์ และเสนอแนะมาตรการหรือแนวทางตัดสินใจเชิงรุกตามนโยบายของคณะรัฐมนตรีด้านสังคม การศึกษา วัฒนธรรม และบทบัญญัติในหมวด 5 แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ มาตรา 78 มาตรา 80 และมาตรา 87 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับหน่วยงานตามข้อ 1.2.1 เพื่อเสนอคณะรัฐมนตรี
1.2.3 มีอำนาจเชิญรัฐมนตรี และหน่วยงานอื่น ๆ มาชี้แจง
1.3 กลไกการปฏิบัติงาน
1.3.1 ให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีจัดส่งเรื่องสำคัญในปัญหา ตามที่กระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานของรัฐ ตามข้อ 1.2.1 เสนอมาเพื่อ คณะรัฐมนตรีพิจารณาหรือเรื่องที่นายกรัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรีมอบหมายให้พิจารณา พร้อมทั้งความเห็นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและเอกสารประกอบ ให้คณะกรรมการดังกล่าว พิจารณากลั่นกรองก่อนที่จะนำเสนอคณะรัฐมนตรี
1.3.2 เรื่องสำคัญซึ่งจะต้องเสนอคณะกรรมการตามคำสั่งนี้ หมายถึงเรื่องที่มีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้
1.3.2.1 เรื่องที่เป็นปัญหาในเชิงนโยบายการบริหารราชการแผ่นดิน
1.3.2.2 เรื่องที่ต้องใช้งบประมาณดำเนินการเป็นจำนวนมาก
1.3.2.3 เรื่องที่กระทบต่อการปฏิบัติราชการของหลายหน่วยงาน
1.3.2.4 เรื่องที่หน่วยงานต่าง ๆ มีความเห็นไม่สอดคล้องกัน
1.3.2.5 เรื่องที่ยังไม่เคยมีระเบียบแบบแผนในการปฏิบัติมาก่อน
1.3.2.6 เรื่องที่อาจมีผลกระทบต่อการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ สังคม จิตวิทยา หรือความมั่นคงหรือเสถียรภาพทางเศรษฐกิจโดยรวมในส่วนที่เกี่ยวข้อง
1.3.2.7 เรื่องที่คณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรีคณะอื่น นายกรัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรีขอให้พิจารณา
1.3.3 รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ทุกคนจะเข้าร่วมประชุมคณะกรรมการดังกล่าวก็ได้ตามที่เห็นสมควร ในกรณีเช่นนี้ ให้รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีที่เข้าร่วมประชุมเป็นกรรมการด้วย ทั้งนี้ ให้ฝ่ายเลขานุการของคณะกรรมการจัดส่งระเบียบวาระการประชุมและเอกสารอื่น ๆ ให้รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีทุกคนทราบทุกครั้งด้วย
1.3.4 ให้เลขาธิการนายกรัฐมนตรี และโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากบุคคลดังกล่าวเข้าร่วมประชุมเป็นกรรมการด้วย ทั้งนี้ ให้ฝ่ายเลขานุการของคณะกรรมการจัดส่งระเบียบวาระการประชุมและเอกสารอื่น ๆ ให้บุคคลดังกล่าวทราบทุกครั้ง
1.3.5 คณะกรรมการมีอำนาจเชิญผู้แทนกระทรวง ทบวง กรม หน่วยงานของรัฐหรือบุคคลอื่นที่อาจให้ข้อมูลเข้าร่วมประชุมในปัญหาที่เกี่ยวข้องได้ตามที่เห็นสมควร
1.3.6 วัน เวลา สถานที่ และการประชุม ให้เป็นตามที่คณะกรรมการกำหนด
2. คณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 2
2.1 องค์ประกอบ
2.1.1 รองนายกรัฐมนตรี ประธานกรรมการ
(นายสุรพงษ์ สืบวงศ์ลี)
2.1.2 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข รองประธานกรรมการ
2.1.3 รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง กรรมการ
ที่ได้รับมอบหมายจาก
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
2.1.4 รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ กรรมการ
ที่ได้รับมอบหมายจาก
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
2.1.5 ปลัดกระทรวงการคลัง กรรมการ
2.1.6 ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กรรมการ
2.1.7 ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กรรมการ
2.1.8 ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม กรรมการ
2.1.9 เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา กรรมการ
2.1.10 ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ กรรมการ
2.1.11 ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย กรรมการ
2.1.12 เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการ เลขานุการ
เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
2.1.13 เลขาธิการคณะรัฐมนตรี ผู้ช่วยเลขานุการ
2.1.14 รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ผู้ช่วยเลขานุการ
ฝ่ายการเมืองประจำรองนายกรัฐมนตรี
(นายสุรพงษ์ สืบวงศ์ลี)
2.2 อำนาจหน้าที่
2.2.1 พิจารณากลั่นกรองเรื่องที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงการคลัง กระทรวงสาธารณสุข สำนักงบประมาณ และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ตลอดจนเรื่องที่นายกรัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย
2.2.2 ประเมิน วิเคราะห์ และเสนอแนะมาตรการหรือแนวทางตัดสินใจเชิงรุกตามนโยบายของคณะรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจ การสาธารณสุข และบทบัญญัติในหมวด 5 แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ มาตรา 78 มาตรา 80 มาตรา 83 มาตรา 84 และมาตรา 87 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับหน่วยงานตามข้อ 2.2.1 เพื่อเสนอคณะรัฐมนตรี
2.2.3 มีอำนาจเชิญรัฐมนตรีและหน่วยงานอื่น ๆ มาชี้แจง
2.3 กลไกการปฏิบัติงาน
2.3.1 ให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีจัดส่งเรื่องสำคัญในปัญหา ตามที่กระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานของรัฐ ตามข้อ 2.2.1 เสนอมาเพื่อ คณะรัฐมนตรีพิจารณาหรือเรื่องที่นายกรัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรีมอบหมายให้พิจารณา พร้อมทั้งความเห็นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและเอกสารประกอบให้คณะกรรมการดังกล่าว พิจารณากลั่นกรองก่อนที่จะนำเสนอคณะรัฐมนตรี
2.3.2 เรื่องสำคัญตามคำสั่งนี้ซึ่งจะต้องเสนอคณะกรรมการ หมายถึงเรื่องที่มีลักษณะตามข้อ 1.3.2 ข้างต้น
2.3.3 ให้นำข้อ 1.3.3 — ข้อ 1.3.6 ข้างต้น มาใช้บังคับด้วย
3. คณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 3
3.1 องค์ประกอบ
3.1.1 รองนายกรัฐมนตรี ประธานกรรมการ
(นายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ์)
3.1.2 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ รองประธานกรรมการ
3.1.3 รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กรรมการ
(นายชูศักดิ์ ศิรินิล)
3.1.4 รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กรรมการ
(นายจักรภพ เพ็ญแข)
3.1.5 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กรรมการ
3.1.6 รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง กรรมการ
ที่ได้รับมอบหมายจาก
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
3.1.7 ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี กรรมการ
3.1.8 ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ กรรมการ
3.1.9 ปลัดกระทรวงพาณิชย์ กรรมการ
3.1.10 ปลัดกระทรวงแรงงาน กรรมการ
3.1.11 เลขาธิการคณะกรรมการ กรรมการ
ข้าราชการพลเรือน
3.1.12 เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนา กรรมการ
ระบบราชการ
3.1.13 เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา กรรมการ
3.1.14 เลขาธิการคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค กรรมการ
3.1.15 เลขาธิการคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ กรรมการ
3.1.16 ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ กรรมการ
3.1.17 อธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ กรรมการ
3.1.18 กรรมการผู้อำนวยการใหญ่
บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) กรรมการ
3.1.19 เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนา เลขานุการ
การเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
3.1.20 เลขาธิการคณะรัฐมนตรี ผู้ช่วยเลขานุการ
3.1.21 รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ผู้ช่วยเลขานุการ
ฝ่ายการเมืองประจำรองนายกรัฐมนตรี
(นายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ์)
3.2 อำนาจหน้าที่
3.2.1 พิจารณากลั่นกรองเรื่องที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงแรงงาน สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ และกรมประชาสัมพันธ์ ตลอดจนเรื่องที่นายกรัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย
3.2.2 ประเมิน วิเคราะห์ และเสนอแนะมาตรการหรือแนวทาง ตัดสินใจเชิงรุกตามนโยบายของคณะรัฐมนตรีด้านการต่างประเทศ พาณิชย์ แรงงาน และบทบัญญัติในหมวด 5 แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ มาตรา 78 มาตรา 82 มาตรา 83 มาตรา 84 และมาตรา 87 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับหน่วยงานตามข้อ 3.2.1 เพื่อเสนอคณะรัฐมนตรี
3.2.3 มีอำนาจเชิญรัฐมนตรีและหน่วยงานอื่น ๆ มาชี้แจง
3.3 กลไกการปฏิบัติงาน
3.3.1 ให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีจัดส่งเรื่องสำคัญในปัญหา ตามที่กระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานของรัฐ ตามข้อ 2.2.1 เสนอมาเพื่อ คณะรัฐมนตรีพิจารณาหรือเรื่องที่นายกรัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรีมอบหมายให้พิจารณา พร้อมทั้งความเห็นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและเอกสารประกอบให้คณะกรรมการดังกล่าว พิจารณากลั่นกรองก่อนที่จะนำเสนอคณะรัฐมนตรี
3.3.2 เรื่องสำคัญตามคำสั่งนี้ซึ่งจะต้องเสนอคณะกรรมการ หมายถึงเรื่องที่มีลักษณะตามข้อ 1.3.2 ข้างต้น
3.3.3 ให้นำข้อ 1.3.3 — ข้อ 1.3.6 ข้างต้น มาใช้บังคับด้วย
4. คณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 4
4.1 องค์ประกอบ คณะที่ 4.1
4.1.1 รองนายกรัฐมนตรี ประธานกรรมการ
(นายสหัส บัณฑิตกุล)
4.1.2 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม รองประธานกรรมการ
4.1.3 รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กรรมการ
(นายชูศักดิ์ ศิรินิล)
4.1.4 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ กรรมการ
และสิ่งแวดล้อม
4.1.5 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน กรรมการ
4.1.6 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ กรรมการ
และเทคโนโลยี
4.1.7 รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและ กรรมการ
สหกรณ์ ที่ได้รับมอบหมายจาก
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
4.1.8 ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี กรรมการ
4.1.9 ปลัดกระทรวงการคลัง กรรมการ
4.1.10 ปลัดกระทรวงคมนาคม กรรมการ
4.1.11 ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ กรรมการ
และสิ่งแวดล้อม
4.1.12 ปลัดกระทรวงพลังงาน กรรมการ
4.1.13 ปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์ กรรมการ
และเทคโนโลยี
4.1.14 เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนา กรรมการ
การเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
4.1.15 เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา กรรมการ
4.1.16 เลขาธิการคณะกรรมการพิเศษ กรรมการ
เพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจาก
พระราชดำริ
4.1.17 ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ กรรมการ
4.1.18 เลขาธิการคณะรัฐมนตรี เลขานุการ
4.1.19 รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ผู้ช่วยเลขานุการ
ฝ่ายการเมืองประจำรองนายกรัฐมนตรี
(นายสหัส บัณฑิตกุล)
4.2 องค์ประกอบ คณะที่ 4.2
4.2.1 รองนายกรัฐมนตรี ประธานกรรมการ
(นายสหัส บัณฑิตกุล)
4.2.2 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม รองประธานกรรมการ
4.2.3 รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย กรรมการ
ที่ได้รับมอบหมายจาก
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
4.2.4 ปลัดกระทรวงกลาโหม กรรมการ
4.2.5 ปลัดกระทรวงมหาดไทย กรรมการ
4.2.6 ปลัดกระทรวงยุติธรรม กรรมการ
4.1.7 เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนา กรรมการ
การเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
4.2.8 เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา กรรมการ
4.2.9 ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ กรรมการ
4.2.10 ผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ กรรมการ
4.2.11 ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ กรรมการ
4.2.12 เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ เลขานุการ
4.2.13 เลขาธิการคณะรัฐมนตรี ผู้ช่วยเลขานุการ
4.2.14 รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ผู้ช่วยเลขานุการ
ฝ่ายการเมืองประจำรองนายกรัฐมนตรี
