คณะรัฐมนตรีพิจารณาการบูรณาการจัดทำแผนที่บริเวณที่เกิดธรณีพิบัติ ตามที่ศูนย์อำนวยการต่อสู้เพื่อเอาชนะความยากจนแห่งชาติเสนอ แล้วมีมติดังนี้
1. มอบหมายให้ศูนย์อำนวยการต่อสู้เพื่อเอาชนะความยากจนแห่งชาติ (ศตจ.) ร่วมกับกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กรมพัฒนาที่ดิน และทุกหน่วยที่เกี่ยวข้อง พิจารณาบูรณาการการจัดทำแผนที่ฐาน (Bass Map) ในพื้นที่ 6 จังหวัดที่เกิดธรณีพิบัติ โดยใช้งบประมาณกลางปี 2547 งวด 2 ตามที่คณะรัฐมนตรีเคยอนุมัติไว้แล้วจาก ศตจ. และให้ดำเนินการให้แล้วเสร็จโดยเร็วที่สุด
2. ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ปรับแผนการดำเนินการจัดทำแผนที่ภาพถ่ายทางอากาศ ปี 2509 และปี 2527 จากการดำเนินการในพื้นที่อื่นให้มาทำในพื้นที่ 6 จังหวัดที่เกิดเหตุธรณีพิบัติก่อน
3. ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ปรับแผนการดำเนินการจัดทำแผนที่ออร์โธสี มาตราส่วน 1: 4,000 จากการดำเนินการในพื้นที่อื่นให้มาทำในพื้นที่ 6 จังหวัดที่เกิดเหตุธรณีพิบัติก่อน
4. ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องขอรับข้อมูลแผนที่ฐานที่มีอยู่จากหน่วยผู้จัดทำ เพื่อนำไปใช้ปฏิบัติงานตามภารกิจในพื้นที่ 6 จังหวัดไปก่อน ส่วนแผนที่ฐานที่ได้บูรณาการในข้อ 1 เมื่อดำเนินการพื้นที่จังหวัดใดแล้วเสร็จ ให้จัดส่งให้กระทรวงมหาดไทยเพื่อประกาศให้ประชาชนทราบโดยทั่วกันและให้ส่งหน่วยที่ต้องการใช้ทันที
ศูนย์อำนวยการต่อสู้เพื่อเอาชนะความยากจนแห่งชาติรายงานว่า จากเหตุการณ์ธรณีพิบัติใน 6 จังหวัดภาคใต้ ได้ส่งผลกระทบต่อประชาชนทำให้ไร้ที่อยู่อาศัย ประชาชนสูญหาย ทรัพย์สินต่าง ๆ ของประชาชนได้รับความ
เสียหาย ตลอดจนทำให้ประชาชนเหล่านี้ประสบปัญหาความยากจน ที่จำเป็นจะต้องรีบเข้าไปดำเนินการช่วยเหลือ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผลจากธรณีพิบัติดังกล่าว ได้ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในเรื่องของที่ดิน การถือครองที่ดิน และกรรมสิทธิ์ที่ดินต่าง ๆ
ดังนั้น เพื่อให้การดำเนินการจัดทำแผนที่บริเวณพื้นที่ที่เกิดภัยพิบัติไดัจัดทำอย่างบูรณาการ ลดปัญหา การซ้ำซ้อน เห็นควรดำเนินการดังนี้
1. ดำเนินการบูรณาการจัดทำแผนที่ฐานข้อมูลจากภาพถ่ายทางอากาศ ดังนี้
1.1 แผนที่ภาพถ่ายปี 2509 และปี 2527 เจ้าของภาพถ่ายคือกรมแผนที่ทหาร ผู้จัดทำแผนที่คือ สำนักงานปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สป.ทส) ได้รับอนุมัติงบประมาณและลงนามในสัญญาแล้ว ขณะนี้กำลังดำเนินการจัดทำอยู่
1.2 แผนที่ภาพถ่ายออร์โธสี มาตราส่วน 1: 4,000 ปี 2544 เจ้าของภาพถ่ายคือกระทรวงเกษตรและ สหกรณ์ ผู้จัดทำแผนที่คือ กรมพัฒนาที่ดิน ได้รับอนุมัติงบประมาณและลงนามในสัญญาแล้ว ขณะนี้กำลังดำเนินการจัดทำอยู่
