แท็ก
ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย
กระทรวงอุตสาหกรรม
กระทรวงการคลัง
อัตราดอกเบี้ย
โรคไข้หวัดนก
คณะรัฐมนตรี
คณะรัฐมนตรีพิจารณาการชดเชยความเสียหายตามแนวทางการให้ความช่วยเหลือผู้เลี้ยงสัตว์ปีกที่ได้รับความเสียหายจากโรคไข้หวักนก ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ แล้วมีมติอนุมัติให้กระทรวงการคลังดำเนินการชดเชยส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยที่ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) ได้ผ่อนปรนให้ต่ำกว่าอัตราปกติที่ธนาคารคิดกับลูกค้า สำหรับสินเชื่อโครงการสินเชื่อพัฒนาการเลี้ยงสัตว์ปีกของ 3 โครงการย่อย ได้แก่ สินเชื่อฟื้นฟูกิจการเลี้ยงสัตว์ปีก สินเชื่อปรับเปลี่ยนระบบการเลี้ยงสัตว์ปีก และสินเชื่อยกระดับโรงฆ่า/ชำแหละสัตว์ปีก วงเงินประมาณ 55 ล้านบาท
ทั้งนี้ กระทรวงอุตสาหกรรม รายงานว่า ในปี 2547 ที่ผ่านมาธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) ได้ดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 27 มกราคม 2547 และวันที่ 19 ตุลาคม 2547 และได้มีการจัดทำโครงการสินเชื่อพัฒนาการเลี้ยงสัตว์ปีกเพิ่มเติมในเดือนมีนาคม 2547 ร่วมกับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร และธนาคารออมสิน โดยใช้หลักเกณฑ์สินเชื่อเดียวกัน อันประกอบด้วย สินเชื่อฟื้นฟูกิจการเลี้ยงสัตว์ปีก สินเชื่อปรับเปลี่ยนระบบการเลี้ยงสัตว์ปีก และสินเชื่อยกระดับโรงฆ่า/ชำแหละสัตว์ปีก เพื่อเป็นการช่วยเหลือเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ปีกที่ได้รับผลกระทบ ให้สามารถฟื้นฟูกิจการพร้อมกับยกระดับมาตรฐานการเลี้ยงสัตว์ปีกให้ถูกสุขลักษณะ ปลอดภัย อันเป็นการบรรเทาปัญหาการเกิดโรคระบาดในอนาคต โดยกำหนดอัตราดอกเบี้ยต่ำและกำหนดเงื่อนไขหลักประกันที่ผ่อนปรน มีระยะเวลาโครงการฯ 2 ปี หรือสิ้นสุดวันที่ 10 มีนาคม 2549 สรุปแนวทางการให้สินเชื่อทั้ง 3 โครงการย่อย ได้ดังนี้
1. สินเชื่อฟื้นฟูกิจการเลี้ยงสัตว์ปีก เพื่อช่วยเหลือผู้เลี้ยงสัตว์ปีกหรือผู้ประกอบกิจการฟาร์มสัตว์ปีกที่ได้รับผลกระทบโรคระบาดไข้หวักนกทั้งทางตรงและทางอ้อม ให้มีเงินทุนหมุนเวียนในการจัดหาพันธุ์สัตว์ปีก อาหาร ยา และอื่นๆ ที่จำเป็นในการเริ่มการเลี้ยงสัตว์ปีกรอบใหม่ของเกษตรกรในโรงเลี้ยงเดิมที่สัตว์ปีกถูกทำลาย และค่าใช้จ่ายในการฟื้นฟูกิจการเลี้ยงสัตว์ปีกของผู้เลี้ยงสัตว์ปีกให้กลับเข้าสู่ภาวะปกติ โดยกำหนดให้ปีที่ 1-2 อัตราดอกเบี้ยเท่ากับร้อยละ 2 ต่อปี และปีที่ 3 เป็นต้นไป อัตราดอกเบี้ยเท่ากับร้อยละ 5 ต่อปี และผ่อนปรนให้ใช้บุคคลค้ำประกันและ/หรือการโอนสิทธิผลิตภัณฑ์สัตว์ปีกหรือสินทรัพย์อื่นที่สามารถแปลงเป็นทุนได้ วงเงินสินเชื่อสูงสุด 100 ล้านบาท