(นายสหัส บัณฑิตกุล)
4.3 อำนาจหน้าที่
4.3.1 คณะกรรมการกลั่นกรอง ฯ คณะที่ 4.1 พิจารณากลั่นกรองเรื่องที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงคมนาคม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงพลังงาน กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ราชบัณฑิตยสถาน และองค์กรอิสระต่างๆ ตลอดจนเรื่องที่นายกรัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย
4.3.2 คณะกรรมการกลั่นกรอง ฯ คณะที่ 4.2 พิจารณากลั่นกรองเรื่องที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงกลาโหม กระทรวงยุติธรรม สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ สำนักข่าวกรองแห่งชาติ และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ตลอดจนเรื่องที่นายกรัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย
4.3.3 ประเมิน วิเคราะห์ และเสนอแนะมาตรการหรือแนวทาง ตัดสินใจเชิงรุกตามนโยบายของคณะรัฐมนตรีด้านความมั่นคงของรัฐ ศาสนา ที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม คมนาคม วิทยาศาสตร์ พลังงาน กฎหมายและกระบวนการยุติธรรม และบทบัญญัติในหมวด 5 แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ มาตรา 77มาตรา 78 มาตรา 81 มาตรา 85 มาตรา 86 และมาตรา 87 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับหน่วยงานตามข้อ 4.3.1 และข้อ 4.3.2 เพื่อเสนอคณะรัฐมนตรี
4.3.4 มีอำนาจเชิญรัฐมนตรีและหน่วยงานอื่น ๆ มาชี้แจง
4.4 กลไกการปฏิบัติงาน
4.4.1 ให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีจัดส่งเรื่องสำคัญในปัญหา ตามที่กระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานของรัฐ ตามข้อ 4.3.1 และข้อ 4.3.2 เสนอมา เพื่อคณะรัฐมนตรีพิจารณาหรือเรื่องที่นายกรัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรีมอบหมายให้พิจารณา พร้อมทั้งความเห็นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและเอกสารประกอบให้คณะกรรมการดังกล่าว พิจารณากลั่นกรองก่อนที่จะนำเสนอคณะรัฐมนตรี
4.4.2 เรื่องสำคัญตามคำสั่งนี้ซึ่งจะต้องเสนอคณะกรรมการ หมายถึงเรื่องที่มีลักษณะตามข้อ 1.3.2 ข้างต้น
4.4.3 ให้นำข้อ 1.3.3 — ข้อ 1.3.6 ข้างต้น มาใช้บังคับด้วย
5. คณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 5
5.1 องค์ประกอบ
5.1.1 รองนายกรัฐมนตรี ประธานกรรมการ
(พลตรี สนั่น ขจรประศาสน์)
5.1.2 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร รองประธานกรรมการ
และสหกรณ์
5.1.3 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยว กรรมการ
และกีฬา
5.1.4 รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม กรรมการ
ที่ได้รับมอบหมายจาก
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
5.1.5 รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย กรรมการ
ที่ได้รับมอบหมายจาก
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
5.1.6 ปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กรรมการ
5.1.7 ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กรรมการ
5.1.8 เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการ กรรมการ
เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
5.1.9 เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา กรรมการ
5.1.10 ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ กรรมการ
5.1.11 ผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย กรรมการ
5.1.12 ผู้ว่าการการกีฬาแห่งประเทศไทย กรรมการ
5.1.13 เลขาธิการคณะรัฐมนตรี เลขานุการ
5.1.14 รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ผู้ช่วยเลขานุการ
ฝ่ายการเมืองประจำรองนายกรัฐมนตรี
(พลตรี สนั่น ขจรประศาสน์)
5.2 อำนาจหน้าที่
5.2.1 พิจารณากลั่นกรองเรื่องที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ตลอดจนเรื่องที่นายกรัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย
5.2.2 ประเมิน วิเคราะห์ และเสนอแนะมาตรการหรือแนวทาง ตัดสินใจเชิงรุกตามนโยบายของคณะรัฐมนตรีด้านการท่องเที่ยวและกีฬา การเกษตรและสหกรณ์ และบทบัญญัติในหมวด 5 แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ มาตรา 78 มาตรา 85 และมาตรา 87 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับหน่วยงานตามข้อ 5.2.1 เพื่อเสนอคณะรัฐมนตรี
5.2.3 มีอำนาจเชิญรัฐมนตรีและหน่วยงานอื่น ๆ มาชี้แจง
5.3 กลไกการปฏิบัติงาน
5.3.1 ให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีจัดส่งเรื่องสำคัญในปัญหา ตามที่กระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานของรัฐ ตามข้อ 5.2.1 เสนอมาเพื่อ คณะรัฐมนตรีพิจารณาหรือเรื่องที่นายกรัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรีมอบหมายให้พิจารณา พร้อมทั้งความเห็นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและเอกสารประกอบให้คณะกรรมการดังกล่าว พิจารณากลั่นกรองก่อนที่จะนำเสนอคณะรัฐมนตรี
5.3.2 เรื่องสำคัญตามคำสั่งนี้ซึ่งจะต้องเสนอคณะกรรมการ หมายถึงเรื่องที่มีลักษณะตามข้อ 1.3.2 ข้างต้น
5.3.3 ให้นำข้อ 1.3.3 — ข้อ 1.3.6 ข้างต้น มาใช้บังคับด้วย
6. คณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 6
6.1 องค์ประกอบ
6.1.1 รองนายกรัฐมนตรี ประธานกรรมการ
(นายสุวิทย์ คุณกิตติ)
6.1.2 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยี รองประธานกรรมการ
สารสนเทศและการสื่อสาร
6.1.3 รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตร กรรมการ
และสหกรณ์ ที่ได้รับมอบหมายจาก
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
6.1.4 รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ กรรมการ
ที่ได้รับมอบหมายจาก
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
6.1.5 ปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศ กรรมการ
และการสื่อสาร
6.1.6 ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม กรรมการ
6.1.7 เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนา กรรมการ
การเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
6.1.8 เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา กรรมการ
6.1.9 เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน กรรมการ
6.1.10 ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ กรรมการ
6.1.11 เลขาธิการคณะรัฐมนตรี เลขานุการ
6.1.12 รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ผู้ช่วยเลขานุการ
ฝ่ายการเมืองประจำรองนายกรัฐมนตรี
(นายสุวิทย์ คุณกิตติ)
6.2 อำนาจหน้าที่
6.2.1 พิจารณากลั่นกรองเรื่องที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และกระทรวงอุตสาหกรรม ตลอดจนเรื่องที่นายกรัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย
6.2.2 ประเมิน วิเคราะห์ และเสนอแนะมาตรการหรือแนวทาง ตัดสินใจเชิงรุกตามนโยบายของคณะรัฐมนตรีด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร อุตสาหกรรม และบทบัญญัติในหมวด 5 แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ มาตรา 78 มาตรา 86 และมาตรา 87 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับหน่วยงาน ตามข้อ 6.2.1 เพื่อเสนอคณะรัฐมนตรี
6.2.3 มีอำนาจเชิญรัฐมนตรีและหน่วยงานอื่น ๆ มาชี้แจง
6.3 กลไกการปฏิบัติงาน
6.3.1 ให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีจัดส่งเรื่องสำคัญในปัญหา ตามที่กระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานของรัฐ ตามข้อ 6.2.1 เสนอมาเพื่อ คณะรัฐมนตรีพิจารณาหรือเรื่องที่นายกรัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรีมอบหมายให้พิจารณา พร้อมทั้งความเห็นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและเอกสารประกอบให้คณะกรรมการดังกล่าว พิจารณากลั่นกรองก่อนที่จะนำเสนอคณะรัฐมนตรี
6.3.2 เรื่องสำคัญตามคำสั่งนี้ซึ่งจะต้องเสนอคณะกรรมการ หมายถึงเรื่องที่มีลักษณะตามข้อ 1.3.2 ข้างต้น
6.3.3 ให้นำข้อ 1.3.3 — ข้อ 1.3.6 ข้างต้น มาใช้บังคับด้วย
7. ให้มีการประชุมคณะกรรมการกลั่นกรอง ฯ อย่างน้อยเดือนละหนึ่งครั้ง เว้นแต่ไม่มีเรื่องเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรอง ฯ
ในกรณีที่ประธานกรรมการกลั่นกรอง ฯ ไม่อยู่ หรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้รองประธานกรรมการกลั่นกรอง ฯ เป็นผู้นัดประชุมและปฏิบัติหน้าที่เป็นประธานกรรมการกลั่นกรอง ฯ แทน เว้นแต่ในกรณีที่รองนายกรัฐมนตรีเข้าร่วมประชุม ให้รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานที่ประชุมคราวนั้นแทนรองประธานกรรมการกลั่นกรอง ฯ หากรองนายกรัฐมนตรี เข้าร่วมประชุมหลายคน ให้รองนายกรัฐมนตรีผู้อยู่ในลำดับต้นของคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 19/2551 ลงวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2551 เรื่อง มอบหมายและมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน
8. เมื่อคณะกรรมการกลั่นกรองฯ มีมติเป็นประการใด ให้นำเสนอ นายกรัฐมนตรีอนุมัติและเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบหรือพิจารณา แล้วแต่กรณี เว้นแต่ นายกรัฐมนตรีจะเห็นควรดำเนินการเป็นประการอื่น ก็ให้ดำเนินการตามมตินั้น
ให้ประธานกรรมการ หรือรองนายกรัฐมนตรีที่ทำหน้าที่ประธานที่ประชุมคราวนั้น หรือรองประธานกรรมการเป็นผู้ลงนามในบันทึกเสนอมติคณะกรรมการกลั่นกรอง ฯ ต่อนายกรัฐมนตรี
9. ในกรณีที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวง ซึ่งเป็นกรรมการในคณะกรรมการกลั่นกรอง ฯ ไม่อาจเข้าประชุมได้ ให้มอบหมายรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเข้าประชุมแทน และหากจำเป็นอาจพิจารณามอบหมายให้ผู้บังคับบัญชาระดับสูง ซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบและรู้ข้อมูล เกี่ยวกับเรื่องที่คณะกรรมการกลั่นกรอง ฯ จะพิจารณาเป็นอย่างดี เป็นผู้เข้าประชุมแทน
ในกรณีที่ปลัดกระทรวง เลขาธิการ ผู้อำนวยการหรือตำแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่น ซึ่งเป็นกรรมการในคณะกรรมการกลั่นกรอง ฯ ไม่อาจเข้าประชุมได้ ให้มอบหมายรองปลัดกระทรวง รองเลขาธิการ รองผู้อำนวยการ หรือรองหัวหน้าส่วนราชการหรือหน่วยงานนั้น แล้วแต่กรณี เป็นผู้เข้าประชุมแทน
10. ในกรณีเห็นสมควร คณะกรรมการกลั่นกรอง ฯ ตามคำสั่งนี้จะจัดให้มี การประชุมคณะกรรมการกลั่นกรอง ฯ หลายคณะร่วมกัน เพื่อพิจารณาปัญหาคาบเกี่ยว ให้เกิดความรอบคอบ ชัดเจน และมีการประสานสอดคล้องกันก็ได้
11. เรื่องใดที่ประธานกรรมการกลั่นกรองฯ คณะใดเห็นว่าเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้อง หรืออยู่ในอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการกลั่นกรอง ฯ คณะอื่นที่ไม่ใช่คณะของตน ให้ประธานกรรมการกลั่นกรองฯ คณะนั้นมีอำนาจสั่งการให้เสนอคณะกรรมการกลั่นกรอง ฯ ตามที่เห็นสมควรเป็นผู้พิจารณาได้
12. ให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีและสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี อำนวยความสะดวกในการประชุมคณะกรรมการทุกคณะตามคำสั่งนี้ และมีอำนาจออกระเบียบ หรือคำสั่งที่จำเป็นเพื่อให้การปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ฝ่ายเลขานุการเป็นไปด้วยความเรียบร้อย
13. ในกรณีที่มีปัญหาสำคัญเกี่ยวกับการปฏิบัติตามคำสั่งนี้ สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอาจขอให้นายกรัฐมนตรีวินิจฉัยหรือสั่งการ ตามที่เห็นสมควรได้
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 เป็นต้นไป
5. เรื่อง การแต่งตั้งคณะกรรมการกำกับและขับเคลื่อนนโยบายรัฐบาล 5 คณะ
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบให้แต่งตั้งคณะกรรมการกำกับและขับเคลื่อนนโยบายรัฐบาล รวม 5 คณะ ตามที่เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอ โดยให้ปรับปรุงองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการดังกล่าว ดังนี้
1. คณะกรรมการพัฒนาระบบขนส่งทางอากาศและท่าอากาศยาน ให้เพิ่มปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาเป็นกรรมการ
2. คณะกรรมการพัฒนาระบบการศึกษาและการเรียนรู้
2.1 ให้เพิ่มรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเป็นกรรมการ
2.2 ให้เพิ่มอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการฯ จากเดิม “กำหนดและขับเคลื่อนนโยบายการศึกษาไปสู่การปฏิบัติที่สำคัญ ได้แก่ การนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ ...” เป็น “กำหนดและขับเคลื่อนนโยบายการศึกษาไปสู่การปฏิบัติที่สำคัญ ได้แก่ การพัฒนาคุณภาพการศึกษาและครู การนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ ...”
3. คณะกรรมการพัฒนาระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ให้เพิ่มเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา เป็นกรรมการ
1. คณะกรรมการพัฒนาระบบขนส่งทางอากาศและท่าอากาศยาน
องค์ประกอบ นายกรัฐมนตรี เป็นประธานกรรมการ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง (นายสุรพงษ์ สืบวงศ์ลี) และรองนายกรัฐมนตรี (นายสหัส บัณฑิตกุล) เป็นรองประธานกรรมการ กรรมการประกอบด้วย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม (นายทรงศักดิ์ ทองศรี) ปลัดกระทรวงการคลัง ปลัดกระทรวงคมนาคม ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา เลขาธิการนายกรัฐมนตรี โดยมีเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เป็นกรรมการและเลขานุการ อธิบดีกรมขนส่งทางอากาศและรองเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ) เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
อำนาจหน้าที่
1. กำหนดและขับเคลื่อนนโยบายไปสู่การปฏิบัติ ได้แก่ นโยบายการพัฒนาท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ท่าอากาศยานภูมิภาค และอุตสาหกรรมการบินของไทย เพื่อให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการบิน การท่องเที่ยว และ การขนส่งสินค้าทางอากาศชั้นนำของเอเซียและโลก
2. กำกับดูแล เร่งรัดการแก้ไขปัญหา และพัฒนาท่าอากาศยานไทยไปสู่การเป็นศูนย์กลางการบินของภูมิภาคเอเซียและของโลก
3. ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่นายกรัฐมนตรีมอบหมาย
2. คณะกรรมการพัฒนาระบบขนส่งทางรางและระบบขนส่งมวลชน
องค์ประกอบ นายกรัฐมนตรี เป็นประธานกรรมการ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง (นายสุรพงษ์ สืบวงศ์ลี) และรองนายกรัฐมนตรี (นายสหัส บัณฑิตกุล) เป็นรองประธานกรรมการ กรรมการประกอบด้วย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม (นายทรงศักดิ์ ทองศรี) ปลัดกระทรวงการคลัง ปลัดกระทรวงคมนาคม ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ปลัดกระทรวงมหาดไทย ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย ผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย เลขาธิการนายกรัฐมนตรี โดยมีเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เป็นกรรมการและเลขานุการ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร และรองเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ) เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
อำนาจหน้าที่
1. กำหนดและขับเคลื่อนนโยบายไปสู่การปฏิบัติ ได้แก่ นโยบายการพัฒนาระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล รถไฟความเร็วสูง รถไฟทางคู่ รถไฟชานเมือง และรถไฟเชื่อมโยงระหว่างจังหวัด และนโยบายการพัฒนาระบบคมนาคมขนส่งและเชื่อมโยงโครงข่ายการบริหารจัดการขนส่งมวลชนสินค้าและบริการ
2. กำกับดูแลและเร่งรัดการดำเนินการตามนโยบายพัฒนาระบบขนส่งมวลชนในกรุงเทพมหานคร และปริมาณ และระบบคมนาคมขนส่งเชื่อมโยงหลายรูปแบบ
3. ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่นายกรัฐมนตรีมอบหมาย
3. คณะกรรมการพัฒนาและบริหารจัดการทรัพยากรน้ำและการชลประทาน
องค์ประกอบ นายกรัฐมนตรี เป็นประธานกรรมการ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง (นายสุรพงษ์ สืบวงศ์ลี) รองนายกรัฐมนตรี (นายสหัส บัณฑิตกุล) รองนายกรัฐมนตรี (พลตรี สนั่น ขจรประศาสน์) เป็นรองประธานกรรมการ กรรมการประกอบด้วย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (นายสมพัฒน์ แก้วพิจิตร) รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (นายธีระชัย แสนแก้ว) ปลัดกระทรวงการคลัง ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ปลัดกระทรวงมหาดไทย ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา เลขาธิการนายกรัฐมนตรี โดยมีเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เป็นกรรมการและเลขานุการ อธิบดีกรมชลประทาน อธิบดีกรมทรัพยากรน้ำ และรองเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (นางจุฑามาศ บาระมีชัย) เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
อำนาจหน้าที่
1. กำหนดและขับเคลื่อนนโยบายการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ การขยายพื้นที่ชลประทาน และเพิ่มประสิทธิภาพระบบชลประทานไปสู่การปฏิบัติ
2. กำกับดูแลและเร่งรัดการดำเนินการตามนโยบายการพัฒนาระบบบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ การขยายพื้นที่ชลประทาน และเพิ่มประสิทธิภาพระบบชลประทาน
3. ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่นายกรัฐมนตรีมอบหมาย
4. คณะกรรมการพัฒนาระบบการศึกษาและการเรียนรู้
องค์ประกอบ นายกรัฐมนตรี เป็นประธานกรรมการ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวง
ศึกษาธิการ (นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์) รองนายกรัฐมนตรี (นายสุรพงษ์ สืบวงศ์ลี) รองนายกรัฐมนตรี (นายสุวิทย์ คุณกิตติ) เป็นรองประธานกรรมการ กรรมการประกอบด้วย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (นายพงศกร อรรณนพพร) รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (นายบุญลือ ประเสริฐโสภา) ปลัดกระทรวงการคลัง ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา เลขาธิการนายกรัฐมนตรี โดยมีรองเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (นายกิติศักดิ์ สินธุวนิช) เป็นกรรมการและเลขานุการ รองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ และรองเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
อำนาจหน้าที่
1. กำหนดและขับเคลื่อนนโยบายการศึกษาไปสู่การปฏิบัติที่สำคัญ ได้แก่ การพัฒนาคุณภาพการศึกษาและครู การนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนการสอนและการเรียนรู้ การจัดหาอุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศให้กับนักเรียน นักศึกษา และเยาวชน เช่น อุปกรณ์คอมพิวเตอร์แบบพกพาราคาถูก เป็นต้น รวมทั้งการเพิ่มบทบาทของสถาบันการอาชีวศึกษาในการต่อยอดโครงการศูนย์ซ่อมสร้างเพื่อชุมชน
2. กำกับดูแลเร่งรัดการดำเนินการตามนโยบายการศึกษาทั้งนโยบายเร่งด่วนและนโยบายระยะ 4 ปีของรัฐบาล
3. ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่นายกรัฐมนตรีมอบหมาย
5. คณะกรรมการพัฒนาระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า
องค์ประกอบ นายกรัฐมนตรี เป็นประธานกรรมการ รองนายกรัฐมนตรี (นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์) รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง (นายสุรพงษ์ สืบวงศ์ลี) เป็นรองประธานกรรมการ กรรมการประกอบด้วย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข (นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล) รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (นายบุญลือ ประเสริฐโสภา) ปลัดกระทรวงการคลัง ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา ผู้อำนวยการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เลขาธิการนายกรัฐมนตรี โดยมีเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เป็นกรรมการและเลขานุการ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข และรองเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (นายกิติศักดิ์ สินธุวนิช) เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
อำนาจหน้าที่
1. กำหนดและขับเคลื่อนนโยบายการพัฒนาสุขภาพของประชาชนที่สำคัญ ได้แก่ การเพิ่มคุณภาพและประสิทธิภาพของระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าเพื่อให้ประชาชนเข้าถึงบริการได้อย่างไม่มีอุปสรรค เป็นต้น
2. กำกับดูแลและเร่งรัดการดำเนินการตามนโยบายการพัฒนาสุขภาพของประชาชน
3. ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่นายกรัฐมนตรีมอบหมาย
6. การแต่งตั้งรองเลขาธิการ ก.พ.ร. (นักบริหาร 10)
คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่สำนักงาน ก.พ.ร. เสนอให้แต่งตั้งข้าราชการดำรงตำแหน่งรองเลขาธิการ ก.พ.ร. (นักบริหาร 10 บส.) ดังนี้
1. นายอาวุธ วรรณวงศ์ รองเลขาธิการ ก.พ.ร. (นักบริหาร 9 บส.) เลื่อนขึ้นแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง รองเลขาธิการ ก.พ.ร. (นักบริหาร 10 บส.) ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 15 มกราคม 2551 เนื่องจากเป็นผู้ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง รองเลขาธิการ ก.พ.ร. อยู่ก่อนที่ ก.พ. จะมีมติปรับปรุงการกำหนดตำแหน่งรองเลขาธิการ ก.พ.ร. เป็นตำแหน่งนักบริหาร 10
2. นางสาวทัศนีย์ ดุสิตสุทธิรัตน์ ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาโครงสร้างระบบราชการ (นักพัฒนาระบบราชการ 9 บส.) เลื่อนขึ้นแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง รองเลขาธิการ ก.พ.ร. (นักบริหาร 10 บส.) ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2551
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นต้นไป
7. แต่งตั้งผู้รักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เสนอมอบหมายเป็นหลักการให้รัฐมนตรีเป็นผู้รักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ในกรณีที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ตามมาตรา 42 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 โดยให้ครอบคลุมถึงกรณีที่ไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ด้วย โดยมอบหมายให้รัฐมนตรีเป็นผู้รักษาราชการแทนตามลำดับ ดังนี้ 1. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม 2. รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายจักรภพ เพ็ญแข)
8. แต่งตั้งข้าราชการการเมือง (กระทรวงวัฒนธรรม)
คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมเสนอให้แต่งตั้ง นายปัญญา จีนาคำ เป็น ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม
9. แต่งตั้งข้าราชการการเมือง (กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี)
คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเสนอให้แต่งตั้ง นางรัตนาภรณ์ สมบูรณ์ เป็น ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
10. แต่งตั้งข้าราชการการเมืองตำแหน่งเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน
คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่กระทรวงพลังงานเสนอให้แต่งตั้ง นายพิสุทธิ์ ชลากรกุล เป็นเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน
11. แต่งตั้งข้าราชการการเมือง (สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี สำนักนายกรัฐมนตรี)
คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเสนอให้แต่งตั้ง นายปลอดประสพ สุรัสวดี เป็นข้าราชการการเมือง ตำแหน่งที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี
12. แต่งตั้งข้าราชการการเมือง (กระทรวงกลาโหม)
คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่กระทรวงกลาโหมเสนอให้แต่งตั้ง พล.อ. ขวัญชาติ กล้าหาญ ดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
13. แต่งตั้งข้าราชการการเมือง (กระทรวงเกษตรและสหกรณ์)
คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอให้แต่งตั้ง นายเสรี วงษ์มณฑา เป็นที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (นายสมพัฒน์ แก้วพิจิตร)
14. แต่งตั้งข้าราชการการเมือง (กระทรวงมหาดไทย)
คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอให้แต่งตั้ง นายจตุพัฒน์ บารมี เป็นผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
15. แต่งตั้งข้าราชการ (กระทรวงสาธารณสุข)
คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอให้แต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ ดำรงตำแหน่งระดับ 10 จำนวน 3 ราย ดังนี้
1. นายชาตรี บานชื่น อธิบดี (นักบริหาร 10) กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ดำรงตำแหน่งเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (นักบริหาร 10) สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข
2. นายเรวัต วิศรุตเวช ผู้ตรวจราชการกระทรวง (ผู้ตรวจราชการ 10) สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข ดำรงตำแหน่งอธิบดี (นักบริหาร 10) กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข
3. นายศิริวัฒน์ ทิพย์ธราดล เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (นักบริหาร 10) สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง (ผู้ตรวจราชการ 10) สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นต้นไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2551--จบ--
คณะรัฐมนตรีรับทราบคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 28/2551 เรื่อง มอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีรักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรีและมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติราชการแทนกัน อาศัยอำนาจตามความใน มาตรา 10 มาตรา 38 มาตรา 41 มาตรา 42 มาตรา 48 และมาตรา 49 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 และที่แก้ไขเพิ่มเติม นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2551 จึงมีคำสั่งมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีรักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรี และมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติราชการแทนกัน ดังต่อไปนี้
ส่วนที่ 1 คณะรัฐมนตรีมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีรักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรี
1. ในกรณีที่นายกรัฐมนตรีไม่อาจปฏิบัติราชการได้ คณะรัฐมนตรีมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีเป็นผู้รักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรี ตามลำดับ ดังนี้
1.1 นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์
1.2 นายสุรพงษ์ สืบวงศ์ลี
1.3 นายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ์
1.4 นายสหัส บัณฑิตกุล
1.5 พลตรี สนั่น ขจรประศาสน์
1.6 นายสุวิทย์ คุณกิตติ
2. ในระหว่างการรักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรี ผู้รักษาราชการแทนข้างต้น จะสั่งการใดเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลและการอนุมัติเงินงบประมาณอันอยู่ในอำนาจของนายกรัฐมนตรีได้ ต้องได้รับความเห็นชอบของนายกรัฐมนตรีเสียก่อน
ส่วนที่ 2 นายกรัฐมนตรีมอบหมายและมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรีปฏิบัติราชการ แทนนายกรัฐมนตรี
ในกรณีที่รองนายกรัฐมนตรีไม่อยู่หรือไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ให้รองนายกรัฐมนตรีปฏิบัติราชการแทนกันตามลำดับ ดังนี้
ลำดับที่ รองนายกรัฐมนตรี รองนายกรัฐมนตรีที่ปฏิบัติราชการแทนตามลำดับ
1. นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ 1. นายสุรพงษ์ สืบวงศ์ลี
2. นายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ์
2. นายสุรพงษ์ สืบวงศ์ลี 1. นายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ์
2. นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์
3. นายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ์ 1. นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์
2. นายสุรพงษ์ สืบวงศ์ลี
4. นายสหัส บัณฑิตกุล 1. นายสุรพงษ์ สืบวงศ์ลี
2. นายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ์
5. พลตรี สนั่น ขจรประศาสน์ 1. นายสุวิทย์ คุณกิตติ
2. นายสหัส บัณฑิตกุล
6. นายสุวิทย์ คุณกิตติ 1. พลตรี สนั่น ขจรประศาสน์
2. นายสหัส บัณฑิตกุล
ส่วนที่ 3 นายกรัฐมนตรีมอบหมายและมอบอำนาจให้รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี
ในกรณีที่รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีไม่อยู่หรือไม่อาจปฏิบัติราชการได้ให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติราชการแทนกัน ตามลำดับ ดังนี้
ลำดับที่ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
ที่ปฏิบัติราชการแทนตามลำดับ
1. นายชูศักดิ์ ศิรินิล 1. นายจักรภพ เพ็ญแข
2. นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์
2. นายจักรภพ เพ็ญแข 1. นายชูศักดิ์ ศิรินิล
2. นายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ์
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 เป็นต้นไป
2. คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 29 /2551 เรื่อง มอบหมายและมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการ
คณะรัฐมนตรีรับทราบคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 29 /2551 เรื่อง มอบหมายและมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการ
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 9 มาตรา 10 มาตรา 11 มาตรา 12 มาตรา 15 และมาตรา 38 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ที่แก้ไขเพิ่มเติมครั้งสุดท้ายโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ.2545 และพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2550 นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี จึงมีคำสั่งมอบหมายและมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ ตามกฎหมาย และระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ดังต่อไปนี้
ส่วนที่ 1
1. รองนายกรัฐมนตรี (นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์)
1.1 การมอบหมายและมอบอำนาจให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย ดังนี้
1.1.1 คณะกรรมการข้าราชการพลเรือน
1.1.2 คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ
1.1.3 คณะกรรมการส่งเสริมและประสานงานเยาวชนแห่งชาติ
1.1.4 คณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ
1.1.5 คณะกรรมการส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคมแห่งชาติ
1.1.6 คณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ
1.1.7 คณะกรรมการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
1.1.8 สภานายกสภาลูกเสือแห่งชาติ
1.2 การมอบหมายและมอบอำนาจให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ดังนี้
1.2.1 คณะกรรมการกองทุนเงินช่วยเหลือผู้ประสบสาธารณภัยสำนักนายกรัฐมนตรี
1.2.2 คณะกรรมการกำกับและติดตามการปฏิบัติราชการในภูมิภาค
1.2.3 คณะกรรมการจัดทำแผนการบริหารราชการแผ่นดิน
1.2.4 คณะกรรมการส่งเสริมและประสานงานสตรีและสถาบันครอบครัวแห่งชาติ
1.2.5 คณะกรรมการส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ
1.2.6 คณะกรรมการกำหนดนโยบายและกำกับดูแลกิจการประปาแห่งชาติ
1.2.7 คณะกรรมการสนับสนุนระบบการบริหารงานจังหวัดแบบบูรณาการ
1.2.8 คณะกรรมการพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติ
ส่วนที่ 2
2. รองนายกรัฐมนตรี (นายสุรพงษ์ สืบวงศ์ลี)
2.1 การมอบหมายและมอบอำนาจให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย ดังนี้
2.1.1 คณะกรรมการนโยบายทุนรัฐวิสาหกิจ
2.1.2 คณะกรรมการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ
2.1.3 คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ
2.1.4 คณะกรรมการอาหารแห่งชาติ
2.1.5 คณะกรรมการสุขภาพจิตแห่งชาติ
2.1.6 คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
2.2 การมอบหมายและมอบอำนาจให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ดังนี้
2.2.1 คณะกรรมการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
2.2.2 คณะกรรมการบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษถนนราชดำเนิน
2.2.3 คณะกรรมการกำกับนโยบายด้านรัฐวิสาหกิจ
2.2.4 คณะกรรมการบริหารสินเชื่อเกษตรแห่งชาติ
2.2.5 คณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์
ส่วนที่ 3
3. รองนายกรัฐมนตรี (นายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ์)
3.1 การมอบหมายและมอบอำนาจให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย ดังนี้
3.1.1 คณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
3.1.2 สภาวิจัยแห่งชาติ
3.2 การมอบหมายและมอบอำนาจให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ดังนี้
3.2.1 คณะกรรมการอำนวยการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์แห่งชาติ
3.2.2 คณะกรรมการอำนวยการจัดระบบศูนย์ราชการ
3.2.3 คณะกรรมการนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ
3.2.4 คณะกรรมการนโยบายและมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร
3.2.5 คณะกรรมการบริหารแรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมือง
ส่วนที่ 4
4. รองนายกรัฐมนตรี (นายสหัส บัณฑิตกุล)
4.1 การมอบหมายและมอบอำนาจให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย ดังนี้
4.1.1 คณะกรรมการพิจารณาการเสนอขอพระราชทาน
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์
4.1.2 คณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก
4.1.3 คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ
4.1.4 คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ
4.1.5 คณะกรรมการกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน
4.1.6 คณะกรรมการพลังงานปรมาณูเพื่อสันติ
4.1.7 คณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมแห่งชาติ
4.2 การมอบหมายและมอบอำนาจให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ดังนี้
4.2.1 คณะกรรมการพิจารณาการเสนอขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ชั้นสายสะพาย
4.2.2 คณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ
4.2.3 คณะกรรมการอนุรักษ์และพัฒนากรุงรัตนโกสินทร์และเมืองเก่า
4.2.4 คณะกรรมการนโยบายการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งชาติ
4.2.5 คณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
4.2.6 คณะกรรมการนโยบายนาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ
4.2.7 คณะกรรมการนโยบายเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ
4.2.8 คณะกรรมการภูมิสารสนเทศแห่งชาติ
ส่วนที่ 5
5. รองนายกรัฐมนตรี (พลตรี สนั่น ขจรประศาสน์)
5.1 การมอบหมายและมอบอำนาจให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย ดังนี้
5.1.1 คณะกรรมการนโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติ
5.1.2 คณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร
5.1.3 คณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน
5.2 การมอบหมายและมอบอำนาจให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ดังนี้
5.2.1 คณะกรรมการบริหารกองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ
5.2.2 คณะกรรมการบริหารกองทุนเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวไทย
5.2.3 คณะกรรมการช่วยเหลือเกษตรกรและผู้ยากจน
5.2.4 คณะกรรมการประสานงานและสนับสนุนงานโครงการหลวง
5.2.5 คณะกรรมการนโยบายและฟื้นฟูทะเลไทย
5.2.6 คณะกรรมการแก้ไขปัญหาการบุกรุกที่ดินของรัฐ
ส่วนที่ 6
6. รองนายกรัฐมนตรี (นายสุวิทย์ คุณกิตติ)
6.1 การมอบหมายและมอบอำนาจให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย ดังนี้
6.1.1 คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน
6.1.2 คณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
6.2 การมอบหมายและมอบอำนาจให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ดังนี้
6.2.1 คณะกรรมการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารแห่งชาติ
6.2.2 คณะกรรมการบริหารระบบการเตือนภัยพิบัติแห่งชาติ
6.2.3 คณะกรรมการพัฒนาอุตสาหกรรมแห่งชาติ
ส่วนที่ 7
7. รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายชูศักดิ์ ศิรินิล)
7.1 การมอบหมายและมอบอำนาจให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย ดังนี้
7.1.1 คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค
7.1.2 รองประธานกรรมการในคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ
7.2 การมอบหมายและมอบอำนาจให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ดังนี้
7.2.1 คณะกรรมการบริหารพนักงานราชการ
7.2.2 คณะกรรมการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการ
7.2.3 คณะกรรมการควบคุมการเรี่ยไรของหน่วยงานของรัฐ
ส่วนที่ 8
8. รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายจักรภพ เพ็ญแข)
8.1 การมอบหมายและมอบอำนาจให้ปฏิบัติหน้าที่ในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย ดังนี้
- คณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ
8.2 การมอบหมายและมอบอำนาจให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ดังนี้
8.2.1 คณะกรรมการประชาสัมพันธ์แห่งชาติ
8.2.2 คณะกรรมการพิจารณาการเสนอขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ชั้นต่ำกว่าสายสะพาย
8.2.3 รองประธานกรรมการในคณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ
ส่วนที่ 9