1.3 แผนที่ภาพถ่ายทางอากาศ 29/12/2547 เจ้าของภาพถ่ายคือกองทัพอากาศ ผู้จัดทำแผนที่คือ กรมควบคุมปฏิบัติการทางอากาศ กองทัพอากาศ งบประมาณ 5 ล้านบาท โดยให้กองทัพอากาศ จัดทำโครงการเสนอสำนักงบประมาณพิจารณา
1.4 แผนที่ภาพถ่ายทางอากาศ ม.ค./2548 เจ้าของภาพถ่ายคือ สป.ทส ผู้จัดทำแผนที่คือ สป.ทส. งบประมาณ 25 ล้านบาท ได้เสนอโครงการให้สำนักงบประมาณพิจารณาแล้ว
1.5 แผนที่ฐานลายเส้นมาตราส่วน 1 : 4,000 เจ้าของภาพถ่ายคือ สป.ทส. ผู้จัดทำแผนที่คือ สป.ทส. งบประมาณ 30 ล้านบาท โดยให้ สป.ทส. จัดทำโครงการเสนอสำนักงบประมาณพิจารณา
2. จัดหาภาพถ่ายดาวเทียมสำหรับการปรับปรุงข้อมูล
2.1 แผนที่ภาพถ่ายดาวเทียม 1 ม. (ม.ค. 2547) พื้นที่จังหวัดภูเก็ต ทางสำนักงานเทคโนโลยีอวกาศ และภูมิสารสนเทศ (GISTDA) ได้จัดหาเรียบร้อยแล้ว
2.2 แผนที่ภาพถ่ายดาวเทียม 1 ม. (พ.ศ. 2547) พื้นที่จังหวัดพังงา การจัดหาใช้งบประมาณ ประมาณ 1.4 ล้านบาท ให้ GISTDA เป็นผู้ดำเนินการจัดหา
2.3 แผนที่ภาพถ่ายดาวเทียม 1 ม. (29 ธ.ค.2547) พื้นที่เกาะพีพี เขาหลัก กะรน ทาง GISTDA ได้จัดหาเรียบร้อยแล้ว
3. การนำแผนที่ฐานไปจัดทำแผนที่เฉพาะกิจ เมื่อดำเนินการจัดทำแผนที่ฐานข้อมูล และจัดหาภาพ
ถ่ายดาวเทียมสำหรับปรับปรุงข้อมูลแล้วสามารถนำข้อมูลดังกล่าวในการแก้ไขปัญหากรรมสิทธิ์ที่ดินโดย กบร. ส่วนจังหวัดจัดทำแผนที่ภัยพิบัติ จัดทำผังเมืองใหม่ แผนที่ ป้องกันสาธารณภัย แผนที่ทางหลวง แผนที่การท่องเที่ยว ฯลฯ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2548--จบ--
1. มอบหมายให้ศูนย์อำนวยการต่อสู้เพื่อเอาชนะความยากจนแห่งชาติ (ศตจ.) ร่วมกับกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กรมพัฒนาที่ดิน และทุกหน่วยที่เกี่ยวข้อง พิจารณาบูรณาการการจัดทำแผนที่ฐาน (Bass Map) ในพื้นที่ 6 จังหวัดที่เกิดธรณีพิบัติ โดยใช้งบประมาณกลางปี 2547 งวด 2 ตามที่คณะรัฐมนตรีเคยอนุมัติไว้แล้วจาก ศตจ. และให้ดำเนินการให้แล้วเสร็จโดยเร็วที่สุด
2. ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ปรับแผนการดำเนินการจัดทำแผนที่ภาพถ่ายทางอากาศ ปี 2509 และปี 2527 จากการดำเนินการในพื้นที่อื่นให้มาทำในพื้นที่ 6 จังหวัดที่เกิดเหตุธรณีพิบัติก่อน
3. ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ปรับแผนการดำเนินการจัดทำแผนที่ออร์โธสี มาตราส่วน 1: 4,000 จากการดำเนินการในพื้นที่อื่นให้มาทำในพื้นที่ 6 จังหวัดที่เกิดเหตุธรณีพิบัติก่อน
4. ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องขอรับข้อมูลแผนที่ฐานที่มีอยู่จากหน่วยผู้จัดทำ เพื่อนำไปใช้ปฏิบัติงานตามภารกิจในพื้นที่ 6 จังหวัดไปก่อน ส่วนแผนที่ฐานที่ได้บูรณาการในข้อ 1 เมื่อดำเนินการพื้นที่จังหวัดใดแล้วเสร็จ ให้จัดส่งให้กระทรวงมหาดไทยเพื่อประกาศให้ประชาชนทราบโดยทั่วกันและให้ส่งหน่วยที่ต้องการใช้ทันที