2. สินเชื่อปรับเปลี่ยนระบบการเลี้ยงสัตว์ปีก สำหรับผู้เลี้ยงสัตว์ปีกหรือผู้ประกอบกิจการฟาร์มสัตว์ปีกที่ต้องการยกระดับ/ปรับปรุงฟาร์มให้ได้มาตรฐาน ทั้งนี้ เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาระยะยาว โดยให้เป็นเงินลงทุนและเงินทุนหมุนเวียนในการปรับเปลี่ยนระบบการเลี้ยงให้เป็นระบบที่ถูกสุขลักษณะและมีความปลอดภัย และได้มาตรฐานฟาร์มของกรมปศุสัตว์ ทั้งนี้ รวมถึงกิจการที่มีมาตรฐานฟาร์มแล้วแต่ต้องการขยายกิจการ โดยกำหนดให้ปีที่ 1-2 อัตราดอกเบี้ยเท่ากับร้อยละ 2 ต่อปี และปีที่ 3 เป็นต้นไป อัตราดอกเบี้ยเท่ากับร้อยละ 5 ต่อปี และผ่อนปรนให้ใช้บุคคลค้ำประกันและ/หรือการโอนสิทธิผลิตภัณฑ์สัตว์ปีกหรือสินทรัพย์อื่นที่สามารถแปลงเป็นทุนได้ วงเงินสินเชื่อสูงสุด 5 ล้านบาท
3. สินเชื่อยกระดับโรงฆ่า/ชำแหละสัตว์ปีก สำหรับผู้ประกอบกิจการโรงฆ่า/ชำแหละสัตว์ปีกที่ต้องการยกระดับโรงฆ่า/ชำแหละสัตว์ปีกให้ได้มาตรฐานถูกสุขลักษณะของกรมปศุสัตว์ โดยให้เป็นเพื่อใช้เงินลงทุนและเงินทุนหมุนเวียนในการปรับปรุงหรือดำเนินการจัดตั้งโรงฆ่าสัตว์/ชำแหละสัตว์ปีกให้ได้มาตรฐานฯ โดยกำหนดอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 5 วงเงินสินเชื่อสูงสุด 100 ล้านบาท
ซึ่งทั้ง 3 โครงการนี้จะสามารถช่วยเหลือผู้เลี้ยงสัตว์ปีกหรือผู้ประกอบกิจการฟาร์มสัตว์ปีกให้ฟื้นฟูกิจการได้ รวมถึงสามารถช่วยพัฒนามาตรฐานการเลี้ยงไปจนถึงโรงฆ่า/ชำแหละสัตว์ปีก เพื่อลดปัญหาการระบาดของไข้หวัดนกในระยะยาว
ทั้งนี้ มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 27 มกราคม 2547 มิได้มีการอนุมัติการชดเชยความเสียหายให้แก่ ธพว.จากการผ่อนปรนอัตราดอกเบี้ย ซึ่งทำให้เกิดส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยจากอัตราดอกเบี้ยปกติที่คิดกับลูกค้าจริงตามความเสี่ยงของโครงการ (โดยเฉลี่ยประมาณ MLR+1.0% ต่อปี) ซึ่ง ณ ปัจจุบัน ธพว.อนุมัติสินเชื่อให้แก่ผู้ประกอบการเลี้ยงสัตว์ปีกไปแล้ว รวมทั้งสิ้น 56 ราย 132 ล้านบาท และจากการสำรวจความต้องการสินเชื่อเมื่อเดือนมกราคม 2548 คาดว่ายังมีความต้องการสินเชื่ออีกทั้งสิ้น 275 ราย 825 ล้านบาท รวมเป็นความช่วยเหลือทั้งสิ้น 331 ราย 957 ล้านบาท ประมาณการวงเงินชดเชยอัตราดอกเบี้ยเฉพาะในส่วนที่ผ่อนปรนประมาณ 55 ล้านบาท
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 7 มิถุนายน 2548--จบ--
ทั้งนี้ กระทรวงอุตสาหกรรม รายงานว่า ในปี 2547 ที่ผ่านมาธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) ได้ดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 27 มกราคม 2547 และวันที่ 19 ตุลาคม 2547 และได้มีการจัดทำโครงการสินเชื่อพัฒนาการเลี้ยงสัตว์ปีกเพิ่มเติมในเดือนมีนาคม 2547 ร่วมกับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร และธนาคารออมสิน โดยใช้หลักเกณฑ์สินเชื่อเดียวกัน อันประกอบด้วย สินเชื่อฟื้นฟูกิจการเลี้ยงสัตว์ปีก สินเชื่อปรับเปลี่ยนระบบการเลี้ยงสัตว์ปีก และสินเชื่อยกระดับโรงฆ่า/ชำแหละสัตว์ปีก เพื่อเป็นการช่วยเหลือเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ปีกที่ได้รับผลกระทบ ให้สามารถฟื้นฟูกิจการพร้อมกับยกระดับมาตรฐานการเลี้ยงสัตว์ปีกให้ถูกสุขลักษณะ ปลอดภัย อันเป็นการบรรเทาปัญหาการเกิดโรคระบาดในอนาคต โดยกำหนดอัตราดอกเบี้ยต่ำและกำหนดเงื่อนไขหลักประกันที่ผ่อนปรน มีระยะเวลาโครงการฯ 2 ปี หรือสิ้นสุดวันที่ 10 มีนาคม 2549 สรุปแนวทางการให้สินเชื่อทั้ง 3 โครงการย่อย ได้ดังนี้