1. ให้รองนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ที่สั่งและปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรีในส่วนราชการใดเป็นประธาน อ.ก.พ. ทำหน้าที่ อ.ก.พ.กระทรวงของส่วนราชการนั้นด้วย ยกเว้น อ.ก.พ. สำนักนายกรัฐมนตรี ให้รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี(นายจักรภพ เพ็ญแข) เป็นประธาน
2. เมื่อรองนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีได้ดำเนินการตามที่ได้รับมอบหมายและมอบอำนาจแล้ว ให้รายงานนายกรัฐมนตรีทราบทุกสามสิบวัน
3. ให้รองนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีที่ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการในคณะกรรมการตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีในคำสั่งนี้ พิจารณาความจำเป็นและความเหมาะสมในการยุบเลิกคณะกรรมการดังกล่าวหากเห็นว่าหมดความจำเป็นหรือซ้ำซ้อนกับภารกิจของหน่วยงานอื่น หรืออาจยุบรวมคณะกรรมการชุดต่าง ๆ เข้าด้วยกัน หรือปรับปรุงองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการดังกล่าว โดยการยกเลิกหรือแก้ไขเพิ่มเติมระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง หรือจัดทำระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีขึ้นใหม่ โดยยึดหลักการมีผู้รับผิดชอบภารกิจอย่างชัดแจ้ง การไม่ปฏิบัติงานซ้ำซ้อนกัน และการบูรณาการภารกิจให้เกิดการประสานและสอดคล้องรองรับกัน แล้วเสนอผลการพิจารณาและข้อเสนอแนะ ตลอดจนร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีที่ขอแก้ไขเพิ่มเติมหรือจัดทำขึ้นใหม่ต่อคณะรัฐมนตรี ในกรณีที่เห็นควร ให้คงระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีนั้น ๆ ไว้ตามเดิมให้รายงานเหตุผลและความจำเป็นด้วยเช่นกัน
ทั้งนี้ ตั้งแต่ วันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 เป็นต้นไป
3. คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 30 /2551 เรื่อง มอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีกำกับและติดตามการปฏิบัติราชการในภูมิภาค
คณะรัฐมนตรีรับทราบคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 30 /2551 เรื่อง มอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีกำกับและติดตามการปฏิบัติราชการในภูมิภาค
โดยที่เป็นการสมควรมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีกำกับและติดตามการปฏิบัติราชการในภูมิภาค เพื่อประโยชน์ในการประสานติดตาม เร่งรัด ช่วยเหลือ และประเมินผลการปฏิบัติราชการในภูมิภาคให้บังเกิดประสิทธิภาพ เรียบร้อย รวดเร็ว เกิดประโยชน์สูงสุด สามารถตอบสนองความต้องการของประชาชนในพื้นที่ และแก้ไขปัญหาข้อขัดข้องต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในพื้นที่ได้อย่างรวดเร็ว รวมทั้งสามารถแปลงนโยบายของรัฐบาลไปสู่การปฏิบัติ ที่เป็นรูปธรรม โดยสมควรใช้พื้นที่เขตตรวจราชการของสำนักนายกรัฐมนตรีเป็นหลักอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 11 (1) และ (9) และมาตรา 38 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545 และ (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2550 และข้อ 13 ของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการกำกับและติดตามการปฏิบัติราชการในภูมิภาค พ.ศ. 2547 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2548 นายกรัฐมนตรี จึงมีคำสั่งมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีกำกับและติดตามการปฏิบัติราชการในภูมิภาค ดังต่อไปนี้
1. พื้นที่
1.1 รองนายกรัฐมนตรี (นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์) กำกับและติดตามการปฏิบัติราชการในพื้นที่ดังนี้
เขตตรวจราชการที่ 15 ของสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ลำปาง ลำพูน
เขตตรวจราชการที่ 16 ของสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แก่ จังหวัดน่าน พะเยา เชียงราย แพร่
เขตตรวจราชการที่ 17 ของสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แก่ จังหวัดตาก พิษณุโลก สุโขทัย เพชรบูรณ์ อุตรดิตถ์
1.2 รองนายกรัฐมนตรี (นายสุรพงษ์ สืบวงศ์ลี) กำกับและติดตามการปฏิบัติราชการในพื้นที่ดังนี้
เขตตรวจราชการที่ 13 ของสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แก่ จังหวัดอำนาจเจริญ ศรีสะเกษ ยโสธร อุบลราชธานี
เขตตรวจราชการที่ 14 ของสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แก่ จังหวัดสุรินทร์ นครราชสีมา บุรีรัมย์ ชัยภูมิ
1.3 รองนายกรัฐมนตรี (นายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ์) กำกับและติดตามการปฏิบัติราชการในพื้นที่ดังนี้
เขตตรวจราชการที่ 6 ของสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แก่ จังหวัดชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง
เขตตรวจราชการที่ 7 ของสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แก่ จังหวัดระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง
1.4 รองนายกรัฐมนตรี (นายสหัส บัณฑิตกุล) กำกับและติดตาม การปฏิบัติราชการในพื้นที่ดังนี้
เขตตรวจราชการที่ 1 ของสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แก่ จังหวัดนนทบุรี ปทุมธานี พระนครศรีอยุธยา สระบุรี
เขตตรวจราชการที่ 2 ของสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แก่ จังหวัดชัยนาท ลพบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง
เขตตรวจราชการที่ 8 ของสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แก่ จังหวัดสงขลา สตูล ปัตตานี ยะลา นราธิวาส
1.5 รองนายกรัฐมนตรี (พลตรี สนั่น ขจรประศาสน์) กำกับและติดตามการปฏิบัติราชการในพื้นที่ดังนี้
เขตตรวจราชการที่ 4 ของสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แก่ จังหวัดกาญจนบุรี นครปฐม ราชบุรี สุพรรณบุรี
เขตตรวจราชการที่ 18 ของสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แก่ จังหวัดกำแพงเพชร พิจิตร นครสวรรค์ อุทัยธานี
1.6 รองนายกรัฐมนตรี (นายสุวิทย์ คุณกิตติ) กำกับและติดตามการปฏิบัติราชการในพื้นที่ดังนี้
เขตตรวจราชการที่ 3 ของสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แก่ จังหวัดฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี สระแก้ว นครนายก สมุทรปราการ
เขตตรวจราชการที่ 12 ของสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แก่ จังหวัดร้อยเอ็ด ขอนแก่น มหาสารคาม กาฬสินธุ์
1.7 รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายชูศักดิ์ ศิรินิล) กำกับและติดตามการปฏิบัติราชการในพื้นที่ดังนี้
เขตตรวจราชการที่ 5 ของสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แก่ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เพชรบุรี สมุทรสาคร สุมทรสงคราม
เขตตรวจราชการที่ 9 ของสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แก่ จังหวัดจันทบุรี ชลบุรี ระยอง ตราด
1.8 รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายจักรภพ เพ็ญแข) กำกับและติดตามการปฏิบัติราชการในพื้นที่ดังนี้
เขตตรวจราชการที่ 10 ของสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แก่ จังหวัดหนองคาย เลย อุดรธานี หนองบัวลำภู
เขตตรวจราชการที่ 11 ของสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แก่ จังหวัดนครพนม มุกดาหาร สกลนคร
2. การกำกับและติดตามการปฏิบัติราชการในภูมิภาคตามคำสั่งนี้ หมายถึง การตรวจราชการ การขอให้เจ้าหน้าที่ของรัฐรายงานเหตุการณ์และผลการปฏิบัติงานตามนโยบายของรัฐบาลและนายกรัฐมนตรี ยุทธศาสตร์ของชาติ ยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัด และยุทธศาสตร์จังหวัด การประสานราชการเพื่อให้เกิดการบูรณาการยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัด และยุทธศาสตร์จังหวัด ไปสู่การปฏิบัติที่เป็นรูปธรรม การเร่งรัด การติดตามผล การให้คำแนะนำช่วยเหลือ เจ้าหน้าที่ของรัฐในพื้นที่ และการประเมินผลการปฏิบัติงานของหน่วยงานของรัฐและเจ้าหน้าที่ของรัฐ
3. ให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีรายงานปัญหา อุปสรรค แนวทางการแก้ไข ตลอดจนข้อเสนอแนะต่าง ๆ อันเนื่องจากการกำกับและติดตาม การปฏิบัติราชการในเขตตรวจราชการหรือพื้นที่ในความรับผิดชอบต่อนายกรัฐมนตรี
4. ให้สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีจัดให้ผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรีประจำเขตตรวจราชการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องเป็นฝ่ายเลขานุการของรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในกรณีที่รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีติดภารกิจจำเป็นเร่งด่วน สามารถมอบหมายให้ผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรีประจำเขตตรวจราชการปฏิบัติหน้าที่แทน แล้วรายงานผลการปฏิบัติงานให้ทราบต่อไป
5. ให้ผู้ว่าราชการจังหวัด ผู้ตรวจราชการกระทรวง และหัวหน้าส่วนราชการในจังหวัดที่เกี่ยวข้องเสนอข้อมูล อำนวยความสะดวก และให้ความร่วมมือในการปฏิบัติหน้าที่ตามคำสั่งนี้ด้วย
6. ให้เบิกค่าใช้จ่ายในการกำกับและติดตามการปฏิบัติราชการในภูมิภาคของรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีจากงบประมาณของสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี หมวดเงินอุดหนุนทั่วไป โครงการเพิ่มขีดสมรรถนะในการกำกับและติดตามการปฏิบัติราชการในภูมิภาคของรองนายกรัฐมนตรี
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 เป็นต้นไป
4. คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 31/2551 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี รวม 6 คณะ
คณะรัฐมนตรีรับทราบคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 31/2551 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี รวม 6 คณะ
โดยที่สมควรจัดให้การพิจารณาเรื่องต่าง ๆ ที่เสนอต่อคณะรัฐมนตรีมีการตรวจสอบ กลั่นกรองข้อมูล ความจำเป็น ความเหมาะสม และความสอดคล้องกับนโยบายของคณะรัฐมนตรีและรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยอย่างเป็นระบบและรอบคอบรัดกุม
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 11 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ประกอบกับมาตรา 5 แห่งพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการเสนอเรื่องและการประชุมคณะรัฐมนตรี พ.ศ. 2548 นายกรัฐมนตรีด้วยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีจึงมีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี รวม 6 คณะ โดยมีองค์ประกอบ อำนาจหน้าที่ และกลไกการปฏิบัติงาน ดังต่อไปนี้
1. คณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 1
1.1 องค์ประกอบ
1.1.1 รองนายกรัฐมนตรี ประธานกรรมการ
(นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์)
1.1.2 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย รองประธานกรรมการ
1.1.3 รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กรรมการ
(นายชูศักดิ์ ศิรินิล)
1.1.4 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคม กรรมการ
และความมั่นคงของมนุษย์
1.1.5 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม กรรมการ
1.1.6 ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและ กรรมการ
ความมั่นคงของมนุษย์
1.1.7 ปลัดกระทรวงมหาดไทย กรรมการ
1.1.8 ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม กรรมการ
1.1.9 ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กรรมการ
1.1.10 เลขาธิการคณะกรรมการ กรรมการ
ข้าราชการพลเรือน
1.1.11 เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนา กรรมการ
ระบบราชการ
1.1.12 เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการ กรรมการ
เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
1.1.13 เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา กรรมการ
1.1.14 ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ กรรมการ
1.1.15 ผู้อำนวยการสำนักพระพุทธศาสนา กรรมการ
แห่งชาติ
1.1.16 เลขาธิการคณะรัฐมนตรี เลขานุการ
1.1.17 รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ผู้ช่วยเลขานุการ
ฝ่ายการเมืองประจำรองนายกรัฐมนตรี
(นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์)
1.2 อำนาจหน้าที่
1.2.1 พิจารณากลั่นกรองเรื่องที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงวัฒนธรรม กระทรวงศึกษาธิการ สำนักงาน ก.พ. และสำนักงาน ก.พ.ร. ตลอดจนเรื่องที่นายกรัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย
1.2.2 ประเมิน วิเคราะห์ และเสนอแนะมาตรการหรือแนวทางตัดสินใจเชิงรุกตามนโยบายของคณะรัฐมนตรีด้านสังคม การศึกษา วัฒนธรรม และบทบัญญัติในหมวด 5 แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ มาตรา 78 มาตรา 80 และมาตรา 87 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับหน่วยงานตามข้อ 1.2.1 เพื่อเสนอคณะรัฐมนตรี
1.2.3 มีอำนาจเชิญรัฐมนตรี และหน่วยงานอื่น ๆ มาชี้แจง
1.3 กลไกการปฏิบัติงาน
1.3.1 ให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีจัดส่งเรื่องสำคัญในปัญหา ตามที่กระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานของรัฐ ตามข้อ 1.2.1 เสนอมาเพื่อ คณะรัฐมนตรีพิจารณาหรือเรื่องที่นายกรัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรีมอบหมายให้พิจารณา พร้อมทั้งความเห็นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและเอกสารประกอบ ให้คณะกรรมการดังกล่าว พิจารณากลั่นกรองก่อนที่จะนำเสนอคณะรัฐมนตรี
1.3.2 เรื่องสำคัญซึ่งจะต้องเสนอคณะกรรมการตามคำสั่งนี้ หมายถึงเรื่องที่มีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้
1.3.2.1 เรื่องที่เป็นปัญหาในเชิงนโยบายการบริหารราชการแผ่นดิน
1.3.2.2 เรื่องที่ต้องใช้งบประมาณดำเนินการเป็นจำนวนมาก
1.3.2.3 เรื่องที่กระทบต่อการปฏิบัติราชการของหลายหน่วยงาน
1.3.2.4 เรื่องที่หน่วยงานต่าง ๆ มีความเห็นไม่สอดคล้องกัน
1.3.2.5 เรื่องที่ยังไม่เคยมีระเบียบแบบแผนในการปฏิบัติมาก่อน
1.3.2.6 เรื่องที่อาจมีผลกระทบต่อการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ สังคม จิตวิทยา หรือความมั่นคงหรือเสถียรภาพทางเศรษฐกิจโดยรวมในส่วนที่เกี่ยวข้อง
1.3.2.7 เรื่องที่คณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรีคณะอื่น นายกรัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรีขอให้พิจารณา
1.3.3 รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ทุกคนจะเข้าร่วมประชุมคณะกรรมการดังกล่าวก็ได้ตามที่เห็นสมควร ในกรณีเช่นนี้ ให้รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีที่เข้าร่วมประชุมเป็นกรรมการด้วย ทั้งนี้ ให้ฝ่ายเลขานุการของคณะกรรมการจัดส่งระเบียบวาระการประชุมและเอกสารอื่น ๆ ให้รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีทุกคนทราบทุกครั้งด้วย
1.3.4 ให้เลขาธิการนายกรัฐมนตรี และโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากบุคคลดังกล่าวเข้าร่วมประชุมเป็นกรรมการด้วย ทั้งนี้ ให้ฝ่ายเลขานุการของคณะกรรมการจัดส่งระเบียบวาระการประชุมและเอกสารอื่น ๆ ให้บุคคลดังกล่าวทราบทุกครั้ง
1.3.5 คณะกรรมการมีอำนาจเชิญผู้แทนกระทรวง ทบวง กรม หน่วยงานของรัฐหรือบุคคลอื่นที่อาจให้ข้อมูลเข้าร่วมประชุมในปัญหาที่เกี่ยวข้องได้ตามที่เห็นสมควร
1.3.6 วัน เวลา สถานที่ และการประชุม ให้เป็นตามที่คณะกรรมการกำหนด
2. คณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 2
2.1 องค์ประกอบ
2.1.1 รองนายกรัฐมนตรี ประธานกรรมการ
(นายสุรพงษ์ สืบวงศ์ลี)
2.1.2 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข รองประธานกรรมการ
2.1.3 รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง กรรมการ
ที่ได้รับมอบหมายจาก
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
2.1.4 รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ กรรมการ
ที่ได้รับมอบหมายจาก
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
2.1.5 ปลัดกระทรวงการคลัง กรรมการ
2.1.6 ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กรรมการ
2.1.7 ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กรรมการ
2.1.8 ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม กรรมการ
2.1.9 เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา กรรมการ
2.1.10 ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ กรรมการ
2.1.11 ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย กรรมการ
2.1.12 เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการ เลขานุการ
เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
2.1.13 เลขาธิการคณะรัฐมนตรี ผู้ช่วยเลขานุการ
2.1.14 รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ผู้ช่วยเลขานุการ
ฝ่ายการเมืองประจำรองนายกรัฐมนตรี
(นายสุรพงษ์ สืบวงศ์ลี)
2.2 อำนาจหน้าที่
2.2.1 พิจารณากลั่นกรองเรื่องที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงการคลัง กระทรวงสาธารณสุข สำนักงบประมาณ และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ตลอดจนเรื่องที่นายกรัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย
2.2.2 ประเมิน วิเคราะห์ และเสนอแนะมาตรการหรือแนวทางตัดสินใจเชิงรุกตามนโยบายของคณะรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจ การสาธารณสุข และบทบัญญัติในหมวด 5 แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ มาตรา 78 มาตรา 80 มาตรา 83 มาตรา 84 และมาตรา 87 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับหน่วยงานตามข้อ 2.2.1 เพื่อเสนอคณะรัฐมนตรี
2.2.3 มีอำนาจเชิญรัฐมนตรีและหน่วยงานอื่น ๆ มาชี้แจง
2.3 กลไกการปฏิบัติงาน
2.3.1 ให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีจัดส่งเรื่องสำคัญในปัญหา ตามที่กระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานของรัฐ ตามข้อ 2.2.1 เสนอมาเพื่อ คณะรัฐมนตรีพิจารณาหรือเรื่องที่นายกรัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรีมอบหมายให้พิจารณา พร้อมทั้งความเห็นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและเอกสารประกอบให้คณะกรรมการดังกล่าว พิจารณากลั่นกรองก่อนที่จะนำเสนอคณะรัฐมนตรี
2.3.2 เรื่องสำคัญตามคำสั่งนี้ซึ่งจะต้องเสนอคณะกรรมการ หมายถึงเรื่องที่มีลักษณะตามข้อ 1.3.2 ข้างต้น
2.3.3 ให้นำข้อ 1.3.3 — ข้อ 1.3.6 ข้างต้น มาใช้บังคับด้วย
3. คณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 3
3.1 องค์ประกอบ
3.1.1 รองนายกรัฐมนตรี ประธานกรรมการ
(นายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ์)
3.1.2 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ รองประธานกรรมการ
3.1.3 รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กรรมการ
(นายชูศักดิ์ ศิรินิล)
3.1.4 รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กรรมการ
(นายจักรภพ เพ็ญแข)
3.1.5 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กรรมการ
3.1.6 รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง กรรมการ
ที่ได้รับมอบหมายจาก
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
3.1.7 ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี กรรมการ
3.1.8 ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ กรรมการ
3.1.9 ปลัดกระทรวงพาณิชย์ กรรมการ
3.1.10 ปลัดกระทรวงแรงงาน กรรมการ
3.1.11 เลขาธิการคณะกรรมการ กรรมการ
ข้าราชการพลเรือน
3.1.12 เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนา กรรมการ
ระบบราชการ
3.1.13 เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา กรรมการ
3.1.14 เลขาธิการคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค กรรมการ
3.1.15 เลขาธิการคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ กรรมการ
3.1.16 ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ กรรมการ
3.1.17 อธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ กรรมการ
3.1.18 กรรมการผู้อำนวยการใหญ่
บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) กรรมการ
3.1.19 เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนา เลขานุการ
การเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
3.1.20 เลขาธิการคณะรัฐมนตรี ผู้ช่วยเลขานุการ
3.1.21 รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ผู้ช่วยเลขานุการ
ฝ่ายการเมืองประจำรองนายกรัฐมนตรี
(นายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ์)
3.2 อำนาจหน้าที่
3.2.1 พิจารณากลั่นกรองเรื่องที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงแรงงาน สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ และกรมประชาสัมพันธ์ ตลอดจนเรื่องที่นายกรัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย
3.2.2 ประเมิน วิเคราะห์ และเสนอแนะมาตรการหรือแนวทาง ตัดสินใจเชิงรุกตามนโยบายของคณะรัฐมนตรีด้านการต่างประเทศ พาณิชย์ แรงงาน และบทบัญญัติในหมวด 5 แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ มาตรา 78 มาตรา 82 มาตรา 83 มาตรา 84 และมาตรา 87 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับหน่วยงานตามข้อ 3.2.1 เพื่อเสนอคณะรัฐมนตรี
3.2.3 มีอำนาจเชิญรัฐมนตรีและหน่วยงานอื่น ๆ มาชี้แจง
3.3 กลไกการปฏิบัติงาน
3.3.1 ให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีจัดส่งเรื่องสำคัญในปัญหา ตามที่กระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานของรัฐ ตามข้อ 2.2.1 เสนอมาเพื่อ คณะรัฐมนตรีพิจารณาหรือเรื่องที่นายกรัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรีมอบหมายให้พิจารณา พร้อมทั้งความเห็นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและเอกสารประกอบให้คณะกรรมการดังกล่าว พิจารณากลั่นกรองก่อนที่จะนำเสนอคณะรัฐมนตรี
3.3.2 เรื่องสำคัญตามคำสั่งนี้ซึ่งจะต้องเสนอคณะกรรมการ หมายถึงเรื่องที่มีลักษณะตามข้อ 1.3.2 ข้างต้น
3.3.3 ให้นำข้อ 1.3.3 — ข้อ 1.3.6 ข้างต้น มาใช้บังคับด้วย
4. คณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 4
4.1 องค์ประกอบ คณะที่ 4.1
4.1.1 รองนายกรัฐมนตรี ประธานกรรมการ
(นายสหัส บัณฑิตกุล)
4.1.2 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม รองประธานกรรมการ
4.1.3 รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กรรมการ
(นายชูศักดิ์ ศิรินิล)
4.1.4 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ กรรมการ
และสิ่งแวดล้อม
4.1.5 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน กรรมการ
4.1.6 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ กรรมการ
และเทคโนโลยี
4.1.7 รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและ กรรมการ
สหกรณ์ ที่ได้รับมอบหมายจาก
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
4.1.8 ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี กรรมการ
4.1.9 ปลัดกระทรวงการคลัง กรรมการ
4.1.10 ปลัดกระทรวงคมนาคม กรรมการ
4.1.11 ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ กรรมการ
และสิ่งแวดล้อม
4.1.12 ปลัดกระทรวงพลังงาน กรรมการ
4.1.13 ปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์ กรรมการ
และเทคโนโลยี
4.1.14 เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนา กรรมการ
การเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
4.1.15 เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา กรรมการ
4.1.16 เลขาธิการคณะกรรมการพิเศษ กรรมการ
เพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจาก
พระราชดำริ
4.1.17 ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ กรรมการ
4.1.18 เลขาธิการคณะรัฐมนตรี เลขานุการ
4.1.19 รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ผู้ช่วยเลขานุการ
ฝ่ายการเมืองประจำรองนายกรัฐมนตรี
(นายสหัส บัณฑิตกุล)
4.2 องค์ประกอบ คณะที่ 4.2
4.2.1 รองนายกรัฐมนตรี ประธานกรรมการ
(นายสหัส บัณฑิตกุล)
4.2.2 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม รองประธานกรรมการ
4.2.3 รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย กรรมการ
ที่ได้รับมอบหมายจาก
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
4.2.4 ปลัดกระทรวงกลาโหม กรรมการ
4.2.5 ปลัดกระทรวงมหาดไทย กรรมการ
4.2.6 ปลัดกระทรวงยุติธรรม กรรมการ
4.1.7 เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนา กรรมการ
การเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
4.2.8 เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา กรรมการ
4.2.9 ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ กรรมการ
4.2.10 ผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ กรรมการ
4.2.11 ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ กรรมการ
4.2.12 เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ เลขานุการ
4.2.13 เลขาธิการคณะรัฐมนตรี ผู้ช่วยเลขานุการ
4.2.14 รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ผู้ช่วยเลขานุการ
ฝ่ายการเมืองประจำรองนายกรัฐมนตรี
(นายสหัส บัณฑิตกุล)
4.3 อำนาจหน้าที่