ศูนย์อำนวยการต่อสู้เพื่อเอาชนะความยากจนแห่งชาติรายงานว่า จากเหตุการณ์ธรณีพิบัติใน 6 จังหวัดภาคใต้ ได้ส่งผลกระทบต่อประชาชนทำให้ไร้ที่อยู่อาศัย ประชาชนสูญหาย ทรัพย์สินต่าง ๆ ของประชาชนได้รับความ
เสียหาย ตลอดจนทำให้ประชาชนเหล่านี้ประสบปัญหาความยากจน ที่จำเป็นจะต้องรีบเข้าไปดำเนินการช่วยเหลือ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผลจากธรณีพิบัติดังกล่าว ได้ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในเรื่องของที่ดิน การถือครองที่ดิน และกรรมสิทธิ์ที่ดินต่าง ๆ
ดังนั้น เพื่อให้การดำเนินการจัดทำแผนที่บริเวณพื้นที่ที่เกิดภัยพิบัติไดัจัดทำอย่างบูรณาการ ลดปัญหา การซ้ำซ้อน เห็นควรดำเนินการดังนี้
1. ดำเนินการบูรณาการจัดทำแผนที่ฐานข้อมูลจากภาพถ่ายทางอากาศ ดังนี้
1.1 แผนที่ภาพถ่ายปี 2509 และปี 2527 เจ้าของภาพถ่ายคือกรมแผนที่ทหาร ผู้จัดทำแผนที่คือ สำนักงานปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สป.ทส) ได้รับอนุมัติงบประมาณและลงนามในสัญญาแล้ว ขณะนี้กำลังดำเนินการจัดทำอยู่
1.2 แผนที่ภาพถ่ายออร์โธสี มาตราส่วน 1: 4,000 ปี 2544 เจ้าของภาพถ่ายคือกระทรวงเกษตรและ สหกรณ์ ผู้จัดทำแผนที่คือ กรมพัฒนาที่ดิน ได้รับอนุมัติงบประมาณและลงนามในสัญญาแล้ว ขณะนี้กำลังดำเนินการจัดทำอยู่
1.3 แผนที่ภาพถ่ายทางอากาศ 29/12/2547 เจ้าของภาพถ่ายคือกองทัพอากาศ ผู้จัดทำแผนที่คือ กรมควบคุมปฏิบัติการทางอากาศ กองทัพอากาศ งบประมาณ 5 ล้านบาท โดยให้กองทัพอากาศ จัดทำโครงการเสนอสำนักงบประมาณพิจารณา
1.4 แผนที่ภาพถ่ายทางอากาศ ม.ค./2548 เจ้าของภาพถ่ายคือ สป.ทส ผู้จัดทำแผนที่คือ สป.ทส. งบประมาณ 25 ล้านบาท ได้เสนอโครงการให้สำนักงบประมาณพิจารณาแล้ว
1.5 แผนที่ฐานลายเส้นมาตราส่วน 1 : 4,000 เจ้าของภาพถ่ายคือ สป.ทส. ผู้จัดทำแผนที่คือ สป.ทส. งบประมาณ 30 ล้านบาท โดยให้ สป.ทส. จัดทำโครงการเสนอสำนักงบประมาณพิจารณา
2. จัดหาภาพถ่ายดาวเทียมสำหรับการปรับปรุงข้อมูล
2.1 แผนที่ภาพถ่ายดาวเทียม 1 ม. (ม.ค. 2547) พื้นที่จังหวัดภูเก็ต ทางสำนักงานเทคโนโลยีอวกาศ และภูมิสารสนเทศ (GISTDA) ได้จัดหาเรียบร้อยแล้ว
2.2 แผนที่ภาพถ่ายดาวเทียม 1 ม. (พ.ศ. 2547) พื้นที่จังหวัดพังงา การจัดหาใช้งบประมาณ ประมาณ 1.4 ล้านบาท ให้ GISTDA เป็นผู้ดำเนินการจัดหา
2.3 แผนที่ภาพถ่ายดาวเทียม 1 ม. (29 ธ.ค.2547) พื้นที่เกาะพีพี เขาหลัก กะรน ทาง GISTDA ได้จัดหาเรียบร้อยแล้ว
3. การนำแผนที่ฐานไปจัดทำแผนที่เฉพาะกิจ เมื่อดำเนินการจัดทำแผนที่ฐานข้อมูล และจัดหาภาพ
ถ่ายดาวเทียมสำหรับปรับปรุงข้อมูลแล้วสามารถนำข้อมูลดังกล่าวในการแก้ไขปัญหากรรมสิทธิ์ที่ดินโดย กบร. ส่วนจังหวัดจัดทำแผนที่ภัยพิบัติ จัดทำผังเมืองใหม่ แผนที่ ป้องกันสาธารณภัย แผนที่ทางหลวง แผนที่การท่องเที่ยว ฯลฯ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2548--จบ--