1. สินเชื่อฟื้นฟูกิจการเลี้ยงสัตว์ปีก เพื่อช่วยเหลือผู้เลี้ยงสัตว์ปีกหรือผู้ประกอบกิจการฟาร์มสัตว์ปีกที่ได้รับผลกระทบโรคระบาดไข้หวักนกทั้งทางตรงและทางอ้อม ให้มีเงินทุนหมุนเวียนในการจัดหาพันธุ์สัตว์ปีก อาหาร ยา และอื่นๆ ที่จำเป็นในการเริ่มการเลี้ยงสัตว์ปีกรอบใหม่ของเกษตรกรในโรงเลี้ยงเดิมที่สัตว์ปีกถูกทำลาย และค่าใช้จ่ายในการฟื้นฟูกิจการเลี้ยงสัตว์ปีกของผู้เลี้ยงสัตว์ปีกให้กลับเข้าสู่ภาวะปกติ โดยกำหนดให้ปีที่ 1-2 อัตราดอกเบี้ยเท่ากับร้อยละ 2 ต่อปี และปีที่ 3 เป็นต้นไป อัตราดอกเบี้ยเท่ากับร้อยละ 5 ต่อปี และผ่อนปรนให้ใช้บุคคลค้ำประกันและ/หรือการโอนสิทธิผลิตภัณฑ์สัตว์ปีกหรือสินทรัพย์อื่นที่สามารถแปลงเป็นทุนได้ วงเงินสินเชื่อสูงสุด 100 ล้านบาท
2. สินเชื่อปรับเปลี่ยนระบบการเลี้ยงสัตว์ปีก สำหรับผู้เลี้ยงสัตว์ปีกหรือผู้ประกอบกิจการฟาร์มสัตว์ปีกที่ต้องการยกระดับ/ปรับปรุงฟาร์มให้ได้มาตรฐาน ทั้งนี้ เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาระยะยาว โดยให้เป็นเงินลงทุนและเงินทุนหมุนเวียนในการปรับเปลี่ยนระบบการเลี้ยงให้เป็นระบบที่ถูกสุขลักษณะและมีความปลอดภัย และได้มาตรฐานฟาร์มของกรมปศุสัตว์ ทั้งนี้ รวมถึงกิจการที่มีมาตรฐานฟาร์มแล้วแต่ต้องการขยายกิจการ โดยกำหนดให้ปีที่ 1-2 อัตราดอกเบี้ยเท่ากับร้อยละ 2 ต่อปี และปีที่ 3 เป็นต้นไป อัตราดอกเบี้ยเท่ากับร้อยละ 5 ต่อปี และผ่อนปรนให้ใช้บุคคลค้ำประกันและ/หรือการโอนสิทธิผลิตภัณฑ์สัตว์ปีกหรือสินทรัพย์อื่นที่สามารถแปลงเป็นทุนได้ วงเงินสินเชื่อสูงสุด 5 ล้านบาท
3. สินเชื่อยกระดับโรงฆ่า/ชำแหละสัตว์ปีก สำหรับผู้ประกอบกิจการโรงฆ่า/ชำแหละสัตว์ปีกที่ต้องการยกระดับโรงฆ่า/ชำแหละสัตว์ปีกให้ได้มาตรฐานถูกสุขลักษณะของกรมปศุสัตว์ โดยให้เป็นเพื่อใช้เงินลงทุนและเงินทุนหมุนเวียนในการปรับปรุงหรือดำเนินการจัดตั้งโรงฆ่าสัตว์/ชำแหละสัตว์ปีกให้ได้มาตรฐานฯ โดยกำหนดอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 5 วงเงินสินเชื่อสูงสุด 100 ล้านบาท
ซึ่งทั้ง 3 โครงการนี้จะสามารถช่วยเหลือผู้เลี้ยงสัตว์ปีกหรือผู้ประกอบกิจการฟาร์มสัตว์ปีกให้ฟื้นฟูกิจการได้ รวมถึงสามารถช่วยพัฒนามาตรฐานการเลี้ยงไปจนถึงโรงฆ่า/ชำแหละสัตว์ปีก เพื่อลดปัญหาการระบาดของไข้หวัดนกในระยะยาว
ทั้งนี้ มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 27 มกราคม 2547 มิได้มีการอนุมัติการชดเชยความเสียหายให้แก่ ธพว.จากการผ่อนปรนอัตราดอกเบี้ย ซึ่งทำให้เกิดส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยจากอัตราดอกเบี้ยปกติที่คิดกับลูกค้าจริงตามความเสี่ยงของโครงการ (โดยเฉลี่ยประมาณ MLR+1.0% ต่อปี) ซึ่ง ณ ปัจจุบัน ธพว.อนุมัติสินเชื่อให้แก่ผู้ประกอบการเลี้ยงสัตว์ปีกไปแล้ว รวมทั้งสิ้น 56 ราย 132 ล้านบาท และจากการสำรวจความต้องการสินเชื่อเมื่อเดือนมกราคม 2548 คาดว่ายังมีความต้องการสินเชื่ออีกทั้งสิ้น 275 ราย 825 ล้านบาท รวมเป็นความช่วยเหลือทั้งสิ้น 331 ราย 957 ล้านบาท ประมาณการวงเงินชดเชยอัตราดอกเบี้ยเฉพาะในส่วนที่ผ่อนปรนประมาณ 55 ล้านบาท
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 7 มิถุนายน 2548--จบ--