4.3.1 คณะกรรมการกลั่นกรอง ฯ คณะที่ 4.1 พิจารณากลั่นกรองเรื่องที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงคมนาคม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงพลังงาน กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ราชบัณฑิตยสถาน และองค์กรอิสระต่างๆ ตลอดจนเรื่องที่นายกรัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย
4.3.2 คณะกรรมการกลั่นกรอง ฯ คณะที่ 4.2 พิจารณากลั่นกรองเรื่องที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงกลาโหม กระทรวงยุติธรรม สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ สำนักข่าวกรองแห่งชาติ และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ตลอดจนเรื่องที่นายกรัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย
4.3.3 ประเมิน วิเคราะห์ และเสนอแนะมาตรการหรือแนวทาง ตัดสินใจเชิงรุกตามนโยบายของคณะรัฐมนตรีด้านความมั่นคงของรัฐ ศาสนา ที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม คมนาคม วิทยาศาสตร์ พลังงาน กฎหมายและกระบวนการยุติธรรม และบทบัญญัติในหมวด 5 แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ มาตรา 77มาตรา 78 มาตรา 81 มาตรา 85 มาตรา 86 และมาตรา 87 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับหน่วยงานตามข้อ 4.3.1 และข้อ 4.3.2 เพื่อเสนอคณะรัฐมนตรี
4.3.4 มีอำนาจเชิญรัฐมนตรีและหน่วยงานอื่น ๆ มาชี้แจง
4.4 กลไกการปฏิบัติงาน
4.4.1 ให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีจัดส่งเรื่องสำคัญในปัญหา ตามที่กระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานของรัฐ ตามข้อ 4.3.1 และข้อ 4.3.2 เสนอมา เพื่อคณะรัฐมนตรีพิจารณาหรือเรื่องที่นายกรัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรีมอบหมายให้พิจารณา พร้อมทั้งความเห็นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและเอกสารประกอบให้คณะกรรมการดังกล่าว พิจารณากลั่นกรองก่อนที่จะนำเสนอคณะรัฐมนตรี
4.4.2 เรื่องสำคัญตามคำสั่งนี้ซึ่งจะต้องเสนอคณะกรรมการ หมายถึงเรื่องที่มีลักษณะตามข้อ 1.3.2 ข้างต้น
4.4.3 ให้นำข้อ 1.3.3 — ข้อ 1.3.6 ข้างต้น มาใช้บังคับด้วย
5. คณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 5
5.1 องค์ประกอบ
5.1.1 รองนายกรัฐมนตรี ประธานกรรมการ
(พลตรี สนั่น ขจรประศาสน์)
5.1.2 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร รองประธานกรรมการ
และสหกรณ์
5.1.3 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยว กรรมการ
และกีฬา
5.1.4 รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม กรรมการ
ที่ได้รับมอบหมายจาก
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
5.1.5 รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย กรรมการ
ที่ได้รับมอบหมายจาก
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
5.1.6 ปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กรรมการ
5.1.7 ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กรรมการ
5.1.8 เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการ กรรมการ
เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
5.1.9 เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา กรรมการ
5.1.10 ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ กรรมการ
5.1.11 ผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย กรรมการ
5.1.12 ผู้ว่าการการกีฬาแห่งประเทศไทย กรรมการ
5.1.13 เลขาธิการคณะรัฐมนตรี เลขานุการ
5.1.14 รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ผู้ช่วยเลขานุการ
ฝ่ายการเมืองประจำรองนายกรัฐมนตรี
(พลตรี สนั่น ขจรประศาสน์)
5.2 อำนาจหน้าที่
5.2.1 พิจารณากลั่นกรองเรื่องที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ตลอดจนเรื่องที่นายกรัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย
5.2.2 ประเมิน วิเคราะห์ และเสนอแนะมาตรการหรือแนวทาง ตัดสินใจเชิงรุกตามนโยบายของคณะรัฐมนตรีด้านการท่องเที่ยวและกีฬา การเกษตรและสหกรณ์ และบทบัญญัติในหมวด 5 แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ มาตรา 78 มาตรา 85 และมาตรา 87 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับหน่วยงานตามข้อ 5.2.1 เพื่อเสนอคณะรัฐมนตรี
5.2.3 มีอำนาจเชิญรัฐมนตรีและหน่วยงานอื่น ๆ มาชี้แจง
5.3 กลไกการปฏิบัติงาน
5.3.1 ให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีจัดส่งเรื่องสำคัญในปัญหา ตามที่กระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานของรัฐ ตามข้อ 5.2.1 เสนอมาเพื่อ คณะรัฐมนตรีพิจารณาหรือเรื่องที่นายกรัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรีมอบหมายให้พิจารณา พร้อมทั้งความเห็นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและเอกสารประกอบให้คณะกรรมการดังกล่าว พิจารณากลั่นกรองก่อนที่จะนำเสนอคณะรัฐมนตรี
5.3.2 เรื่องสำคัญตามคำสั่งนี้ซึ่งจะต้องเสนอคณะกรรมการ หมายถึงเรื่องที่มีลักษณะตามข้อ 1.3.2 ข้างต้น
5.3.3 ให้นำข้อ 1.3.3 — ข้อ 1.3.6 ข้างต้น มาใช้บังคับด้วย
6. คณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 6
6.1 องค์ประกอบ
6.1.1 รองนายกรัฐมนตรี ประธานกรรมการ
(นายสุวิทย์ คุณกิตติ)
6.1.2 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยี รองประธานกรรมการ
สารสนเทศและการสื่อสาร
6.1.3 รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตร กรรมการ
และสหกรณ์ ที่ได้รับมอบหมายจาก
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
6.1.4 รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ กรรมการ
ที่ได้รับมอบหมายจาก
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
6.1.5 ปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศ กรรมการ
และการสื่อสาร
6.1.6 ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม กรรมการ
6.1.7 เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนา กรรมการ
การเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
6.1.8 เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา กรรมการ
6.1.9 เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน กรรมการ
6.1.10 ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ กรรมการ
6.1.11 เลขาธิการคณะรัฐมนตรี เลขานุการ
6.1.12 รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ผู้ช่วยเลขานุการ
ฝ่ายการเมืองประจำรองนายกรัฐมนตรี
(นายสุวิทย์ คุณกิตติ)
6.2 อำนาจหน้าที่
6.2.1 พิจารณากลั่นกรองเรื่องที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และกระทรวงอุตสาหกรรม ตลอดจนเรื่องที่นายกรัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย
6.2.2 ประเมิน วิเคราะห์ และเสนอแนะมาตรการหรือแนวทาง ตัดสินใจเชิงรุกตามนโยบายของคณะรัฐมนตรีด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร อุตสาหกรรม และบทบัญญัติในหมวด 5 แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ มาตรา 78 มาตรา 86 และมาตรา 87 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับหน่วยงาน ตามข้อ 6.2.1 เพื่อเสนอคณะรัฐมนตรี
6.2.3 มีอำนาจเชิญรัฐมนตรีและหน่วยงานอื่น ๆ มาชี้แจง
6.3 กลไกการปฏิบัติงาน
6.3.1 ให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีจัดส่งเรื่องสำคัญในปัญหา ตามที่กระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานของรัฐ ตามข้อ 6.2.1 เสนอมาเพื่อ คณะรัฐมนตรีพิจารณาหรือเรื่องที่นายกรัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรีมอบหมายให้พิจารณา พร้อมทั้งความเห็นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและเอกสารประกอบให้คณะกรรมการดังกล่าว พิจารณากลั่นกรองก่อนที่จะนำเสนอคณะรัฐมนตรี
6.3.2 เรื่องสำคัญตามคำสั่งนี้ซึ่งจะต้องเสนอคณะกรรมการ หมายถึงเรื่องที่มีลักษณะตามข้อ 1.3.2 ข้างต้น
6.3.3 ให้นำข้อ 1.3.3 — ข้อ 1.3.6 ข้างต้น มาใช้บังคับด้วย
7. ให้มีการประชุมคณะกรรมการกลั่นกรอง ฯ อย่างน้อยเดือนละหนึ่งครั้ง เว้นแต่ไม่มีเรื่องเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรอง ฯ
ในกรณีที่ประธานกรรมการกลั่นกรอง ฯ ไม่อยู่ หรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้รองประธานกรรมการกลั่นกรอง ฯ เป็นผู้นัดประชุมและปฏิบัติหน้าที่เป็นประธานกรรมการกลั่นกรอง ฯ แทน เว้นแต่ในกรณีที่รองนายกรัฐมนตรีเข้าร่วมประชุม ให้รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานที่ประชุมคราวนั้นแทนรองประธานกรรมการกลั่นกรอง ฯ หากรองนายกรัฐมนตรี เข้าร่วมประชุมหลายคน ให้รองนายกรัฐมนตรีผู้อยู่ในลำดับต้นของคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 19/2551 ลงวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2551 เรื่อง มอบหมายและมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน
8. เมื่อคณะกรรมการกลั่นกรองฯ มีมติเป็นประการใด ให้นำเสนอ นายกรัฐมนตรีอนุมัติและเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบหรือพิจารณา แล้วแต่กรณี เว้นแต่ นายกรัฐมนตรีจะเห็นควรดำเนินการเป็นประการอื่น ก็ให้ดำเนินการตามมตินั้น
ให้ประธานกรรมการ หรือรองนายกรัฐมนตรีที่ทำหน้าที่ประธานที่ประชุมคราวนั้น หรือรองประธานกรรมการเป็นผู้ลงนามในบันทึกเสนอมติคณะกรรมการกลั่นกรอง ฯ ต่อนายกรัฐมนตรี
9. ในกรณีที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวง ซึ่งเป็นกรรมการในคณะกรรมการกลั่นกรอง ฯ ไม่อาจเข้าประชุมได้ ให้มอบหมายรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเข้าประชุมแทน และหากจำเป็นอาจพิจารณามอบหมายให้ผู้บังคับบัญชาระดับสูง ซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบและรู้ข้อมูล เกี่ยวกับเรื่องที่คณะกรรมการกลั่นกรอง ฯ จะพิจารณาเป็นอย่างดี เป็นผู้เข้าประชุมแทน
ในกรณีที่ปลัดกระทรวง เลขาธิการ ผู้อำนวยการหรือตำแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่น ซึ่งเป็นกรรมการในคณะกรรมการกลั่นกรอง ฯ ไม่อาจเข้าประชุมได้ ให้มอบหมายรองปลัดกระทรวง รองเลขาธิการ รองผู้อำนวยการ หรือรองหัวหน้าส่วนราชการหรือหน่วยงานนั้น แล้วแต่กรณี เป็นผู้เข้าประชุมแทน
10. ในกรณีเห็นสมควร คณะกรรมการกลั่นกรอง ฯ ตามคำสั่งนี้จะจัดให้มี การประชุมคณะกรรมการกลั่นกรอง ฯ หลายคณะร่วมกัน เพื่อพิจารณาปัญหาคาบเกี่ยว ให้เกิดความรอบคอบ ชัดเจน และมีการประสานสอดคล้องกันก็ได้
11. เรื่องใดที่ประธานกรรมการกลั่นกรองฯ คณะใดเห็นว่าเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้อง หรืออยู่ในอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการกลั่นกรอง ฯ คณะอื่นที่ไม่ใช่คณะของตน ให้ประธานกรรมการกลั่นกรองฯ คณะนั้นมีอำนาจสั่งการให้เสนอคณะกรรมการกลั่นกรอง ฯ ตามที่เห็นสมควรเป็นผู้พิจารณาได้
12. ให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีและสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี อำนวยความสะดวกในการประชุมคณะกรรมการทุกคณะตามคำสั่งนี้ และมีอำนาจออกระเบียบ หรือคำสั่งที่จำเป็นเพื่อให้การปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ฝ่ายเลขานุการเป็นไปด้วยความเรียบร้อย
13. ในกรณีที่มีปัญหาสำคัญเกี่ยวกับการปฏิบัติตามคำสั่งนี้ สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอาจขอให้นายกรัฐมนตรีวินิจฉัยหรือสั่งการ ตามที่เห็นสมควรได้
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 เป็นต้นไป
5. เรื่อง การแต่งตั้งคณะกรรมการกำกับและขับเคลื่อนนโยบายรัฐบาล 5 คณะ
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบให้แต่งตั้งคณะกรรมการกำกับและขับเคลื่อนนโยบายรัฐบาล รวม 5 คณะ ตามที่เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอ โดยให้ปรับปรุงองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการดังกล่าว ดังนี้
1. คณะกรรมการพัฒนาระบบขนส่งทางอากาศและท่าอากาศยาน ให้เพิ่มปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาเป็นกรรมการ
2. คณะกรรมการพัฒนาระบบการศึกษาและการเรียนรู้
2.1 ให้เพิ่มรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเป็นกรรมการ
2.2 ให้เพิ่มอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการฯ จากเดิม “กำหนดและขับเคลื่อนนโยบายการศึกษาไปสู่การปฏิบัติที่สำคัญ ได้แก่ การนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ ...” เป็น “กำหนดและขับเคลื่อนนโยบายการศึกษาไปสู่การปฏิบัติที่สำคัญ ได้แก่ การพัฒนาคุณภาพการศึกษาและครู การนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ ...”
3. คณะกรรมการพัฒนาระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ให้เพิ่มเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา เป็นกรรมการ
1. คณะกรรมการพัฒนาระบบขนส่งทางอากาศและท่าอากาศยาน
องค์ประกอบ นายกรัฐมนตรี เป็นประธานกรรมการ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง (นายสุรพงษ์ สืบวงศ์ลี) และรองนายกรัฐมนตรี (นายสหัส บัณฑิตกุล) เป็นรองประธานกรรมการ กรรมการประกอบด้วย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม (นายทรงศักดิ์ ทองศรี) ปลัดกระทรวงการคลัง ปลัดกระทรวงคมนาคม ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา เลขาธิการนายกรัฐมนตรี โดยมีเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เป็นกรรมการและเลขานุการ อธิบดีกรมขนส่งทางอากาศและรองเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ) เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
อำนาจหน้าที่
1. กำหนดและขับเคลื่อนนโยบายไปสู่การปฏิบัติ ได้แก่ นโยบายการพัฒนาท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ท่าอากาศยานภูมิภาค และอุตสาหกรรมการบินของไทย เพื่อให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการบิน การท่องเที่ยว และ การขนส่งสินค้าทางอากาศชั้นนำของเอเซียและโลก
2. กำกับดูแล เร่งรัดการแก้ไขปัญหา และพัฒนาท่าอากาศยานไทยไปสู่การเป็นศูนย์กลางการบินของภูมิภาคเอเซียและของโลก
3. ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่นายกรัฐมนตรีมอบหมาย
2. คณะกรรมการพัฒนาระบบขนส่งทางรางและระบบขนส่งมวลชน
องค์ประกอบ นายกรัฐมนตรี เป็นประธานกรรมการ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง (นายสุรพงษ์ สืบวงศ์ลี) และรองนายกรัฐมนตรี (นายสหัส บัณฑิตกุล) เป็นรองประธานกรรมการ กรรมการประกอบด้วย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม (นายทรงศักดิ์ ทองศรี) ปลัดกระทรวงการคลัง ปลัดกระทรวงคมนาคม ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ปลัดกระทรวงมหาดไทย ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย ผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย เลขาธิการนายกรัฐมนตรี โดยมีเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เป็นกรรมการและเลขานุการ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร และรองเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ) เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
อำนาจหน้าที่
1. กำหนดและขับเคลื่อนนโยบายไปสู่การปฏิบัติ ได้แก่ นโยบายการพัฒนาระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล รถไฟความเร็วสูง รถไฟทางคู่ รถไฟชานเมือง และรถไฟเชื่อมโยงระหว่างจังหวัด และนโยบายการพัฒนาระบบคมนาคมขนส่งและเชื่อมโยงโครงข่ายการบริหารจัดการขนส่งมวลชนสินค้าและบริการ
2. กำกับดูแลและเร่งรัดการดำเนินการตามนโยบายพัฒนาระบบขนส่งมวลชนในกรุงเทพมหานคร และปริมาณ และระบบคมนาคมขนส่งเชื่อมโยงหลายรูปแบบ
3. ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่นายกรัฐมนตรีมอบหมาย
3. คณะกรรมการพัฒนาและบริหารจัดการทรัพยากรน้ำและการชลประทาน
องค์ประกอบ นายกรัฐมนตรี เป็นประธานกรรมการ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง (นายสุรพงษ์ สืบวงศ์ลี) รองนายกรัฐมนตรี (นายสหัส บัณฑิตกุล) รองนายกรัฐมนตรี (พลตรี สนั่น ขจรประศาสน์) เป็นรองประธานกรรมการ กรรมการประกอบด้วย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (นายสมพัฒน์ แก้วพิจิตร) รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (นายธีระชัย แสนแก้ว) ปลัดกระทรวงการคลัง ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ปลัดกระทรวงมหาดไทย ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา เลขาธิการนายกรัฐมนตรี โดยมีเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เป็นกรรมการและเลขานุการ อธิบดีกรมชลประทาน อธิบดีกรมทรัพยากรน้ำ และรองเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (นางจุฑามาศ บาระมีชัย) เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
อำนาจหน้าที่
1. กำหนดและขับเคลื่อนนโยบายการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ การขยายพื้นที่ชลประทาน และเพิ่มประสิทธิภาพระบบชลประทานไปสู่การปฏิบัติ
2. กำกับดูแลและเร่งรัดการดำเนินการตามนโยบายการพัฒนาระบบบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ การขยายพื้นที่ชลประทาน และเพิ่มประสิทธิภาพระบบชลประทาน
3. ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่นายกรัฐมนตรีมอบหมาย
4. คณะกรรมการพัฒนาระบบการศึกษาและการเรียนรู้
องค์ประกอบ นายกรัฐมนตรี เป็นประธานกรรมการ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวง
ศึกษาธิการ (นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์) รองนายกรัฐมนตรี (นายสุรพงษ์ สืบวงศ์ลี) รองนายกรัฐมนตรี (นายสุวิทย์ คุณกิตติ) เป็นรองประธานกรรมการ กรรมการประกอบด้วย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (นายพงศกร อรรณนพพร) รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (นายบุญลือ ประเสริฐโสภา) ปลัดกระทรวงการคลัง ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา เลขาธิการนายกรัฐมนตรี โดยมีรองเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (นายกิติศักดิ์ สินธุวนิช) เป็นกรรมการและเลขานุการ รองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ และรองเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
อำนาจหน้าที่
1. กำหนดและขับเคลื่อนนโยบายการศึกษาไปสู่การปฏิบัติที่สำคัญ ได้แก่ การพัฒนาคุณภาพการศึกษาและครู การนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนการสอนและการเรียนรู้ การจัดหาอุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศให้กับนักเรียน นักศึกษา และเยาวชน เช่น อุปกรณ์คอมพิวเตอร์แบบพกพาราคาถูก เป็นต้น รวมทั้งการเพิ่มบทบาทของสถาบันการอาชีวศึกษาในการต่อยอดโครงการศูนย์ซ่อมสร้างเพื่อชุมชน
2. กำกับดูแลเร่งรัดการดำเนินการตามนโยบายการศึกษาทั้งนโยบายเร่งด่วนและนโยบายระยะ 4 ปีของรัฐบาล
3. ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่นายกรัฐมนตรีมอบหมาย
5. คณะกรรมการพัฒนาระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า
องค์ประกอบ นายกรัฐมนตรี เป็นประธานกรรมการ รองนายกรัฐมนตรี (นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์) รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง (นายสุรพงษ์ สืบวงศ์ลี) เป็นรองประธานกรรมการ กรรมการประกอบด้วย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข (นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล) รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (นายบุญลือ ประเสริฐโสภา) ปลัดกระทรวงการคลัง ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา ผู้อำนวยการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เลขาธิการนายกรัฐมนตรี โดยมีเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เป็นกรรมการและเลขานุการ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข และรองเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (นายกิติศักดิ์ สินธุวนิช) เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
อำนาจหน้าที่
1. กำหนดและขับเคลื่อนนโยบายการพัฒนาสุขภาพของประชาชนที่สำคัญ ได้แก่ การเพิ่มคุณภาพและประสิทธิภาพของระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าเพื่อให้ประชาชนเข้าถึงบริการได้อย่างไม่มีอุปสรรค เป็นต้น
2. กำกับดูแลและเร่งรัดการดำเนินการตามนโยบายการพัฒนาสุขภาพของประชาชน
3. ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่นายกรัฐมนตรีมอบหมาย
6. การแต่งตั้งรองเลขาธิการ ก.พ.ร. (นักบริหาร 10)
คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่สำนักงาน ก.พ.ร. เสนอให้แต่งตั้งข้าราชการดำรงตำแหน่งรองเลขาธิการ ก.พ.ร. (นักบริหาร 10 บส.) ดังนี้
1. นายอาวุธ วรรณวงศ์ รองเลขาธิการ ก.พ.ร. (นักบริหาร 9 บส.) เลื่อนขึ้นแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง รองเลขาธิการ ก.พ.ร. (นักบริหาร 10 บส.) ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 15 มกราคม 2551 เนื่องจากเป็นผู้ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง รองเลขาธิการ ก.พ.ร. อยู่ก่อนที่ ก.พ. จะมีมติปรับปรุงการกำหนดตำแหน่งรองเลขาธิการ ก.พ.ร. เป็นตำแหน่งนักบริหาร 10
2. นางสาวทัศนีย์ ดุสิตสุทธิรัตน์ ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาโครงสร้างระบบราชการ (นักพัฒนาระบบราชการ 9 บส.) เลื่อนขึ้นแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง รองเลขาธิการ ก.พ.ร. (นักบริหาร 10 บส.) ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2551
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นต้นไป
7. แต่งตั้งผู้รักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เสนอมอบหมายเป็นหลักการให้รัฐมนตรีเป็นผู้รักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ในกรณีที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ตามมาตรา 42 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 โดยให้ครอบคลุมถึงกรณีที่ไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ด้วย โดยมอบหมายให้รัฐมนตรีเป็นผู้รักษาราชการแทนตามลำดับ ดังนี้ 1. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม 2. รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายจักรภพ เพ็ญแข)
8. แต่งตั้งข้าราชการการเมือง (กระทรวงวัฒนธรรม)
คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมเสนอให้แต่งตั้ง นายปัญญา จีนาคำ เป็น ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม
9. แต่งตั้งข้าราชการการเมือง (กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี)
คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเสนอให้แต่งตั้ง นางรัตนาภรณ์ สมบูรณ์ เป็น ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
10. แต่งตั้งข้าราชการการเมืองตำแหน่งเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน
คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่กระทรวงพลังงานเสนอให้แต่งตั้ง นายพิสุทธิ์ ชลากรกุล เป็นเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน
11. แต่งตั้งข้าราชการการเมือง (สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี สำนักนายกรัฐมนตรี)
คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเสนอให้แต่งตั้ง นายปลอดประสพ สุรัสวดี เป็นข้าราชการการเมือง ตำแหน่งที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี
12. แต่งตั้งข้าราชการการเมือง (กระทรวงกลาโหม)
คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่กระทรวงกลาโหมเสนอให้แต่งตั้ง พล.อ. ขวัญชาติ กล้าหาญ ดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
13. แต่งตั้งข้าราชการการเมือง (กระทรวงเกษตรและสหกรณ์)
คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอให้แต่งตั้ง นายเสรี วงษ์มณฑา เป็นที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (นายสมพัฒน์ แก้วพิจิตร)
14. แต่งตั้งข้าราชการการเมือง (กระทรวงมหาดไทย)
คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอให้แต่งตั้ง นายจตุพัฒน์ บารมี เป็นผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
15. แต่งตั้งข้าราชการ (กระทรวงสาธารณสุข)
คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอให้แต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ ดำรงตำแหน่งระดับ 10 จำนวน 3 ราย ดังนี้
1. นายชาตรี บานชื่น อธิบดี (นักบริหาร 10) กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ดำรงตำแหน่งเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (นักบริหาร 10) สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข
2. นายเรวัต วิศรุตเวช ผู้ตรวจราชการกระทรวง (ผู้ตรวจราชการ 10) สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข ดำรงตำแหน่งอธิบดี (นักบริหาร 10) กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข
3. นายศิริวัฒน์ ทิพย์ธราดล เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (นักบริหาร 10) สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง (ผู้ตรวจราชการ 10) สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นต้นไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2551--จบ--