คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติรายงานผลการดำเนินงาน Contract Farming บริเวณชายแดนประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งได้ดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2548 ที่เห็นชอบหลักการมาตรการผ่อนปรนเพื่อให้สามารถใช้สิทธิการยกเว้นอากรศุลกากรสำหรับการดำเนินการ Contract Farming ชายแดนของประเทศเพื่อนบ้าน โดยกำหนดนำร่องในพื้นที่เป้าหมายพร้อมกัน 3 ประเทศ คือ แม่สอด-เมียวดี (ไทย-พม่า)ไทย-ลาว (เลย-ไชยะบุรี) และจันทบุรี-พระตะบอง/ไพลิน (ไทย-กัมพูชา) พร้อมทั้งมอบหมายกระทรวงการต่างประเทศเจรจากับรัฐบาลประเทศเพื่อนบ้านเพื่อรับรองพื้นที่เป้าหมาย และประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการให้เกิดผลทางปฏิบัติ โดยสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติประสานจังหวัดตาก จังหวัดเลย และจังหวัดจันทบุรีในการจัดตั้งคณะทำงานรับสมัครผู้ประกอบการและยกร่างแผนการลงทุน ตลอดจนจัดประชุมร่วมกับกระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงการคลัง จังหวัดเจ้าภาพ และหอการค้าไทย เมื่อวันที่ 16 กันยายน 2548 เพื่อพิจารณาแผนลงทุน ดังนี้
1. แผนลงทุน Contract Farming ชายแดน ใน 3 พื้นที่นำร่องมีข้อสรุป ดังนี้
(1) ผู้ประกอบการ เข้าร่วมโครงการ 46 ราย แบ่งเป็น รายย่อย 44 ราย และรายใหญ่ 2 ราย
(2) พื้นที่เพาะปลูก สามารถขยายพื้นที่เพาะปลูกชายแดนประเทศเพื่อนบ้าน 313,880 ไร่
(3) พืชเป้าหมาย กำหนดนำเข้าพืชเป้าหมาย 6 ชนิด จำนวน 278,040 ตัน โดยมีผลต่อการลดการนำเข้าพืชเป้าหมาย 4 ชนิด คือ ถั่วเหลือง ถั่วเขียว ข้าวโพดหวาน และละหุ่ง จากประเทศที่สามได้ร้อยละ 1.64 เทียบกับปริมาณที่นำเข้าในปี 2547 และไม่ส่งผลกระทบกับเกษตรกรในประเทศ เนื่องจากมีปริมาณไม่มากและเป็นการขยายผลจากสิ่งที่มีการลักลอบดำเนินการอยู่แล้ว แต่ในทางกลับกันถือเป็นการแก้ไขปัญหาการลักลอบการนำเข้าสินค้าเกษตรได้อย่างเป็นรูปธรรมส่งผลต่อการวางแผนการผลิตภายในประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ
(4) แผนการผลิต กำหนดนำเข้าผลผลิตโดยได้รับสิทธิพิเศษภายใต้มาตรการผ่อนปรนเริ่มตั้งแต่ ตุลาคม 2548 — เมษายน 2549
2. การดำเนินงานขั้นต่อไป ได้มอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการ ดังนี้
(1) มอบหมายกระทรวงการต่างประเทศเร่งเจรจาแผนลงทุนกับ 3 ประเทศเพื่อนบ้านให้แล้วเสร็จ ก่อนประกาศดำเนินมาตรการผ่อนปรนอย่างเป็นทางการภายในวันที่ 1 ตุลาคม 2548 เข้าร่วมโครงการ 46 ราย แบ่งเป็น รายย่อย 44 ราย และรายใหญ่ 2 ราย
(2) มอบหมายสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเป็นเจ้าภาพประสานผู้มีสิทธินำเข้าถั่วเหลือง จำนวน 13ราย จังหวัด และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จัดประชุมเพื่อกำหนดกระบวนการนำเข้าและรับซื้อถั่วเหลืองในโครงการ Contract Farming ชายแดน ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพภายในเดือนกันยายน 2548
(3) มอบหมายกรมศุลกากรเร่งดำเนินการจัดทำแบบฟอร์มเฉพาะและออกประกาศกระทรวงการคลังในลักษณะเดียวกับโครงการพัฒนาดอยตุง และประสานจังหวัดเจ้าภาพดำเนินการเพื่อให้เกิดผลทางปฏิบัติภายในกันยายน 2548
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 27 กันยายน 2548--จบ--
1. แผนลงทุน Contract Farming ชายแดน ใน 3 พื้นที่นำร่องมีข้อสรุป ดังนี้
(1) ผู้ประกอบการ เข้าร่วมโครงการ 46 ราย แบ่งเป็น รายย่อย 44 ราย และรายใหญ่ 2 ราย
(2) พื้นที่เพาะปลูก สามารถขยายพื้นที่เพาะปลูกชายแดนประเทศเพื่อนบ้าน 313,880 ไร่
(3) พืชเป้าหมาย กำหนดนำเข้าพืชเป้าหมาย 6 ชนิด จำนวน 278,040 ตัน โดยมีผลต่อการลดการนำเข้าพืชเป้าหมาย 4 ชนิด คือ ถั่วเหลือง ถั่วเขียว ข้าวโพดหวาน และละหุ่ง จากประเทศที่สามได้ร้อยละ 1.64 เทียบกับปริมาณที่นำเข้าในปี 2547 และไม่ส่งผลกระทบกับเกษตรกรในประเทศ เนื่องจากมีปริมาณไม่มากและเป็นการขยายผลจากสิ่งที่มีการลักลอบดำเนินการอยู่แล้ว แต่ในทางกลับกันถือเป็นการแก้ไขปัญหาการลักลอบการนำเข้าสินค้าเกษตรได้อย่างเป็นรูปธรรมส่งผลต่อการวางแผนการผลิตภายในประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ
(4) แผนการผลิต กำหนดนำเข้าผลผลิตโดยได้รับสิทธิพิเศษภายใต้มาตรการผ่อนปรนเริ่มตั้งแต่ ตุลาคม 2548 — เมษายน 2549
2. การดำเนินงานขั้นต่อไป ได้มอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการ ดังนี้
(1) มอบหมายกระทรวงการต่างประเทศเร่งเจรจาแผนลงทุนกับ 3 ประเทศเพื่อนบ้านให้แล้วเสร็จ ก่อนประกาศดำเนินมาตรการผ่อนปรนอย่างเป็นทางการภายในวันที่ 1 ตุลาคม 2548 เข้าร่วมโครงการ 46 ราย แบ่งเป็น รายย่อย 44 ราย และรายใหญ่ 2 ราย
(2) มอบหมายสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเป็นเจ้าภาพประสานผู้มีสิทธินำเข้าถั่วเหลือง จำนวน 13ราย จังหวัด และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จัดประชุมเพื่อกำหนดกระบวนการนำเข้าและรับซื้อถั่วเหลืองในโครงการ Contract Farming ชายแดน ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพภายในเดือนกันยายน 2548
(3) มอบหมายกรมศุลกากรเร่งดำเนินการจัดทำแบบฟอร์มเฉพาะและออกประกาศกระทรวงการคลังในลักษณะเดียวกับโครงการพัฒนาดอยตุง และประสานจังหวัดเจ้าภาพดำเนินการเพื่อให้เกิดผลทางปฏิบัติภายในกันยายน 2548
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 27 กันยายน 2548--จบ--