1. รับทราบผลการดำเนินการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลสงกรานต์ พ.ศ. 2562 ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนนเสนอ
2. มอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่มีภารกิจเกี่ยวเนื่องกับข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อขับเคลื่อนงานด้านความปลอดภัยทางถนนพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนนเสนอ รวมทั้งให้รับความเห็นของกระทรวงกลาโหมไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
ศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน (ศปถ.) ได้รายงานผลการดำเนินการป้องกันและ ลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลสงกรานต์ พ.ศ. 2562 ระหว่างวันที่ 11 – 17 เมษายน 2562 (รวม 7 วัน) ซึ่งพบว่าสถิติอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลสงกรานต์ พ.ศ. 2562 ในภาพรวมมีจำนวนครั้งการเกิดอุบัติเหตุ ผู้บาดเจ็บ และผู้เสียชีวิต ดังนี้
รายการ
จำนวน 3,338 ครั้ง
หมายเหตุ
- สาเหตุการเกิดอุบัติเหตุสูงสุด 2 อันดับแรก คือ ดื่มแล้วขับ รองลงมา คือ ขับรถเร็วเกินกว่ากฎหมายกำหนด
- ประเภทรถที่เกิดเหตุสูงสุด คือ รถจักรยานยนต์ (ส่วนบุคคล)
- จังหวัดที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุด คือ จังหวัดเชียงใหม่ และจังหวัดนครศรีธรรมราช จำนวน 128 ครั้ง
จำนวน 3,442 ราย
หมายเหตุ
จังหวัดที่มีผู้บาดเจ็บสูงสุด คือ จังหวัดนครศรีธรรมราช จำนวน 136 ราย
จำนวน 386 ราย
หมายเหตุ
- สาเหตุการเสียชีวิตสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ ขับรถเร็วเกินกว่ากฎหมายกำหนด ดื่มแล้วขับ และตัดหน้ากระชั้นชิด
- จังหวัดที่มีผู้เสียชีวิตสูงสุด คือ จังหวัดลพบุรีและจังหวัดอุดรธานี จำนวน 15 ราย และจังหวัดที่ไม่มีผู้เสียชีวิตมี 2 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดพังงา และจังหวัดอ่างทอง
- ประเภทรถที่ทำให้เสียชีวิตสูงสุด คือ รถจักรยานยนต์
ในการนี้ ศปถ. ได้มีข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อขับเคลื่อนงานด้านข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อขับเคลื่อนงานด้านความปลอดภัยทางถนน โดยได้รวบรวมข้อเสนอจากรายงานผลการปฏิบัติงาน และการประชุมถอดบทเรียนผลการดำเนินการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลสงกรานต์ พ.ศ. 2562 รวมถึงการหารือร่วมกันระหว่างผู้แทนองค์การอนามัยโลกประจำประเทศไทยและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย โดยกำหนดข้อเสนอเชิงนโยบาย เพื่อขับเคลื่อนงานด้านความปลอดภัยทางถนน ในประเด็นเร่งด่วน 3 ด้าน สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
มาตรการ
(1) รวบรวมข้อมูล ปัญหา สถิติผู้บาดเจ็บและผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนทั้งช่วงเทศกาลและช่วงปกติที่มีสาเหตุมาจากการขับรถเร็วเกินกว่ากฎหมายกำหนด และการดื่มแล้วขับซึ่งก่อให้เกิดการบาดเจ็บและเสียชีวิต ส่งให้อัยการสูงสุดเพื่อประกอบการพิจารณาในการดำเนินคดีกับผู้ขับขี่
หน่วยงานที่รับผิดชอบหลัก
- ศปถ. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
(2) กำหนดแนวทางการดำเนินคดีอาญาที่เกิดขึ้นจากอุบัติเหตุทางถนน ใน 3 ข้อหาความผิด ได้แก่ ขับรถในขณะเมาสุราหรือของเมาอย่างอื่น ขับรถเกินกว่าอัตราความเร็วตามที่กฎหมายกำหนด และเสพยาเสพติดขณะขับรถ
หน่วยงานที่รับผิดชอบหลัก
- สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
(3) ปรับปรุงหลักเกณฑ์การออกใบอนุญาตขับรถทุกประเภท โดยกำหนดหลักเกณฑ์การออกใบอนุญาตขับรถจักรยานยนต์ขนาดใหญ่ที่มีขนาดความจุของกระบอกสูบตั้งแต่ 400 ซีซี ขึ้นไป โดยการกำหนดช่วงอายุของผู้ขอใบอนุญาตที่เหมาะสมให้ชัดเจน ระยะเวลาและรายละเอียดการอบรมภาคทฤษฎี
หน่วยงานที่รับผิดชอบหลัก
- กระทรวงคมนาคม
(1) ให้ผู้ตรวจการดำเนินการกวดขัน จับกุม ผู้ขับขี่ที่ไม่มีใบอนุญาตขับรถยนต์ หรือใบอนุญาตขับรถจักรยานยนต์อย่างเคร่งครัด
หน่วยงานที่รับผิดชอบหลัก
- กระทรวงคมนาคม
(2) ดำเนินการสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินการตามโครงการขับขี่ปลอดภัย มั่นใจไร้แอลกอฮอล์
หน่วยงานที่รับผิดชอบหลัก
- สำนักงบประมาณ
(3) กำหนดแนวทางการกำกับ ติดตาม และตรวจสอบการดำเนินการตามมาตรการการตรวจปริมาณแอลกอฮอล์
หน่วยงานที่รับผิดชอบหลัก
- สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
(4) กำหนดมาตรการให้พนักงานสอบสวน หรือเจ้าพนักงานจราจร มีหน้าที่ตรวจวัดปริมาณแอลกอฮอล์ในร่างกายผู้ขับขี่ที่ก่อให้เกิดอุบัติเหตุและทำให้มีผู้บาดเจ็บรุนแรงหรือเสียชีวิตทุกราย
หน่วยงานที่รับผิดชอบหลัก
- กระทรวงสาธารณสุข
(5) สร้างการมีส่วนร่วม ความรู้ ความเข้าใจ และความตระหนักเรื่องความปลอดภัยทางถนนแก่ประชาชนอย่างจริงจังและต่อเนื่อง
หน่วยงานที่รับผิดชอบหลัก
- สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
(6) จัดตั้งคณะทำงานเฉพาะกิจ เพื่อทำหน้าที่สนับสนุนข้อมูลเชิงวิชาการ และประสานความร่วมมือระหว่างหน่วยงาน พร้อมทั้งขับเคลื่อนประเด็นด้านความปลอดภัยทางถนน
หน่วยงานที่รับผิดชอบหลัก
- ศปถ. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
- กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
หน่วยงานที่รับผิดชอบหลัก
- กระทรวงคมนาคม
ที่มา: ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 26 พฤศจิกายน 2562