คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างกฎกระทรวงกำหนดลักษณะของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม พ.ศ. …. ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว ตามที่สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้
1. กำหนดบทนิยามคำว่า “วิสาหกิจขนาดย่อม” และ “วิสาหกิจขนาดกลาง” เพื่อกำหนดลักษณะของกิจการ โดยใช้จำนวนการจ้างงานและรายได้ของกิจการเป็นเกณฑ์ในการกำหนดขนาดกิจการ และ แบ่งประเภทกิจการเป็นกิจการผลิตสินค้า และกิจการให้บริการและการค้า ดังนี้
ประเภทกิจการ - กิจการผลิตสินค้า
วิสาหกิจขนาดย่อม
วิสาหกิจรายย่อย
- จำนวนแรงงาน (คน) 1 – 5
- รายได้ของกิจการ (ล้านบาท) ไม่เกิน 1.8
วิสาหกิจขนาดย่อม
- จำนวนแรงงาน (คน) 6 – 50
- รายได้ของกิจการ (ล้านบาท) มากกว่า 1.8 – 100
วิสาหกิจขนาดกลาง
- จำนวนแรงงาน (คน) 51 – 200
- รายได้ของกิจการ (ล้านบาท) มากกว่า 100 – 500
ประเภทกิจการ - กิจการให้บริการและการค้า
วิสาหกิจขนาดย่อม
วิสาหกิจรายย่อย
- จำนวนแรงงาน (คน) 1 – 5
- รายได้ของกิจการ (ล้านบาท) ไม่เกิน 1.8
วิสาหกิจขนาดย่อม
- จำนวนแรงงาน (คน) 6 – 30
- รายได้ของกิจการ (ล้านบาท) มากกว่า 1.8 – 50
วิสาหกิจขนาดกลาง
- จำนวนแรงงาน (คน) 31 – 100
- รายได้ของกิจการ (ล้านบาท) มากกว่า 50 – 300
2. กำหนดเงื่อนไขการกำหนดขนาดวิสาหกิจ โดยในกรณีที่จำนวนการจ้างงานเข้าลักษณะของวิสาหกิจขนาดหนึ่ง แต่จำนวนรายได้เข้าลักษณะของวิสาหกิจอีกขนาดหนึ่ง ให้ถือจำนวนการจ้างงานหรือรายได้ที่มากกว่าเป็นเกณฑ์ในการพิจารณา ซึ่งจำนวนการจ้างงานหรือรายได้นั้น ให้พิจารณาจากหลักฐาน ดังนี้
2.1 จำนวนการจ้างงาน ให้พิจารณาจากหลักฐานแสดงจำนวนการจ้างงานที่ได้จัดทำขึ้นตามที่กฎหมายกำหนด
2.2 รายได้ ให้พิจารณาจากรายได้รวมที่ระบุไว้ในงบการเงินปีล่าสุดที่นำส่งต่อทางราชการหรือที่มีเอกสารบัญชีแสดงรายได้
ที่มา: ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 26 พฤศจิกายน 2562