เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. ... (มาตรการภาษีเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ)
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (มาตรการภาษีเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ) ที่คณะรัฐมนตรีชุดก่อนมีมติอนุมัติหลักการ และสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ตรวจพิจารณาแล้ว ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้
ทั้งนี้ ร่างพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนให้มีการลงทุนในวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมและตลาดทุนเพิ่มขึ้น และขยายขีดความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจไทยในการไปลงทุนประกอบการในต่างประเทศ รวมทั้งสนับสนุนให้โรงงานอยู่รวมกันในนิคมอุตสาหกรรม เพื่อช่วยแก้ไขปัญหาภาวะมลพิษ โดยมีสาระสำคัญเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2500 ดังนี้
1. ลดระยะเวลาการถือหุ้นในวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ซึ่งจัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อประกอบกิจการธุรกิจเงินร่วมลงทุน ที่จะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้
2. ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลให้แก่บริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัดที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย สำหรับเงินปันผลซึ่งได้รับจากการถือหุ้นในบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ
3. ยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล สำหรับการขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นโรงงานพร้อมที่ดินเพื่อย้ายสถานประกอบการเข้าไปอยู่ในนิคมอุตสาหกรรมตามกฎหมายว่าด้วยการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 11 ตุลาคม 2548--จบ--
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. ... (มาตรการภาษีเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ)
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (มาตรการภาษีเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ) ที่คณะรัฐมนตรีชุดก่อนมีมติอนุมัติหลักการ และสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ตรวจพิจารณาแล้ว ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้
ทั้งนี้ ร่างพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนให้มีการลงทุนในวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมและตลาดทุนเพิ่มขึ้น และขยายขีดความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจไทยในการไปลงทุนประกอบการในต่างประเทศ รวมทั้งสนับสนุนให้โรงงานอยู่รวมกันในนิคมอุตสาหกรรม เพื่อช่วยแก้ไขปัญหาภาวะมลพิษ โดยมีสาระสำคัญเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2500 ดังนี้
1. ลดระยะเวลาการถือหุ้นในวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ซึ่งจัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อประกอบกิจการธุรกิจเงินร่วมลงทุน ที่จะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้
2. ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลให้แก่บริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัดที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย สำหรับเงินปันผลซึ่งได้รับจากการถือหุ้นในบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ
3. ยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล สำหรับการขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นโรงงานพร้อมที่ดินเพื่อย้ายสถานประกอบการเข้าไปอยู่ในนิคมอุตสาหกรรมตามกฎหมายว่าด้วยการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 11 ตุลาคม 2548--จบ--